Skip to main content

ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง


20 พฤศจิกายน 2556
เวลา 13.30 น. ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยว่าด้วยประเด็น การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ความเป็นมาก่อนนี้ ส.ว.และส.ส.เสนอแก้ไขที่มาของสมาชิกวุฒิสภาให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ไม่ใช่มาจากการสรรหา 73 คน มาจากเลือกตั้ง 77 คน

เนื้อหาสาระคือ
ศาลฯเห็นว่ากระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและเนื้อหาที่ถูกแก้ไขโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงให้สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จึงเข้าข่ายตามมาตรา 68 แต่ไม่พบเหตุที่จะวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมือง และตัดสิทธิ์ทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคที่มีการร้องขอ...สาระสำคัญของมาตรา 68 ของกฎหมายรัฐธรรมนูญคือล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข...มีผลให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องที่มาของ ส.ว.ต้องตกไป

ปัญหาของประเทศขณะนี้
ชูขึ้นมามี 2 ปัญหาคือ ปฏิรูปประเทศก่อนเลือกตั้ง โดยเป็นข้อเสนอเรียกร้องของ กปปส.(คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ต่อมาขยายเป็น เรียกร้องให้นากยกรักษาการลาออก แต่ฝ่ายรัฐบาลรักษาการเสนอให้เลือกตั้งก่อนแล้วปฏิรูปประเทศ หรือปฏิรูปควบคู่กันไปด้วย ทั้งสองฝ่ายต่างต้องการกุมอำนาจรัฐไว้ในมือ ท้ายสุดต้องไปหารัฐธรรมนูญ จะทำอย่างไร แก้ไข ยกเลิก ร่างใหม่

ปมปัญหาเหล่านี้
ทำให้เกิดมวลชนสนับสนุนทั้งสองฝ่าย หลายกลุ่ม หากไล่ไปทีละปัญหาอย่างใจเย็น สืบสาวค้นหาที่มาสาเหตุ เช่น ปัญหาองค์กรอิสระ การใช้เสียงข้างมากในสภา ปัญหา 1 สิทธิ์ 1 เสียง ไม่เท่ากัน ปัญหาคอรัปชั่นรวมทั้งปัญหาที่ทั้งสองฝ่ายชูประกาศให้ได้ยิน ได้ประจักษ์ ลึกๆลงไป แท้จริงอะไรคือปัญหาหลอก ปัญหาจริง  ความต้องการจริงในหัวใจ

ความขัดแย้ง
ต้นตอน่าจะมาจากปัญหารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ใช้ไปแล้วมีปัญหา รัฐธรรมนูญ 2550 มาจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 รัฐธรรมนูญเป็นกติกา กฎ แนวทางปฏิบัติร่วมกันของผู้คนในประเทศ บทเรียนที่ ส.ว.และ ส.ส.ขอแก้ไขที่มาของ ส.ว. ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดนั้น ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วว่าทำไม่ได้ เข้าข่ายล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แปลความว่ารัฐธรรมนูญแก้ไขไม่ได้ ถ้าอย่างนั้นเราต้องใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ไปอีกนานเพียงใด

ได้ค้นข้อมูล
ประวัติศาสตร์การเมืองไทย หยิบเหตุการณ์สำคัญขึ้นมา ขอเริ่มจากปฏิวัติโดยประชาชน เมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 โดยมีแกนนำเป็นนักศึกษา และมีประชาชนเข้าร่วม จำนวนทั้งหมดราว 500,000 คน ร่วมชุมนุมใหญ่ ขับไล่รัฐบาลจอมพลถนอม จอมพลประภาส  เพราะจอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหารตนเองในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 เป็นการสืบทอดอำนาจ ซึ่งขณะนั้นจอมพลถนอมจะต้องเกษียณอายุราชการ ทั้งเรื่องปัญหาคอรัปชั่นในวงราชการต่างๆ ฯลฯ  ต่อมาขยายเป้าหมายเป็นเรียกร้องขอรัฐธรรมนูญ เกิดการนองเลือด เมื่อมีการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน ที่สุดจอมพลถนอม กิตติขจรได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาจอมพลถนอม จอมพลประภาส พ.อ.ณรงค์ ได้เดินทางออกนอกประเทศ เหตุการณ์จึงได้สงบลง มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นนายกรัฐมนตรี

