Skip to main content

 

 ภาคใต้ : อุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร

 

ในปัจจุบันปริมาณการใช้เหล็กในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบป้อนให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ในแต่ละปีมีความต้องการใช้เหล็กในประเทศสูงถึงประมาณ 12.5 ล้านตัน/ปี และต้องนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศโดยเฉพาะเหล็กคุณภาพสูงประมาณ 4.5 ล้านตัน/ปี

 

ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีอุตสาหกรรมผลิตเหล็กแบบครบวงจร โดยขาดการผลิตเหล็กต้นน้ำซึ่งเป็นการผลิตเหล็กขั้นต้นเพื่อป้อนให้กับอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต่อไป จึงไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้เหล็กคุณภาพสูงในประเทศไทยได้ ทำให้ต้องนำเข้าเหล็กจากต่าง ประเทศ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กไปสู่อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำอย่างครบวงจร

 

พื้นที่เป้าหมายของโครงการ

1.        อำเภอบางสะพาน และอีก 4 พื้นที่ทางเลือกอยู่ในพื้นที่อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

2.        บริเวณแหลมช่องพระ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร (เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด)

3.        บริเวณบ้านแหลมทวด อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

4.        บริเวณบ้านบางปอ ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

 เป้าหมายของการพัฒนา

              มีการวางแผนจะพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ โดยการก่อสร้างโรงถลุงเหล็กซึ่งใช้พื้นที่สำหรับก่อสร้างโรงงานประมาณ 5,000-10,000 ไร่ และสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับอุตสาหกรรม ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึกระวางขนาด 200,000 ตัน เพื่อนำเข้าและขนถ่ายสินแร่เหล็ก และวัตถุดิบอื่นๆ ที่ใช้ในการถลุงเหล็กเช่น รวมถึงการพัฒนาระบบน้ำสำหรับใช้ในการผลิต (ประมาณ 30-50 ลบ.ม./ปี) ระบบขนส่งและโลจิสติกส์ ระบบสาธารณูปโภค และระบบกำจัดของเสีย เป็นต้น

ทรัพยากรและปัจจัยที่จำเป็นในการพัฒนาโครงการ

                 ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นจำเป็นต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบอย่างสินแร่เหล็ก และถ่านหินเพื่อนำมาผลิตถ่านโค้กใช้ในกระบวนการถลุงเหล็ก นอกจากนี้ยังต้องมีจัดหาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับกับอุตสาหกรรมถลุงเหล็กที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างท่าเทียบเรือเพื่อนำเข้าและขนถ่ายวัตถุดิบต่างๆ ที่ใช้ในการกระบวนการผลิต การพัฒนาระบบแหล่งน้ำเพื่อนำน้ำไปใช้ในโครงการ เช่น การก่อสร้างเขื่อนท่าแซะ เขื่อนท่าทน รวมถึงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อตอบสนองต่อการใช้ไฟฟ้าในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างโรงถลุงเหล็ก

 

ข้อห่วงกังวลของพื้น

 

ชาวบ้านไม่เห็นด้วยกับโครงการพัฒนาเหล็กต้นน้ำ ไม่เห็นด้วยกับโครงการลงทุนเหล็กต้นน้ำที่นักลงทุนญี่ปุ่นต้องการลงทุนในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เกษตรและก็ประมง จึงไม่เหมาะกับการพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

โครงการขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยเม็ดเงินลงทุนเป็นแสนๆ ล้าน ย่อมที่ส่งผลกระทบให้กับคนในพื้นที่อย่างมหาศาล กรณี เกิดการแย้งชิงทรัพยากรในพื้นที่  เช่น แหล่งน้ำดิบ ที่อยู่อาศัย   งินลงทุนเป็นแสนล้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็สะลายไปในที่สุด การประมงก็จะสูญหาย การเกษตรผลผลิตน้อยลง ซึ่งเหล่านี้ชาวบ้านได้เห็นผลกระทบจากภาคตะวันออก จึงมีการค้านการสร้างโรงงานถลุงเหล็กและอุตสาหกรรมอื่นๆ มาอย่างต่อเนื่อง

ถ้ากากมีหน่วยงานใดที่คิดจะมาลงทุนอุตสาหกรรมในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง จำเป็นอย่างมากที่ต้องคำนึงถึงชุมชนก่อนอื่นใด ก่อนที่คิดผลกำไร่ และเม็ดเงินที่คาดฝันว่าประเทศจะได้  

บล็อกของ คนไม่มีอะไร

คนไม่มีอะไร
  ประมวลภาพวันที่ 30 มีนาคม 2552 ณ สีแยกจองม่องไปจนถึงหน้าสถานีตำรวจภูธรสิชลวันที่ 30 มีนาคม 2552 เวลาประมาณ 08 : 30 น.  ณ สีแยกจองม่อง (อำเภอสิชล) ชาวบ้านประมาณ 300 คน ได้จัดขบวนรถยนต์ยาวประมาณ 30-40 คัน เพื่อไปมอบตัวพี่ด้วงตามหมายเรียก ที่ถูกนายอำเภอสิชลแจ้งความว่า "ดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการหน้าที่ หรือเพราะได้กระทำการหน้าที่" ชาวบ้าน เพือนพ้อง และมิตรสหายต่างพร้อมใจไปให้กำลังใจพี่ด้วงที่สถานีตำรวจภูธรสิชล ตามที่หมายเรียกผู้ต้องหา และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับตำรวจขั้นต่อไป และค่อยไปว่ากันบนชั้นศาลกันต่อไป หมายเรียกผู้ต้องหา ของพี่ด้วงชาวบ้านเตรียมขบวนรถ…
คนไม่มีอะไร
  หยุดสร้างภาพด้วยวาทะ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา           ในยุคสมัยนี้ไม่ว่าภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนใช้ วาทะ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ทุกวงการ โดยกำหนดตัวชี้วัดของการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ  นับเป็นนิมิตรหมายอันดีสำหรับสังคมไทย ที่ทุกภาคส่วนตระหนักชัดในหลักการนี้    แต่ในความเป็นจริงการใช้วาทะกรรมดังกล่าว   ได้ถูกบิดเบือนเพื่อสร้างภาพพจน์ของการแสวงหาผลประโยชน์ของระบบ และตนเอง       …
คนไม่มีอะไร
  เอนก  นาคะบุตร ขอยุติการประชุมเวทีรับฝังความคิดเห็นชาวบ้าน                 วันที่ 19 มกราคม 2552 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมศาลาประชาคมอำเภอสิชล การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชาวบ้าน ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนครศรีธรรมราช  (ชาวบ้านกว่า 90%  ที่มาประชุมวันนี้ไม่ได้ถูกเชิญจากบริษัททีม และกนอ. )                …
คนไม่มีอะไร
 ถ้ามันเกิดขึ้นจริงๆ คนใด้เดือดร้อนแน่นอนทางเข้าท่าเรือน้ำลึกปากบาราจังหวัดสตูล เป็นโครงการเชื่อมสงขลา - สตูล (สะพานเศรษฐกิจ)แบบก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราระยะแรกผังโครงอาหารฮาลาลจังหวัดปัตตานีสิ่งที่จะเกิดในสตูล มองภาพสวยมาก แต่แปลกรูปทั้งหมดที่ผ่านเจ้าของโครงการไม่พูดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น พูดแต่ตัวเลข    
คนไม่มีอะไร
  พืชน้ำมันในผืนป่า พื้นที่ชุ่มน้ำ และนาข้าว ศยามล   ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา            กระแสการส่งเสริมปลูกพืชน้ำมันทดแทนการนำเข้าเริ่มจางหายไป เมื่อราคาน้ำมันตกต่ำลงเรื่อยๆ   ในขณะที่การส่งเสริมการปลูกพืชน้ำมันโดยภาครัฐยังดำเนินการต่อไป มันสำปะหลัง อ้อย และปาล์มน้ำมัน   เป็นพืชเศรษฐกิจที่ถูกส่งเสริมให้เพิ่มผลผลิตเพื่อเป็นพืชน้ำมันตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพลังงาน  ในแผน ๕ ปี ของกระทรวงเกษตรฯ (พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๔) กำหนดให้ขยายพื้นที่ปลูกปาล์ม ๖ ล้านไร่…
คนไม่มีอะไร
   แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ต้องถูกกำหนดโดยคนใต้   ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา               การโฆษณาประชาสัมพันธ์กระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการลงทุนดำเนินการโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้มีอย่างต่อเนื่อง จากรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการการลงทุน (BOI) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  ยิ่งไปกว่านั้นยังได้รับการขานรับจากนักเศรษฐศาสตร์กันถ้วนหน้า เช่น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล  …
คนไม่มีอะไร
  ทางออกของชาวสวนยางเมื่อราคายางพาราตกต่ำ ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา               ยางพาราถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนใต้ที่ผูกพันทั้งทางวัฒนธรรมและทางเศรษฐกิจมานานถึง ๑๐๘ ปี  ระบบการผลิตแบบพืชเชิงเดี่ยวได้เข้ามาแทนที่ป่ายางที่เติบโตพร้อมกับสวนผลไม้และป่าธรรมชาติซึ่งเป็นระบบการผลิตแบบสวนสมรม  หรือสวนพ่อเฒ่า   เงื่อนไขส่งเสริมการปลูกสวนยางโดยใช้กลยุทธ์ของเงินกองทุนสงเคราะห์สวนยางจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยาง (สกย.) การส่งเสริมการขยายพื้นที่ปลูก …
คนไม่มีอะไร
    แผนที่โครงการที่ตั้งโรงงานงานของเดิม และพื้นที่ถูกเพิกถอนแล้ว แผนที่ทางอากาศ ที่ตั้งของโครงการ และที่เห็นเส้นสีแดงเป็นสายพานลำเลียงจากโครงการถึงท่าเรือ มี 3 เส้น พื้นที่ป่าชายเลนที่หลืออยู่ป่ายชายเลนทางทิศโรงงานป่ายเลนอีกฟากถนนเส้นทางสาธารณของชาวบ้านใช้สัญจรเมื่อก่อนเป็น สวนมะพร้าว แต่ตอนนี้มันหายไปไหนก็ไม่รู้รองรอยบ้านชาวบ้านเดิม ที่เคยอาศัยแล้วใครมากั้นรั้วในพื้นที่สาธารณนี้ คิดอะไรหรือเปล่า? เนี้ยอย่าคิดว่าเรามาเที่ยวทะเลหมอก เพราะว่าฟ้าครึมๆ ที่เห็นอยู่นี้มันมีที่มา แต่ไม่มีที่ไปต้นมะพร้าวที่ถูกตัดไปแล้ว  
คนไม่มีอะไร
  แลนด์บริดจ์ ทางลัดสู่เศรษฐกิจ หรือทางตันสำหรับชาวปากบารา                  ตามที่เราทราบโดยทั่วกัน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) จะเน้นพื้นที่การพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ฯน ได้จัดทำแผนพัฒนาภาคใต้ต่างๆ                 1. การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้              …
คนไม่มีอะไร
    ชาวปัตตานีไม่คิดต่อต้าน  "ฮาลาล"  แต่...เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 ได้ลงไปสัมผัสพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสภาวะความขัดแย้งของพื้นที่สามจังหวัด ณ วันนี้ เชื่อว่าหลายๆ คนอาจไม่รู้ว่า "ปัตตานีกำลังจะกลายเป็นครัวอาหารฮาลาลสู่ระดับโลก" ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) และภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล จังหวัดชายแดนภาตใต้ ปี 2552-2555 ครัวฮาลาลแห่งนี้จะกินพื้นที่บริเวณอำเภอสายบุหรี่ และพื้นที่อำเภอปะนะเระ พื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้างโดยประมาณทั้งหมด 933 ไร่ และจะกลายเป็นนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล  รูปที่1…
คนไม่มีอะไร
เคยส่งสัยไหมว่าทำไมหิ่งห้อยชอบอยู่แถวบริเวณต้นลำพู แล้วข้างๆ ต้นลำพูต้องมีต้นโกงกาง มีเรื่องเล่ามายาวนานว่า ต้นลำพูเคยเป็นผู้ชายมาก่อน แล้วไปลงรักนางหิ่งห้อยชวนหนีไปด้วยกัน แต่นางโกงกางก็มีใจให้นายลำพู จึงไม่ยอมให้หนีเลยเอารากตัวเองยึดนายลำพูไว้ นางหิ่งห้อยเลยจำเป็นบินเฝ้าต้นลำพูในยามค่ำคืน       เมื่อวันที่ 22-25 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมาทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ได้จัดประชุมเชิงปฎิบัติการครั้งที่2 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพระดับชุมชน (CHIA) ณ บ้านทิพย์ สวนทอง จังหวัดสมุทรสงคราม ในการประชุมครั้งนี้ทางสช.…