Skip to main content

          เมื่อวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2551 ถือว่าเป็นความโชคดีของชุมชนทับเขือ  และสมาชิกเครือข่ายองค์ชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง เนื่องจากมีแขกต่างเมืองมาเยือนถึงที่ หลายๆ คนอาจคาดไม่ถึง ว่าบุคคลท่านนี้มาถึงชุมชนเล็กๆ นี้ทำไม และหลายๆ คนก็กำลังคิดว่าเขาเป็นใครมาจากไหน

                คุณริคาร์โด คาร์เรเร (Ricardo Carrere)  เป็นคนประเทศอุรุกวัย  หน้าที่การงานในตอนนี้เป็นผู้ประสานเครือข่ายป่าไม้เขตร้อนระดับโลก องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1996 เป็นเวลานานถึง 12 ปี และเริ่มต้นที่ทำการเคลือนไหวที่ประเทศมาเลเซียเป็นประเทศแรก  ซึ่งริคาร์โดเชื่อว่า "เวลาพูดถึงป่าไม้  ไม่ได้หมายถึงต้นไม้แต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมถึงชุมชนเข้าไปด้วย เพราะชุมชนต้องอยู่คู่กับป่า"

            ริคาร์โดจะทำต่อสู้ภาคประชาชนในการเรียกร้องต่อสู้เรื่องป่า อย่างเช่นในทวีป แอฟริกา อเมริกาใต้ ซึ่งประชาชนทั่วโลกก็อยู่กับป่ามาเป็นร้อยๆ ปีแล้ว แต่รัฐบาลเกือบทุกประเทศมิได้ตระหนักถึงตรงจุดนี้  แต่ที่รัฐบาลทำคือ การอนุญาตให้สัมปทานป่าไม้ การทำเหมืองแร่ และก็มีบริษัทเป็นนายทุนเข้ามา ซึ่งคล้ายๆ กับประเทศไทยในตอนนี้

เมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมารัฐบาลสนับสนุนให้ปลูกพืชเชิงเดียว สวนเดียว เช่นต้นปาล์มน้ำมัน และยางพารา เหมือนบ้านเราที่ช่วงหนึ่งรัฐบาลเองก็สนับสนุนให้ปลูกพืชเชิงเดียว เช่น บริเวณจังหวัดกระบี จังหวัดตรัง จนมาวันนี้ชุมชนพยามยามกลับไปทำอย่างเดิมคือปลูกพืชผสมหลายๆ อย่างเข้าไว้ในสวนเดียวกัน

การเคลื่อนไหวเครือข่ายป่าเขตร้อนของริคาร์โด เขาเองก็ได้เรียนรู้จากชาวบ้าน ชาวบ้านรักษาป่าอย่างไร อยู่กับป่าอย่างไร และปกป้องป่าอย่างไร เป็นเวลาสิบกว่าปีที่เขาต้องเดินทางเรียนรู้เรื่องแบบนี้ สามารถที่จะผลักดันในเชิงนโยบายได้ ร่วมถึงเรื่องป่ายูคาร์ลิปตัสด้วยเช่นกัน ส่วนในประเทศไทยก็เป็นพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เขาจะศึกษาเรียนรู้ความเดือดร้อนของชาวบ้าน ว่าเดือดร้อนยังไง ปกป้องป่าแบบอย่างไร

เมื่อปี 1998 ประมาณสิบที่ผ่านมาทางเครือข่ายการเคลื่อนไหวป่าเขตร้อนได้การรณรงค์ครั้งใหญ่ในกรณีการปลูกต้นปาล์มน้ำมัน  ต้นยูคาร์ลิปตัส และต้นยางพารา ไม่ให้รัฐบาลและประเทศทั่วโลกส่งเสริมในการการปลูก เพราะต้นไม้เหล่านี้เป็นพืชเศรษฐกิจ

การเคลื่อนไหวขององค์กรนี้ต้องเข้าหาชาวบ้าน และชาวบ้านทั่วโลกพูดแบบเดียวกัน เรื่องเดียวกันกัน มีปัญหาเรื่องที่ดิน ขาดแคลนน้ำ ปัญหาวิถีการดำรงชีวิต ถูกทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ไม่มีที่ดินทำกิน  เช่นรัฐบาลสนับสนุนให้ปลูกต้นยูคาร์ลิปตัส เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง แต่ไม่ใช่ป่าไม้ เพราะมันเป็นไม้เศรษฐกิจ รัฐบาลคล้ายๆ กับว่าต้องการปลูกป่าใหม่ หรืออีกกรณีหนึ่งก็ประกาศเป็นเขตอุทยานทับพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน และรัฐบาลก็ออกมากล่าวว่ารัฐบาลกำลังรักษาพื้นที่ป่าไม้ นี้เป็นสิ่งที่ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน ทำให้ชาวบ้านต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิของตนเอง

ในช่วงที่เศรษฐกิจไม้กำลังไปได้ดี รัฐบาลหลายๆ ประเทศก็พยายามที่จะออกมากล่าว "ป่าคือไม้" แต่ชาวบ้านคิดว่าป่าคือ "วิถีชีวิตของเขาทั้งหมด" รัฐบาลก็จะบอกว่าพวกชาวบ้านไม่มีความรู้เรื่องป่าหรอก ที่รู้มาก็เป็นความรู้ที่ผิดๆ กรมป่าไม้ก็จะกล่าวว่า กรมป่าไม้ต่างหากเป็นผู้ที่รู้เรื่องเกี่ยวกับป่าไม้ทุกอย่าง ชาวบ้านอยู่ในป่า ชาวบ้านก็จะทำลายป่า การตัดสินใจก็ต้องอยู่ที่รัฐบาล รัฐบาลรักษาป่าได้ดีกว่าชุมชน

ริคาร์โดได้เรียนรู้เรื่องประเทศไทยก็ตอนที่เรียกร้องสิทธิ์ป่าชุมชนเมื่อหลายปีก่อน ได้รู้ว่าป่าคือชีวิตของชาวบ้าน  ในช่วงที่ชาวบ้านหรือชุมชนของประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก   ได้ลุกขึ้นมารณรงค์เรื่องต้นยูคาร์ลิปตัส ชาวบ้านในแถบนี้ทำการต่อสู้กับนโยบายของรัฐในตอนนั้น และเป็นประเด็นที่เขามาเยือนประเทศไทยในตอนนี้ เพราะชาวบ้านพยายามเรียกร้องป่าคืนมา

ริคาร์โดได้ลงพื้นที่ชุมชนทับเขือ องค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง ชุมชนทับเขือมีปัญเรื่องที่ทำกิน และได้รับการคุกคามจากนโยบายภาครัฐ ซึ่งตอนนี้พื้นที่แห่งนี้ถูกประกาศเป็นเขตอุทยานเขาปูเขาย่า เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมือปี พ.ศ. 2525 และถูกประกาศทับเป็นเขตรัษาพันธุ์สัตว์ โดยที่ชาวบ้านไม่มีส่วนรู้เห็นเป็นใจ

ในขณะชุมชนทับเขือเองก็กำลังระดมแนวคิดกำหนดรัฐธรรมนูญชุมชน สืบเนื่องจากที่ผ่านมาชุมชนได้รับผลกระทบจากการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ ทำให้วิถีชีวิตต้องลำบากมากขึ้น

ริคาร์โดได้ยินอย่างนี้ เขาก็พูดว่าชุมชนต้องเข็มแข็ง และเขาก็พูดติดตลกให้ฟัง "ชุมชนทับเขือรวยเนื่องจากในสวนเตืมไปด้วยอาหาร สามารถหากินได้โดยไม่ต้องซื้อ" ไม่เหมือนกับพวกที่นั่งเก้าสูงๆ ที่ต้องกินอาหารราคาแพงๆ คนเหล่านั้นคงอิจฉาชุมชนแห่งนี้ที่มีอาหารกินโดยไม่ต้องซื้อ เลยพยายามที่จะกดดั้นให้ชาวบ้านออกไปอยู่ที่อื่นๆ

Ricardo 2

คุณริคาร์โด

ผู้แปล คุณจารุวรรณ แก้วมหานิล

 

