Skip to main content

 

แผนอยู่เย็นเป็นสุข : ภาพรวมการจัดเวทีจังหวัด
 
วัตถุประสงค์        
เพื่อรับฟังข้อเสนอและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้เป็นรายจังหวัด เพื่อที่จะเปรียบเทียบกับแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ของ สศช. การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรของการนิคมแห่งประเทศประเทศไทย และโครงการขนาดใหญ่ที่จะเกิดในพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นต่อเอกสารร่างมติข้อเสนอในแผนพัฒนาภาคใต้ที่ยั่งยืน
 
พื้นที่ดำเนินการ   13    จังหวัดภาคใต้ (ยกเว้นสุราษฎร์ธานี)
 
กระบวนการจัดเวทีจังหวัด  
                ด้านเนื้อหา             กระบวนการจัดเวทีจังหวัดประกอบด้วย เนื้อหาสามส่วนหลัก คือ เนื้อหาข้อมูลแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ข้อมูลศักยภาพจังหวัด และข้อมูลผลกระทบที่เกิดจากโครงการพัฒนาที่ผ่านมา เช่นโครงการปิโตรเคมี ที่มาบตาพุด เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการระดมความเห็นของคนในจังหวัดนั้นๆ
ด้านกระบวนการ ช่วงแรก เป็นการให้ข้อมูลโดยนักวิชาการ และคณะทำงานเชิงประเด็นในด้านต่างๆ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ช่วงที่สอง เป็นการระดมความเห็นแบบกลุ่มย่อย ซึ่งจะมี 2 โจทย์หลักๆ ให้แสดงความเห็นต่อทิศทางการพัฒนาจังหวัดของตัวเองที่ควรจะเป็น และความเห็นต่อข้อเสนอกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาที่ยั่งยืนบนฐานการพึ่งตนเอง ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม กรณีภาคใต้
ผลลัพธ์ ด้านเนื้อหาข้อมูลเมื่อมีการนำเสนออกไป สามารถให้คนในที่ประชุมรับรู้ และตระหนัก เพราะว่าข้อมูลที่นำเสนอออกไปนั้น ผู้เข้าร่วมเวทีเสวนาไม่เคยรับรู้ข้อมูลนี้มาก่อน ซึ่งช่วยทำให้บรรยากาศการในการพูดคุยสนทนาในช่วงถัดไปเป็นการพูดคุยที่มีข้อมูลข้อเท็จจริงประกอบ และกระบวนการแบ่งกลุ่มย่อยช่วยให้ทุกคนได้พูดคุยกันอย่างทั่วถึง สามารถแสดงความเห็นของตัวเอง จนนำไปสู่ความตระหนักมากขึ้นในทิศทางการพัฒนาของประเทศชาติ ตลอดจนมีข้อเสนอในการพัฒนาหรือดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาต่อไป
 
ข้อเสนอต่อกระบวนการพัฒนาจังหวัด
                หลังจากรับทราบข้อมูลทำให้ทราบว่าโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมในจังหวัดของตนนั้นมีอะไรบ้าง เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับข้อมูลศักยภาพจังหวัด และมาเปรียบเทียบช่างน้ำหนักระหว่ง ผลดี กับ ผลเสีย ที่จะเกิดจากการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ หรือพวกอุตสาหกรรมหนักทั้งหลายแล้วทิศทางการพัฒนาจังหวัดควรดำเนินการในแนวทางรักษาฐานทรัพยากรสิ่งแวดล้อม วีถีชีวิต ให้สอดคล้องกับสังคม วัฒนธรรม ผลประโยชน์ควรเกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก และนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุข ของคนในจังหวัดนั้นๆ
บางจังหวัดมีข้อเสนอเพิ่มเติมหลังจากนี้จะต้องมีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ในลักษณะของเครือข่ายการเรียนรู้ กลุ่ม องค์กร เพื่อก่อให้เกิดพลังในการกำหนดทิศทางการพัฒนาตนเองต่อไปในอนาคต
บางพื้นที่มีแนวทางในการศึกษาผลกระทบจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ หรือผลกระทบจากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นแล้วในพื้นที่เพื่อเตือนภัย และหาทางเยียวยาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญที่สุดคือคุณภาพชีวิตที่กำลังจะถูกทำลายไป
บางจังหวัดมีข้อเสนอในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามศักยภาพที่เป็นจริง และสอดคล้องกับฐานทรัพยากรของจังหวัด เพื่อที่เกิดประโยชน์ต่อคนจำนวนมากอย่างสูงสุด
 
ข้อเสนอต่อประเด็นแผนพัฒนาที่ยั่งยืนบนฐานการพึ่งตนเอง ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม กรณีภาคใต้
                ความเห็นส่วนใหญ่ของผู้ที่เข้าร่วมสัมมนาคือไม่เห็นด้วยกับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ จำพวกอุตสาหกรรมหนัก เช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ท่าเรือน้ำลึก โรงกลั่น และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ แต่เห็นด้วยว่าทิศทางการพัฒนาควรต่อยอดจากศักยภาพเดิมของพื้นที่บนฐานการรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญต้องเอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ นั้นคือ การพัฒนาด้านการเกษตร ประมง การท่องเที่ยว และการศึกษา รวมทั้งอุตสาหกรรมที่นำมาสู่การยกระดับสินค้าเกษตรและต้องเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
                ความเห็นในการจัดเวทีระดับจังหวัด ใช้เนื้อหาเดียวกันกับข้อเสนอในร่างมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติประเด็นแผนพัฒนาที่ยั่งยืนภาคใต้
                ผู้เข้าร่วมประชุมในแต่ละจังหวัดสนับสนุนร่างมติที่คณะทำงานร่างขึ้นโดยมีความเห็นเพิ่มเติมบ้างแต่ในด้านเนื้อหาสอดคล้องกับของเดิม
 
ข้อสรุปสุดท้ายของเวทีจังหวัด
                ฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเลิศ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่เป็นสายสัมพันธ์มาหลายอายุคน สิ่งเหล่านี้คงมากพอที่จะทำให้คนใต้รู้สึกรักบ้านตัวเอง และพร้อมที่จะปกป้องทรัพยากรตามรัฐธรรมนูญ และกำหนดทิศทางทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับคนใต้ และมีต้องมีประโยชน์สูงสุดกับคนส่วนรวม
                จากการประเมินของเวทีจังหวัดอีกประการสำคัญ พบว่า คนภาคใต้ต้องวิถีชีวิติที่ดีขึ้น มีการรักษาวัฒนาธรรมท้องถิ่น ปรับระบบการศึกษาให้ดีขึ้น การสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นที่ให้ดีกว่าเดิม ลดปัญหาคดีอาชญากรรม ยาเสพติด ดังนั้นประการแรกที่รัฐบาลต้องทำคือ การทำให้ชุมชนเข้มแข็งที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น
ภาคใต้ของประเทศไทยควรเป็นเมืองเกษตร ประมงและการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นฐานการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนฐานของการประกอบอาชีพของคนใต้ อย่างแท้จริง
 

บล็อกของ คนไม่มีอะไร

คนไม่มีอะไร
  บ่อน้ำมันทำลายธรรมชาติ ทำลายเกาะสมุย พะงัน เต่า
คนไม่มีอะไร
คนกลาย พูดดังๆ ว่า ไม่เอา...เชฟรอน            วันที่  8 มีนาคม 2553 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ลานหน้าองค์การบริหารส่วนตำบลกลาย ทางบริษัทเชฟรอนและบริษัทที่ปรึกษา ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชาวบ้านตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องการสร้างท่าเรือ และคลังเก็บวัสดุของบริษัทเชฟรอน เนื่องจากเชฟรอนต้องการย้ายฐานปฏิบัติการจาก จังหวัดชลบุรีและสงขลา มาอยู่ที่บ้านบางสาร ตำบลกลาย จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งทางบริษัทให้เหตุพลว่า ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะว่าสามารถลดต้นทุนในการขนส่งจากแท่นขุดเจาะมาบนฝั่ง…
คนไม่มีอะไร
ความเงียบได้กลับคืนสูบ้านท่าสูงบนอีกครั้งหลังจากงานสมัชชาประมงพื้นบ้านได้ผ่านไป ก็คงเหมือนลมทะเลที่พัดหอบเอาไอทะเลเข้าสู่ฝั่ง คงเหลือไว้แต่รูปภาพและความทรงจำที่ติดอยู่ในสมองของใครใครหลายคน ผมซึ่งมีโอกาสได้เข้าร่วมงานนี้ตั้งแต่วันที่เตรียมงานจนวันสุดท้าย           ภาพที่เห็นยังคงวนเวียนอยู่ในหัวกับคำถามมากมายที่ตามมาว่า งานนี้มีไว้เพื่อ.......?           มันเป็นคำถามที่ผมสงสัยเรื่อยมาจนคำตอบของคำถามเหล่านั้นค่อยๆ คลายออกมาทีละนิดทีละนิด เริ่มจากภาพของผู้คนที่เตรียมงานกันอย่างแข็งขัน…
คนไม่มีอะไร
  โครงการพัฒนาที่พยายามคืบคลาน…เข้ามา อีกนานมั้ย….??? ที่ประเทศไทยจะรอดพ้นจากโครงการพัฒนาที่ประชาชนต้องเป็นแพะรับบาป ชาวบ้านเป็นผู้รับกรรม เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ เป็นผู้ต้องสูญเสีย และเป็นผู้เสียสละ พื้นที่ สิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม “เราไม่ต้องการโครงการพัฒนาขนาดใหญ่” “เราไม่ต้องการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี” “เราไม่ต้องการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” “เราไม่ต้องการท่าเรือน้ำลึก” “เราไม่ต้องโรงไฟฟ้าถ่านหิน” คำเหล่านี้ประมวลสรุปจากเวทีจังหวัดภาคใต้ที่เราได้ไปจัดมา (ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พัทลุง สตูล ระนอง กระบี่ ภูเก็ต และพังงา)…
คนไม่มีอะไร
เก็บตกจากเวทีโลกร้อน เมื่อ 3-5 ตุลาคม 2552 บรรยากาศการเดินขบวนรณรงค์เวทีโลกร้อน มันน่าจะบอกอะไรบางอย่างให้กับประเทศที่กำลังจะทำสิ่งเหล่านี้ กำลังพลนับหมื่นคน ณ วันนั้น เพื่อเรียกร้องให้ประเทศต่างๆทบทวนนโยบายการพัฒนาที่ผิดทาง คนนครศรีธรรมราชก็มาด้วย เพราะว่ากำลังจะเจอกับแผนพัฒนาที่สวนทางกับวิถีชีวิตชาวบ้าน โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี คนนครศรฯ ไม่เอา
คนไม่มีอะไร
  แผนอยู่เย็นเป็นสุข : ภาพรวมการจัดเวทีจังหวัด   วัตถุประสงค์         เพื่อรับฟังข้อเสนอและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้เป็นรายจังหวัด เพื่อที่จะเปรียบเทียบกับแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ของ สศช. การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรของการนิคมแห่งประเทศประเทศไทย และโครงการขนาดใหญ่ที่จะเกิดในพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นต่อเอกสารร่างมติข้อเสนอในแผนพัฒนาภาคใต้ที่ยั่งยืน   พื้นที่ดำเนินการ   13    จังหวัดภาคใต้ (ยกเว้นสุราษฎร์ธานี)   กระบวนการจัดเวทีจังหวัด          …
คนไม่มีอะไร
   ภาคใต้ : อุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร   ในปัจจุบันปริมาณการใช้เหล็กในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบป้อนให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ในแต่ละปีมีความต้องการใช้เหล็กในประเทศสูงถึงประมาณ 12.5 ล้านตัน/ปี และต้องนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศโดยเฉพาะเหล็กคุณภาพสูงประมาณ 4.5 ล้านตัน/ปี   ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีอุตสาหกรรมผลิตเหล็กแบบครบวงจร โดยขาดการผลิตเหล็กต้นน้ำซึ่งเป็นการผลิตเหล็กขั้นต้นเพื่อป้อนให้กับอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต่อไป จึงไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้เหล็กคุณภาพสูงในประเทศไทยได้…
คนไม่มีอะไร
 ผังเมืองกำลังจะเปลี่ยน "นครศรีธรรมราช"  ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตอนนี้มีการลงมาจัดทำผังเมืองถึงครึ่งทางแล้ว ไปแอบได้ข้อมูลมา ตอนบริษัท นำเสนอ คณะกรรมการกำกับผังเมืองฯ  และตอนนี้ทางพื้นที่ต้องความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพข้างล่างนี้  ความเห็นจากแสนกล้า (นามสมมติ) นี่คือตัวอย่างหนึ่ง  ที่สะท้อนว่าถ้าเราเอาผังนโยบาย ระดับภาค ประเทศมาใช้บังคับตามกฎหมายตามที่กรมโยธาฯกำลังทำร่าง พรบ. ผังเมืองใหม่อยู่  จะเป็นอันตราย เป็นการมัดมือชกในการเอานโยบายมาใส่ในการจัดทำผังเมืองรวมตามกฎหมาย กรณีนี้ ยังเอามาใส่ทั้งๆ ที่ผัง หรือนโยบายระดับภาคยังไม่ใช้บังคับตามกฎหมาย…