ชาวปัตตานีไม่คิดต่อต้าน "ฮาลาล" แต่...
เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 ได้ลงไปสัมผัสพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสภาวะความขัดแย้งของพื้นที่สามจังหวัด ณ วันนี้ เชื่อว่าหลายๆ คนอาจไม่รู้ว่า "ปัตตานีกำลังจะกลายเป็นครัวอาหารฮาลาลสู่ระดับโลก" ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) และภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล จังหวัดชายแดนภาตใต้ ปี 2552-2555 ครัวฮาลาลแห่งนี้จะกินพื้นที่บริเวณอำเภอสายบุหรี่ และพื้นที่อำเภอปะนะเระ พื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้างโดยประมาณทั้งหมด 933 ไร่ และจะกลายเป็นนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล
รูปที่1 เป็นเครือข่ายที่ส่งออกอาหารไปทั่วโลก
"ฮาลาล" เป็นสิ่งที่จะเกิดบนพื้นที่ ที่กล่าวมาข้างต้น สำหรับคนมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัด หรือมุสลิมทั่วโลกคงไม่มีใครที่จะปฎิเสธคำว่า "ฮาลาล" ออกไปจากชีวิตของเขาได้ เพราะ "ฮาลาล"เป็นสิ่งที่ดี บริสุทธิ์ ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการผลิต การให้บริการ หรือการจำนายใดๆ ดังนั้น อาหารฮาลาล จะต้องเป็นอาหารที่ได้ผ่านกรรมวิธีในการทำ ปรุง ผสม ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนาบัญญัติ เป็นการหลักประกันว่ามุสลิมทั่วโลกบริโภคได้
จากโครงการที่จะเกิดขึ้นนี้ชาวบ้านในพื้นที่ไม่คิดต่อต้านแต่ชาวบ้านกำลังจะเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับการนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลแห่งชาติ เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับบริษัท ฟาตอนี อินดัสทรีส์ จำกัด นิคมอุตสาหกรรมฮาลาล ต้องเกิดขึ้นด้วยกระบวนที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ไม่ว่าการได้มาซึ่งที่ดินของเขตนิคมฯ การจัดการทางสังคมก็ต้องถูกต้อง
สถานการณ์ในชุมชนหรือคนในพื้นที่โดยส่วนใหญ่ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอาคารขนาดใหญ่ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะในนี้เป็นสำนักงานของโครงการนี้ ชาวบ้านไม่เคยได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนิคมฯ ชาวไม่เคยรับรู้ว่าโครงการดำเนินการไปถึงไหนแล้ว? ชาวบ้านไม่เคยรับรู้ว่าเขตนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลก่อตั้งบนเนื้อที่กี่ไร่? ชาวบ้านไม่เคยรับรู้ว่าโครงการดังกล่าวจะส่งผลกระทบอะไรบ้าง?
ความเป็นมาของโครงการ
เมื่อ 29-31 มีนาคม 2545 ณ จังหวัดนราธิวาส การประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการนอกสถานที่ครั้งที่ 3 ที่ประชุมมีความเห็นว่า ควรเร่งรัดพัฒนาการแปรรูปสินค้าเกษตร สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล และมอบหมายให้นายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) รับผิดชอบการทำอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล โดยส่งเสริมให้ภาคใต้เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล และให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับผิดชอบในการจัดทำมาตรการและแผนในการแปรรูปสินค้าเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและการสร้างนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลที่ปัตตานี และ
เมื่อ 24 กันยายน 2545 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนากิจกรรมอาหารฮาลาลครั้งที่ 1/2545 วันที่ 25 เมษายน 2545 (ยุทธศาสตร์การส่งเสริมให้ภาคใต้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล) มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับกรมพัฒนาที่ดินและจังหวัดปัตตานี ศึกษาความเหมาะสมและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการพัฒนานิคม
ในตอนนี้ก็มีชาวบานบางส่วนที่ได้รับข้อมูลข่าวสาร ชาวบ้านเองก็เริ่มไม่แน่ใจในความเป็น อาหารฮาลาล เพราะว่าข้อมูลทางด้านการจัดการสิงแวดล้อม ข้อมูลในการจัดการทรัพยากรท้องถิ้นไม่แน่ชัดและยังไม่ชัดเจน อาชีพในชุมชน และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนจะเดินไปอย่างไร? เมื่อโครงการนี้เกิดขึ้น ซึ่งข้อมูลตรงจุดนี้ก็ยังไม่ชัดเจน ทำให้ชาวบ้านเริ่มที่จะเรียนรู้ความเป็นมาของโครงการนี้ ริเริ่มค้นหาความเป็นฮาลาลและปฎิเสธความไม่เป็นฮาลาลในโครงการดังกล่าว และพร้อมที่จะปกป้องสิทธิชุมชน ตามกฏหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 ตามมาตราที่ 67 ได้รองรับว่า ถ้ามีโครงการใดที่มีผลกระทบต่อประชาชน หรือชุมชน ประชาชนและชุมชนมีสิทธิ์ที่จะประเมินโครงการนั้นด้วย
รูป แสดงอาเขตโดยรอบของเขตนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล
รูป บริเวณการก่อสร้างอาคารสำนักงานของเขตนิคมฯ
รูป การดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักงานของนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล
รูป อาชีพในชุมชน การต้มปลากะตั๊ก
รูป การตากปลากะตั๊ก
รูป การตากปลาเพื่อทำปลาแห้งแดดเดียว
รูป แหล่งท่องเที่ยวหาดแฆแฆ ตั้งอยู่ใกล้กับเขตนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล
รูป ชายหาดหน้าถนนบริเวณเขตนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล
รูป ความอุดมสมบูรณ์ของป่าพรุในเขตนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล