"ไม่มีชื่อ"
ฉันรู้สึกรำคาญคุณพ่อคุณแม่รู้ดีที่ทำเป็นเข้าอกเข้าใจต้นข้าว ก่อนอื่นใดขอให้ทำความเข้าใจชีวิตคนจริง ๆ ก่อนดีไหม
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ข้อความที่ได้รับ
คล้ายที่ลงในหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ ฉบับวันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม 2553 ดังนี้
ข้าวไม่ต้องหุงพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวพัฒนา โดยศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ จากข้าว 4 พันธุ์คือ ข้าวดอกมะลิ 105 กข 39 ข้าวหลวงสันป่าตอง และขาหนี่ เพื่อความสะดวกในการเตรียม ให้เป็นอาหารพร้อมสำหรับบริโภค โดยใช้อุปกรณ์การหุงน้อยชิ้นและประหยัดพลังงานในการทำให้สุก ภายใต้กระบวนการแปรรูป ให้เป็นข้าวที่นึ่งที่ทำให้สุกด้วยไอน้ำ ลดความชื้น และนำไปสีเป็นข้าวสาร เมื่อต้องการบริโภค จะนำมาทำให้คืนตัวเป็นข้าวสุก โดยการนำข้าวนึ่งแช่น้ำร้อน 100 องศาเซลเซียสหรือน้ำเดือด อัตราข้าว 1 ส่วน ต่อน้ำ 1 ส่วน(หรือน้ำมากกว่าเล็กน้อย แต่ไม่เกิน 105 ส่วน จะทำให้ข้าวสุกที่ได้แฉะไม่น่ารับประทาน) ทิ้งไว้ 20 นาที สามารถนำไปรับประทานได้ หรือนำข้าวนึ่งแช่ในน้ำเย็นที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ในอัตราข้าวต่อน้ำเช่นเดียวกับ การแช่ในน้ำร้อนทิ้งไว้ 45 นาที สามารถรับประทานได้ ข้าวที่ได้จากการเตรียมให้สุกโดยวิธีนี้ จะเป็นข้าวร่วน หากนำไปหุงด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า อัตราข้าว 1 ส่วน ต่อน้ำ 1.25 ส่วน ใช้เวลา 15 นาที จะได้ข้าวสุกที่มีความนุ่ม เช่นเดียวกับข้าวสวยทั่วไป
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันพุธที่ 7 กรกฎาคม 2553
ผมเดินทางโดยรถยนต์พร้อมภรรยา ไปยังศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ อำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ อีกครั้งหนึ่ง หลังจากตอนเย็นวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 ได้พูดคุยนัดหมายกับคุณสกุล มูลคำ เรียบร้อยแล้ว ให้ภรรยานั่งคอยในรถยนต์ ก้าวขึ้นบันไดที่ทำงานของผู้ที่ผมไปพบ ยกมือไหว้คุณสกุลก่อนตามธรรมเนียม คุณสกุลดูยิ้มแย้ม เป็นกันเอง ไม่มากพิธี
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
อ่านหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
ประจำวันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม 2553 มีข่าวหนึ่งสะดุดตาและสมอง หนังสือพิมพ์พาดหัวข่าวว่า
“ ทึ่ง ‘ ข้าวไม่ต้องหุง’ ศูนย์วิจัยคิดค้นรายแรกของไทย.” มันสะดุดตาตรงที่ ข้าวไม่ต้องหุง ข้าวอะไรไม่ต้องหุง ? ต้องเป็นข้าวที่มีคุณภาพพิเศษมากๆแน่นอน สะดุดยิ่งขึ้นอีก เมื่อบอกว่า ศูนย์วิจัยคิดค้นรายแรกของไทย อะไรที่มีคำว่าวิจัย ผมสนใจเสมอ เพราะมันหมายถึง การค้นหาคำตอบในเชิงวิทยาศาสตร์ ที่พิสูจน์ความจริงได้ อ่านรายละเอียดข่าวแล้ว พอจะตกผลึกได้ว่า ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่คิดค้นข้าวไม่ต้องหุง สำเร็จรายแรกของไทย อ่านมาถึงตอนนี้ หัวใจชักพองโตด้วยความภาคภูมิใจ คนไทยเก่งนะ เกิดความอยากไปดูให้เห็นกับตา ที่ศูนย์วิจัยแห่งนี้ อยากดูข้าวที่ไม่ต้องหุง มันมีลักษณะอย่างไรหนอ ข่าวบอกว่า ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่อยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลมะขามหลวง อำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ โถ ! อยู่ใกล้ๆบ้านผมนี่เอง ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่อยู่ที่ถนนโค้งก่อนถึงสี่แยกตลาดมะจำโรง ฝั่งตะวันออก ถนนสันป่าตอง เชียงใหม่ ผมบอกตนเอง ต้องขับรถยนต์ไปดู ไปหาข้อมูลรายละเอียดให้ได้ บ้านผมอยู่บ้านทุ่งแป้งแค่นี้เอง
ที่ว่างและเวลา
ดอกเสี้ยวขาวยามเช้าในหุบเขาผาแดง หมอกขาวยังคงปกคลุมทั่วท้องนา ความหนาวเริ่มย่างกรายมาเยือน ท้องทุ่งในยามนี้เต็มไปด้วยผู้คนต่างรวมแรงร่วมใจกันเอามื้อเอาแฮง (ลงแขก) บ้างช่วยกัน ตีข้าว (นวดข้าว) มัดข้าว และตัดข้าว หลังจากที่ต้องรอคอยมานานหลายเดือนกับการรอคอยผลผลิตแห่งฤดูกาล 'การตัดข้าว' ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่า การอดข้าว ไม่กินข้าว แต่เป็นนวัตกรรมใหม่บวกกับภูมิปัญญาชาวบ้านที่คิดค้นขึ้นเอง โดยใช้รถตัดหญ้าแบบสะพาย มาดัดแปลง เปลี่ยนใบมีด และทำที่รองรับข้าว เพื่อใช้แทนการเกี่ยวข้าวของชาวนาในอดีต เครื่องตัดข้าว หรือเครื่องเกี่ยวข้าว นี้เป็นการคิดค้นโดยชาวบ้านแม่ป๋าม เป้าหมายเพื่อลดต้นทุนในการเกี่ยวข้าว เมื่อตัดข้าวเสร็จ ชาวบ้านก็จะช่วยกันมัดข้าว และช่วยกันตีข้าว