Skip to main content
 

พืชน้ำมันในผืนป่า พื้นที่ชุ่มน้ำ และนาข้าว

 

ศยามล   ไกยูรวงศ์

โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา

 

           กระแสการส่งเสริมปลูกพืชน้ำมันทดแทนการนำเข้าเริ่มจางหายไป เมื่อราคาน้ำมันตกต่ำลงเรื่อยๆ   ในขณะที่การส่งเสริมการปลูกพืชน้ำมันโดยภาครัฐยังดำเนินการต่อไป มันสำปะหลัง อ้อย และปาล์มน้ำมัน   เป็นพืชเศรษฐกิจที่ถูกส่งเสริมให้เพิ่มผลผลิตเพื่อเป็นพืชน้ำมันตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพลังงาน  ในแผน ๕ ปี ของกระทรวงเกษตรฯ (พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๔) กำหนดให้ขยายพื้นที่ปลูกปาล์ม ๖ ล้านไร่ โดยแบ่งพื้นที่ปลูกภายในประเทศ ๕ ล้านไร่ และพื้นที่ปลูกในประเทศเพื่อนบ้านอีก ๑ ล้านไร่   เพื่อนำมาผลิตไบโอดีเซลทดแทนการนำเข้าน้ำมันดีเซล ๑๐%  ภายในปี พ.ศ.๒๕๕๕

              สำหรับพืชมันสำปะหลัง และอ้อย รัฐบาลไม่มีนโยบายขยายพื้นที่ปลูก  แต่มุ่งเน้นการพัฒนาเพิ่มผลผลิต โดยให้ได้มันสำปะหลัง ๔.๕ - ๕ ตันต่อไร่  คิดเป็นผลผลิต ๓๕ ล้านตันในปี พ.ศ.๒๕๕๔  และตั้งเป้าหมายของผลผลิตของอ้อยต่อไร่ เป็น ๑๒ - ๑๕ ตันต่อไร่ คิดเป็นผลผลิตอ้อย ๘๕ ล้านตัน   ในปี พ.ศ.๒๕๕๑ เพิ่มโรงงานเอทานอลอีก ๘ โรงงาน กำลังการผลิต ๑.๙๕ ล้านลิตร/วัน  ซึ่งต้องใช้หัวมันสำปะหลังสดประมาณ ๔.๒ ล้านตัน/ปี

            สมบัติ  เหสกุล นักวิจัยอิสระได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของการเพิ่มพื้นที่ปลูกพืชพลังงานมีความเห็นว่า "ปี ค.ศ.๒๐๑๑ มีความต้องการเอทานอล  ๒.๔ ล้านลิตรต่อวัน แต่ประเทศไทยผลิตได้ ๑ ล้านลิตร/วัน  สำหรับไบโอดีเซลมีความต้องการ ๓ ล้านลิตร/วัน  แต่ประเทศไทยผลิตได้ ๑.๔๔ ล้านลิตร/วัน  กรณีของอ้อยต้องใช้น้ำอ้อยและกากอ้อย ซึ่งบริษัทมิตรผล มีการทำพันธะสัญญากับเกษตรกร  โดยโรงงานผลิตน้ำตาลเพื่อส่งออกและขายในประเทศ     กากของอ้อยผลิตเอทานอล  ใย (ชานอ้อย) ทำเป็นไม้   เกษตรกรจึงทำหน้าที่ผู้ผลิตอ้อยป้อนอุตสาหกรรมอ้อย ในการผลิตผลผลิตต่างๆป้อนโรงงาน    

              สำหรับมันสำปะหลัง อุตสาหกรรมอาหารต้องการปีละ ๒๖ ล้านตัน แต่ประเทศไทยผลิตแป้งมันได้เพียงพอกับอาหาร แต่ไม่พอกับการนำมาใช้เป็นพลังงาน              การใช้ปาล์มน้ำมันกับน้ำมัน อยู่ที่ 22% แต่อุตสาหกรรมอาหารยังต้องใช้น้ำมันปาล์มอยู่มาก แสดงว่าเรามีปาล์มไม่เพียงพอ นโยบายขยายพื้นที่ปลูกใหม่ 2.5 ล้านไร่ และปรับปรุงพื้นที่เดิม 3 แสนไร่ และเพิ่มผลผลิตต่อไปจาก 2.8 เป็น 3.5 - 5 ตันต่อไร่   แต่ต้องอยู่บนฐานว่า ราคาน้ำมันต้องสูงกว่า 100 เหรียญดอลลาร์   เกษตรกรต้องมีประสิทธิภาพในการผลิตสูงขึ้น ต้องวางระบบใหม่ ต้องใช้พันธุ์ใหม่    ต้องไม่มีการแย่งชิงพืชน้ำมันระหว่างประเทศ

