Skip to main content

 

 ภาคใต้ : อุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร

 

ในปัจจุบันปริมาณการใช้เหล็กในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบป้อนให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ในแต่ละปีมีความต้องการใช้เหล็กในประเทศสูงถึงประมาณ 12.5 ล้านตัน/ปี และต้องนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศโดยเฉพาะเหล็กคุณภาพสูงประมาณ 4.5 ล้านตัน/ปี

 

ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีอุตสาหกรรมผลิตเหล็กแบบครบวงจร โดยขาดการผลิตเหล็กต้นน้ำซึ่งเป็นการผลิตเหล็กขั้นต้นเพื่อป้อนให้กับอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต่อไป จึงไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้เหล็กคุณภาพสูงในประเทศไทยได้ ทำให้ต้องนำเข้าเหล็กจากต่าง ประเทศ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กไปสู่อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำอย่างครบวงจร

 

พื้นที่เป้าหมายของโครงการ

1.        อำเภอบางสะพาน และอีก 4 พื้นที่ทางเลือกอยู่ในพื้นที่อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

2.        บริเวณแหลมช่องพระ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร (เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด)

3.        บริเวณบ้านแหลมทวด อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

4.        บริเวณบ้านบางปอ ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

 เป้าหมายของการพัฒนา

              มีการวางแผนจะพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ โดยการก่อสร้างโรงถลุงเหล็กซึ่งใช้พื้นที่สำหรับก่อสร้างโรงงานประมาณ 5,000-10,000 ไร่ และสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับอุตสาหกรรม ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึกระวางขนาด 200,000 ตัน เพื่อนำเข้าและขนถ่ายสินแร่เหล็ก และวัตถุดิบอื่นๆ ที่ใช้ในการถลุงเหล็กเช่น รวมถึงการพัฒนาระบบน้ำสำหรับใช้ในการผลิต (ประมาณ 30-50 ลบ.ม./ปี) ระบบขนส่งและโลจิสติกส์ ระบบสาธารณูปโภค และระบบกำจัดของเสีย เป็นต้น

ทรัพยากรและปัจจัยที่จำเป็นในการพัฒนาโครงการ

                 ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นจำเป็นต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบอย่างสินแร่เหล็ก และถ่านหินเพื่อนำมาผลิตถ่านโค้กใช้ในกระบวนการถลุงเหล็ก นอกจากนี้ยังต้องมีจัดหาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับกับอุตสาหกรรมถลุงเหล็กที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างท่าเทียบเรือเพื่อนำเข้าและขนถ่ายวัตถุดิบต่างๆ ที่ใช้ในการกระบวนการผลิต การพัฒนาระบบแหล่งน้ำเพื่อนำน้ำไปใช้ในโครงการ เช่น การก่อสร้างเขื่อนท่าแซะ เขื่อนท่าทน รวมถึงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อตอบสนองต่อการใช้ไฟฟ้าในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างโรงถลุงเหล็ก

 

ข้อห่วงกังวลของพื้น

 

ชาวบ้านไม่เห็นด้วยกับโครงการพัฒนาเหล็กต้นน้ำ ไม่เห็นด้วยกับโครงการลงทุนเหล็กต้นน้ำที่นักลงทุนญี่ปุ่นต้องการลงทุนในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เกษตรและก็ประมง จึงไม่เหมาะกับการพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

โครงการขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยเม็ดเงินลงทุนเป็นแสนๆ ล้าน ย่อมที่ส่งผลกระทบให้กับคนในพื้นที่อย่างมหาศาล กรณี เกิดการแย้งชิงทรัพยากรในพื้นที่  เช่น แหล่งน้ำดิบ ที่อยู่อาศัย   งินลงทุนเป็นแสนล้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็สะลายไปในที่สุด การประมงก็จะสูญหาย การเกษตรผลผลิตน้อยลง ซึ่งเหล่านี้ชาวบ้านได้เห็นผลกระทบจากภาคตะวันออก จึงมีการค้านการสร้างโรงงานถลุงเหล็กและอุตสาหกรรมอื่นๆ มาอย่างต่อเนื่อง

ถ้ากากมีหน่วยงานใดที่คิดจะมาลงทุนอุตสาหกรรมในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง จำเป็นอย่างมากที่ต้องคำนึงถึงชุมชนก่อนอื่นใด ก่อนที่คิดผลกำไร่ และเม็ดเงินที่คาดฝันว่าประเทศจะได้  