หลังเหตุการณ์
มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยประชาชนจากหลายภาคส่วน มีนักการเมืองร่วมด้วย นำไปสู่การเลือกตั้งในต้นปี พ.ศ. 2518 ช่วงเวลานั้น เรียกว่าเป็นยุคฟ้าสีทองผ่องอำไพ

ประเทศไทยมีสถิติ
กบฏ 12 ครั้ง ปฏิวัติ 1 ครั้ง รัฐประหาร 8 ครั้ง เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนเป็นการแย่งชิงอำนาจการเปลี่ยนรัฐบาลหรือผู้ปกครองประเทศ ที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นไปตามกติกาหรือระเบียบแบบแผนโดยสันติวิธี มีการใช้กำลังอาวุธเข้ายึดอำนาจ เมื่อยึดอำนาจแล้ว มีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับเก่าหรือประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่  มีการประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นขบวนการที่เรียกว่ารัฐประหาร เป็นการล้มล้างรัฐบาลที่บริหารปกครองประเทศ แต่มิใช่การล้มล้างระบอบการปกครองหรือประเทศทั้งประเทศ รัฐประหารไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรงหรือนองเลือดทุกครั้งไป

คงพอมองเห็น
การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิมแล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทำได้โดยรัฐประหาร เป็นคณะบุคคลที่มีกองกำลังติดอาวุธเข้ายึดอำนาจ เช่น รัฐประหาร 19 กันยายนพ.ศ. 2549 แต่เมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ได้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยพลังนักศึกษาและประชาชน โดยมือเปล่า ปราศจากอาวุธ เป็น
2 เหตุการณ์ที่ฉายภาพขบวนการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญที่แตกต่างกัน หากได้ติดตามข่าวบ้านเมืองอย่างต่อเนื่อง จะเห็นภาพจริงขณะนี้ หลายขุมกำลังขยับตัวเข้าทับรอยประวัติศาสตร์อย่างน่าทึ่ง.
                     
                                

