Skip to main content
 

พืชน้ำมันในผืนป่า พื้นที่ชุ่มน้ำ และนาข้าว

 

ศยามล   ไกยูรวงศ์

โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา

 

           กระแสการส่งเสริมปลูกพืชน้ำมันทดแทนการนำเข้าเริ่มจางหายไป เมื่อราคาน้ำมันตกต่ำลงเรื่อยๆ   ในขณะที่การส่งเสริมการปลูกพืชน้ำมันโดยภาครัฐยังดำเนินการต่อไป มันสำปะหลัง อ้อย และปาล์มน้ำมัน   เป็นพืชเศรษฐกิจที่ถูกส่งเสริมให้เพิ่มผลผลิตเพื่อเป็นพืชน้ำมันตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพลังงาน  ในแผน ๕ ปี ของกระทรวงเกษตรฯ (พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๔) กำหนดให้ขยายพื้นที่ปลูกปาล์ม ๖ ล้านไร่ โดยแบ่งพื้นที่ปลูกภายในประเทศ ๕ ล้านไร่ และพื้นที่ปลูกในประเทศเพื่อนบ้านอีก ๑ ล้านไร่   เพื่อนำมาผลิตไบโอดีเซลทดแทนการนำเข้าน้ำมันดีเซล ๑๐%  ภายในปี พ.ศ.๒๕๕๕

              สำหรับพืชมันสำปะหลัง และอ้อย รัฐบาลไม่มีนโยบายขยายพื้นที่ปลูก  แต่มุ่งเน้นการพัฒนาเพิ่มผลผลิต โดยให้ได้มันสำปะหลัง ๔.๕ - ๕ ตันต่อไร่  คิดเป็นผลผลิต ๓๕ ล้านตันในปี พ.ศ.๒๕๕๔  และตั้งเป้าหมายของผลผลิตของอ้อยต่อไร่ เป็น ๑๒ - ๑๕ ตันต่อไร่ คิดเป็นผลผลิตอ้อย ๘๕ ล้านตัน   ในปี พ.ศ.๒๕๕๑ เพิ่มโรงงานเอทานอลอีก ๘ โรงงาน กำลังการผลิต ๑.๙๕ ล้านลิตร/วัน  ซึ่งต้องใช้หัวมันสำปะหลังสดประมาณ ๔.๒ ล้านตัน/ปี

            สมบัติ  เหสกุล นักวิจัยอิสระได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของการเพิ่มพื้นที่ปลูกพืชพลังงานมีความเห็นว่า "ปี ค.ศ.๒๐๑๑ มีความต้องการเอทานอล  ๒.๔ ล้านลิตรต่อวัน แต่ประเทศไทยผลิตได้ ๑ ล้านลิตร/วัน  สำหรับไบโอดีเซลมีความต้องการ ๓ ล้านลิตร/วัน  แต่ประเทศไทยผลิตได้ ๑.๔๔ ล้านลิตร/วัน  กรณีของอ้อยต้องใช้น้ำอ้อยและกากอ้อย ซึ่งบริษัทมิตรผล มีการทำพันธะสัญญากับเกษตรกร  โดยโรงงานผลิตน้ำตาลเพื่อส่งออกและขายในประเทศ     กากของอ้อยผลิตเอทานอล  ใย (ชานอ้อย) ทำเป็นไม้   เกษตรกรจึงทำหน้าที่ผู้ผลิตอ้อยป้อนอุตสาหกรรมอ้อย ในการผลิตผลผลิตต่างๆป้อนโรงงาน    

              สำหรับมันสำปะหลัง อุตสาหกรรมอาหารต้องการปีละ ๒๖ ล้านตัน แต่ประเทศไทยผลิตแป้งมันได้เพียงพอกับอาหาร แต่ไม่พอกับการนำมาใช้เป็นพลังงาน              การใช้ปาล์มน้ำมันกับน้ำมัน อยู่ที่ 22% แต่อุตสาหกรรมอาหารยังต้องใช้น้ำมันปาล์มอยู่มาก แสดงว่าเรามีปาล์มไม่เพียงพอ นโยบายขยายพื้นที่ปลูกใหม่ 2.5 ล้านไร่ และปรับปรุงพื้นที่เดิม 3 แสนไร่ และเพิ่มผลผลิตต่อไปจาก 2.8 เป็น 3.5 - 5 ตันต่อไร่   แต่ต้องอยู่บนฐานว่า ราคาน้ำมันต้องสูงกว่า 100 เหรียญดอลลาร์   เกษตรกรต้องมีประสิทธิภาพในการผลิตสูงขึ้น ต้องวางระบบใหม่ ต้องใช้พันธุ์ใหม่    ต้องไม่มีการแย่งชิงพืชน้ำมันระหว่างประเทศ

 

                 

พื้นที่ปลูกอ้อยจะเพิ่มได้ ในพื้นที่นาข้าว พื้นที่ถั่วเหลือง (รุกพื้นที่พืชไร่อื่นๆ) ส่วนมันสำปะหลังขยายพื้นที่ได้ แต่เข้าไปอยู่ในไร่อ้อย และรุกเข้าไปในพื้นที่ป่า ส่วนการเพิ่มพื้นที่ปาล์มน้ำมัน   พบว่าขยายพื้นที่ได้ไม่เกิน 3 แสนไร่เท่านั้น   และส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคใต้แสนสามไร่ อีสานได้หมื่นห้าพันกว่าไร่ คือ กาฬสินธุ์ รองลงมาคือโคราช ภาคเหนือ   เนื่องจากมีข้อจำกัดของการปลูกปาล์มน้ำมันซึ่งต้องมีน้ำ 2,000 ลิตร ปริมาณน้ำฝนอย่างน้อย 100 มม./เดือน แล้งไม่เกิน 3 เดือน  ต้นทุน ในช่วง 30 เดือนเฉลี่ยไร่ละ 13,000 บาท  ค่าติดตั้งระบบน้ำ 7,000 บาท/ไร่   โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มควรอยู่ในรัศมี 50 กิโลเมตร   เกษตรกรต้องมีทักษะการปลูก   พื้นที่เหมาะสม รายได้สูงขึ้น โดยพืชเดิมราคาตกต่ำ   โดยเกษตรกรต้องเข้าถึงข้อมูล   สำหรับต้นทุนการปรับพื้นที่ (เช่น จากยูคา มาปลูกปาล์ม ใช้ต้นทุนสูง  ถ้าราคาปาล์มน้ำมันต่ำกว่า 3.5 เกษตรกรจะเริ่มขาดทุน

               ทางเลือกที่น่าสนใจ คือ ลดการส่งออกอ้อย และน้ำตาล  เพิ่มพื้นที่ พัฒนาพันธุ์ ส่งเสริมทักษะการผลิต อนาคต อาจได้เอทานอล 8 ล้านลิตร  แต่ต้องมีมันสำประหลังเพียงพอ   ต้นทุนการผลิตเอทานอลแต่ละประเภท และ ราคา เปรียบเทียบกัน เห็นว่า น้ำอ้อย มีราคาวัตถุดิบต่ำ (บาท/กก) และมีต้นทุนการผลิต (บาท/ลิตร) พอๆ กับกากน้ำตาล   ในขณะที่การปลูกปาล์มน้ำมัน ไม่ควรพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ควรพัฒนาเป็นระดับชุมชนแล้วใช้ในครัวเรือน เช่น ปลูกหัวไร่ปลายนาแล้วใช้ในครัวเรือน หรือโรงงานขนาดเล็กๆ ประมาณ 8,000 ไร่ต่อชุมชน และส่วนที่เหลือจะแปรรูปได้อีกหลายอย่าง"

              จากกรณีศึกษาปาล์มน้ำมันในภาคอีสานที่บ้านนาบอน ต.นาซ่าว อ.เชียงคาน จ.เลย บ้านโคกเจริญ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ  บ้านนิคมแปลง ๑ ตำบลชานุมาน อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ ของมาลี สุพันตี  จากเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน   มีข้อสรุปว่าเกษตรกรในภาคอีสานที่ปลูกปาล์มน้ำมันยังประสบปัญหาไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนในการปลูกปาล์มน้ำมัน  ในขณะที่ภาครัฐยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าพื้นที่ปลูกเหมาะสมกับการปลูกปาล์มน้ำมันหรือไม่  เนื่องจากยังอยู่ในระยะทดลองปลูก  ยังไม่มีความแน่นอนของตลาดที่มารองรับ  การซื้อขายมีพียงลานเทรับซื้อในกลุ่ม เช่น เกษตรกรที่ อ.เชียงคาน จ.เลยรวมกลุ่มเพื่อขายปาล์มผ่านบริษัทเมืองเลยปาล์ม  ราคาผลผลิตได้เพียง กก.ละ ๒ บาท  ซึ่งยังถือว่าไม่มีโรงสกัดปาล์มน้ำมันที่อยู่ใกล้รัศมีของพื้นที่ปลูก  ราคาต้นพันธุ์มีราคาแพง  มีความเสี่ยงต่อการได้รับต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพไม่ตรงตามสายพันธุ์  

              นโยบายส่งเสริมการปลูกพืชน้ำมันในภาคอีสานโดยเฉพาะปาล์มน้ำมันยังเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ  และอยู่ในระยะทดลองความเป็นไปได้ในการปลูก     ในขณะที่อ้อยและมันสำปะหลังซึ่งมิใช่พืชชนิดใหม่ของภาคอีสาน  แต่เกษตรกรเป็นเพียงลูกไล่ในการผลิตป้อนโรงงานอุตสาหกรรม  โดยที่ยังกำหนดราคาไม่ได้   ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดโลกมีมากน้อยขนาดไหน   การขยายพื้นที่ปลูกพืชน้ำมันทั้ง ๓ ชนิดจึงมีความเสี่ยงที่จะขยายเข้าไปในพื้นที่ป่า พื้นที่นา และพื้นที่ชุ่มน้ำ เมื่อราคาผลผลิตดี   ทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งอาหารถูกทำลายจากการใช้พื้นที่ไม่เหมาะสม  ในขณะที่เกษตรกรยังยากจนเหมือนเดิม  ประเทศชาติได้ประโยชน์เพียงมีพืชน้ำมันทดแทนนำเข้าน้อยนิด  นโยบายลักษณะนี้มีประโยชน์ต่อประเทศชาติหรือไม่โปรดคิดกันให้ดี

บล็อกของ คนไม่มีอะไร

คนไม่มีอะไร
  ประมวลภาพวันที่ 30 มีนาคม 2552 ณ สีแยกจองม่องไปจนถึงหน้าสถานีตำรวจภูธรสิชลวันที่ 30 มีนาคม 2552 เวลาประมาณ 08 : 30 น.  ณ สีแยกจองม่อง (อำเภอสิชล) ชาวบ้านประมาณ 300 คน ได้จัดขบวนรถยนต์ยาวประมาณ 30-40 คัน เพื่อไปมอบตัวพี่ด้วงตามหมายเรียก ที่ถูกนายอำเภอสิชลแจ้งความว่า "ดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการหน้าที่ หรือเพราะได้กระทำการหน้าที่" ชาวบ้าน เพือนพ้อง และมิตรสหายต่างพร้อมใจไปให้กำลังใจพี่ด้วงที่สถานีตำรวจภูธรสิชล ตามที่หมายเรียกผู้ต้องหา และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับตำรวจขั้นต่อไป และค่อยไปว่ากันบนชั้นศาลกันต่อไป หมายเรียกผู้ต้องหา ของพี่ด้วงชาวบ้านเตรียมขบวนรถ…
คนไม่มีอะไร
  หยุดสร้างภาพด้วยวาทะ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา           ในยุคสมัยนี้ไม่ว่าภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนใช้ วาทะ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ทุกวงการ โดยกำหนดตัวชี้วัดของการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ  นับเป็นนิมิตรหมายอันดีสำหรับสังคมไทย ที่ทุกภาคส่วนตระหนักชัดในหลักการนี้    แต่ในความเป็นจริงการใช้วาทะกรรมดังกล่าว   ได้ถูกบิดเบือนเพื่อสร้างภาพพจน์ของการแสวงหาผลประโยชน์ของระบบ และตนเอง       …
คนไม่มีอะไร
  เอนก  นาคะบุตร ขอยุติการประชุมเวทีรับฝังความคิดเห็นชาวบ้าน                 วันที่ 19 มกราคม 2552 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมศาลาประชาคมอำเภอสิชล การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชาวบ้าน ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนครศรีธรรมราช  (ชาวบ้านกว่า 90%  ที่มาประชุมวันนี้ไม่ได้ถูกเชิญจากบริษัททีม และกนอ. )                …
คนไม่มีอะไร
 ถ้ามันเกิดขึ้นจริงๆ คนใด้เดือดร้อนแน่นอนทางเข้าท่าเรือน้ำลึกปากบาราจังหวัดสตูล เป็นโครงการเชื่อมสงขลา - สตูล (สะพานเศรษฐกิจ)แบบก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราระยะแรกผังโครงอาหารฮาลาลจังหวัดปัตตานีสิ่งที่จะเกิดในสตูล มองภาพสวยมาก แต่แปลกรูปทั้งหมดที่ผ่านเจ้าของโครงการไม่พูดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น พูดแต่ตัวเลข    
คนไม่มีอะไร
  พืชน้ำมันในผืนป่า พื้นที่ชุ่มน้ำ และนาข้าว ศยามล   ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา            กระแสการส่งเสริมปลูกพืชน้ำมันทดแทนการนำเข้าเริ่มจางหายไป เมื่อราคาน้ำมันตกต่ำลงเรื่อยๆ   ในขณะที่การส่งเสริมการปลูกพืชน้ำมันโดยภาครัฐยังดำเนินการต่อไป มันสำปะหลัง อ้อย และปาล์มน้ำมัน   เป็นพืชเศรษฐกิจที่ถูกส่งเสริมให้เพิ่มผลผลิตเพื่อเป็นพืชน้ำมันตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพลังงาน  ในแผน ๕ ปี ของกระทรวงเกษตรฯ (พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๔) กำหนดให้ขยายพื้นที่ปลูกปาล์ม ๖ ล้านไร่…
คนไม่มีอะไร
   แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ต้องถูกกำหนดโดยคนใต้   ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา               การโฆษณาประชาสัมพันธ์กระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการลงทุนดำเนินการโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้มีอย่างต่อเนื่อง จากรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการการลงทุน (BOI) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  ยิ่งไปกว่านั้นยังได้รับการขานรับจากนักเศรษฐศาสตร์กันถ้วนหน้า เช่น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล  …
คนไม่มีอะไร
  ทางออกของชาวสวนยางเมื่อราคายางพาราตกต่ำ ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา               ยางพาราถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนใต้ที่ผูกพันทั้งทางวัฒนธรรมและทางเศรษฐกิจมานานถึง ๑๐๘ ปี  ระบบการผลิตแบบพืชเชิงเดี่ยวได้เข้ามาแทนที่ป่ายางที่เติบโตพร้อมกับสวนผลไม้และป่าธรรมชาติซึ่งเป็นระบบการผลิตแบบสวนสมรม  หรือสวนพ่อเฒ่า   เงื่อนไขส่งเสริมการปลูกสวนยางโดยใช้กลยุทธ์ของเงินกองทุนสงเคราะห์สวนยางจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยาง (สกย.) การส่งเสริมการขยายพื้นที่ปลูก …
คนไม่มีอะไร
    แผนที่โครงการที่ตั้งโรงงานงานของเดิม และพื้นที่ถูกเพิกถอนแล้ว แผนที่ทางอากาศ ที่ตั้งของโครงการ และที่เห็นเส้นสีแดงเป็นสายพานลำเลียงจากโครงการถึงท่าเรือ มี 3 เส้น พื้นที่ป่าชายเลนที่หลืออยู่ป่ายชายเลนทางทิศโรงงานป่ายเลนอีกฟากถนนเส้นทางสาธารณของชาวบ้านใช้สัญจรเมื่อก่อนเป็น สวนมะพร้าว แต่ตอนนี้มันหายไปไหนก็ไม่รู้รองรอยบ้านชาวบ้านเดิม ที่เคยอาศัยแล้วใครมากั้นรั้วในพื้นที่สาธารณนี้ คิดอะไรหรือเปล่า? เนี้ยอย่าคิดว่าเรามาเที่ยวทะเลหมอก เพราะว่าฟ้าครึมๆ ที่เห็นอยู่นี้มันมีที่มา แต่ไม่มีที่ไปต้นมะพร้าวที่ถูกตัดไปแล้ว  
คนไม่มีอะไร
  แลนด์บริดจ์ ทางลัดสู่เศรษฐกิจ หรือทางตันสำหรับชาวปากบารา                  ตามที่เราทราบโดยทั่วกัน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) จะเน้นพื้นที่การพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ฯน ได้จัดทำแผนพัฒนาภาคใต้ต่างๆ                 1. การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้              …
คนไม่มีอะไร
    ชาวปัตตานีไม่คิดต่อต้าน  "ฮาลาล"  แต่...เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 ได้ลงไปสัมผัสพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสภาวะความขัดแย้งของพื้นที่สามจังหวัด ณ วันนี้ เชื่อว่าหลายๆ คนอาจไม่รู้ว่า "ปัตตานีกำลังจะกลายเป็นครัวอาหารฮาลาลสู่ระดับโลก" ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) และภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล จังหวัดชายแดนภาตใต้ ปี 2552-2555 ครัวฮาลาลแห่งนี้จะกินพื้นที่บริเวณอำเภอสายบุหรี่ และพื้นที่อำเภอปะนะเระ พื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้างโดยประมาณทั้งหมด 933 ไร่ และจะกลายเป็นนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล  รูปที่1…
คนไม่มีอะไร
เคยส่งสัยไหมว่าทำไมหิ่งห้อยชอบอยู่แถวบริเวณต้นลำพู แล้วข้างๆ ต้นลำพูต้องมีต้นโกงกาง มีเรื่องเล่ามายาวนานว่า ต้นลำพูเคยเป็นผู้ชายมาก่อน แล้วไปลงรักนางหิ่งห้อยชวนหนีไปด้วยกัน แต่นางโกงกางก็มีใจให้นายลำพู จึงไม่ยอมให้หนีเลยเอารากตัวเองยึดนายลำพูไว้ นางหิ่งห้อยเลยจำเป็นบินเฝ้าต้นลำพูในยามค่ำคืน       เมื่อวันที่ 22-25 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมาทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ได้จัดประชุมเชิงปฎิบัติการครั้งที่2 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพระดับชุมชน (CHIA) ณ บ้านทิพย์ สวนทอง จังหวัดสมุทรสงคราม ในการประชุมครั้งนี้ทางสช.…