 

                 

พื้นที่ปลูกอ้อยจะเพิ่มได้ ในพื้นที่นาข้าว พื้นที่ถั่วเหลือง (รุกพื้นที่พืชไร่อื่นๆ) ส่วนมันสำปะหลังขยายพื้นที่ได้ แต่เข้าไปอยู่ในไร่อ้อย และรุกเข้าไปในพื้นที่ป่า ส่วนการเพิ่มพื้นที่ปาล์มน้ำมัน   พบว่าขยายพื้นที่ได้ไม่เกิน 3 แสนไร่เท่านั้น   และส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคใต้แสนสามไร่ อีสานได้หมื่นห้าพันกว่าไร่ คือ กาฬสินธุ์ รองลงมาคือโคราช ภาคเหนือ   เนื่องจากมีข้อจำกัดของการปลูกปาล์มน้ำมันซึ่งต้องมีน้ำ 2,000 ลิตร ปริมาณน้ำฝนอย่างน้อย 100 มม./เดือน แล้งไม่เกิน 3 เดือน  ต้นทุน ในช่วง 30 เดือนเฉลี่ยไร่ละ 13,000 บาท  ค่าติดตั้งระบบน้ำ 7,000 บาท/ไร่   โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มควรอยู่ในรัศมี 50 กิโลเมตร   เกษตรกรต้องมีทักษะการปลูก   พื้นที่เหมาะสม รายได้สูงขึ้น โดยพืชเดิมราคาตกต่ำ   โดยเกษตรกรต้องเข้าถึงข้อมูล   สำหรับต้นทุนการปรับพื้นที่ (เช่น จากยูคา มาปลูกปาล์ม ใช้ต้นทุนสูง  ถ้าราคาปาล์มน้ำมันต่ำกว่า 3.5 เกษตรกรจะเริ่มขาดทุน

               ทางเลือกที่น่าสนใจ คือ ลดการส่งออกอ้อย และน้ำตาล  เพิ่มพื้นที่ พัฒนาพันธุ์ ส่งเสริมทักษะการผลิต อนาคต อาจได้เอทานอล 8 ล้านลิตร  แต่ต้องมีมันสำประหลังเพียงพอ   ต้นทุนการผลิตเอทานอลแต่ละประเภท และ ราคา เปรียบเทียบกัน เห็นว่า น้ำอ้อย มีราคาวัตถุดิบต่ำ (บาท/กก) และมีต้นทุนการผลิต (บาท/ลิตร) พอๆ กับกากน้ำตาล   ในขณะที่การปลูกปาล์มน้ำมัน ไม่ควรพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ควรพัฒนาเป็นระดับชุมชนแล้วใช้ในครัวเรือน เช่น ปลูกหัวไร่ปลายนาแล้วใช้ในครัวเรือน หรือโรงงานขนาดเล็กๆ ประมาณ 8,000 ไร่ต่อชุมชน และส่วนที่เหลือจะแปรรูปได้อีกหลายอย่าง"

              จากกรณีศึกษาปาล์มน้ำมันในภาคอีสานที่บ้านนาบอน ต.นาซ่าว อ.เชียงคาน จ.เลย บ้านโคกเจริญ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ  บ้านนิคมแปลง ๑ ตำบลชานุมาน อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ ของมาลี สุพันตี  จากเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน   มีข้อสรุปว่าเกษตรกรในภาคอีสานที่ปลูกปาล์มน้ำมันยังประสบปัญหาไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนในการปลูกปาล์มน้ำมัน  ในขณะที่ภาครัฐยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าพื้นที่ปลูกเหมาะสมกับการปลูกปาล์มน้ำมันหรือไม่  เนื่องจากยังอยู่ในระยะทดลองปลูก  ยังไม่มีความแน่นอนของตลาดที่มารองรับ  การซื้อขายมีพียงลานเทรับซื้อในกลุ่ม เช่น เกษตรกรที่ อ.เชียงคาน จ.เลยรวมกลุ่มเพื่อขายปาล์มผ่านบริษัทเมืองเลยปาล์ม  ราคาผลผลิตได้เพียง กก.ละ ๒ บาท  ซึ่งยังถือว่าไม่มีโรงสกัดปาล์มน้ำมันที่อยู่ใกล้รัศมีของพื้นที่ปลูก  ราคาต้นพันธุ์มีราคาแพง  มีความเสี่ยงต่อการได้รับต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพไม่ตรงตามสายพันธุ์  

              นโยบายส่งเสริมการปลูกพืชน้ำมันในภาคอีสานโดยเฉพาะปาล์มน้ำมันยังเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ  และอยู่ในระยะทดลองความเป็นไปได้ในการปลูก     ในขณะที่อ้อยและมันสำปะหลังซึ่งมิใช่พืชชนิดใหม่ของภาคอีสาน  แต่เกษตรกรเป็นเพียงลูกไล่ในการผลิตป้อนโรงงานอุตสาหกรรม  โดยที่ยังกำหนดราคาไม่ได้   ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดโลกมีมากน้อยขนาดไหน   การขยายพื้นที่ปลูกพืชน้ำมันทั้ง ๓ ชนิดจึงมีความเสี่ยงที่จะขยายเข้าไปในพื้นที่ป่า พื้นที่นา และพื้นที่ชุ่มน้ำ เมื่อราคาผลผลิตดี   ทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งอาหารถูกทำลายจากการใช้พื้นที่ไม่เหมาะสม  ในขณะที่เกษตรกรยังยากจนเหมือนเดิม  ประเทศชาติได้ประโยชน์เพียงมีพืชน้ำมันทดแทนนำเข้าน้อยนิด  นโยบายลักษณะนี้มีประโยชน์ต่อประเทศชาติหรือไม่โปรดคิดกันให้ดี

