กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กัลกัตตาเป็นเมืองหลวงสมัยที่อินเดียเป็นอาณานิคมของอังกฤษ (มันยิ้มเห็นลิ้น “คิดว่านะ”)อาคารร้านตลาดหรือ Shopping Center ยังคงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมยุโรป ประเมินได้ว่า นับตั้งแต่คานธีปลดปล่อยอินเดีย “มันก็ยังอยู่อย่างนั้น ทรุดโทรมไปตามเวลาอย่างขาดการดูแล”ยามเช้า “ชั้นตั้งนาฬิกาปลุกออกไปเดินถนนตั้งแต่ 7 โมงเช้า” บนถนนย่านตลาดสด เวลาเหมือนหยุดนิ่ง เงียบสงบ ยามเช้าที่ไหนก็สวยใสอย่างนี้เสมอ ถนนลาดหินเหมือนจัตุรัสกลางในหนังสือวรรณกรรมอังกฤษ“ถนนลาดหินเหมือนฉากหนังหยองขวัญเรื่อง Jack the Ripper มากกว่าว่ะ”อืม .. หน้าโรงแรม ริมถนนตรงข้ามข้างคันโยกน้ำสาธารณะ เด็กน้อยคนนึงกำลังอาบน้ำ สีฟัน “ชั้นพยายามโฟกัส” ขณะวัดแสง เด็กน้อยรีบหลบหลังคันโยก (ทั้งที่ไม่มิด) หุบยิ้ม จ้องเขม็ง เดินหนีใกล้ๆ กัน มีผู้หญิงในชุดส่าหรีมอมอคนหนึ่งคุ้ยกองขยะ ...ร้านน้ำชาเป็นสภาของผู้ชายที่จะมานั่งเต๊ะจุ๊ยพูดคุยและอ่านหนังสือพิมพ์ จิบชานมสีน้ำตาลอ่อนๆ ในถ้วยดินเผา ดื่มหมดโยนถ้วยดินเผาลงพื้น กินแล้วโยนลงพื้น กินแล้วก็โยน จนมันบอกว่า เศษถ้วยดินเผาเกลื่อนถนนอีกฟากหนุ่มรถเข็นขายน้ำมะนาวกำลังผสมน้ำสีตุ่นๆ กับมะนาวสด จนไม่รู้ว่า กินไปแล้วท้องเสียเพราะมะนาวสดหรือน้ำสีตุ่น ลานกว้างหน้า Shopping Center กลายเป็นที่นอนของคนเร่ร่อน ไร้บ้านจำนวนมาก บางคนหรูหรามีเตียงเหล็กสานนอนเบียดกันและกัน ฝ่าเท้าดำปี๋ ขาก่ายเกยกันสองสามคน บางคนคุดคู้ใต้ผ้าห่มบางๆ เกลื่อนกลาดอยู่กลางลานเวลาดูเหมือนหยุดนิ่ง ยามเช้าที่ไหนในโลกมักสวยงามอย่างนี้เสมอ “ภาพอย่างนี้มีให้เห็นได้ทั่วไป เหมือนภาพ abstract ที่ไม่อาจบรรยาย” มันว่าห่างออกไปอีกบล็อกจะเป็นย่านตลาดสดเพิ่มดีกรีความจอแจที่คุ้นเคย คนขนไก่มัดขาไก่เอาไว้กับแฮนด์รถจักรยานเข็นไปส่งที่ตลาดสด ไก่นับร้อยชีวิตถูกแบ่งเป็น 4 พวง บนแฮนด์สองข้างและท้ายที่นั่งอีกสองข้างห้อยปุเลงๆ ไปบนถนนหินเหมือนกับฉากหนังสยองขวัญ Jack the Ripperผู้ชายเดินทูนของบนหัว บิดก้นไปมาขยับขาไวๆ เหมือนกับนักกีฬาเดินทน เดินกันให้ควั่ก เข็มนาฬิกาแห่งวันเริ่มทำงานอีกครั้งเมืองแห่งอารยธรรมอันรุ่งโรจน์ ขณะที่ทัชมาฮาล คือ สถาปัตยกรรม อันน่าอัศจรรย์ใจหรือความเป็นเมืองแห่ง IT อย่างบังกาลอว์ อินเดียไม่ใช่ประเทศยากจนหรือประเทศโลกที่สาม เป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ตรงกันข้ามประชาชนอินเดีย ยากจนคนกว่าครึ่งของมหานครกัลกัตตา ไม่เร่ร่อนไร้บ้านก็อยู่ในชุมชนที่เรียกได้ว่า สลัม“นั่นแหละ คือ อินเดีย”“เพื่อน (อินเดีย) ชั้นบอกมาว่ะ ส่วนอีกคนถามว่า ท้องเสียหรือของหายหรือเปล่า” เพื่อนผมหัวเราะขื่นๆหรือว่า นี่มันเป็นเรื่องปกติในทุกมหานครของโลก (การค้าเสรี) ...กิจกรรมยามเช้าเวลาที่หยุดนิ่งของคุณลุงเหมือนกับฉากหลัง คือ อาคารทรงยุโรปจากยุคอาณานิคมคุณลุงบนรถลาก กำลังรอผู้โดยสารร้านน้ำชาก่อนจะกลายสภาพเป็นสภากาแฟสำหรับผู้ชายไก่!ลานข้างตลาดขายปลา สีแดงธงรูปค้อนเคียวเธอกำลังเก็บกระดาษกิจวัตรประจำวันริมฟุตบาธ ก่อนจะออกไปทำงานคฤหาสน์บนลานหน้า Shopping Center
