Skip to main content

          เมื่อวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2551 ถือว่าเป็นความโชคดีของชุมชนทับเขือ  และสมาชิกเครือข่ายองค์ชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง เนื่องจากมีแขกต่างเมืองมาเยือนถึงที่ หลายๆ คนอาจคาดไม่ถึง ว่าบุคคลท่านนี้มาถึงชุมชนเล็กๆ นี้ทำไม และหลายๆ คนก็กำลังคิดว่าเขาเป็นใครมาจากไหน

                คุณริคาร์โด คาร์เรเร (Ricardo Carrere)  เป็นคนประเทศอุรุกวัย  หน้าที่การงานในตอนนี้เป็นผู้ประสานเครือข่ายป่าไม้เขตร้อนระดับโลก องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1996 เป็นเวลานานถึง 12 ปี และเริ่มต้นที่ทำการเคลือนไหวที่ประเทศมาเลเซียเป็นประเทศแรก  ซึ่งริคาร์โดเชื่อว่า "เวลาพูดถึงป่าไม้  ไม่ได้หมายถึงต้นไม้แต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมถึงชุมชนเข้าไปด้วย เพราะชุมชนต้องอยู่คู่กับป่า"

            ริคาร์โดจะทำต่อสู้ภาคประชาชนในการเรียกร้องต่อสู้เรื่องป่า อย่างเช่นในทวีป แอฟริกา อเมริกาใต้ ซึ่งประชาชนทั่วโลกก็อยู่กับป่ามาเป็นร้อยๆ ปีแล้ว แต่รัฐบาลเกือบทุกประเทศมิได้ตระหนักถึงตรงจุดนี้  แต่ที่รัฐบาลทำคือ การอนุญาตให้สัมปทานป่าไม้ การทำเหมืองแร่ และก็มีบริษัทเป็นนายทุนเข้ามา ซึ่งคล้ายๆ กับประเทศไทยในตอนนี้

เมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมารัฐบาลสนับสนุนให้ปลูกพืชเชิงเดียว สวนเดียว เช่นต้นปาล์มน้ำมัน และยางพารา เหมือนบ้านเราที่ช่วงหนึ่งรัฐบาลเองก็สนับสนุนให้ปลูกพืชเชิงเดียว เช่น บริเวณจังหวัดกระบี จังหวัดตรัง จนมาวันนี้ชุมชนพยามยามกลับไปทำอย่างเดิมคือปลูกพืชผสมหลายๆ อย่างเข้าไว้ในสวนเดียวกัน

การเคลื่อนไหวเครือข่ายป่าเขตร้อนของริคาร์โด เขาเองก็ได้เรียนรู้จากชาวบ้าน ชาวบ้านรักษาป่าอย่างไร อยู่กับป่าอย่างไร และปกป้องป่าอย่างไร เป็นเวลาสิบกว่าปีที่เขาต้องเดินทางเรียนรู้เรื่องแบบนี้ สามารถที่จะผลักดันในเชิงนโยบายได้ ร่วมถึงเรื่องป่ายูคาร์ลิปตัสด้วยเช่นกัน ส่วนในประเทศไทยก็เป็นพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เขาจะศึกษาเรียนรู้ความเดือดร้อนของชาวบ้าน ว่าเดือดร้อนยังไง ปกป้องป่าแบบอย่างไร

เมื่อปี 1998 ประมาณสิบที่ผ่านมาทางเครือข่ายการเคลื่อนไหวป่าเขตร้อนได้การรณรงค์ครั้งใหญ่ในกรณีการปลูกต้นปาล์มน้ำมัน  ต้นยูคาร์ลิปตัส และต้นยางพารา ไม่ให้รัฐบาลและประเทศทั่วโลกส่งเสริมในการการปลูก เพราะต้นไม้เหล่านี้เป็นพืชเศรษฐกิจ

