Skip to main content

ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง

 

ผมสืบค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
ได้ความว่า ในพงศาวดารโยนกกล่าวว่า พระเจ้าเมืองแก้วหรือพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราชหรืออีกพระนามคือพระเจ้าติลกปนัดดาธิราชกษัตริย์รัชกาลที่ 14 แห่งราชวงศ์มังราย ที่ครองอาณาจักรล้านนา ได้โปรดให้สร้างพระเจ้าเก้าตี้อองค์นี้ขึ้น ในปี พ.ศ.2048 จึงสำเร็จบริบูรณ์ องค์พระมีที่ต่อ 8 แห่ง และในปี พ.ศ.2052 จึงได้มีการชักพระพุทธรูปปฏิมากรองค์นี้ เข้าประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดบุบผาราม(วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ในปัจจุบัน)


      
ศาสตราจารย์สรัสวดี  อ๋องสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขียนหนังสือ “ประวัติศาสตร์ล้านนา” หน้า 170 ระบุว่า “พญาแก้วได้สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ คือ “พระเจ้าเก้าตื้อ” ในปี พ.ศ.2059 เมื่อเปิดหนังสือ “ชินกาลมาลีปกรณ์” เขียนโดย พระยาประชากิจกรจักร ในหน้า 158 ระบุว่า พระเมืองแก้วประสูติ พ.ศ.2026 สวรรคต พ.ศ.2069 เมื่อพระชนมายุ 43 ปี และเปิดลำดับกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ในภาคผนวกหนังสือ “ประวัติศาสตร์ล้านนา” ของศาสตราจารย์สรัสวดี อ๋องสกุล ปรากฏว่า พญาแก้ว (พระเมืองแก้ว)ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.2038-2068

จึงกล่าวสรุปได้ว่า พระเจ้าเก้าตื้อเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดสวนดอกในปัจจุบัน สร้างในสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว(หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ แห่งราชวงศ์มังราย ระบุใน พ.ศ.2026-2069)หรือพระเมืองแก้วหรือพระติลกปนัดดาธิราชกษัตริย์รัชกาลที่ 14 โดยสร้าง พระเจ้าเก้าตื้อในปี พ.ศ.2059 ส่วนพระประธานในวิหารวัดทุ่งแป้ง(วัดมงคล)ที่เรียกนามว่า “พระเจ้าเก้าตื้อ”นั้น ไม่ใช่องค์ที่พระเจ้าเมืองแก้วสร้าง เพราะหลักฐานยืนยันว่า พระองค์สร้างพระเจ้าเก้าตื้อที่ประดิษฐาน ณ วัดสวนดอก เชียงใหม่ องค์เดียวเท่านั้น จึงสันนิษฐานได้เพียงว่า องค์ที่ประดิษฐานในวิหารวัดทุ่งแป้ง(วัดมงคล)เป็นองค์จำลอง และสร้างโดยยึดพุทธลักษณะจากองค์จริงที่วัดสวนดอก จึงเป็นที่มาของการไปสู่คำตอบว่า วิหารวัดทุ่งแป้ง(วัดมงคล)คงสร้างในปี พ.ศ.เดียวกับพระเจ้าเก้าตื้อของวัดทุ่งแป้ง หรืออาจสร้างหลังเล็กน้อย จึงอนุมานว่า วิหารวัดทุ่งแป้ง(วัดมงคล)ถูกสร้างขึ้นพร้อมพระเจ้าเก้าตื้อองค์จำลอง คือใน พ.ศ.2059 จึงเป็นข้อยุติได้ว่า วิหารวัดทุ่งแป้ง(วัดมงคล)และพระเจ้าเก้าตื้อองค์จำลอง ที่เป็นพระประธานในวิหาร มีอายุ 496 ปีในปัจจุบัน(ปัจจุบันเป็น พ.ศ.2555)

มีข้อสงสัยอีกประการหนึ่ง ที่หน้าบัน(จั่ว)วิหารวัดทุ่งแป้ง มีลวดลายเป็นรูปต่างๆแทนศิลปะแห่งยุคสมัย มีลายเด่นที่สำคัญลายหนึ่งเรียกว่า “ลายเมฆไหล” มีผู้มาเยี่ยมชมวัดท่านหนึ่งบอกว่าเป็นลายของจีน มีอายุเป็นพันๆปี จึงเกิดการขัดแย้งกับข้อมูลที่สรุปไว้เบื้องต้นว่า วิหารวัดทุ่งแป้งมีอายุได้ 496 ปี ในปัจจุบัน(ปัจจุบันเป็น พ.ศ.2555)จริงหรือ ผู้ค้นคว้าได้ไปสืบค้นเกี่ยวกับ “ลายเมฆไหล” จากอินเทอร์เน็ต จากหัวเรื่องที่ค้น ศิลปะสถาปัตย์” ได้อธิบายว่า

“ลายปูนปั้นรูปชื่อดอกไม้ และก้านเปลวทำเป็นลายเมฆไหล ประดับฉากหลังของเทวดายืนประนมมือ ที่ผนังสถูปเจดีย์เจ็ดยอดแสดงให้เห็นถึงแบบอย่างลวดลาย ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะจีน ซึ่งแฝงเข้ามาในรูปเครื่องลายครามจีน ในสมัยราชวงศ์หงวน(ประมาณ พ.ศ.1803-1991)และราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง(ประมาณ พ.ศ.1911-2187) แต่ล้านนาได้นำมาดัดแปลงจนกลายเป็นแบบอย่างเฉพาะตัว(ในภาพประกอบจะเห็นลายน้ำไหลคล้ายเชือกสีเหลืองขดตัวขึ้นลง
แถวหนึ่ง)

พิจารณาปีพุทธศักราชที่สร้างวิหารและพระประธานนามว่าพระเจ้าเก้าตื้อองค์ ที่สอง ซึ่งเป็นองค์จำลองที่สร้างในปี พ.ศ.2059 จะตรงกับสมัยราชวงศ์หมิง จึงกล่าวได้ว่า “ลายเมฆไหล” ที่หน้าวิหารวัดทุ่งแป้ง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแบบล้านนา ซึ่งได้มาจากอิทธิพลราชวงศ์หมิงด้วยประการฉะนี้.
                    