บล็อกของ คนไม่มีอะไร

คนไม่มีอะไร
  บ่อน้ำมันทำลายธรรมชาติ ทำลายเกาะสมุย พะงัน เต่า
คนไม่มีอะไร
คนกลาย พูดดังๆ ว่า ไม่เอา...เชฟรอน            วันที่  8 มีนาคม 2553 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ลานหน้าองค์การบริหารส่วนตำบลกลาย ทางบริษัทเชฟรอนและบริษัทที่ปรึกษา ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชาวบ้านตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องการสร้างท่าเรือ และคลังเก็บวัสดุของบริษัทเชฟรอน เนื่องจากเชฟรอนต้องการย้ายฐานปฏิบัติการจาก จังหวัดชลบุรีและสงขลา มาอยู่ที่บ้านบางสาร ตำบลกลาย จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งทางบริษัทให้เหตุพลว่า ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะว่าสามารถลดต้นทุนในการขนส่งจากแท่นขุดเจาะมาบนฝั่ง…
คนไม่มีอะไร
ความเงียบได้กลับคืนสูบ้านท่าสูงบนอีกครั้งหลังจากงานสมัชชาประมงพื้นบ้านได้ผ่านไป ก็คงเหมือนลมทะเลที่พัดหอบเอาไอทะเลเข้าสู่ฝั่ง คงเหลือไว้แต่รูปภาพและความทรงจำที่ติดอยู่ในสมองของใครใครหลายคน ผมซึ่งมีโอกาสได้เข้าร่วมงานนี้ตั้งแต่วันที่เตรียมงานจนวันสุดท้าย           ภาพที่เห็นยังคงวนเวียนอยู่ในหัวกับคำถามมากมายที่ตามมาว่า งานนี้มีไว้เพื่อ.......?           มันเป็นคำถามที่ผมสงสัยเรื่อยมาจนคำตอบของคำถามเหล่านั้นค่อยๆ คลายออกมาทีละนิดทีละนิด เริ่มจากภาพของผู้คนที่เตรียมงานกันอย่างแข็งขัน…
คนไม่มีอะไร
  โครงการพัฒนาที่พยายามคืบคลาน…เข้ามา อีกนานมั้ย….??? ที่ประเทศไทยจะรอดพ้นจากโครงการพัฒนาที่ประชาชนต้องเป็นแพะรับบาป ชาวบ้านเป็นผู้รับกรรม เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ เป็นผู้ต้องสูญเสีย และเป็นผู้เสียสละ พื้นที่ สิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม “เราไม่ต้องการโครงการพัฒนาขนาดใหญ่” “เราไม่ต้องการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี” “เราไม่ต้องการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” “เราไม่ต้องการท่าเรือน้ำลึก” “เราไม่ต้องโรงไฟฟ้าถ่านหิน” คำเหล่านี้ประมวลสรุปจากเวทีจังหวัดภาคใต้ที่เราได้ไปจัดมา (ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พัทลุง สตูล ระนอง กระบี่ ภูเก็ต และพังงา)…
คนไม่มีอะไร
เก็บตกจากเวทีโลกร้อน เมื่อ 3-5 ตุลาคม 2552 บรรยากาศการเดินขบวนรณรงค์เวทีโลกร้อน มันน่าจะบอกอะไรบางอย่างให้กับประเทศที่กำลังจะทำสิ่งเหล่านี้ กำลังพลนับหมื่นคน ณ วันนั้น เพื่อเรียกร้องให้ประเทศต่างๆทบทวนนโยบายการพัฒนาที่ผิดทาง คนนครศรีธรรมราชก็มาด้วย เพราะว่ากำลังจะเจอกับแผนพัฒนาที่สวนทางกับวิถีชีวิตชาวบ้าน โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี คนนครศรฯ ไม่เอา
คนไม่มีอะไร
  แผนอยู่เย็นเป็นสุข : ภาพรวมการจัดเวทีจังหวัด   วัตถุประสงค์         เพื่อรับฟังข้อเสนอและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้เป็นรายจังหวัด เพื่อที่จะเปรียบเทียบกับแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ของ สศช. การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรของการนิคมแห่งประเทศประเทศไทย และโครงการขนาดใหญ่ที่จะเกิดในพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นต่อเอกสารร่างมติข้อเสนอในแผนพัฒนาภาคใต้ที่ยั่งยืน   พื้นที่ดำเนินการ   13    จังหวัดภาคใต้ (ยกเว้นสุราษฎร์ธานี)   กระบวนการจัดเวทีจังหวัด          …
คนไม่มีอะไร
   ภาคใต้ : อุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร   ในปัจจุบันปริมาณการใช้เหล็กในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบป้อนให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ในแต่ละปีมีความต้องการใช้เหล็กในประเทศสูงถึงประมาณ 12.5 ล้านตัน/ปี และต้องนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศโดยเฉพาะเหล็กคุณภาพสูงประมาณ 4.5 ล้านตัน/ปี   ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีอุตสาหกรรมผลิตเหล็กแบบครบวงจร โดยขาดการผลิตเหล็กต้นน้ำซึ่งเป็นการผลิตเหล็กขั้นต้นเพื่อป้อนให้กับอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต่อไป จึงไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้เหล็กคุณภาพสูงในประเทศไทยได้…
คนไม่มีอะไร
 ผังเมืองกำลังจะเปลี่ยน "นครศรีธรรมราช"  ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตอนนี้มีการลงมาจัดทำผังเมืองถึงครึ่งทางแล้ว ไปแอบได้ข้อมูลมา ตอนบริษัท นำเสนอ คณะกรรมการกำกับผังเมืองฯ  และตอนนี้ทางพื้นที่ต้องความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพข้างล่างนี้  ความเห็นจากแสนกล้า (นามสมมติ) นี่คือตัวอย่างหนึ่ง  ที่สะท้อนว่าถ้าเราเอาผังนโยบาย ระดับภาค ประเทศมาใช้บังคับตามกฎหมายตามที่กรมโยธาฯกำลังทำร่าง พรบ. ผังเมืองใหม่อยู่  จะเป็นอันตราย เป็นการมัดมือชกในการเอานโยบายมาใส่ในการจัดทำผังเมืองรวมตามกฎหมาย กรณีนี้ ยังเอามาใส่ทั้งๆ ที่ผัง หรือนโยบายระดับภาคยังไม่ใช้บังคับตามกฎหมาย…