บล็อกของ คนไม่มีอะไร

คนไม่มีอะไร
  บ่อน้ำมันทำลายธรรมชาติ ทำลายเกาะสมุย พะงัน เต่า
คนไม่มีอะไร
คนกลาย พูดดังๆ ว่า ไม่เอา...เชฟรอน            วันที่  8 มีนาคม 2553 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ลานหน้าองค์การบริหารส่วนตำบลกลาย ทางบริษัทเชฟรอนและบริษัทที่ปรึกษา ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชาวบ้านตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องการสร้างท่าเรือ และคลังเก็บวัสดุของบริษัทเชฟรอน เนื่องจากเชฟรอนต้องการย้ายฐานปฏิบัติการจาก จังหวัดชลบุรีและสงขลา มาอยู่ที่บ้านบางสาร ตำบลกลาย จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งทางบริษัทให้เหตุพลว่า ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะว่าสามารถลดต้นทุนในการขนส่งจากแท่นขุดเจาะมาบนฝั่ง…
คนไม่มีอะไร
ความเงียบได้กลับคืนสูบ้านท่าสูงบนอีกครั้งหลังจากงานสมัชชาประมงพื้นบ้านได้ผ่านไป ก็คงเหมือนลมทะเลที่พัดหอบเอาไอทะเลเข้าสู่ฝั่ง คงเหลือไว้แต่รูปภาพและความทรงจำที่ติดอยู่ในสมองของใครใครหลายคน ผมซึ่งมีโอกาสได้เข้าร่วมงานนี้ตั้งแต่วันที่เตรียมงานจนวันสุดท้าย           ภาพที่เห็นยังคงวนเวียนอยู่ในหัวกับคำถามมากมายที่ตามมาว่า งานนี้มีไว้เพื่อ.......?           มันเป็นคำถามที่ผมสงสัยเรื่อยมาจนคำตอบของคำถามเหล่านั้นค่อยๆ คลายออกมาทีละนิดทีละนิด เริ่มจากภาพของผู้คนที่เตรียมงานกันอย่างแข็งขัน…
คนไม่มีอะไร
  โครงการพัฒนาที่พยายามคืบคลาน…เข้ามา อีกนานมั้ย….??? ที่ประเทศไทยจะรอดพ้นจากโครงการพัฒนาที่ประชาชนต้องเป็นแพะรับบาป ชาวบ้านเป็นผู้รับกรรม เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ เป็นผู้ต้องสูญเสีย และเป็นผู้เสียสละ พื้นที่ สิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม “เราไม่ต้องการโครงการพัฒนาขนาดใหญ่” “เราไม่ต้องการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี” “เราไม่ต้องการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” “เราไม่ต้องการท่าเรือน้ำลึก” “เราไม่ต้องโรงไฟฟ้าถ่านหิน” คำเหล่านี้ประมวลสรุปจากเวทีจังหวัดภาคใต้ที่เราได้ไปจัดมา (ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พัทลุง สตูล ระนอง กระบี่ ภูเก็ต และพังงา)…
คนไม่มีอะไร
เก็บตกจากเวทีโลกร้อน เมื่อ 3-5 ตุลาคม 2552 บรรยากาศการเดินขบวนรณรงค์เวทีโลกร้อน มันน่าจะบอกอะไรบางอย่างให้กับประเทศที่กำลังจะทำสิ่งเหล่านี้ กำลังพลนับหมื่นคน ณ วันนั้น เพื่อเรียกร้องให้ประเทศต่างๆทบทวนนโยบายการพัฒนาที่ผิดทาง คนนครศรีธรรมราชก็มาด้วย เพราะว่ากำลังจะเจอกับแผนพัฒนาที่สวนทางกับวิถีชีวิตชาวบ้าน โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี คนนครศรฯ ไม่เอา
คนไม่มีอะไร
  แผนอยู่เย็นเป็นสุข : ภาพรวมการจัดเวทีจังหวัด   วัตถุประสงค์         เพื่อรับฟังข้อเสนอและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้เป็นรายจังหวัด เพื่อที่จะเปรียบเทียบกับแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ของ สศช. การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรของการนิคมแห่งประเทศประเทศไทย และโครงการขนาดใหญ่ที่จะเกิดในพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นต่อเอกสารร่างมติข้อเสนอในแผนพัฒนาภาคใต้ที่ยั่งยืน   พื้นที่ดำเนินการ   13    จังหวัดภาคใต้ (ยกเว้นสุราษฎร์ธานี)   กระบวนการจัดเวทีจังหวัด          …
คนไม่มีอะไร
   ภาคใต้ : อุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร   ในปัจจุบันปริมาณการใช้เหล็กในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบป้อนให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ในแต่ละปีมีความต้องการใช้เหล็กในประเทศสูงถึงประมาณ 12.5 ล้านตัน/ปี และต้องนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศโดยเฉพาะเหล็กคุณภาพสูงประมาณ 4.5 ล้านตัน/ปี   ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีอุตสาหกรรมผลิตเหล็กแบบครบวงจร โดยขาดการผลิตเหล็กต้นน้ำซึ่งเป็นการผลิตเหล็กขั้นต้นเพื่อป้อนให้กับอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต่อไป จึงไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้เหล็กคุณภาพสูงในประเทศไทยได้…
คนไม่มีอะไร
 ผังเมืองกำลังจะเปลี่ยน "นครศรีธรรมราช"  ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตอนนี้มีการลงมาจัดทำผังเมืองถึงครึ่งทางแล้ว ไปแอบได้ข้อมูลมา ตอนบริษัท นำเสนอ คณะกรรมการกำกับผังเมืองฯ  และตอนนี้ทางพื้นที่ต้องความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพข้างล่างนี้  ความเห็นจากแสนกล้า (นามสมมติ) นี่คือตัวอย่างหนึ่ง  ที่สะท้อนว่าถ้าเราเอาผังนโยบาย ระดับภาค ประเทศมาใช้บังคับตามกฎหมายตามที่กรมโยธาฯกำลังทำร่าง พรบ. ผังเมืองใหม่อยู่  จะเป็นอันตราย เป็นการมัดมือชกในการเอานโยบายมาใส่ในการจัดทำผังเมืองรวมตามกฎหมาย กรณีนี้ ยังเอามาใส่ทั้งๆ ที่ผัง หรือนโยบายระดับภาคยังไม่ใช้บังคับตามกฎหมาย…