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ขณะเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ยินผู้ใหญ่หลายคนมานั่งคุยกับย่า พูดในทิศทางเดียวกันว่า อุ๊ย(ย่าหรือยาย)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ตื่นแล้ว ยังหนาวขอนอนงอเข่านิ่งๆต่ออีกหน่อย เสียงเจ้าเหมียวแมวตัวผู้ประจำบ้านร้องเหมียวๆที่ประตูห้องนอน ได้ยินเสียงเล็บมันข่วนประตูถี่ มันจะมาร้องทุกเช้าปลุกเจ้าของบ้าน ผมตะโกนบอกมันว่ายังไม่ลุกยังหนาวอยู่ มันไม่ยอมยังคงร้องเหมียวๆและข่วนประตูต่อไป ผมชักฉุนมันเป็นเจ้าของบ้านหรือผู้อาศัย พูดกันคนละภาษา อับจนสุดปัญญาหาล่ามแปล มันอาจคิดว่าเราเป็นคนใช้ก็ได้ ถ้าหิวมันร้องเราก็เอาอาหารให้ มันหนาวมันร้องบอกอีก
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
มองเข้าไปในมิติการเมืองไทย
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวกับสื่อมวลชนประจำทำเนียบที่เข้าอวยพรว่า “...ไม่ว่าจะมีเสียงวิจารณ์อย่างไรเราก็น้อมรับ...ขอโอกาสให้ทำงานอยู่จนครบ เทอม จะได้ตอบว่า ผลงานที่ได้แถลงไว้ทำได้อย่างไร ได้คะแนนเท่าไรบ้าง.”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้หาเสียงเลือกตั้งให้พรรคเพื่อไทย โดยชูนโยบายเด่นด้าน ความปรองดอง การแก้ไขและป้องกันยาเสพติด ปราบปรามคอรัปชั่น ยกร่างรัฐธรรมนูญ และอื่นๆอีกยาวเหยียด และท่านมักจะทิ้งท้ายวาทะสำคัญคือ “ ขอโอกาส” จากประชาชน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ฮัก(รัก)รออยู่ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางมาบ้านเกิดที่เชียงใหม่ เป็นการกลับมาบ้านเกิดครั้งแรก หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านตั้งใจจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดหลังพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ(10 สิงหาคม 2554) แต่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ จึงต้องอยู่กรุงเทพฯ เพื่อบริหารจัดการน้ำก่อน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    หากไม่ย้ายเมืองหลวง คนไทยจะปักหลักอยู่ที่เดิมสู้ต่อไป  มาในแนวสู้ไม่ถอย  ขอแก้ตัวอีกสักครั้ง  หรือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม  กรุงเทพฯจะต้องมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปัจจุบัน  และคาดว่าจะใช้งบประมาณมหาศาลทีเดียว  ลองมาดูตัวเลขความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554  ธนาคารโลกได้ประเมินค่าความเสียหายประมาณ 1.36 ล้านล้านบาท  แยกเป็นความเสียหายจากทรัพย์สิน 6.4 แสนล้านบาท  ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ 7.16 แสนล้านบาท  แรงงานว่างงาน 7-9.2  แสนคน  และไทยจะใช้เงินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากน้ำท่วม  ในวงเงินประมาณ 7.56  แสนล้านบาท…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ประเทศแรก ที่จะจมมหาสมุทร คือประเทศมัลดิฟว์ ประเทศเป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย มีประชากรราว 270,000 คน มีพื้นที่ 298 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าภูเก็ตที่มีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร มัลดิฟว์เป็นหมู่เกาะปะการัง มีหาดทรายขาวและสวยงามมาก หมู่เกาะกระจายราว 1,200 เกาะ พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 1.5 เมตรเท่านั้น ประธานาธิบดีคนใหม่ชื่อ นายโมฮัมเหม็ด แอนนี นาชิด กำลังหนักใจเกี่ยวกับการมองหาที่ตั้งประเทศแห่งใหม่ ได้มองไปที่ประเทศศรีลังกา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
     ในอดีต มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไทย  เสนอแนวคิดการย้ายเมืองหลวงหลายครั้งหลายยุค  ลองไล่ตามลำดับ เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486  บุรุษผู้กล้าหาญคนแรก  ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม  คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์  ต่อมาในในสมัยรัฐบาล  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  จะย้ายเมืองหลวงไปที่เขาตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทรา  พอมาถึงยุคท่านสมัคร  สุนทรเวช  เจ้าของวลีเด็ดๆ  เช่น “ กระเหี้ยนกระหือรือ   อะไรกันนักหนา ฯลฯ”  ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง  รัฐมนตรีช่วยว่าราชการกระทรวงมหาดไทย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  การย้ายเมือง มักมีสาเหตุต่างๆ ที่สำคัญ  ดังเช่น  เมืองลำพูนในอดีต  ในปี พ.ศ. 1490  เมืองลำพูนได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงคือ “โรคห่า” หรืออหิวาตกโลก  ผู้คนล้มตายมากมาย  ผู้ที่ยังไม่ตายเห็นว่า  ถ้าอยู่ต่อไปอาจต้องเสียชีวิต  จึงพากันไปอยู่เมือง “สุธรรมวดี”  คือเมืองสะเทิม  ประเทศรามัญหรือมอญ  และยังระหกระเหินย้ายไปอยู่เมืองอื่นนานถึง 6 ปี  เมื่อทราบว่าโรคระบาดลดลง  จึงพากันกลับมาอยู่เมืองลำพูนดังเดิม เวียงกุมกาม
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง ที่อยุธยาถูกน้ำท่วม มูลค่าลงทุนหลายแสนล้านบาท ตามลำดับดังนี้ 1.นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง ฯลฯ มูลค่าลงทุน 9,472 ล้านบาท คนงาน 14,000 คน โรงงาน 48 โรง พื้นที่ 2,050 ไร่ 2.ส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ฯลฯ มูลค่าลงทุน 58,000 ล้านบาท คนงาน 90,000 คน โรงงาน 183 โรง พื้นที่ 12,000 ไร่ 3.นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมฯ…