Skip to main content
 

พืชน้ำมันในผืนป่า พื้นที่ชุ่มน้ำ และนาข้าว

 

ศยามล   ไกยูรวงศ์

โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา

 

           กระแสการส่งเสริมปลูกพืชน้ำมันทดแทนการนำเข้าเริ่มจางหายไป เมื่อราคาน้ำมันตกต่ำลงเรื่อยๆ   ในขณะที่การส่งเสริมการปลูกพืชน้ำมันโดยภาครัฐยังดำเนินการต่อไป มันสำปะหลัง อ้อย และปาล์มน้ำมัน   เป็นพืชเศรษฐกิจที่ถูกส่งเสริมให้เพิ่มผลผลิตเพื่อเป็นพืชน้ำมันตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพลังงาน  ในแผน ๕ ปี ของกระทรวงเกษตรฯ (พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๔) กำหนดให้ขยายพื้นที่ปลูกปาล์ม ๖ ล้านไร่ โดยแบ่งพื้นที่ปลูกภายในประเทศ ๕ ล้านไร่ และพื้นที่ปลูกในประเทศเพื่อนบ้านอีก ๑ ล้านไร่   เพื่อนำมาผลิตไบโอดีเซลทดแทนการนำเข้าน้ำมันดีเซล ๑๐%  ภายในปี พ.ศ.๒๕๕๕

              สำหรับพืชมันสำปะหลัง และอ้อย รัฐบาลไม่มีนโยบายขยายพื้นที่ปลูก  แต่มุ่งเน้นการพัฒนาเพิ่มผลผลิต โดยให้ได้มันสำปะหลัง ๔.๕ - ๕ ตันต่อไร่  คิดเป็นผลผลิต ๓๕ ล้านตันในปี พ.ศ.๒๕๕๔  และตั้งเป้าหมายของผลผลิตของอ้อยต่อไร่ เป็น ๑๒ - ๑๕ ตันต่อไร่ คิดเป็นผลผลิตอ้อย ๘๕ ล้านตัน   ในปี พ.ศ.๒๕๕๑ เพิ่มโรงงานเอทานอลอีก ๘ โรงงาน กำลังการผลิต ๑.๙๕ ล้านลิตร/วัน  ซึ่งต้องใช้หัวมันสำปะหลังสดประมาณ ๔.๒ ล้านตัน/ปี

            สมบัติ  เหสกุล นักวิจัยอิสระได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของการเพิ่มพื้นที่ปลูกพืชพลังงานมีความเห็นว่า "ปี ค.ศ.๒๐๑๑ มีความต้องการเอทานอล  ๒.๔ ล้านลิตรต่อวัน แต่ประเทศไทยผลิตได้ ๑ ล้านลิตร/วัน  สำหรับไบโอดีเซลมีความต้องการ ๓ ล้านลิตร/วัน  แต่ประเทศไทยผลิตได้ ๑.๔๔ ล้านลิตร/วัน  กรณีของอ้อยต้องใช้น้ำอ้อยและกากอ้อย ซึ่งบริษัทมิตรผล มีการทำพันธะสัญญากับเกษตรกร  โดยโรงงานผลิตน้ำตาลเพื่อส่งออกและขายในประเทศ     กากของอ้อยผลิตเอทานอล  ใย (ชานอ้อย) ทำเป็นไม้   เกษตรกรจึงทำหน้าที่ผู้ผลิตอ้อยป้อนอุตสาหกรรมอ้อย ในการผลิตผลผลิตต่างๆป้อนโรงงาน    

              สำหรับมันสำปะหลัง อุตสาหกรรมอาหารต้องการปีละ ๒๖ ล้านตัน แต่ประเทศไทยผลิตแป้งมันได้เพียงพอกับอาหาร แต่ไม่พอกับการนำมาใช้เป็นพลังงาน              การใช้ปาล์มน้ำมันกับน้ำมัน อยู่ที่ 22% แต่อุตสาหกรรมอาหารยังต้องใช้น้ำมันปาล์มอยู่มาก แสดงว่าเรามีปาล์มไม่เพียงพอ นโยบายขยายพื้นที่ปลูกใหม่ 2.5 ล้านไร่ และปรับปรุงพื้นที่เดิม 3 แสนไร่ และเพิ่มผลผลิตต่อไปจาก 2.8 เป็น 3.5 - 5 ตันต่อไร่   แต่ต้องอยู่บนฐานว่า ราคาน้ำมันต้องสูงกว่า 100 เหรียญดอลลาร์   เกษตรกรต้องมีประสิทธิภาพในการผลิตสูงขึ้น ต้องวางระบบใหม่ ต้องใช้พันธุ์ใหม่    ต้องไม่มีการแย่งชิงพืชน้ำมันระหว่างประเทศ

 

                 

พื้นที่ปลูกอ้อยจะเพิ่มได้ ในพื้นที่นาข้าว พื้นที่ถั่วเหลือง (รุกพื้นที่พืชไร่อื่นๆ) ส่วนมันสำปะหลังขยายพื้นที่ได้ แต่เข้าไปอยู่ในไร่อ้อย และรุกเข้าไปในพื้นที่ป่า ส่วนการเพิ่มพื้นที่ปาล์มน้ำมัน   พบว่าขยายพื้นที่ได้ไม่เกิน 3 แสนไร่เท่านั้น   และส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคใต้แสนสามไร่ อีสานได้หมื่นห้าพันกว่าไร่ คือ กาฬสินธุ์ รองลงมาคือโคราช ภาคเหนือ   เนื่องจากมีข้อจำกัดของการปลูกปาล์มน้ำมันซึ่งต้องมีน้ำ 2,000 ลิตร ปริมาณน้ำฝนอย่างน้อย 100 มม./เดือน แล้งไม่เกิน 3 เดือน  ต้นทุน ในช่วง 30 เดือนเฉลี่ยไร่ละ 13,000 บาท  ค่าติดตั้งระบบน้ำ 7,000 บาท/ไร่   โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มควรอยู่ในรัศมี 50 กิโลเมตร   เกษตรกรต้องมีทักษะการปลูก   พื้นที่เหมาะสม รายได้สูงขึ้น โดยพืชเดิมราคาตกต่ำ   โดยเกษตรกรต้องเข้าถึงข้อมูล   สำหรับต้นทุนการปรับพื้นที่ (เช่น จากยูคา มาปลูกปาล์ม ใช้ต้นทุนสูง  ถ้าราคาปาล์มน้ำมันต่ำกว่า 3.5 เกษตรกรจะเริ่มขาดทุน

               ทางเลือกที่น่าสนใจ คือ ลดการส่งออกอ้อย และน้ำตาล  เพิ่มพื้นที่ พัฒนาพันธุ์ ส่งเสริมทักษะการผลิต อนาคต อาจได้เอทานอล 8 ล้านลิตร  แต่ต้องมีมันสำประหลังเพียงพอ   ต้นทุนการผลิตเอทานอลแต่ละประเภท และ ราคา เปรียบเทียบกัน เห็นว่า น้ำอ้อย มีราคาวัตถุดิบต่ำ (บาท/กก) และมีต้นทุนการผลิต (บาท/ลิตร) พอๆ กับกากน้ำตาล   ในขณะที่การปลูกปาล์มน้ำมัน ไม่ควรพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ควรพัฒนาเป็นระดับชุมชนแล้วใช้ในครัวเรือน เช่น ปลูกหัวไร่ปลายนาแล้วใช้ในครัวเรือน หรือโรงงานขนาดเล็กๆ ประมาณ 8,000 ไร่ต่อชุมชน และส่วนที่เหลือจะแปรรูปได้อีกหลายอย่าง"

              จากกรณีศึกษาปาล์มน้ำมันในภาคอีสานที่บ้านนาบอน ต.นาซ่าว อ.เชียงคาน จ.เลย บ้านโคกเจริญ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ  บ้านนิคมแปลง ๑ ตำบลชานุมาน อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ ของมาลี สุพันตี  จากเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน   มีข้อสรุปว่าเกษตรกรในภาคอีสานที่ปลูกปาล์มน้ำมันยังประสบปัญหาไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนในการปลูกปาล์มน้ำมัน  ในขณะที่ภาครัฐยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าพื้นที่ปลูกเหมาะสมกับการปลูกปาล์มน้ำมันหรือไม่  เนื่องจากยังอยู่ในระยะทดลองปลูก  ยังไม่มีความแน่นอนของตลาดที่มารองรับ  การซื้อขายมีพียงลานเทรับซื้อในกลุ่ม เช่น เกษตรกรที่ อ.เชียงคาน จ.เลยรวมกลุ่มเพื่อขายปาล์มผ่านบริษัทเมืองเลยปาล์ม  ราคาผลผลิตได้เพียง กก.ละ ๒ บาท  ซึ่งยังถือว่าไม่มีโรงสกัดปาล์มน้ำมันที่อยู่ใกล้รัศมีของพื้นที่ปลูก  ราคาต้นพันธุ์มีราคาแพง  มีความเสี่ยงต่อการได้รับต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพไม่ตรงตามสายพันธุ์  

              นโยบายส่งเสริมการปลูกพืชน้ำมันในภาคอีสานโดยเฉพาะปาล์มน้ำมันยังเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ  และอยู่ในระยะทดลองความเป็นไปได้ในการปลูก     ในขณะที่อ้อยและมันสำปะหลังซึ่งมิใช่พืชชนิดใหม่ของภาคอีสาน  แต่เกษตรกรเป็นเพียงลูกไล่ในการผลิตป้อนโรงงานอุตสาหกรรม  โดยที่ยังกำหนดราคาไม่ได้   ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดโลกมีมากน้อยขนาดไหน   การขยายพื้นที่ปลูกพืชน้ำมันทั้ง ๓ ชนิดจึงมีความเสี่ยงที่จะขยายเข้าไปในพื้นที่ป่า พื้นที่นา และพื้นที่ชุ่มน้ำ เมื่อราคาผลผลิตดี   ทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งอาหารถูกทำลายจากการใช้พื้นที่ไม่เหมาะสม  ในขณะที่เกษตรกรยังยากจนเหมือนเดิม  ประเทศชาติได้ประโยชน์เพียงมีพืชน้ำมันทดแทนนำเข้าน้อยนิด  นโยบายลักษณะนี้มีประโยชน์ต่อประเทศชาติหรือไม่โปรดคิดกันให้ดี

บล็อกของ คนไม่มีอะไร

คนไม่มีอะไร
          เมื่อวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2551 ถือว่าเป็นความโชคดีของชุมชนทับเขือ  และสมาชิกเครือข่ายองค์ชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง เนื่องจากมีแขกต่างเมืองมาเยือนถึงที่ หลายๆ คนอาจคาดไม่ถึง ว่าบุคคลท่านนี้มาถึงชุมชนเล็กๆ นี้ทำไม และหลายๆ คนก็กำลังคิดว่าเขาเป็นใครมาจากไหน                คุณริคาร์โด คาร์เรเร (Ricardo Carrere)  เป็นคนประเทศอุรุกวัย  หน้าที่การงานในตอนนี้เป็นผู้ประสานเครือข่ายป่าไม้เขตร้อนระดับโลก องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1996 เป็นเวลานานถึง…
คนไม่มีอะไร
        เมื่อวันก่อน(13 ก.ค. 51)  ได้กลับไปเยียมถ้ำแห่งหนึ่ง ครั้งหนึ่งเราเคยมาสถานที่แห่งนี้เมื่อประมาณสามปีที่แล้ว สถานแห่งนี้เปลี่ยนไป สามปีก่อนป้ายชื่อของถ้ำธรรมดามาก มาในวันนี้ชื่อถ้ำสร้างด้วยปูน และที่สำคัญจำนวนคนที่มาเที่ยวมีจำนวนเพิ่มขึ้น บรรยากาศโดยรอบเป็นธรรมชาติมาก แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนความตื่นเต้น และความสวยงามภายในถ้ำ      ถ้าใครได้มาที่นี้ก็จะต้องล่องธาราใต้พิภพ และก็จะสัมผัสกับสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ก็จะเกิดการผจญภัยแบบเล็กๆ ย้อยๆ สร้างความตื่นเต้นและเกิดความประทับใจไปในที่สุด จนกระทั้งเกิดความทรงจำนี้ตลอดไป  …
คนไม่มีอะไร
  ใครหลายๆ คนคงรู้จักภูเก็ตดี และก็มีอีกหลายๆ คนไม่เคยมาสัมผัสกับบรรยากาศกลิ่นไอทะเลของภูเก็ตเลย ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านเรามีโอกาสได้ลงไปเกาะยาวจังหวัดพังงา แต่ต้องขึ้นเรือที่ท่าเรือบางโรง ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดภูเก็ต เลยทำได้แก่เก็บรูปมาฝาก                       
คนไม่มีอะไร
คนไม่มีอะไร
เป็นกิจกรรมที่เราช่วยกันสร้าง เป็นช่วงเวลาที่เรามีความสุข มีความทุกข์ แต่ก็อยากทำอะไรให้สังคมบ้าง ในฐานะเป็นหนึ่งในสังคม
คนไม่มีอะไร
ไม่ทราบว่าในโลกใบนี้มีคนเหมื่อนเราหรือเปล่า เพราะว่าการที่จะเราตั้งใจจะทำอะไรสักอย่าง แต่ก็มีอุปสรรค์เกิดขึ้นตลอด อย่างเช่นเรื่องบล็อก ทำอยู่สองวันแล้ว ไม่มีเครืองมือก็พยายามโหลดขึ้น พอมีแล้วอัพไม่ได้อีก บ้างทีก็ตลกตัวเอง บางที่ก็เศร้าเวลาโหลด พอเราคลิกไปดูผล ผลออกมามันยังไม่ขึ้นให้สักที่ เดี
คนไม่มีอะไร
ในระหว่างวันที่ 23-26 มิถุนายน 2551ประชาไทได้จัดอบรมสัมมนาสื่อภาคประชาชน ซึ่งฉันเชื่อว่าในการจัดอบรมในครั้งนี้จะมีประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ ที่กำลังได้รับผลกระทบจากโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งชาวบ้านเล่านี้ไม่สามารถที่เพิ่งสื่อกระแสได้ จึงจัดการกระบวนการที่จะยืนอยู่บนขาของตัวเองได้ในที่สุด ไม่มากก็น้อย