บล็อกของ คนไม่มีอะไร

คนไม่มีอะไร
  บ่อน้ำมันทำลายธรรมชาติ ทำลายเกาะสมุย พะงัน เต่า
คนไม่มีอะไร
คนกลาย พูดดังๆ ว่า ไม่เอา...เชฟรอน            วันที่  8 มีนาคม 2553 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ลานหน้าองค์การบริหารส่วนตำบลกลาย ทางบริษัทเชฟรอนและบริษัทที่ปรึกษา ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชาวบ้านตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องการสร้างท่าเรือ และคลังเก็บวัสดุของบริษัทเชฟรอน เนื่องจากเชฟรอนต้องการย้ายฐานปฏิบัติการจาก จังหวัดชลบุรีและสงขลา มาอยู่ที่บ้านบางสาร ตำบลกลาย จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งทางบริษัทให้เหตุพลว่า ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะว่าสามารถลดต้นทุนในการขนส่งจากแท่นขุดเจาะมาบนฝั่ง…
คนไม่มีอะไร
ความเงียบได้กลับคืนสูบ้านท่าสูงบนอีกครั้งหลังจากงานสมัชชาประมงพื้นบ้านได้ผ่านไป ก็คงเหมือนลมทะเลที่พัดหอบเอาไอทะเลเข้าสู่ฝั่ง คงเหลือไว้แต่รูปภาพและความทรงจำที่ติดอยู่ในสมองของใครใครหลายคน ผมซึ่งมีโอกาสได้เข้าร่วมงานนี้ตั้งแต่วันที่เตรียมงานจนวันสุดท้าย           ภาพที่เห็นยังคงวนเวียนอยู่ในหัวกับคำถามมากมายที่ตามมาว่า งานนี้มีไว้เพื่อ.......?           มันเป็นคำถามที่ผมสงสัยเรื่อยมาจนคำตอบของคำถามเหล่านั้นค่อยๆ คลายออกมาทีละนิดทีละนิด เริ่มจากภาพของผู้คนที่เตรียมงานกันอย่างแข็งขัน…
คนไม่มีอะไร
  โครงการพัฒนาที่พยายามคืบคลาน…เข้ามา อีกนานมั้ย….??? ที่ประเทศไทยจะรอดพ้นจากโครงการพัฒนาที่ประชาชนต้องเป็นแพะรับบาป ชาวบ้านเป็นผู้รับกรรม เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ เป็นผู้ต้องสูญเสีย และเป็นผู้เสียสละ พื้นที่ สิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม “เราไม่ต้องการโครงการพัฒนาขนาดใหญ่” “เราไม่ต้องการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี” “เราไม่ต้องการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” “เราไม่ต้องการท่าเรือน้ำลึก” “เราไม่ต้องโรงไฟฟ้าถ่านหิน” คำเหล่านี้ประมวลสรุปจากเวทีจังหวัดภาคใต้ที่เราได้ไปจัดมา (ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พัทลุง สตูล ระนอง กระบี่ ภูเก็ต และพังงา)…
คนไม่มีอะไร
เก็บตกจากเวทีโลกร้อน เมื่อ 3-5 ตุลาคม 2552 บรรยากาศการเดินขบวนรณรงค์เวทีโลกร้อน มันน่าจะบอกอะไรบางอย่างให้กับประเทศที่กำลังจะทำสิ่งเหล่านี้ กำลังพลนับหมื่นคน ณ วันนั้น เพื่อเรียกร้องให้ประเทศต่างๆทบทวนนโยบายการพัฒนาที่ผิดทาง คนนครศรีธรรมราชก็มาด้วย เพราะว่ากำลังจะเจอกับแผนพัฒนาที่สวนทางกับวิถีชีวิตชาวบ้าน โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี คนนครศรฯ ไม่เอา
คนไม่มีอะไร
  แผนอยู่เย็นเป็นสุข : ภาพรวมการจัดเวทีจังหวัด   วัตถุประสงค์         เพื่อรับฟังข้อเสนอและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้เป็นรายจังหวัด เพื่อที่จะเปรียบเทียบกับแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ของ สศช. การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรของการนิคมแห่งประเทศประเทศไทย และโครงการขนาดใหญ่ที่จะเกิดในพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นต่อเอกสารร่างมติข้อเสนอในแผนพัฒนาภาคใต้ที่ยั่งยืน   พื้นที่ดำเนินการ   13    จังหวัดภาคใต้ (ยกเว้นสุราษฎร์ธานี)   กระบวนการจัดเวทีจังหวัด          …
คนไม่มีอะไร
   ภาคใต้ : อุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร   ในปัจจุบันปริมาณการใช้เหล็กในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบป้อนให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ในแต่ละปีมีความต้องการใช้เหล็กในประเทศสูงถึงประมาณ 12.5 ล้านตัน/ปี และต้องนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศโดยเฉพาะเหล็กคุณภาพสูงประมาณ 4.5 ล้านตัน/ปี   ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีอุตสาหกรรมผลิตเหล็กแบบครบวงจร โดยขาดการผลิตเหล็กต้นน้ำซึ่งเป็นการผลิตเหล็กขั้นต้นเพื่อป้อนให้กับอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต่อไป จึงไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้เหล็กคุณภาพสูงในประเทศไทยได้…
คนไม่มีอะไร
 ผังเมืองกำลังจะเปลี่ยน "นครศรีธรรมราช"  ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตอนนี้มีการลงมาจัดทำผังเมืองถึงครึ่งทางแล้ว ไปแอบได้ข้อมูลมา ตอนบริษัท นำเสนอ คณะกรรมการกำกับผังเมืองฯ  และตอนนี้ทางพื้นที่ต้องความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพข้างล่างนี้  ความเห็นจากแสนกล้า (นามสมมติ) นี่คือตัวอย่างหนึ่ง  ที่สะท้อนว่าถ้าเราเอาผังนโยบาย ระดับภาค ประเทศมาใช้บังคับตามกฎหมายตามที่กรมโยธาฯกำลังทำร่าง พรบ. ผังเมืองใหม่อยู่  จะเป็นอันตราย เป็นการมัดมือชกในการเอานโยบายมาใส่ในการจัดทำผังเมืองรวมตามกฎหมาย กรณีนี้ ยังเอามาใส่ทั้งๆ ที่ผัง หรือนโยบายระดับภาคยังไม่ใช้บังคับตามกฎหมาย…