                                  ..............................................................................
 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
เป็นเวลายามเย็นแล้ว ผมยืนบนฝั่งริมตลิ่งแม่น้ำปิง ปัจจุบันเป็นทางเท้า มือจับราวเหล็กที่กั้นไว้ ทอดสายตาดูลำน้ำแม่ปิง เข้าสู่กลางเดือนมีนาคม ระดับน้ำลดลง ไหลราบเรียบ สายน้ำนี้มีตำนาน มีเรื่องราวเล่าขานมากมาย ผมเหลียวดูทางซ้าย เจดีย์ขาวอยู่ห่างไปราว 10 เมตร ยังทาองค์เป็นสีขาว รถราวิ่งวนรอบ องค์เจดีย์ขาวนี้ ถ้ามองจากระเบียงชมวิว ด้านตะวันออกของวัดพระธาตุดอยสุเทพ มองไกลออกไปไกลทางทิศตะวันออก ถ้าไม่มีหมอกควัน ไม่มีเมฆบัง จะเห็นเจดีย์ขาวชัดเจนทีเดียว ถัดไปอีกเล็กน้อย จะเป็นหน้าเทศบาลนครเชียงใหม่ ข้างตลิ่งมีทางขึ้นลง พลันภาพในวัยเด็กอายุราว 10-…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
เช้าตื่นขึ้นมา ราว 5 นาฬิกาเศษ เดินบริหารร่างกายลงบันได 10 ครั้ง ขึ้นบันไดโดยหลับตาอีก 10 ครั้ง ร่างกายรายงานว่า แสบจมูก แสบตา มองไปที่โค้งฟ้าทิศตะวันออก เป็นทุ่งนา สูงขึ้นไปอีกนิดเป็นถนนโค้งสายเชียงใหม่-สันป่าตอง ท้องฟ้าขมุกขมัว (ฟ้าหลัว)ไปทั่ว มันเป็นหมอกควันผสมฝุ่น สาเหตุมาจาก การเผาป่าเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการเกษตรในฤดูฝน เผาเศษใบไม้กิ่งไม้ เผาขยะมูลฝอย ส่วนการเผาป่านั้น ต้องมีคนเผา คงไม่เกิดไฟลุกเองได้ อีกสาเหตุหนึ่ง คนเผาป่าเพราะเข้าใจว่า ถ้าไม่เผาผักหวานก็จะไม่แตกยอด เห็ดถอบ (เห็ดเผาะ) ก็จะไม่ได้กิน การเผาทุกชนิด ทำให้เกิดอากาศเสีย เรียกให้เป็นทางการว่า " มลพิษทางอากาศ "…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ปีแรกที่เป็นข้าราชการครู ผ่านมาได้ 30 ปีเศษ ได้ซื้อจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้าขนาด 90 ซี.ซี.คันหนึ่ง สีแดงสดใหม่เอี่ยม นำออกจากร้านวันอังคาร โหราศาสตร์ถือว่าวันแรงไม่ดี ผมไม่ค่อยเชื่อถือเท่าไร ขับไปให้พระผูกสายสิญจน์ที่วัดดับภัยกับน้อง ผูกเสร็จลองขับดู รถแฉลบกองทรายวัดเล็กน้อย น้องพูดว่า ไม่เป็นไรขับขี่ปลอดภัย พระก็สวดแล้ว สบายใจได้ ผมไม่ได้ซื้อเงินสด ต้องผ่อนรายเดือน ขับขี่โฉบเฉี่ยวได้ 22 วัน จำได้แม่นยำ เพราะรถถูกจี้บนดอยบ้านปง อำเภอแม่แตง จากปากทางเขื่อนแม่งัดเข้าไปราว 3 กิโลเมตร คนจี้ผิวขาว ตัดผมสั้นเกรียน ผ้าขาวม้าลายคลุมไหล่ รถผมกำลังลงดอย ต้องเบรกรถเล็กน้อย โดยวิ่งชิดทางด้ายซ้าย…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
นึกถึงอำเภอ ที่เคยทำงาน มีเหตุใดให้ระทึก น่าจดจำ มองไปที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ก่อนแห่งอื่น ดินแดนแห่งสวนส้มสายน้ำผึ้ง ที่ลือชื่อระดับประเทศ เข้าตัวอำเภอมองไปทางทิศตะวันตก จะเห็นสวนส้มปลูกเป็นแถวเขียวไปทั้งดอย สวนส้มที่มีมากบอกถึงปริมาณยาที่ต้องใช้ฉีด พื้นที่อยู่ใกล้เคียงสวนส้ม เช่น โรงเรียน บ้านที่อยู่อาศัย คงต้องระมัดระวัง อำเภอฝางมีร้านอาหาร สถานบันเทิงมากมาย พื้นที่กว้างขวาง ประชากรมาก แต่ยังคงเป็นอำเภอ ไม่ได้เป็นจังหวัดจนบัดนี้ มีแม่น้ำฝางไหลขึ้นทิศเหนือ ผิดแผกแม่น้ำทั่วไปที่ไหลล่องใต้ แม่น้ำฝางไหลไปพบกับแม่น้ำกก
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
จากนั้นเขาจะกลับลำเรือ กลางน้ำที่เชี่ยวจัด ช่วงนี้สำคัญ ต้องอาศัยความชำนาญ ให้กระแสน้ำปะทะข้างกราบเรือ โดยให้สัมพันธ์กับมุมเรือเลี้ยวกลับ รวมทั้งความเร็วการใช้พายบังคับเรือให้กลับตัว ไม่อย่างนั้นแล้วเรือจะพลิกคว่ำได้ จากนั้นล่องเรือตามกระป๋องล่าปลาที่ตัวโตและราคาดีที่สุดของแม่น้ำนี้ กระป๋องใดจมๆโผล่ๆ นั่นปลากินเบ็ดแล้ว รีบพายเรือไปคว้าขึ้นมา ปลาเต๊าะตัวโตเนื้อหนุ่มจะติดขึ้นมา ปลานี้แกงส้มผักบุ้งอร่อยมาก ได้มาก็นำมากินมาขาย ให้พ่อค้าแม่ค้าตลาดต้นลำไยข้างลำน้ำแม่ปิงนั่นเอง บางทีเขาก็มาซื้อที่บ้านพรานนักล่าปลา บางคนก็ทอดแหยามน้ำแห้ง บางคนใช้เศษไม้กิ่งไม้ มากองรวมกันในน้ำริมตลิ่ง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ย่างเข้าเดือนมีนาคม น้ำแม่ข่าเริ่มแห้งแล้ว สามารถกระโดดข้ามไปได้ น้ำกินน้ำใช้ที่อาศัยบ่อน้ำในหมู่บ้าน เริ่มแห้งเช่นกัน ถ้าตักน้ำบ่อใช้มากๆ มันจะแห้งเกือบขอดก้น
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมย้าย จากโรงเรียนในป่าในดอย มาอยู่โรงเรียนขนาดใหญ่ประจำอำเภอ จากโรงเรียนขนาดเล็ก 1 ชั้นมี 1 ห้อง มาเป็น 1 ชั้นมี 5 ห้อง นักเรียนโรงเรียนใหม่มีจำนวน 1,500 คน เกือบเต็มสนามฟุตบอลทีเดียว ครูมีถึง 30 กว่าคน มากคนก็มากเรื่อง เพียงเข้าประชุมโรงเรียนครั้งแรก ได้พบการประคารมระหว่างครูด้วยกัน 2 กลุ่ม และครูกับผู้บริหาร มันช่างดุเด็ดเผ็ดร้อน เหมือนขบพริกขี้หนูแตกถูกลิ้นสัก 4-5 เม็ด มีรสชาติจริงๆ ผมเป็นผู้มาใหม่ จึงได้เพียงฟัง เก็บข้อมูล ครูแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็นฝ่ายอาจารย์ใหญ่ อีกกลุ่มค้านอาจารย์ใหญ่ ในเวลาต่อมา มีตัวแทนสองกลุ่มมาพูดคุยกับผม ด้วยอัธยาศัยที่ดี ชักชวนเข้ากลุ่ม…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ในปี 2546ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานที่ผมทำงานครั้งสำคัญ ซึ่งตรงกับรัฐบาลอดีตนายกฯทักษิณ (พ.ศ.2544-2548) มีการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน ในระดับสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ เปลี่ยนจากการใช้เครื่องพิมพ์ดีด มาใช้คอมพิวเตอร์แทน บุคลากรในฝ่ายงานต่างๆ เช่น การเงิน หน่วยศึกษานิเทศก์ ต่างก็ยกเครื่องพิมพ์ดีดไปไว้ในห้องพัสดุบ้าง วางไว้บนตู้บ้าง ใครมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ก็ใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์หนังสือ เก็บข้อมูล ใช้ข้อมูล ใครใช้ไม่เป็นก็ต้องไปเรียน หรือเข้าอบรมตามโปรแกรมที่ต้องใช้ในการทำงาน เรียนจากเอกชนบ้าง เข้าอบรมตามโครงการของหน่วยราชการบ้าง มีเพียง 2-3 คนยังใช้เครื่องพิมพ์ดีด…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