การเคลื่อนไหวขององค์กรนี้ต้องเข้าหาชาวบ้าน และชาวบ้านทั่วโลกพูดแบบเดียวกัน เรื่องเดียวกันกัน มีปัญหาเรื่องที่ดิน ขาดแคลนน้ำ ปัญหาวิถีการดำรงชีวิต ถูกทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ไม่มีที่ดินทำกิน  เช่นรัฐบาลสนับสนุนให้ปลูกต้นยูคาร์ลิปตัส เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง แต่ไม่ใช่ป่าไม้ เพราะมันเป็นไม้เศรษฐกิจ รัฐบาลคล้ายๆ กับว่าต้องการปลูกป่าใหม่ หรืออีกกรณีหนึ่งก็ประกาศเป็นเขตอุทยานทับพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน และรัฐบาลก็ออกมากล่าวว่ารัฐบาลกำลังรักษาพื้นที่ป่าไม้ นี้เป็นสิ่งที่ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน ทำให้ชาวบ้านต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิของตนเอง

ในช่วงที่เศรษฐกิจไม้กำลังไปได้ดี รัฐบาลหลายๆ ประเทศก็พยายามที่จะออกมากล่าว "ป่าคือไม้" แต่ชาวบ้านคิดว่าป่าคือ "วิถีชีวิตของเขาทั้งหมด" รัฐบาลก็จะบอกว่าพวกชาวบ้านไม่มีความรู้เรื่องป่าหรอก ที่รู้มาก็เป็นความรู้ที่ผิดๆ กรมป่าไม้ก็จะกล่าวว่า กรมป่าไม้ต่างหากเป็นผู้ที่รู้เรื่องเกี่ยวกับป่าไม้ทุกอย่าง ชาวบ้านอยู่ในป่า ชาวบ้านก็จะทำลายป่า การตัดสินใจก็ต้องอยู่ที่รัฐบาล รัฐบาลรักษาป่าได้ดีกว่าชุมชน

ริคาร์โดได้เรียนรู้เรื่องประเทศไทยก็ตอนที่เรียกร้องสิทธิ์ป่าชุมชนเมื่อหลายปีก่อน ได้รู้ว่าป่าคือชีวิตของชาวบ้าน  ในช่วงที่ชาวบ้านหรือชุมชนของประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก   ได้ลุกขึ้นมารณรงค์เรื่องต้นยูคาร์ลิปตัส ชาวบ้านในแถบนี้ทำการต่อสู้กับนโยบายของรัฐในตอนนั้น และเป็นประเด็นที่เขามาเยือนประเทศไทยในตอนนี้ เพราะชาวบ้านพยายามเรียกร้องป่าคืนมา

ริคาร์โดได้ลงพื้นที่ชุมชนทับเขือ องค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง ชุมชนทับเขือมีปัญเรื่องที่ทำกิน และได้รับการคุกคามจากนโยบายภาครัฐ ซึ่งตอนนี้พื้นที่แห่งนี้ถูกประกาศเป็นเขตอุทยานเขาปูเขาย่า เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมือปี พ.ศ. 2525 และถูกประกาศทับเป็นเขตรัษาพันธุ์สัตว์ โดยที่ชาวบ้านไม่มีส่วนรู้เห็นเป็นใจ

ในขณะชุมชนทับเขือเองก็กำลังระดมแนวคิดกำหนดรัฐธรรมนูญชุมชน สืบเนื่องจากที่ผ่านมาชุมชนได้รับผลกระทบจากการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ ทำให้วิถีชีวิตต้องลำบากมากขึ้น

ริคาร์โดได้ยินอย่างนี้ เขาก็พูดว่าชุมชนต้องเข็มแข็ง และเขาก็พูดติดตลกให้ฟัง "ชุมชนทับเขือรวยเนื่องจากในสวนเตืมไปด้วยอาหาร สามารถหากินได้โดยไม่ต้องซื้อ" ไม่เหมือนกับพวกที่นั่งเก้าสูงๆ ที่ต้องกินอาหารราคาแพงๆ คนเหล่านั้นคงอิจฉาชุมชนแห่งนี้ที่มีอาหารกินโดยไม่ต้องซื้อ เลยพยายามที่จะกดดั้นให้ชาวบ้านออกไปอยู่ที่อื่นๆ

Ricardo 2

คุณริคาร์โด

ผู้แปล คุณจารุวรรณ แก้วมหานิล

 

