สื่อ

The Tempo : สื่อกระแสหลักแต่ทางเลือกประชาชน

ช่วงที่ผู้เขียนอยู่อินโดนีเซีย ต้องพึ่งข่าวสารและสมัครเป็นสมาชิกหนังสือพิมพ์และนิตยสารภาษาอังกฤษสองฉบับคือ the Jakarta Post และ Tempo เพื่อเข้าใจ (ผ่านสื่อ) ต่อสังคมอินโดนีเซียน ซึ่งช่วยได้ในภาพรวม ไม่ได้ทำให้ผู้เขียนตกกระแสสังคมอินโดนีเซียเกินไป  ผู้เขียนได้เคยเอ่ยถึงและนำคำสัมภาษณ์ผู้จัดการในเครือจาการ์ตา โพสต์ลงในคอลัมไปบ้างแล้ว ครั้งนี้จะขอเอ่ยถึงองค์กรสื่อหนึ่งที่ทรงอิทธิพลมากแห่งหนึ่งของอินโดนีเซีย และได้ชื่อว่าเป็นสื่อกระแสหลักแต่เป็นทางเลือกหนึ่งของภาคประชาชนแดนตากาล็อค

Tempo (หรือหมายถึง Time) มีสองภาคภาษาคือ ภาคภาษาอินโดนีเซียและภาคภาษาอังกฤษ จำนวนพิมพ์ของภาคภาษาอังกฤษกว่าสองหมื่นเล่มในแต่ละสัปดาห์ ไม่นับภาคภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งแน่นอนว่า เจ้าของภาษาย่อมมีข่าวเข้มข้นกว่า การเลือกภาคภาษาอังกฤษคือ เลือกสรรข่าวสารสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าเป็นชาวต่างชาติและชนชั้นกลาง (ชนชั้นปัญญาชน) บางกลุ่ม

สื่อยืนข้างประชาชน

ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ประชาชนของเขาผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างยาวนานตั้งแต่ ในยุคอาณานิคมก็ถูกกดขี่จากอาณานิคม สเปน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เสร็จจากยุคอาณานิคมก็มาเจอยุคเผด็จการเบ็ดเสร็จภายใต้รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินัน มาร์กอสผู้ล่วงลับ จากยุคเผด็จการดันมาเจอยุคประชาธิปไตยลวงและการคอรัปชั่นอย่างหนักหน่วงในรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราดา และเพิ่งจะมีเหตุการณ์ประท้วงไปหมาดๆ เพื่อขับไล่ประธานาธิบดีอาร์โรโย ที่แปดเปื้อนด้วยการคอรัปชั่น ประชาชนชาวฟิลิปปินส์จึงมีประวัติศาสตร์การต่อสู้กับอำนาจที่ไม่เป็นธรรมมาโดยตลอด เรียกได้ว่าขบวนการประชาชนของฟิลิปปินส์เข้มแข็งอย่างมากเป็นแบบอย่างการต่อสู้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านได้เรียนรู้มากทีเดียว  และเคียงคู่กันมากับขบวนการประชาชนเพื่อต่อสู้เรียกร้องเอกราช และความเป็นธรรมในประวัติศาสตร์นั้นฟิลิปปินส์ไม่เคยขาดสื่อข้างประชาชนในแต่ละยุคสมัย

ฅ คน กับบทสัมภาษณ์ ส.ศิวรักษ์

‘นายยืนยง’

20080409 1

ชื่อนิตยสาร      :    ฅ คน ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๕ (๒๔)  มีนาคม ๒๕๕๑
บรรณาธิการ     :    กฤษกร  วงค์กรวุฒิ
เจ้าของ           :    บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด

รักที่ทรมานของคนตาย - จากอิทธิพลของปลายลิ้น

คุณคะ

คุณกำลังมีความทุกข์อยู่หรือเปล่าคะ?


ถ้าคุณกำลังอยู่ในภาวะที่ตึงเครียด ท้อถอย วิตกกังวล ไม่มั่นใจ ไม่ว่าจะกับสิ่งที่คุณได้เลือกไปแล้วในอดีต หรือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต คุณต้อนรับตอนเช้าด้วยความรู้สึกที่หนักอึ้งจนไม่อยากลืมตาตื่น และใช้ชีวิตอยู่กับความหวาดหวั่นต่อเนื่องวันแล้ววันเล่า คุณอยากพูดคุยกับใครสักคน แต่เมื่อมองดูรอบข้างแล้ว คุณกลับไม่เห็นใครเลยที่เหมาะสมจะเป็นที่ปรึกษาพูดคุยปรับทุกข์


ในเวลาอย่างนี้ ที่เมืองในหมอกแห่งหนึ่งที่ชื่อเมืองนาซุมิ จะมีธรรมเนียมโบราณที่เรียกว่า การขอ ‘คำทำนายตรงหัวมุม’ อยู่ค่ะ


การขอคำทำนายตรงหัวมุม ต้องทำในวันที่หมอกลงจัดจนเกือบมองไม่เห็นหน้าคนที่เดินร่วมทาง ออกไปยืนอยู่ที่มุมตึกสักแห่งที่ไม่มีคนพลุกพล่าน แล้วขอให้คนแรกที่เดินผ่านมาช่วยทำนายอนาคตของเรื่องที่คุณกำลังกังวลใจอยู่ให้ ไม่มีข้อจำกัดสำหรับหัวข้อเรื่อง จะเป็นเรื่องอะไรก็ได้ การงาน การเรียน หรือความรัก คุณอาจจะบอกรายละเอียดของเรื่อง หรือขอให้ผู้ทำนายบอกเพียงจะร้ายหรือดีเท่านั้นก็ได้เช่นกัน


เงื่อนไขมีอยู่แค่ว่า ทันทีที่คุณขอให้คนอื่นทำนายอนาคตให้กับคุณ โชคชะตาของคุณก็ถูกฝากไว้ในมือของเขาแล้ว และแน่นอน ไม่แน่เสมอไปว่าคำทำนายที่คุณได้รับจากคนแปลกหน้า จะเป็นคำทำนายที่คุณอยากฟัง

 

20080407_รักที่ทรมาน

นั่ั่นคือจุดเริ่มต้นของการ์ตูนเรื่อง ‘รักที่ทรมานของคนตาย’ หรือ ‘ชายหนุ่มที่สี่แยก’ ผลงานที่น่าประทับใจอีกเรื่องหนึ่งของ Junji Ito นักเขียนการ์ตูนสยองขวัญชื่อดัง เจ้าของซีรีส์ คลังสยองขวัญลงหลุม ที่จัดจำหน่ายในรูปแบบภาษาไทยโดย Ant Comics Group.


เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นเมื่อสิบปีก่อน ในวันที่หมอกกำลังลงจัด ฟุคาตะ ริวสุเกะ เด็กชายวัยหกขวบ ได้วิ่งออกจากบ้านด้วยความโกรธเต็มพิกัด เขาเพิ่งจะได้รับข่าวร้ายว่าพ่อของเขาต้องย้ายไปทำงานต่างเมือง และตัวเขาเองก็ต้องย้ายโรงเรียนตามพ่อไปด้วยเช่นกัน ด้วยอารมณ์ของเด็กชายตัวเล็ก ๆ ที่ไม่อยากลาออกจากโรงเรียน ไม่อยากจากเพื่อนสนิท เขาจึงทะเลาะกับแม่อย่างรุนแรง และออกวิ่งลัดเลาะไปตามถนนในสายหมอกอย่างไร้จุดหมายเพื่อให้คลายความโกรธ ก่อนจะถูกหยุดไว้โดยผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งมายืนอยู่ข้างซอกตึกเพื่อขอรับคำทำนายตรงหัวมุม ริวสุเกะคือคนแรกที่ผ่านมาตามทางนั้น เขาคือผู้ทำนายที่โชคชะตาบันดาลให้เธอได้พบ


ด้วยความเสียไม่ได้ ริวสุเกะหยุดฟังเรื่องราวของหญิงสาวและความทุกข์ใจของเธอ เธอตกหลุมรักคนมีเจ้าของและตอนนี้ก็กำลังอุ้มท้องลูกของเขา หญิงสาวตัดสินใจไม่ถูกว่าเธอควรทำอย่างไร สุดท้ายจึงมาขอรับคำทำนายตรงหัวมุม ว่าความรักของเธอจะสมหวังหรือไม่


แน่นอน เด็กชายวัยหกขวบผู้กำลังหัวเสียสุดขีดย่อมไม่อยู่ในอารมณ์จะเห็นอกเห็นใจใคร เขาตะโกนใส่หน้าเธอไปว่าไม่มีทางหรอกเรื่องอย่างนั้นน่ะ ก่อนจะผละจากมา


แล้ววันรุ่งขึ้น เขาก็พบว่าเธอเชือดคอตัวเองตายอยู่ตรงหัวมุมที่เขาได้พบกับเธอนั่นเอง


สิบปีหลังจากเหตุการณ์สยองขวัญที่ยากจะลืมเลือนในครั้งนั้น ริวสุเกะได้ย้ายกลับมาที่เมืองนั้นอีกครั้งหนึ่ง เขาได้พบว่า ธรรมเนียมการขอคำทำนายตรงหัวมุม ไม่เพียงแต่จะยังไม่หายไป มันกลับเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้นทุกที ฝันร้ายอันเกิดจากความสำนึกบาปที่ตัวเองเป็นต้นเหตุให้ผู้หญิงที่เคยให้คำทำนายฆ่าตัวตายกลับมารุมเร้าริวสุเกะอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อได้รู้ความจริงว่าผู้หญิงคนนั้นเป็นน้าของเพื่อนหญิงที่เขาสนิทสนมด้วย และเธอผู้ไม่รู้ความจริงว่าใครเป็นคนทำ ก็ยังเจ็บปวดกับความสูญเสียในครั้งนั้นอยู่จนทุกวันนี้


ด้วยเจตนาที่จะไถ่บาปของตน ริวสุเกะพยายามออกไปเดินในเมืองทุกครั้งที่หมอกลงจัด และเมื่อพบผู้ที่มาขอคำทำนายตรงหัวมุม เขาก็จะให้คำแนะนำอย่างสุดความสามารถ แต่เนื่องจากชีวิตไม่ได้ง่าย และคนเราก็มีหลายประเภท ทำให้ริวสุเกะมีอันต้องพบกับหญิงสาววิปลาศ ที่เมื่อพบคนที่ยินยอมฟังเธอ ก็ติดหนึบแกะไม่หลุด ประกอบกับการปรากฏตัวของ ‘ชายหนุ่มที่สี่แยก’ ชายหนุ่มปริศนาที่กระทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความพยายามของริวสุเกะ อันเป็นเหตุให้เกิดโศกนาฏกรรมร้ายแรงขึ้น


อ่านจบแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง


เชื่อว่าทุกคนก็คงคิดเหมือนกัน ว่าแรกเริ่มเดิมที คำทำนายตรงหัวมุมก็คงจะเป็นเพียงกุศโลบายเพื่อช่วยคลายความวิตกกังวลให้แก่กันและกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย เนื่องจากคนเราทุกคนล้วนเคยมีช่วงเวลาที่อ่อนแอ และในชั่วขณะถูกรุมล้อมด้วยปัญหา แม้ว่าทางแก้จะอยู่ไกลออกไปแค่ปลายขนตากั้น ก็อาจจะมองไม่เห็นเอาเสียเฉย ๆ เพราะฉะนั้น การได้รับคำชี้แนะจากผู้ที่มองปัญหามาจากด้านนอก หรือได้รับกำลังใจแบบไม่มีเงื่อนไขจากใครสักคนก็สามารถช่วยให้คนที่กำลังทุกข์ร้อนสบายใจขึ้น มีความหวังที่จะต่อสู้กับอุปสรรคต่อไป


แต่ถามว่า ถึงแม้ทุกคนจะรู้ แล้วทุกคนจะทำตามนั้นหรือเปล่า?


คนเราไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่ตรงไปตรงมาตามทฤษฎี แถมยังมีนิสัยกบฎอยู่ในตัว จะมากหรือน้อยก็แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล มีน้อยยิ่งกว่าน้อยที่จะไม่เคยคิดว่า ‘ธุระไม่ใช่’ เมื่อสิ่งที่ทำนั้นส่งผลดีต่อผู้อื่นแต่ไม่ได้มีผลอะไรเลยกับตัวเอง ก็ทำไมเราจะต้องทำเพื่อคนอื่นด้วยล่ะ? แม้แต่กับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่ต้องลงแรงหรือเสียเงินซื้อหาอย่างแค่การพูดจาอย่างมีไมตรีจิตต่อคนอื่น บางทีคนเราก็ยังเลือกที่จะไม่ทำ เพียงเพราะอีโก้ของตัวเองแต่เพียงอย่างเดียว


คุณเคยทำแบบนั้นบ้างหรือเปล่าคะ? เหยียบย่ำทับถมหรือใช้วาจาเชือดเฉือนคนที่คุณไม่รู้จัก เพียงเพราะคุณไม่รู้ว่าเขาเป็นใคร เพราะคิดว่าเขาไม่ใช่คนที่ให้คุณให้โทษกับคุณได้ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำดีด้วย


คุณอาจคิดว่าในกรณีของ ‘ชายหนุ่มที่สี่แยก’ นั้น หากจะถามหาคนผิดหรือคนที่ต้องรับผิดชอบกันนั้น ทุกคนในเรื่องก็คงจะเป็นคนผิดทั้งหมด ตั้งต้นไปตั้งแต่ผู้หญิงที่มาขอรับคำทำนาย ที่นอกจากจะมีรักที่ผิดศีลธรรมแล้ว ยังอ่อนแอพอที่จะเชื่อคำทำนายพล่อย ๆ ที่ออกมาจากปากเด็กอายุหกขวบจนฆ่าตัวตาย, ริวสุเกะที่เป็นคนให้คำทำนายโดยไม่คิด, ชายหนุ่มที่สี่แยกที่เอาความแค้นไปลงกับคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ รวมทั้งเด็กผู้หญิงทั้งหลายที่ตกเป็นเหยื่อของชายหนุ่มที่สี่แยกด้วยความหน้ามืดตามัว ฯลฯ แต่หากลองมองมุมกลับ ลองเอาตัวเองเข้าไปแทนที่คนเหล่านั้น คุณอาจต้องลังเลว่านั่นเป็นความผิดของเขาเหล่านั้นจริงหรือ สิ่งที่ผู้หญิงคนนั้นต้องการมีเพียงแค่คำพูดปลอบประโลม เธอเรียกร้องมากเกินไปหรือ? ตอนนั้นริวสุเกะกำลังโกรธ การที่เขาเลือกจะให้คำทำนายในเชิงลบ เป็นความผิดของเขาหรือ? การที่ชายหนุ่มที่สี่แยกแค้นเพราะโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับแม่ของเขา เป็นความใจแคบไม่รู้จักให้อภัยอย่างนั้นหรือ? การที่เด็กผู้หญิงจำนวนมากของเมืองนาซุมิถูกครอบงำจนเกิดโศกนาฏกรรมหมู่ ควรจะเป็นความรับผิดชอบของใครกันแน่?


ผลสุดท้ายแล้ว เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น ก็เนื่องมาจากการกระทำเล็ก ๆ น้อย ๆ ของคนแต่ละคน เมื่อมีเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นแล้ว เหตุการณ์ต่อ ๆ ไปก็จะเกิดตามมาเรื่อย ๆ เหมือนสายน้ำหลาก หากสามารถหยุดยั้งขั้นหนึ่งขั้นใดได้ โศกนาฏกรรมที่ปรากฏในเรื่องนี้ก็คงไม่เกิด


สิ่งเดียวที่หยุดยั้งโศกนาฏกรรมครั้งนี้ได้ สิ่งเดียวกับที่ริวสุเกะเลือกใช้เพื่อแก้ไขปัญหาในตอนท้ายเรื่อง ก็คือสิ่งเดียวกับที่คำทำนายตรงหัวมุมคาดหวังให้คนเรามีให้กันตั้งแต่ต้น


สิ่งนั้นคือกำลังใจและความปรารถนาดี


คำพูดเป็นสิ่งที่มีพลัง ก่อนที่คุณจะอ้าปากพูดอะไรสักอย่าง หรือก่อนที่จะจรดนิ้วลงบนแป้นพิมพ์คำตอบให้กับใครสักคนในอินเตอร์เนท โดยเฉพาะด้วยถ้อยคำที่บาดหู อย่าลืมคิดดูอีกทีก่อน เพราะเพียงประโยคเดียวของคุณนั้น อาจกำลังหมุนกงล้อแห่งโชคชะตาของใครสักคนอยู่โดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้

รำพันจากหมู่บ้านพร้าญี่ปุ่น : แสนรักแสนแค้น

นายยืนยง

20080317 ภาพปก รายงานจากหมู่บ้าน

ชื่อหนังสือ       :    รายงานจากหมู่บ้าน       
ประเภท         :    กวีนิพนธ์     
ผู้เขียน         :    กานติ ณ ศรัทธา    
จัดพิมพ์โดย     :    สำนักพิมพ์ใบไม้ผลิ
พิมพ์ครั้งแรก      :    มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๐
เขียนบทวิจารณ์     :    นายยืนยง

ตามรอยเพื่อชีวิตในช่อการะเกด

นายยืนยง

29020801

ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด ๔๒ ( ตุลาคม – ธันวาคม พ..๒๕๕๐ )

ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน

บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี

จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา


สาเหตุที่วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตยังคงมีลมหายใจอยู่ในหน้าหนังสือ มีหลายเหตุผลด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ตัวนักเขียนเองที่อาจมีรสนิยม ความรู้สึกฝังใจต่อวรรณกรรมแนวนี้ว่าทรงพลังสามารถขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหาสังคมได้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเหตุผลนี้เพียงประการเดียวก่อน


คำว่า แนวเพื่อชีวิต ไม่ใช่ของเชยแน่หากเราได้อ่านเพื่อชีวิตน้ำดี ซึ่งเห็นว่าเรื่องนั้นต้องมีน้ำเสียงของความรับผิดชอบสังคมและตัวเองอย่างจริงใจของนักเขียน อันนี้คงพิจารณายาก ลำพังอาศัยเสียงจากความรู้สึกเข้าจับ แต่หากพิจารณาจากองค์ประกอบอื่นที่หลอมเป็นเรื่องสั้นหรือเรื่องยาวนั้น ก็พอจะสรุปได้


นอกจากนั้นแนวเพื่อชีวิตต้องไม่สักแต่สะท้อนภาพปัญหาเท่านั้น ขณะเดียวกันต้องไม่เทศนาอย่างไร้ศรัทธา เหมือนดั่งที่สุชาติ สวัสดิ์ศรี เคยเตือนว่า


อย่าเทศนาในสิ่งที่ตนไม่เชื่อ เพราะสิ่งหนึ่งที่ต่อลมหายใจให้แนวเพื่อชีวิต คือการชี้นำ หรืออภิปลายให้เห็นถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่นำเสนอนั้นด้วย มิเช่นนั้น แนวเพื่อชีวิตอาจกลายเป็น แนวเขียนที่เร่อร่าล้าสมัย หรือบ้องตื้นกว่ารายการโทรทัศน์

จากการกลับมาของ ช่อการะเกด ฉบับที่ ๔๒ ปี ๒๕๕๐ นี้ คำว่าเพื่อชีวิตที่มีชีวิตและลมหายใจของวันนี้ได้กลับมาให้เราได้เชยชมกันแล้วในเรื่องสั้นเด็ดดวงของ เดช อัคร


ขอกล่าวถึงสักเล็กน้อยเกี่ยวกับช่อการะเกด เผื่อว่าจะเป็นเกร็ดเล็กน้อยสำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบความเป็นมา

ช่อการะเกด เป็นหนังสือต่อเนื่อง ( pocket magazine ) ถือกำเนิดครั้งแรกในรูปเล่มของ “โลกหนังสือ” ฉบับ “เรื่องสั้น” เมื่อเดือนพฤษภาคม พ..๒๕๒๑ เพื่อให้เป็นเวทีเผยแพร่ผลงานเรื่องสั้นของผู้สนใจและรักการเขียนในขอบเขตทั่วประเทศโดยไม่จำกัดรุ่นวัยใหม่เก่า ทั้งไม่จำกัดรูปแบบและเนื้อหา

ช่อกำเนิดใหม่อีกครั้งโดยฝีมือศิษย์เก่าอย่างเวียง-วชิระ บัวสนธ์ และสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ ซึ่งเราไม่ขอกล่าวถึง เนื่องจากมีเรื่องสั้นมือสังหาร ของเดช อัครรอให้กล่าวถึงอย่างไม่อาจระงับใจได้


มือสังหาร เขียนเป็นแนวเพื่อชีวิตเหมือนต้นฉบับแต่แตกแขนงใหม่ได้ชัดเจน แต่ทำไมต้องยกย่องกันปานนี้ เพราะประเด็นที่เดช อัครพูดถึงเป็นเรื่องหนักหน่วงและเร่งเร้าเหลือเกิน มันร้อนมากเมื่อกล่าวถึงปัญหาชายแดนใต้ ที่ถูกคลุมโปงให้อยู่ใต้รักแร้ของรัฐบาลหน้าสื่อแทบทุกประเภท

เรื่องเขียนถึงครอบครัวหนึ่งที่ไทยพุทธกับไทยมุสลิมร่วมชีวิตสมรส ฝ่ายสามี คืออับรอมานกับภรรยา คือลิมะ (แต่เดิมชื่อมะลิ แต่เมื่อแต่งงานและเข้ารับศาสนาอิสลาม โต๊ะอีหม่ามก็ตั้งให้ใหม่) เราจะพบจุดขัดแย้งในตั้งแต่นาทีแรกและดำเนินต่อไปอย่างบีบคั้นกดดันยิ่ง


อับรอมานมีอาชีพฆ่าวัว เขาไม่กินไก่ส่วนลิมะไม่กินเนื้อวัว ทุกครั้งที่อับรอมานกลับมาหลังจากฆ่าวัวพร้อมเนื้อ ลิมะจะมีอาการแพ้ท้องรุนแรงสาหัส ขณะที่อับรอมานไม่กินไก่ แต่มะลิกลับฆ่าไก่กินเพื่อประชดเขา


(
หน้า ๔๙) อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงของลิมะใช่ว่าจะเพิ่งเกิดขึ้นกับลูกคนนี้ มันเป็นตั้งแต่ท้องลูกคนแรกได้เพียงห้าเดือน วันก่อนที่จะรู้ว่าพี่ชายของตัวเองเสียชีวิต ซึ่งดูเหมือนจะรุนแรงกว่าครั้งนี้ด้วยซ้ำ เพราะนอกจากจะอาเจียนอย่างหนักแล้ว นางยังนึกอยากกินเนื้อคนที่เป็นตำรวจ เมื่อเห็นอับรอมานหิ้วเนื้อสด ๆ เลือดแดงยังไหลเยิ้มกลับมา ทั้งที่เป็นคนไม่กินเนื้อ ลิมะวิ่งเข้าไปแย่งเนื้อในมือสามีมายัดใส่ปาก เคี้ยวอย่างเอร็ดอร่อยราวกับกระสืออดอยาก ชั่วพริบตาเนื้อพร่องไปครึ่งพวง ...ฯลฯ... อาการอยากกินเนื้อมนุษย์ของลิมะเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อท้องยูนุส (ลูกคนที่สอง)ได้สามเดือน ก่อนที่สานุดิงถูกยิงเพียงสองวัน คราวนี้นางไม่ได้อยากกินเนื้อตำรวจเหมือนครั้งก่อน แต่กลับเป็นเนื้อคนที่เป็นทหาร ...ฯลฯ... กระทั่งลิมะมีอาการแพ้ท้องครั้งใหม่ นางเหม็นแม้กระทั่งเสื้อที่เขานำกลับมาจนแทบทนไม่ไหว ...ฯลฯ...

เค้าโครงเรื่องผูกโยงถึงสถานการณ์ที่ญาติของสองสามีภรรยาถูกสังหารด้วยฝีมือผู้ที่ต้องการให้เกิดความแตกแยกระหว่างศาสนา ขณะอาการแพ้ท้องรุนแรงของลิมะก็ถูกนำมาร้อยเข้าด้วย เหล่านี้อาจแสดงให้เห็นถึงสัมพันธภาพระหว่างการตายและการเกิดของคนในสังคมที่มีพันธะร่วมระหว่างกัน เหมือนเครือข่ายทางจิตวิญญาณ


ทั้งนี้ เดช อัครได้สรุปข้อขัดแย้งระหว่างสองสามีภรรยาต่างความเชื่อนี้ในตอนจบว่า “ หยุดเถอะ ” เขาพึมพำออกมาพอให้ตัวเองได้ยิน ทั้งที่ไม่รู้ว่าทำไมถึงหลุดคำนี้ออกมา แต่พลันนึกได้ว่า หากเขาหยุดเอาเนื้อกลับมาบ้าน ลิมะก็คงหยุดฆ่าไก่ เพราะที่นางต้องฆ่านั้นไม่ใช่ว่าฆ่าเพราะอยากกิน แต่เพื่อต้องการที่จะเอาคืน...

ปัญหาที่เดช อัครมองอย่างใคร่ครวญและถ่ายทอดออกมาอย่างตรงไปตรงมาคือความขัดแย้งระหว่างความเชื่อในเชิงจิตวิญญาณ ที่ถูกกระทำมารุ่นต่อรุ่น ราวกับเป็นมรดกตกทอดอันบัดซบ ทางออกก็คือหยุดนั่นเอง


กล่าวถึงกลไกของการสำแดงพลังของเรื่องนี้โดยย่นย่อได้ว่า เดช อัครถ่ายทอดคู่ขัดแย้ง (ที่อยู่ในกระแสสถานการณ์ปัจจุบัน) อาศัยภาพลักษณ์ภายนอกที่ห่อหุ้มไว้ด้วยความเชื่อทางศาสนา พุทธ –อิสลาม นั่นคือปมปัญหาแรกที่เป็นสัญลักษณ์ร่วมระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่าน แล้วนำเอาเหตุการณ์ปัจจุบันที่อยู่ในอารมณ์ร่วมเชิงสังคม (ปัญหาชายแดนใต้) มาเชื่อมต่อเข้ากับสถาบันครอบครัว สร้างตัวละครที่สดใหม่ คืออยู่ในเหตุการณ์จริงของอารมณ์ร่วมเชิงสังคมดังกล่าว ผูกปมขัดแย้งย่อยที่สอดคล้องกับปมแรก แล้วดำเนินเรื่องไปพร้อมกับปลุกเร้าความสนใจของผู้อ่านด้วยปัญหาครอบครัวนั้น เมื่อถึงจุด climax เรื่องก็พร้อมคลี่คลายตามปมย่อยที่ผูกไว้


ทำไมปมย่อยที่คลี่คลายแล้ว คือ “หยุด”จะเชื่อมโยงให้ปมใหญ่คลี่คลายตามไปด้วย นั่นคือเรื่องที่ผู้อ่านต้องครุ่นคิดต่อไปเพราะผู้เขียนได้บอกแล้วว่าปัญหาต้องแก้ไขจากจุดเล็ก ๆ ที่เป็นปัจเจกเสียก่อน ซึ่งการณ์นี้ต้องอาศัยกระบวนการแบบพลวัต