กุมภาพันธ์ เดือนแห่งความรัก รอทักทายอยู่ข้างหน้า กลิ่นหอมของดอกกุหลาบสีสวยสด รวยรินชวนให้สัมผัส โลกคงอบอวลด้วยกลิ่นจรุงใจของเจ้า ใยหอมชื่นเพียงไม่กี่วันคืนเล่า นี่คือวันแห่งความรัก อยากรู้นัก รักคืออะไร
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ก่อนนอน ย่าผมจะเล่านิทานให้ฟังแทบทุกคืน บางครั้งท่านก็คงจะเบื่อที่เล่าเรื่อง “เสือเย็น” ซ้ำๆ กัน แต่ทนเสียงรบเร้าของผมไม่ไหว ก็เรื่องมันสนุกตื่นเต้นนี่ครับ เรื่อง “เสือเย็น” เกิดขึ้นที่วัดหมื่นสาร ในวัยเด็ก ผมอยากทราบเหมือนกันว่า วัดนี้อยู่ที่ใด มีวัดนี้จริงไหม แต่ไม่สามารถจะค้นหาได้ ด้วยมีข้อจำกัดหลายประการ เมื่อย่าเสีย เรื่อง “เสือเย็น” เริ่มจางไปจากความทรงจำ วัยมากขึ้นก็คิดถึงเรื่องอื่นสารพัด จนกระทั่งผมเกษียณ วันหนึ่งตรงกับวันที่ 3 มกราคม 2552 ผมขับรถผ่านวัดหมื่นสาร ย่านประตูหายยา จังหวัดเชียงใหม่ เห็นมีป้ายชื่อวัด ใต้ป้ายมีรูปปั้นวัวสีขาวตั้งอยู่ ขับรถเข้าไปในวัด…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ย่านั่งบนพื้นบ้าน ซึ่งเป็นไม้ ใกล้กับหลายชายวัย 10 ขวบ เปลวไฟสีส้มจากโคมตีนสูง ส่องแสงให้เห็นลังสบู่ซันไลท์เปล่าวางอยู่ข้างหน้า “ย่าหาลังเปล่ามาให้แล้ว เห็นบ่นอยากได้นัก” “ย่าไปเอาที่ไหนมาล่ะ” ผมถาม ตามองดูลังไม้ที่ทำจากต้นจามจุรีวางตะแคง หันหน้าเข้าหาอย่างพอใจเต็มที่ ข้างในมันถูกแบ่งเป็นสองชั้น “ก็ไปขอร้านขายของปากซอยมา” ผมเปิดกระเป๋าหนังสือ หยิบหนังสือเรียนมาวางแถวล่าง สมุดแถวบน นี่ละตู้หนังสือชั้นดีของผม “รักจะเอาไว้หนังสือเรียน จะจัดหนังสือ สมุดตามตารางสอน ใส่กระเป๋าเป็นวันๆ สะพายมันจะได้เบาๆ”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ในวัยเด็ก ผมปล้ำเล่นกับน้อง น้องชายอายุ 4 ขวบ ผมอายุ 7 ขวบ ผมปล้ำสู้ไม่ได้ น้องแข็งแรงมาก ผมอดขำหัวเราะไม่ได้ ผมปล้ำเจียนอยู่เจียนแพ้ จึงเปลี่ยนยุทธวีธี ใช้ลำตัวกดทับขาน้องให้แนบพื้นกระดานบ้าน ป้องกันการถีบสกัด ใช้มือทั้งสองจับข้อมือน้องชายกดไว้ น้องสะบัดหน้าไปมา แรงแกสม่ำเสมอ ผมอดหัวเราะไม่ได้ จนเผยอปากอวดฟันหลอ อดใจไม่ไหว ก้มหน้าลงไปใช้จมูกหอมแก้มซ้าย 1 ฟอด น้องส่ายหน้าไปมาคงเขิน ผมหัวเราะชอบใจพูดว่า เก่งนักหรือ หอมแก้มขวาอีกฟอดแล้วปล่อย น้องลุกขึ้นยืนถ่างขา มือน้อยๆ กำเป็นรูปกำปั้นเตรียมสู้ต่อ แม่ทำอาหารหันมาเอ็ดว่า ทำอะไรกันเสียงดังลั่น ผมออกปากยอมแพ้แกจึงหยุด…