บล็อกของ คนไม่มีอะไร

คนไม่มีอะไร
  ประมวลภาพวันที่ 30 มีนาคม 2552 ณ สีแยกจองม่องไปจนถึงหน้าสถานีตำรวจภูธรสิชลวันที่ 30 มีนาคม 2552 เวลาประมาณ 08 : 30 น.  ณ สีแยกจองม่อง (อำเภอสิชล) ชาวบ้านประมาณ 300 คน ได้จัดขบวนรถยนต์ยาวประมาณ 30-40 คัน เพื่อไปมอบตัวพี่ด้วงตามหมายเรียก ที่ถูกนายอำเภอสิชลแจ้งความว่า "ดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการหน้าที่ หรือเพราะได้กระทำการหน้าที่" ชาวบ้าน เพือนพ้อง และมิตรสหายต่างพร้อมใจไปให้กำลังใจพี่ด้วงที่สถานีตำรวจภูธรสิชล ตามที่หมายเรียกผู้ต้องหา และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับตำรวจขั้นต่อไป และค่อยไปว่ากันบนชั้นศาลกันต่อไป หมายเรียกผู้ต้องหา ของพี่ด้วงชาวบ้านเตรียมขบวนรถ…
คนไม่มีอะไร
  หยุดสร้างภาพด้วยวาทะ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา           ในยุคสมัยนี้ไม่ว่าภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนใช้ วาทะ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ทุกวงการ โดยกำหนดตัวชี้วัดของการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ  นับเป็นนิมิตรหมายอันดีสำหรับสังคมไทย ที่ทุกภาคส่วนตระหนักชัดในหลักการนี้    แต่ในความเป็นจริงการใช้วาทะกรรมดังกล่าว   ได้ถูกบิดเบือนเพื่อสร้างภาพพจน์ของการแสวงหาผลประโยชน์ของระบบ และตนเอง       …
คนไม่มีอะไร
  เอนก  นาคะบุตร ขอยุติการประชุมเวทีรับฝังความคิดเห็นชาวบ้าน                 วันที่ 19 มกราคม 2552 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมศาลาประชาคมอำเภอสิชล การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชาวบ้าน ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนครศรีธรรมราช  (ชาวบ้านกว่า 90%  ที่มาประชุมวันนี้ไม่ได้ถูกเชิญจากบริษัททีม และกนอ. )                …
คนไม่มีอะไร
 ถ้ามันเกิดขึ้นจริงๆ คนใด้เดือดร้อนแน่นอนทางเข้าท่าเรือน้ำลึกปากบาราจังหวัดสตูล เป็นโครงการเชื่อมสงขลา - สตูล (สะพานเศรษฐกิจ)แบบก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราระยะแรกผังโครงอาหารฮาลาลจังหวัดปัตตานีสิ่งที่จะเกิดในสตูล มองภาพสวยมาก แต่แปลกรูปทั้งหมดที่ผ่านเจ้าของโครงการไม่พูดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น พูดแต่ตัวเลข    
คนไม่มีอะไร
  พืชน้ำมันในผืนป่า พื้นที่ชุ่มน้ำ และนาข้าว ศยามล   ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา            กระแสการส่งเสริมปลูกพืชน้ำมันทดแทนการนำเข้าเริ่มจางหายไป เมื่อราคาน้ำมันตกต่ำลงเรื่อยๆ   ในขณะที่การส่งเสริมการปลูกพืชน้ำมันโดยภาครัฐยังดำเนินการต่อไป มันสำปะหลัง อ้อย และปาล์มน้ำมัน   เป็นพืชเศรษฐกิจที่ถูกส่งเสริมให้เพิ่มผลผลิตเพื่อเป็นพืชน้ำมันตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพลังงาน  ในแผน ๕ ปี ของกระทรวงเกษตรฯ (พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๔) กำหนดให้ขยายพื้นที่ปลูกปาล์ม ๖ ล้านไร่…
คนไม่มีอะไร
   แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ต้องถูกกำหนดโดยคนใต้   ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา               การโฆษณาประชาสัมพันธ์กระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการลงทุนดำเนินการโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้มีอย่างต่อเนื่อง จากรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการการลงทุน (BOI) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  ยิ่งไปกว่านั้นยังได้รับการขานรับจากนักเศรษฐศาสตร์กันถ้วนหน้า เช่น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล  …
