Skip to main content

 

                                                          
                                                                                                              ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง


5.

กะเหรี่ยงเฒ่า 

เจ้ากุยโน่และผู้ติดตามก้มกราบลาพระดอนกลับดอยสูงเบื้องทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  ริมชายแดนพม่า  เตรียมย้ายหมู่บ้านไปอยู่ทำเลใหม่ที่เหมาะสม  หมู่บ้านแห่งใหม่อยู่บนดอยสูงริมหน้าผา  มองลงไปเห็นเพียงสายน้ำดังผืนผ้าขาวบาง  ไหลผ่านก้อนหินใหญ่น้อย  หากใครจิตใจไม่เข้มแข็งนิ่งสงบพอ  แม้ยืนริมหน้าผาแล้วก้มมองลงไป  แข้งขาอาจอ่อนแรงร่วงหล่นลงไปกระแทกหินผาแหลกเละได้  พื้นที่โดยรอบกว้างพอปลูกบ้านได้ 30 กว่าหลัง  มีทางไต่ขึ้นเพียงทางเดียว  สามารถมองเห็นได้โดยรอบดอย  ข้าศึกผู้ร้ายหากรุกล้ำเข้ามาย่อมมองเห็นโดยง่าย

ภายในวัดพระบาทอุดม  ใช่จะมีเพียงโบสถ์วิหารศาลา  และที่อบสมุนไพรเท่านั้น  ถัดจากด้านหลังวัด    ยังเป็นป่าโปร่งเนื้อที่กว่า 30 ไร่  ณ  ที่นี่ทางฝ่ายทหาร  ได้ขอเจ้าอาวาสใช้เป็นค่ายฝึกอาวุธแก่ทหาร  แม้บ้านเมืองยังสงบ  ผู้ครองเมืองมิได้ประมาท  มีการเตรียมกำลังทหารไว้เสมอมา  ทางวัดมิได้ขัดข้องแต่ประการใด  ยามนี้ทางวัดและฝ่ายบ้านเมืองต้องร่วมมือกัน  ด้วยพระศาสนาและพระสงฆ์องค์เจ้าจะอยู่รอดปลอดภัย  บ้านเมืองต้องปลอดจากข้าศึกรุกราน  กำลังทหารเท่านั้นจะช่วยได้  พระดอนและเจ้าอาวาสเคยไปดูการฝึกอาวุธให้ทหารเช่นกัน  พระดอนยังช่วยแนะนำการต่อสู้ให้ทหารขณะฝึกซ้อม  แต่มิได้ลงทดสอบเพลงดาบ  เป็นที่ทราบเพียงว่า  พระดอนมีฝีมือทางเพลงดาบ อยู่ในระดับน่าเกรงขาม  มีแม่ทัพและนายทหารไม่กี่คน  ที่ทราบว่ามีทหารฝีมือดี  รวมทั้งครูดาบทั้งหลาย  บางคนเดินทางมาจากแดนไกล  จากหลายแหล่งแห่งหน  ดั้นด้นมาฝึกเพลงดาบให้พระดอน  โดยไม่มีการเปิดเผย  แม้เป็นพระยังต้องฝึกเพลงดาบ  มิใช่เรื่องแปลกประหลาด  ในยามบ้านเมืองมักมีศึกสงครามไม่ขาด  อาจเป็นเพราะพระดอนสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าอุดมสิน  ผู้ครองเมืองฝางในกาลก่อน  เป็นหลานพระนางสามผิว  จึงมีอยู่เนืองๆ  มักมีญาติผู้ใหญ่และที่รองลงมา  จะมาเยี่ยมเยือน  มากราบพระดอนเสมอ  ทั้งของฉันและของใช้มาถวาย  บางทีเป็นผลไม้หลากหลายชนิด  จนพระดอนฉันไม่หมด  ต้องแบ่งปันพระรูปอื่น  สุดท้ายโขยมวัดพลอยได้กินเอร็ดอร่อยทั่วหน้า

ทุกวันพระจะมีสตรีนางหนึ่งวัย 15 ปี  รูปร่างระหง  ท่าทางมีสง่าราศี  กริยาสำรวมเรียบร้อย  นุ่งผ้าซิ่นลายขวางต่อตีน(ต่อเชิงต่อเอว)  สีส้มตัดสีเหลือง  สวมเสื้อคอกลม  ตัวหลวม  แขนกระบอกต่อแขนต่ำ  ผ่าอกตลอด  ติดมะต่อมแต๊บ(กระดุมแป๊ป)  มีกระเป๋าสองข้าง  สีเปลือกไข่  ตุ้มหูแต่ละข้างเป็นวงกลมทอง 2 วง  เรียงจากวงใหญ่ลงไปหาเล็ก เกล้าผมมวยเหนือท้ายทอย  เสียบผมด้วยหย่องโลหะ(เข็มเสียบผม)ทำด้วยนาก  ผมสีดำสนิทต้นคอตัดกับลำคอขาวระหง  แขนซ้าย สวมกำไลทอง  ผิวนางผุดผ่องด้วยวัยเริ่มสาว  สีผิวดังมะปรางสุกทีเดียว  นางถือถาดอาหารคาวหวานมุ่งสู่กุฏิพระดอน พร้อมคนใช้หญิงสูงวัยกว่านางเล็กน้อย  ทั้งสองนั้นมาถึงวัดแต่เช้าก่อนใคร
                                                          