แม้เรื่องมือสังหารจะโดดเด่นดังกล่าวมาแล้วเพียงไร เราก็ไม่ควรละเลยจะกล่าวถึงข้อบกพร่องสักเล็กน้อย เนื่องจากเรื่องสั้นที่ดีเด่นและทรงพลังนั้น ต้องอาศัยเครื่องมือ คือภาษา เพื่อถ่ายทอด โดยการใช้คำระหว่าง ๓,๐๐๐ –๑๐,๐๐๐ คำตามรูปแบบของเรื่องสั้นนั้น คือใช้คำน้อยแต่กินความมากนั่นเอง ดังนั้นการเขียนเรื่องสั้นที่ดีนักเขียนจำต้องประหยัดคำ ขัดเกลา ตัดทอน คำซ้ำ คำซ้อน เพราะเรื่องสั้นที่ดีก็มีคุณค่าเทียบเท่ากวีนิพนธ์ได้เช่นกัน

สำหรับเรื่องสั้นที่ไม่ใช้คำฟุ่มเฟื่อย แต่ขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องสั้นขนาดยาวเหยียดชนิดที่เรียกได้ว่าถั่งโถมออกมาอย่างหมดเปลือก คือ เรื่องผู้ไร้เหย้าของ ภาณุ ตรัยเวช


ผู้ไร้เหย้า เป็นเรื่องสั้นที่ให้เกร็ดความรู้แก่ผู้อ่านไปพร้อมด้วย ซึ่งต้องยอมรับว่าเรื่องสั้นวรรณกรรมไทยเรานี้ ยังมุ่งเน้นให้แสดงทัศนคติ อุดมคติ หรือสำแดงอารมณ์กันจนสนุกสนาน หลงลืมไปว่าโลกนี้ยังมีสรรพวิทยาการอีกท่วมท้นที่จะจำนัลแด่ผู้อ่าน ไม่เท่านั้น เรื่องนี้ยังเป็นเรื่องเทียบเคียงประวัติศาสตร์ที่หาอ่านยากในสังคมวรรณกรรมไทยอีกด้วย

ขณะเดียวกันความยาวของเรื่องเป็นความต่อเนื่องที่กระชับรัดกุม การใช้ภาษาก็ไม่ฟุ่มเฟื่อยเรื้อยเจื้อยแต่อย่างใด นอกเสียจากขาดการขัดเกลาให้เกิดสำนวนโวหาร เพื่อเปรียบเทียบ หรือตัดทอนเนื้อเรื่องให้แน่นขึ้น

ช่อการะเกด เล่มนี้ บรรจุเรื่องสั้นไว้ทั้งหมด ๑๒ เรื่อง จะน่าอ่านชวนชื่นเพียงไร ขอบอกว่า ราคาไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ ไม่ต้องนำมาคำนวณ เพราะนอกจากจะทำให้รู้ซึ้งว่าสถานการณ์เรื่องสั้นวรรณกรรมไทยเป็นเช่นไรแล้ว อาจทำให้บางคนที่ชื่นชอบเขียนเรื่องสั้นเกิดลำพองใจ คิดจะเขียนส่งตรงถึงรสนิยมของบรรณาธิการในฉับพลันก็เป็นได้

พิจารณาจากเล่มนี้แล้วเชื่อว่ารสนิยมของบรรณาธิการช่อการะเกดในยุคนี้ อาจไม่ได้เป็นความหวังสูงส่งอะไรนักที่จะ สร้างสรรค์ ส่งเสริมวรรณกรรมไทยให้เลิศเลอนักทั้งนี้ก็ต้องฝากความหวังไว้กับนักเขียนด้วย ต้องติดตามในเล่มต่อไป

หากใครมีรสนิยมเคี้ยวข้าวโพดคั่วขณะอ่านหนังสือ ช่อการะเกดก็มีของแถมให้ในรูปแบบบทความของมุกหอม วงษ์เทศที่ตั้งข้อสังเกตแบบกระจายกระจาดเกี่ยวกับงานเขียนร่วมสมัย ส่วนที่พลาดไม่ได้คือ บทความวรรณกรรม ของ นพพร สุวรรณพานิชในบทความเรื่อง วรรณกรรมและ “กำเนิดเรื่องผี” ในเมืองไทยและวรรณกรรมสายรอบโลก โดย เฟย์ บางทีเกร็ดความรู้ก็สำคัญกว่าทัศนคติหากเราเองก็คิดวิเคราะห์เองได้ แต่อย่าลืม มือสังหาร และ ผู้ไร้เหย้าก็แล้วกัน.

รับมือนายกฯ ฝีปากกล้า

    

อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา

ในเกมช่วงชิงพื้นที่สื่อ กลยุทธ์หนึ่งก็คือ ทำยังไงก็ได้ ให้ฝ่ายตรงข้ามไม่ได้เป็นข่าว ส่วนฝ่ายตนนั้น ต่อให้เป็นข่าวดีหรือข่าวร้ายแต่ถ้าได้พื้นที่ข่าวก็ถือว่าได้เปรียบใน ระดับหนึ่ง เพราะอย่างน้อยก็พอทำให้ชื่อเสียงเรียงนามเป็นที่คุ้นหูอยู่ในความจดจำ ดีกว่าเป็นบุคคลโนเนมที่ไม่มีใครรู้จัก

เช่นเดียวกัน ช่วงนี้ ดูเหมือนว่านายกรัฐมนตรีพูดอะไร ให้สัมภาษณ์ว่าอะไร สื่อมักจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ สังเกตได้ว่าเวลาอ่านหรือฟังข่าวในเวลานี้ ผู้สื่อข่าวจะหยิบคำพูดของนายกรัฐมนตรีมาเปิดเผยแบบยาวๆ

พูดแบบตามตำรา ก็คือ แหล่งข่าวเป็นผู้นำในรัฐบาล พูดอะไรก็ย่อมเป็นข่าวอยู่แล้ว แต่นั่นอาจจะไม่ใช่เหตุผลทั้งหมดของกรณีที่เกิดขึ้น ผู้นำฝ่ายค้านแม้จะมีฐานะเป็นผู้นำประเทศเช่นกัน แต่กลับไม่ได้มีโอกาสได้เป็นข่าวเท่าไร

การเปิดเผยคำพูดของนายกฯ สมัครแบบคำต่อคำ ให้พื้นที่ข่าวแก่ท่านนายกฯ แบบไม่น้อยนั้น เชื่อได้ว่าเป็นเพราะสิ่งที่นายสมัคร สุนทรเวชพูดนั้น ไม่ใช่แค่เรื่อง พูดอะไร' แต่เป็นเรื่อง พูดอย่างไร' คือ สื่ออาจเห็นว่าลักษณะวิธีพูดของนายกฯ มีนัยยะที่ต้องการเสนอ คือ มีความไหวตัวและละเอียดอ่อนกับคำพูดของผู้นำประเทศคนนี้เป็นพิเศษ

สื่อภาคสนาม สื่อที่ต้องคอยประกบติดนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ต้องอาศัยความอดทนอดมากอยู่แล้ว มายุคของนายกฯ คนนี้ คงต้องใช้ขันติและอุเบกขาให้มากยิ่งกว่าเดิมเป็นเท่าตัว บุคลิกของผู้นำเช่นนี้ เรียกร้องให้สื่อจำเป็นต้องมีภูมิต้านทานแข็งแกร่ง ไม่เช่นนั้นคงจะเผลอไปอยู่ในขั้วใดขั้วหนึ่งในความขัดแย้งทางการเมืองโดย ไม่ทันตั้งใจ