คนไม่มีอะไร
  ทางออกของชาวสวนยางเมื่อราคายางพาราตกต่ำ ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา               ยางพาราถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนใต้ที่ผูกพันทั้งทางวัฒนธรรมและทางเศรษฐกิจมานานถึง ๑๐๘ ปี  ระบบการผลิตแบบพืชเชิงเดี่ยวได้เข้ามาแทนที่ป่ายางที่เติบโตพร้อมกับสวนผลไม้และป่าธรรมชาติซึ่งเป็นระบบการผลิตแบบสวนสมรม  หรือสวนพ่อเฒ่า   เงื่อนไขส่งเสริมการปลูกสวนยางโดยใช้กลยุทธ์ของเงินกองทุนสงเคราะห์สวนยางจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยาง (สกย.) การส่งเสริมการขยายพื้นที่ปลูก …
คนไม่มีอะไร
    แผนที่โครงการที่ตั้งโรงงานงานของเดิม และพื้นที่ถูกเพิกถอนแล้ว แผนที่ทางอากาศ ที่ตั้งของโครงการ และที่เห็นเส้นสีแดงเป็นสายพานลำเลียงจากโครงการถึงท่าเรือ มี 3 เส้น พื้นที่ป่าชายเลนที่หลืออยู่ป่ายชายเลนทางทิศโรงงานป่ายเลนอีกฟากถนนเส้นทางสาธารณของชาวบ้านใช้สัญจรเมื่อก่อนเป็น สวนมะพร้าว แต่ตอนนี้มันหายไปไหนก็ไม่รู้รองรอยบ้านชาวบ้านเดิม ที่เคยอาศัยแล้วใครมากั้นรั้วในพื้นที่สาธารณนี้ คิดอะไรหรือเปล่า? เนี้ยอย่าคิดว่าเรามาเที่ยวทะเลหมอก เพราะว่าฟ้าครึมๆ ที่เห็นอยู่นี้มันมีที่มา แต่ไม่มีที่ไปต้นมะพร้าวที่ถูกตัดไปแล้ว  
คนไม่มีอะไร
  แลนด์บริดจ์ ทางลัดสู่เศรษฐกิจ หรือทางตันสำหรับชาวปากบารา                  ตามที่เราทราบโดยทั่วกัน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) จะเน้นพื้นที่การพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ฯน ได้จัดทำแผนพัฒนาภาคใต้ต่างๆ                 1. การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้              …
คนไม่มีอะไร
    ชาวปัตตานีไม่คิดต่อต้าน  "ฮาลาล"  แต่...เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 ได้ลงไปสัมผัสพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสภาวะความขัดแย้งของพื้นที่สามจังหวัด ณ วันนี้ เชื่อว่าหลายๆ คนอาจไม่รู้ว่า "ปัตตานีกำลังจะกลายเป็นครัวอาหารฮาลาลสู่ระดับโลก" ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) และภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล จังหวัดชายแดนภาตใต้ ปี 2552-2555 ครัวฮาลาลแห่งนี้จะกินพื้นที่บริเวณอำเภอสายบุหรี่ และพื้นที่อำเภอปะนะเระ พื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้างโดยประมาณทั้งหมด 933 ไร่ และจะกลายเป็นนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล  รูปที่1…
คนไม่มีอะไร
เคยส่งสัยไหมว่าทำไมหิ่งห้อยชอบอยู่แถวบริเวณต้นลำพู แล้วข้างๆ ต้นลำพูต้องมีต้นโกงกาง มีเรื่องเล่ามายาวนานว่า ต้นลำพูเคยเป็นผู้ชายมาก่อน แล้วไปลงรักนางหิ่งห้อยชวนหนีไปด้วยกัน แต่นางโกงกางก็มีใจให้นายลำพู จึงไม่ยอมให้หนีเลยเอารากตัวเองยึดนายลำพูไว้ นางหิ่งห้อยเลยจำเป็นบินเฝ้าต้นลำพูในยามค่ำคืน       เมื่อวันที่ 22-25 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมาทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ได้จัดประชุมเชิงปฎิบัติการครั้งที่2 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพระดับชุมชน (CHIA) ณ บ้านทิพย์ สวนทอง จังหวัดสมุทรสงคราม ในการประชุมครั้งนี้ทางสช.…