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เรื่องของเรื่อง คือว่า เพื่อนผมไปอินเดีย ดินแดนแห่งโลกอารยธรรมตะวันออก ..มันว่าของมันว่า ภาพสวยมากนะแก ..ผมตาโต ..เท่าไข่นกกระจอกเทศผมเลยถือโอกาสให้มันเล่าเรื่องที่อินเดียให้ฟัง ..“แก ชั้นไปอินเดียมา” มันว่า แถมต่อท้ายอย่างน่าฟัง “นั่นหน่ะ เป็นประเทศที่ชั้นอยากไปเป็นอันดับหนึ่งเชียวนะ”เมืองระดับอารยธรรมเก่าแก่ของโลก เต็มไปด้วยนักพรตในกลิ่นอายของศาสนาฮินดูอย่างในหนังสารคดี โยคีริมฝั่งแม่น้ำคงคา วัดฮินดู อย่างภาพของเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิกหรือทัชมาฮาล อย่างในภาพทัวร์ท่องเที่ยว (อันหลังนี่ผมนึกภาพเอาเอง อิอิ)หลังจากที่เครื่องลงจอดเมืองกัลกัตตา สนามบินแห่งนั้นดูทรุดโทรม ที่น่าสังเกต “ชั้นมองไม่เห็นผู้หญิงเลยสักคน” มันขึ้นเสียงสูง พนักงานจะเป็นผู้ชายในชุดแต่งกายลำลอง ไม่อยู่ในยูนิฟอร์มใดใดที่ให้เชื่อได้ว่าเป็นเจ้าหน้าที่ประจำสนามบิน นอกจาก ชายในเครื่องแบบที่มองปราดเดียวก็รู้ได้ว่าเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเมื่อจับแท็กซี่ออกจากสนามบินมุ่งเข้ามหานครกัลกัตตาได้ “รถติ๊ดติดว่ะแก ไม่ได้ติดแหง็กแบบบ้านเรานะแต่ดูวุ่นว๊ายวุ่นวายมากกว่า” ที่สำคัญ มันออกปากว่า ถนนอินเดียเหมือนไม่มีเลน บีบแตรอย่างเมามัน (บ่อยครั้งนานกว่า 10 วินาที) และดูเหมือนว่าทุกคนร่วมใจกันทำกิจกรรมทุกอย่างบนถนนราวกับว่าคนเมืองนี้พร้อมใจกันออกจากบ้าน .. คนเดินทาง ,ฝูงแพะ ,ไม้ไผ่ในเกวียนสำหรับสร้างปราสาทจำลองในเทศกาลทางศาสนา ,คนขี่จักรยาน ,คนทูนของบนหัว ,รถหกล้อก่อสร้าง ,รถแท็กซี่ราวกับว่าคนในเมืองนี้พร้อมใจกันออกจากบ้าน มันย้ำหญิงสาวแปะบินดี (เครื่องประดับชนิดหนึ่งที่หญิงชาวฮินดูใช้แปะระหว่างคิ้วเพื่อความสวยงาม) ในชุดสาหรี่สีฉูดฉาด (ฟ้าเหลืองชมพู บานเย็น แดงม่วงเขียว) กะเตงลูก ยืนโปรยรอยยิ้มอิดโรยอยู่บนฟุตบาธ เมื่อรถวิ่งเข้าในเขตกลางเมืองทุกอย่างจะจอแจยิ่งขึ้น ยิ่งรถติดไฟแดงจะมีเด็กๆ มาเคาะกระจกขอเงิน “แกลองคิดดู กลางสี่แยกแท้ๆ มีคนมายืนสีฟัน อาบน้ำ กันจะจะ”โรงแรม Lytton กลางเมืองกัลกัตตา ตกแต่งสไตล์อังกฤษจ้าวอาณานิคม กลายเป็นที่พักชั่วคราวของมัน ทั้งอึม ครึมและสมถะในขณะเดียวกัน ทั้งในแง่ของสีพื้นหรือการใช้เฟอร์นิเจอร์หนุ่มวัยกลางคนขับเมอร์ซีเดส เบ๊นส์ SLK แบบสปอร์ต เปิดประทุน เข้ามาที่ลานหน้าโรงแรม “จอดปุ๊ปนะแก พนักงานแทบกระโดดเข้าต้อนรับ” ชายหนุ่มลงจากรถโยนกุญแจให้พนักงานอีกคนเอารถไปจอดไม่ไกลนัก เพิงเล็กๆ หลายหลัง ไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปา“เหลือเชื่อว่ะ” มันครางออกมาสองบล็อกถัดจากโรงแรม หนุ่มใหญ่นายนี้ เข็นจักรยานขนผักซะจนมองเห็นเส้นเอ็นปูดโปนชุมทางรถ คุณแม่วัยแรกรุ่นอุ้มลูกรอรถหนุ่มขายมะนาวและมันฝรั่งพร้อมตาชั่งแบบโบราณ เสนอขายสินค้าของเขาอยู่ริมฟุตบาธไม่ไกลจากชุมทางรถแท็กซี่กัลกัตตา ระหว่างรอผู้โดยสาร อ้อยอิ่งไปกับความเคลื่อนไหวที่เห็นตรงหน้ากราฟฟิตี้แบบอินเดียกลัวหาย!