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ขณะเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ยินผู้ใหญ่หลายคนมานั่งคุยกับย่า พูดในทิศทางเดียวกันว่า อุ๊ย(ย่าหรือยาย)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ตื่นแล้ว ยังหนาวขอนอนงอเข่านิ่งๆต่ออีกหน่อย เสียงเจ้าเหมียวแมวตัวผู้ประจำบ้านร้องเหมียวๆที่ประตูห้องนอน ได้ยินเสียงเล็บมันข่วนประตูถี่ มันจะมาร้องทุกเช้าปลุกเจ้าของบ้าน ผมตะโกนบอกมันว่ายังไม่ลุกยังหนาวอยู่ มันไม่ยอมยังคงร้องเหมียวๆและข่วนประตูต่อไป ผมชักฉุนมันเป็นเจ้าของบ้านหรือผู้อาศัย พูดกันคนละภาษา อับจนสุดปัญญาหาล่ามแปล มันอาจคิดว่าเราเป็นคนใช้ก็ได้ ถ้าหิวมันร้องเราก็เอาอาหารให้ มันหนาวมันร้องบอกอีก
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
มองเข้าไปในมิติการเมืองไทย
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวกับสื่อมวลชนประจำทำเนียบที่เข้าอวยพรว่า “...ไม่ว่าจะมีเสียงวิจารณ์อย่างไรเราก็น้อมรับ...ขอโอกาสให้ทำงานอยู่จนครบ เทอม จะได้ตอบว่า ผลงานที่ได้แถลงไว้ทำได้อย่างไร ได้คะแนนเท่าไรบ้าง.”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้หาเสียงเลือกตั้งให้พรรคเพื่อไทย โดยชูนโยบายเด่นด้าน ความปรองดอง การแก้ไขและป้องกันยาเสพติด ปราบปรามคอรัปชั่น ยกร่างรัฐธรรมนูญ และอื่นๆอีกยาวเหยียด และท่านมักจะทิ้งท้ายวาทะสำคัญคือ “ ขอโอกาส” จากประชาชน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ฮัก(รัก)รออยู่ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางมาบ้านเกิดที่เชียงใหม่ เป็นการกลับมาบ้านเกิดครั้งแรก หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านตั้งใจจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดหลังพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ(10 สิงหาคม 2554) แต่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ จึงต้องอยู่กรุงเทพฯ เพื่อบริหารจัดการน้ำก่อน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    หากไม่ย้ายเมืองหลวง คนไทยจะปักหลักอยู่ที่เดิมสู้ต่อไป  มาในแนวสู้ไม่ถอย  ขอแก้ตัวอีกสักครั้ง  หรือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม  กรุงเทพฯจะต้องมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปัจจุบัน  และคาดว่าจะใช้งบประมาณมหาศาลทีเดียว  ลองมาดูตัวเลขความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554  ธนาคารโลกได้ประเมินค่าความเสียหายประมาณ 1.36 ล้านล้านบาท  แยกเป็นความเสียหายจากทรัพย์สิน 6.4 แสนล้านบาท  ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ 7.16 แสนล้านบาท  แรงงานว่างงาน 7-9.2  แสนคน  และไทยจะใช้เงินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากน้ำท่วม  ในวงเงินประมาณ 7.56  แสนล้านบาท…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ประเทศแรก ที่จะจมมหาสมุทร คือประเทศมัลดิฟว์ ประเทศเป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย มีประชากรราว 270,000 คน มีพื้นที่ 298 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าภูเก็ตที่มีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร มัลดิฟว์เป็นหมู่เกาะปะการัง มีหาดทรายขาวและสวยงามมาก หมู่เกาะกระจายราว 1,200 เกาะ พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 1.5 เมตรเท่านั้น ประธานาธิบดีคนใหม่ชื่อ นายโมฮัมเหม็ด แอนนี นาชิด กำลังหนักใจเกี่ยวกับการมองหาที่ตั้งประเทศแห่งใหม่ ได้มองไปที่ประเทศศรีลังกา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
     ในอดีต มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไทย  เสนอแนวคิดการย้ายเมืองหลวงหลายครั้งหลายยุค  ลองไล่ตามลำดับ เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486  บุรุษผู้กล้าหาญคนแรก  ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม  คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์  ต่อมาในในสมัยรัฐบาล  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  จะย้ายเมืองหลวงไปที่เขาตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทรา  พอมาถึงยุคท่านสมัคร  สุนทรเวช  เจ้าของวลีเด็ดๆ  เช่น “ กระเหี้ยนกระหือรือ   อะไรกันนักหนา ฯลฯ”  ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง  รัฐมนตรีช่วยว่าราชการกระทรวงมหาดไทย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  การย้ายเมือง มักมีสาเหตุต่างๆ ที่สำคัญ  ดังเช่น  เมืองลำพูนในอดีต  ในปี พ.ศ. 1490  เมืองลำพูนได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงคือ “โรคห่า” หรืออหิวาตกโลก  ผู้คนล้มตายมากมาย  ผู้ที่ยังไม่ตายเห็นว่า  ถ้าอยู่ต่อไปอาจต้องเสียชีวิต  จึงพากันไปอยู่เมือง “สุธรรมวดี”  คือเมืองสะเทิม  ประเทศรามัญหรือมอญ  และยังระหกระเหินย้ายไปอยู่เมืองอื่นนานถึง 6 ปี  เมื่อทราบว่าโรคระบาดลดลง  จึงพากันกลับมาอยู่เมืองลำพูนดังเดิม เวียงกุมกาม
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง ที่อยุธยาถูกน้ำท่วม มูลค่าลงทุนหลายแสนล้านบาท ตามลำดับดังนี้ 1.นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง ฯลฯ มูลค่าลงทุน 9,472 ล้านบาท คนงาน 14,000 คน โรงงาน 48 โรง พื้นที่ 2,050 ไร่ 2.ส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ฯลฯ มูลค่าลงทุน 58,000 ล้านบาท คนงาน 90,000 คน โรงงาน 183 โรง พื้นที่ 12,000 ไร่ 3.นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมฯ…