คนไม่มีอะไร
เมื่อวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2551 ถือว่าเป็นความโชคดีของชุมชนทับเขือ และสมาชิกเครือข่ายองค์ชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง เนื่องจากมีแขกต่างเมืองมาเยือนถึงที่ หลายๆ คนอาจคาดไม่ถึง ว่าบุคคลท่านนี้มาถึงชุมชนเล็กๆ นี้ทำไม และหลายๆ คนก็กำลังคิดว่าเขาเป็นใครมาจากไหน คุณริคาร์โด คาร์เรเร (Ricardo Carrere) เป็นคนประเทศอุรุกวัย หน้าที่การงานในตอนนี้เป็นผู้ประสานเครือข่ายป่าไม้เขตร้อนระดับโลก องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1996 เป็นเวลานานถึง 12 ปี และเริ่มต้นที่ทำการเคลือนไหวที่ประเทศมาเลเซียเป็นประเทศแรก ซึ่งริคาร์โดเชื่อว่า "เวลาพูดถึงป่าไม้ ไม่ได้หมายถึงต้นไม้แต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมถึงชุมชนเข้าไปด้วย เพราะชุมชนต้องอยู่คู่กับป่า" ริคาร์โดจะทำต่อสู้ภาคประชาชนในการเรียกร้องต่อสู้เรื่องป่า อย่างเช่นในทวีป แอฟริกา อเมริกาใต้ ซึ่งประชาชนทั่วโลกก็อยู่กับป่ามาเป็นร้อยๆ ปีแล้ว แต่รัฐบาลเกือบทุกประเทศมิได้ตระหนักถึงตรงจุดนี้ แต่ที่รัฐบาลทำคือ การอนุญาตให้สัมปทานป่าไม้ การทำเหมืองแร่ และก็มีบริษัทเป็นนายทุนเข้ามา ซึ่งคล้ายๆ กับประเทศไทยในตอนนี้ เมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมารัฐบาลสนับสนุนให้ปลูกพืชเชิงเดียว สวนเดียว เช่นต้นปาล์มน้ำมัน และยางพารา เหมือนบ้านเราที่ช่วงหนึ่งรัฐบาลเองก็สนับสนุนให้ปลูกพืชเชิงเดียว เช่น บริเวณจังหวัดกระบี จังหวัดตรัง จนมาวันนี้ชุมชนพยามยามกลับไปทำอย่างเดิมคือปลูกพืชผสมหลายๆ อย่างเข้าไว้ในสวนเดียวกัน การเคลื่อนไหวเครือข่ายป่าเขตร้อนของริคาร์โด เขาเองก็ได้เรียนรู้จากชาวบ้าน ชาวบ้านรักษาป่าอย่างไร อยู่กับป่าอย่างไร และปกป้องป่าอย่างไร เป็นเวลาสิบกว่าปีที่เขาต้องเดินทางเรียนรู้เรื่องแบบนี้ สามารถที่จะผลักดันในเชิงนโยบายได้ ร่วมถึงเรื่องป่ายูคาร์ลิปตัสด้วยเช่นกัน ส่วนในประเทศไทยก็เป็นพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เขาจะศึกษาเรียนรู้ความเดือดร้อนของชาวบ้าน ว่าเดือดร้อนยังไง ปกป้องป่าแบบอย่างไร เมื่อปี 1998 ประมาณสิบที่ผ่านมาทางเครือข่ายการเคลื่อนไหวป่าเขตร้อนได้การรณรงค์ครั้งใหญ่ในกรณีการปลูกต้นปาล์มน้ำมัน ต้นยูคาร์ลิปตัส และต้นยางพารา ไม่ให้รัฐบาลและประเทศทั่วโลกส่งเสริมในการการปลูก เพราะต้นไม้เหล่านี้เป็นพืชเศรษฐกิจ การเคลื่อนไหวขององค์กรนี้ต้องเข้าหาชาวบ้าน และชาวบ้านทั่วโลกพูดแบบเดียวกัน เรื่องเดียวกันกัน มีปัญหาเรื่องที่ดิน ขาดแคลนน้ำ ปัญหาวิถีการดำรงชีวิต ถูกทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ไม่มีที่ดินทำกิน เช่นรัฐบาลสนับสนุนให้ปลูกต้นยูคาร์ลิปตัส เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง แต่ไม่ใช่ป่าไม้ เพราะมันเป็นไม้เศรษฐกิจ รัฐบาลคล้ายๆ กับว่าต้องการปลูกป่าใหม่ หรืออีกกรณีหนึ่งก็ประกาศเป็นเขตอุทยานทับพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน และรัฐบาลก็ออกมากล่าวว่ารัฐบาลกำลังรักษาพื้นที่ป่าไม้ นี้เป็นสิ่งที่ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน ทำให้ชาวบ้านต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิของตนเองในช่วงที่เศรษฐกิจไม้กำลังไปได้ดี รัฐบาลหลายๆ ประเทศก็พยายามที่จะออกมากล่าว "ป่าคือไม้" แต่ชาวบ้านคิดว่าป่าคือ "วิถีชีวิตของเขาทั้งหมด" รัฐบาลก็จะบอกว่าพวกชาวบ้านไม่มีความรู้เรื่องป่าหรอก ที่รู้มาก็เป็นความรู้ที่ผิดๆ กรมป่าไม้ก็จะกล่าวว่า กรมป่าไม้ต่างหากเป็นผู้ที่รู้เรื่องเกี่ยวกับป่าไม้ทุกอย่าง ชาวบ้านอยู่ในป่า ชาวบ้านก็จะทำลายป่า การตัดสินใจก็ต้องอยู่ที่รัฐบาล รัฐบาลรักษาป่าได้ดีกว่าชุมชนริคาร์โดได้เรียนรู้เรื่องประเทศไทยก็ตอนที่เรียกร้องสิทธิ์ป่าชุมชนเมื่อหลายปีก่อน ได้รู้ว่าป่าคือชีวิตของชาวบ้าน ในช่วงที่ชาวบ้านหรือชุมชนของประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ได้ลุกขึ้นมารณรงค์เรื่องต้นยูคาร์ลิปตัส ชาวบ้านในแถบนี้ทำการต่อสู้กับนโยบายของรัฐในตอนนั้น และเป็นประเด็นที่เขามาเยือนประเทศไทยในตอนนี้ เพราะชาวบ้านพยายามเรียกร้องป่าคืนมาริคาร์โดได้ลงพื้นที่ชุมชนทับเขือ องค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง ชุมชนทับเขือมีปัญเรื่องที่ทำกิน และได้รับการคุกคามจากนโยบายภาครัฐ ซึ่งตอนนี้พื้นที่แห่งนี้ถูกประกาศเป็นเขตอุทยานเขาปูเขาย่า เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมือปี พ.ศ. 2525 และถูกประกาศทับเป็นเขตรัษาพันธุ์สัตว์ โดยที่ชาวบ้านไม่มีส่วนรู้เห็นเป็นใจ ในขณะชุมชนทับเขือเองก็กำลังระดมแนวคิดกำหนดรัฐธรรมนูญชุมชน สืบเนื่องจากที่ผ่านมาชุมชนได้รับผลกระทบจากการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ ทำให้วิถีชีวิตต้องลำบากมากขึ้นริคาร์โดได้ยินอย่างนี้ เขาก็พูดว่าชุมชนต้องเข็มแข็ง และเขาก็พูดติดตลกให้ฟัง "ชุมชนทับเขือรวยเนื่องจากในสวนเตืมไปด้วยอาหาร สามารถหากินได้โดยไม่ต้องซื้อ" ไม่เหมือนกับพวกที่นั่งเก้าสูงๆ ที่ต้องกินอาหารราคาแพงๆ คนเหล่านั้นคงอิจฉาชุมชนแห่งนี้ที่มีอาหารกินโดยไม่ต้องซื้อ เลยพยายามที่จะกดดั้นให้ชาวบ้านออกไปอยู่ที่อื่นๆคุณริคาร์โด ผู้แปล คุณจารุวรรณ แก้วมหานิล