นั่นคือ งานข่าวสำหรับสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ภายใต้รัฐบาลสมัคร 1 นี้ คงต้องอาศัยพลังใจที่แข็งแกร่งมาก ไม่อ่อนไหวจนกลายเป็นการให้น้ำหนักกับท่านนายกรัฐมนตรีไปโดยไม่รู้ตัว รวมทั้งไม่อ่อนไหวจนไม่สามารถทำงานได้

พูดภาษาปาก อาจจำเป็นต้องพูดว่า เพื่อให้สอดคล้องกับผู้นำประเทศ สื่อมวลชนต้องไม่หน้าบางจนเกินไป

ความอ่อนไหวนี้ อาจรวมถึงที่มาของบรรยากาศการแทรกแซงสื่อที่ร่ำลือกันในช่วงเวลานี้ ดังกรณีที่เกิดขึ้นในข่าวการถอนตัว จนนำมาสู่การยกเลิกจัดรายการมุมมองเจิมศักดิ์' ซึ่งจัดโดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และคู่หู เถกิง สมทรัพย์ ซึ่งออกอากาศเป็นประจำทุกเช้า ที่คลื่นวิทยุ เอฟเอ็ม 105 เมกะเฮิรตซ์ คลื่นวิทยุในสังกัดกรมประชาสัมพันธ์ โดยวิสดอมเรดิโอเป็นผู้ได้สัมปทานคลื่น

เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 .. ที่ผ่านมา ที่ระหว่างดร.เจิมศักดิ์จัดรายการ ซึ่งกำลังกล่าวถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งนายสมัคร สุนทรเวช ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวจากอัลจาซีร่าว่า มีคนตายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพียง 1 คน โดยดร.เจิมศักดิ์ ได้หยิบข้อมูลต่างๆ ทางประวัติศาสตร์มาเล่าในรายการ หลังจากนั้น ดร.เจิมศักดิ์ ให้ข่าวแก่สื่อมวลชนว่า ระหว่างกำลังจัดรายการ มีรัฐมนตรีโทรศัพท์ไปยังคลื่นวิทยุวิสดอมเรดิโอว่าจะโละผังรายการทั้งหมด ของคลื่นวิทยุวิสดอม ทำให้เจ้าของคลื่นโทรศัพท์มาสอบถามว่า ดร.เจิมศักดิ์จะบรรเทาความเสียหายให้แก่วิสดอมได้อย่างไร สุดท้าย ดร.เจิมศักดิ์ ตัดสินใจถอนตัวจากการจัดรายการ

แม้กระแสข่าวต่อจากนั้น จะยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าที่แท้แล้วอะไรเกิดขึ้น เพราะนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีก็ให้ข่าวปฏิเสธ ย้ำว่าไม่มีการโทรศัพท์ไปแทรกแซง ทั้งยังสั่งให้นายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ประสานงานไปยังบริษัทฟาติมา ซึ่งเป็นเจ้าของคลื่น 105 เปิด การแถลงข่าวเพื่อแสดงข้อเท็จจริง ซึ่งนายแสงชัย อภิชาติธนพัฒน์ ประธาน บริษัท ฟาติมา บรอดคาสติ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ได้รับสัมปทานคลื่นวิทยุ เอฟเอ็ม 105 เมกะเฮิรตซ์ ก็ เปิดเผยว่า ไม่ได้ถูกแทรกแซงจากกรมประชาสัมพันธ์ หรือรัฐบาล แต่มีการพูดคุยกับนายเจิมศักดิ์ ถึงความไม่สบายใจกับเนื้อหารายการที่วิพากษ์วิจารณ์บุคคลอื่น ซึ่งเขาอยากให้สังคมเกิดความสมานฉันท์ และยอมรับว่ามีความกังวลว่าหากยังดำเนินรายการที่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์ บุคคลอื่นต่อไป อาจจะมีปัญหาเรื่องคลื่นหลุด ซึ่งจะส่งผลเสียหายกับบริษัทให้ไม่สามารถดำเนินกิจการอยู่ได้

ต่อเรื่องนี้ จริงเท็จอย่างไร คงยังไม่รู้แน่ชัด แต่อย่างน้อยสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ ฐานะของคนทำสื่อ มีความเปราะบางมากเหลือเกิน

เรื่องเก่าๆ อย่างปัญหาโครงสร้างสื่อ กลายเป็นสิ่งที่จองจำการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนให้ไม่สามารถทำงานได้อย่าง เต็มที่ ไม่เว้นวงการข่าวเท่านั้น ล่าสุด เมื่อปลายปีที่ผ่านมา คลื่นวิทยุรายการเพลงที่ดีที่สุดเพียงคลื่นเดียว อย่าง The Radio ก็ถูกปลดกลางอากาศแบบที่คนฟังหรือแม้แต่ผู้จัดรายการไม่ทันได้ตั้งตัว

ปัญหาของสองกรณี มาจากเหตุเดียวกัน คือ นายทุนผู้ได้สัมปทานคลื่น มีความประสงค์จะเปลี่ยนเนื้อหารายการ กรณีที่ดร.เจิมศักดิ์เจอ คือรายการวิพากษ์การเมืองแรง นายทุนคลื่นมีความกังวล ส่วนกรณีที่ The Radio เจอ คือ นายทุนอยากเปลี่ยนแนวรายการ จากรายการดนตรี ไปเป็นการ โฆษณาดนตรี' ที่มีรายได้มากกว่า

คลื่นวิทยุโทรทัศน์กระแสหลัก อยู่ในภายใต้การดูแลของหน่วยงานรัฐและหน่วยงานทหาร หน่วยงานเหล่านี้ก็ปล่อยสัมปทานออกมาปีต่อปี เพื่อให้นายทุนที่วิ่งเต้นทุกๆ ช่วงสิ้นปีเพื่อให้ได้รับคัดเลือก' ได้คลื่นไปบริหาร ก่อนจะมาปล่อยถึงมือคนทำสื่อเป็นทอดสุดท้าย โครงสร้างแบบนี้ หนีไม่พ้นทั้งอำนาจรัฐและอำนาจทุน

ถามว่า ระบบโครงสร้างเวลานี้ ยังหลงเหลือให้ที่ทางสำหรับจิตวิญญาณสื่อสารมวลชนบ้างหรือไม่ สิ่งที่น่าสนใจต่อกรณีของ The Radio คือ ผู้คนตื่นตัวมากกับปัญหาที่ว่า รายการดีดีมักไม่มีที่ให้อยู่ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ มีคนตั้งกระทู้เรื่องนี้ หลายคนขอให้รายการไม่ล้มหายจากไป แต่เปลี่ยนมาออกอากาศในอินเตอร์เน็ตแทน พร้อมทั้งเสนอตัวช่วยด้านเทคนิคทุกอย่าง

แต่อย่างไรก็ดี สื่อแต่ละประเภทก็มีธรรมชาติของสื่อที่ต่างๆ กัน แม้อินเทอร์เน็ตดูจะเป็นที่ทางสำหรับคนไม่มีทางเลือกในการส่งสาร แต่สำหรับคนรับสาร ดูเหมือนทางเลือกจะน้อยลงทุกที

นี่อาจจะเป็นอีกความท้าทายของรัฐบาล ชุดที่ประกาศว่าจะมีการ จัดระบบสื่อ เพราะรัฐมนตรีที่มีหน้าที่ดูแลเรื่องนี้ จำเป็นต้องรู้ต้นตอปัญหาของระบบการสื่อสารมวลชนในประเทศไทย หากกล้าจริง ต้องทำลายโครงสร้างที่มัดมือสื่ออยู่ในเวลานี้ และเลิกคิดว่าตนจะเป็นผู้เข้ามาทำเนื้อหาสื่อให้ดีเอง

เพราะการครอบงำแบบนั้น ประชาชนไม่ต้องการ

 

เพิ่มเติม :

คอลัมน์ บ้านบรรทัดห้าเส้น ประชาไท : 99.5 The Radio : เมื่อรายการวิทยุดีๆ จะไม่มีที่อยู่

คลิปเกี่ยวกับการให้สัมภาษณ์ ของนายสมัคร สุนทรเวช ต่อผู้สื่อข่าวต่างประเทศ

ข่าวมติชน : 'จักรภพ'ปัดสั่งปลดพิธีกรคลื่น105 เจ้าของยืดอกรับขอให้ถอนตัว เพื่อรักษา'ธุรกิจ'

ข่าวผู้จัดการ : "หมัก" สั่งรื้อช่อง 11 ท้า "เจิมศักดิ์" หาหลักฐาน รมต.สั่งถอดรายการ

สื่อสร้างสรรค์ (ความสุข)

 

ทุกครั้งที่กวาดตาไปยังข่าวหน้าหนึ่งบนหนังสือพิมพ์...เรามักสะดุดตากับ ข่าวร้าย' มากกว่า ข่าวดี' และคนที่ภูมิต้านทานความเศร้าต่ำ อาจรู้สึกหดหู่เมื่อได้เห็น จนบางทีก็เกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่า เราบริโภคข่าวร้ายมากเกินไปหรือเปล่า?

ไม่ใช่ว่าจะมาชวนให้ใครหลบหนีจากโลกแห่งความจริง (อันโหดร้าย) แต่หลายคนที่คิดว่า เราควรมีพื้นที่ข่าวที่สร้างสรรค์จรรโลงใจในชีวิตประจำวันบ้าง โปรดฟังทางนี้...

บล็อก ‘Happy Media' เป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งเปิดไว้รอท่า เพราะบล็อกเกอร์ประจำของที่นี่เรียกตัวเองว่าเป็น สื่อสร้างสรรค์ (ความสุข)' หรือ "กลุ่มคนที่มีความสนใจใฝ่หาการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสุขภายใน สร้างสรรค์ความสุขภายนอกให้ผู้อื่นและสังคม" โดยการ "ร่วมกันคิด พูดคุย เรียนรู้ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ สนุกๆ และผ่อนคลาย"

ด้วยความหวังว่า "มิตรภาพ ความงามในชีวิต และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะนำไปสู่ความสุขอย่างยั่งยืนในชีวิตของทุกคนและแผ่ขยายไปในเครือข่ายของสังคมต่อไป"

ระหว่าง 'สาระ' และ 'สาธารณ์'

ตติกานต์ เดชชพงศ

คงรู้กันหมดแล้วว่า สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีถูกยึด และต่อจากนี้ ทีวีช่องนี้จะไม่มีรายการบันเทิง ไร้แก่นสาร' อีก จะมีก็แต่รายการที่มีประโยชน์ สร้างสรรค์สังคม มีคุณค่า ประเทืองปัญญากว่ารายการทีวีแบบเดิมๆๆๆๆ ฯลฯ แล้วทีวีช่องนั้นก็ถูกเรียกเสียใหม่ว่า ทีวีสาธารณะ'

ในฐานะประชาชนคนหนึ่งซึ่งเติบโตมากับสิ่งที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ รสนิยมสาธารณ์' ไม่ว่าจะเป็น ละครน้ำเน่า (ผ่านยุคของ พจมาน สว่างวงศ์, ดาวพระศุกร์ หรือ โสรยา ใน จำเลยรัก' มามากกว่าหนึ่งยุค!) รวมถึงเกมโชว์ที่ ได้รับแรงบันดาลใจ' มาจากต่างประเทศ และการ์ตูนญี่ปุ่นที่เอะอะก็ต่อสู้กัน (แม้แต่การ์ตูนแมวหุ่นยนต์ โดราเอมอน' ที่ไม่มีฉากต่อสู้ ก็ยังอุตส่าห์มีฉากยั่วยุทางเพศอย่าง ฉากอาบน้ำ' จนต้องเซ็นเซอร์เบลอๆ ให้เป็นที่เลื่องลือ) ฯลฯ ต้องสารภาพว่า...สิ่งที่เห็นในทีวีบ้านเราตอนนี้ ไม่ได้แตกต่างหรือพัฒนาจากที่เคยเห็น (หรือเคยเป็น) เมื่อหลายปีก่อนสักกี่มากน้อย

เชื่อว่าน่าจะมีประชาชนไทยอีกหลายสิบล้านคนที่เติบโตมาในยุคไล่เลี่ยกัน และมีความรู้สึกทำนองเดียวกันนี้อยู่บ้าง...

การตั้งเป้าหมายของทีวีสาธารณะว่าจะผลิตรายการที่มี สาระ' ออกสู่สังคม เพื่อยกระดับทางความคิดความอ่านและให้ความรู้กับผู้เสพสื่ออันทรงอิทธิพลอย่างโทรทัศน์เป็นประจำ จึงเป็นเรื่องที่ดีและน่าสนับสนุน

ความบันเทิงที่เราเคยเสพ ผ่านทางละครน้ำเน่า ละครเกาหลี-ญี่ปุ่นสุดรันทด การ์ตูนบ้าพลัง รวมถึงเกมโชว์ที่ระดมกำลังดารานักร้องมาเล่นเกมกระชากเรตติ้ง จึงถูกจัดหมวดหมู่ให้อยู่ นอกกลุ่ม' สาระ อย่างไม่มีทางเลี่ยง โทษฐานที่รายการเหล่านี้ ไม่สร้างสรรค์' ในสายตาของคนที่ (ถูกเรียกว่า) เป็นปัญญาชน

แต่คำถามหนึ่งซึ่งซ้อนทับขึ้นมาก็คือว่า รสนิยมสาธารณ์ซึ่งปรากฏอยู่ในทีวีมาเนิ่นนาน กลับกลายเป็น ความสามานย์' ที่ต้องกำจัดให้สิ้นซากไปเสียแล้วหรือ...

ถ้าอย่างนั้นหมายความว่า คนที่เติบโตมากับสื่อด้อยคุณภาพซึ่งยึดครองพื้นที่ฟรีทีวีมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีคือคนไม่มีคุณภาพ ไร้สาระ และถูกมอมเมา อย่างนั้นหรือ?

อีกคำถามที่น่าสนใจก็คือ บรรดาคนใหญ่คนโตผู้มีอำนาจตัดสินชี้ขาดให้ทีวีช่องหนึ่ง-ซึ่งเคยสร้างความบันเทิงให้กับคนจำนวนมาก-ต้องมากลายเป็น ทีวีในฝัน' ที่พวกเขาอยากจะเห็นนั้น เติบโตมากับทีวียุคไหน?

การหล่อหลอมแบบไหนที่ทำให้พวกเขากล้าตัดสินใจ ทั้งๆ ที่ไม่เคยได้ถกเถียงกันอย่างจริงจังเลยว่า ระหว่าง สาระ' และ สาธารณ์' อย่างไหนที่คนดูต้องการมากกว่ากัน?

เพราะอะไร พวกเขาถึง ลืมถาม' ความเห็นของพนักงานกว่า 800 คนที่มีชะตากรรมเกี่ยวพันกับสถานีโทรทัศน์ที่กำลังจะเป็นทีวีสาธารณะนั่นด้วย

000

สิ่งที่สร้างความบันเทิงให้กับคนส่วนใหญ่ได้ง่ายๆ ไม่ต้องอาศัยประสบการณ์หรือความรู้ขั้นสูงก็สามารถเข้าถึงได้ทุกคน ถูกมองว่าเป็นสิ่งไร้สาระ มักง่าย ฉาบฉวย ไม่ต่างอะไรกับการกล่าวหาว่า รสนิยมสาธารณ์มีส่วนในการมอมเมาให้คนในสังคมคุ้นชินกับความตื้นเขินและรสชาติสีสันอันฉาบฉวยของลูกกวาดที่หวานหอมแต่ขาดแคลนคุณค่าทางโภชนาการ?

แต่ถึงแม้ว่าลูกกวาดจะไม่มีประโยชน์เมื่อเทียบกับอาหารมื้อหลัก ก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะทำให้ลูกกวาดหายสาบสูญไปจากการรับรู้ของ ผู้บริโภค' เพราะถึงที่สุดแล้ว ลูกกวาดก็ให้รสชาติที่อาหารจานหลักไม่มีทางให้ได้

ถ้ามีทีวีสาธารณะแล้ว เราไม่จำเป็นต้องพูดถึง การพัฒนาระบบการศึกษา, การเปิดพื้นที่ให้แสดงความคิดเห็น หรือการปรับระบบโครงสร้างให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรหรือองค์ความรู้ต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน อย่างนั้นหรือ?

คำตอบก็คือ ไม่ใช่' เพราะปัจจัยที่จะสร้างคุณภาพให้กับคนในประเทศ ไม่ได้หยุดอยู่แค่ทีวีสาธารณะเท่านั้น

ส่วนความคลุมเครือประการอื่นๆ ที่จะต้องสร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชนกันอีกยาว ก็คงจะเป็นเรื่องของงบประมาณจำนวนมากมาย ปีละ 2 พันล้านบาท คิดกันหรือยังว่าจะจัดการกับมันอย่างไร? และจะมีกลไกการตรวจสอบขั้นตอนบริหารจัดการสถานีแบบไหน? โปร่งใสหรือเปล่า?

ประเด็นคำถามเหล่านี้ ถือเป็นแรงเสียดทานอย่างหนึ่ง ซึ่ง (อาจ) ทำให้ทีวีสาธารณะคืบหน้าไปได้ช้ากว่าที่คิด

ลำพังแค่การเอาชนะใจสาธารณชนในขั้นแรกก็ทำไม่ได้เสียแล้ว...

ต่อให้จุดหมายปลายทางทีวีสาธารณะสวยหรูอย่างไรก็ตาม จะมีคนยอมเดินไปด้วยจนตลอดรอดฝั่งล่ะหรือ?

000

คำว่า สาธารณ์' ปรากฏในงานเขียนเรื่อง The Unbearable Lightness of Being ของ มิลาน คุนเดอรา' ซึ่งถูกแปลออกมาเป็นภาษาสวยงามโดย ภัควดี วีระภาสพงษ์

ส่วนรากศัพท์ในภาษาเยอรมันคือคำว่า Kitsch และได้รับการอธิบายว่าเป็น ความดาษดื่น' การเลียนแบบ' หรือการเสแสร้งว่ามีรสนิยมต่ำ' (ในกรณีที่พูดถึงงานศิลปะ) หรือแม้กระทั่งการถูกเรียกว่า ความตื้นเขินทางอารมณ์'

แต่ถึงที่สุดแล้ว คนที่มีจิตใจฝักใฝ่รสนิยมสาธารณ์ก็มีความสุขดีี่ ในการที่ได้ซึมซับและชื่นชมสิ่งต่างๆ ซึ่งถูกจัดประเภทว่าเป็น Kitsch เหล่านั้น...

เรียนรู้และเข้าใจ 'ชายแดนใต้'

สถานการณ์ความรุนแรงที่ตกเป็นข่าวรายวันตามหน้าหนังสือพิมพ์ ทำให้ภาพลักษณ์ความเป็น ที่เกิดเหตุ' ของจังหวัดชายแดนใต้แจ่มชัดในความรู้สึกของคนไทยภาคอื่นๆ จนไม่มีใครคิดจะเดินทางไปเยือนพื้นที่สีแดงที่อยู่ปลายด้ามขวาน แต่ถ้ามองจากมุมของคนในพื้นที่ ทั้ง ความรู้สึก' และ การมีส่วนร่วม' ย่อมจะแตกต่างออกไปจากมุมของคนที่มองจากที่ไกลๆ

 

Deep South Watch คือพื้นที่แห่งหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งขับเคลื่อนโดยนักข่าวหลายค่ายหลายสำนักที่เคยรวมตัวกันทำงานในยุคบุกเบิกของสถาบันข่าวอิศรา (สถาบันนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย) ซึ่งลงไปฝังตัวอยู่ในพื้นที่ชายแดนใต้เป็นเวลานาน

ปัจจุบัน นักข่าวกลุ่มนี้มีความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกัน เพื่อรายงานความเป็นไปและข้อเท็จจริงของจังหวัดชายแดนใต้ และได้แตกหน่อมาทำงานในฐานะองค์กรสื่ออีกแห่งหนึ่ง โดยร่วมมือกับ นักวิชาการ และบุคลากรในแวดวงต่างๆ ที่ในพื้นที่ ภายใต้สโลแกน เรียนรู้และเข้าใจชายแดนใต้'

ที่นี่ไม่ได้มีแค่รายงานเหตุร้ายรายวัน เพราะเน้นหนักที่การเปิดมุมมองของคนในพื้นที่ เพื่อเปิดโอกาสให้ คนนอก' ได้รับรู้รับฟังและทำความเข้าใจ

ที่สำคัญคือมีหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊กและข้อมูลการวิเคราะห์วิจัยของนักวิชาการในจังหวัดชายแดนใต้ เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีในรูปแบบ pdf.ด้วย!

Pages

Subscribe to สื่อ