Skip to main content

คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?
ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ป

แถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ
 

วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน

งานที่แกใช้อธิบายหลักๆ คือ จะสื่อว่าที่สังคมไทยวิปลาศ เพราะมวลชนชั้นกลางในเมืองเพี้ยน(สลิ่ม) เพราะไม่เห็นถึงความเป็นชนชั้นแรงงานของตน ต่างจากคนเสื้อแดงที่รู้ว่าตนโดนกดขี่ แล้วออกมาสู้กับ ทหารและวัง (กรัมชี่)

แกถึงบอกว่าให้ประเมินสถานการณ์ว่าเลวร้ายที่สุด คือ ทหารยื้ออีกนานนน แต่ให้เก็บรักษาความหวังไว้ให้มั่น เพราะ กษัตริย์ในฐานะบุคคลใกล้ไม่อยู่ให้อ้างละ

เมื่อเชื่อมกับงานเรื่อง Salaried Masses (กรอสเซอร์) ที่แกอ้าง นี่ต่อยอดจาก นิธิที่วิเคราะห์เรื่อง มวลมหาอณู (ของ อาเรนด์) ชัดๆ งานนี้ก็วิเคราะห์คนเยอรมันยุคที่หนุนให้นาซี ว่าไม่ต่างจาก กปปส. หนุน ทหาร และ วัง นั่นเอง (ยุคหลังอุตสาหกรรมหนัก)

เนื่องจากคนในเมืองใหญ่มักทำงานจนขาดสังคม รู้สึก เหงา "ไร้ตัวตน" และรู้สึกไม่มั่นคง(ทำงานกินเงินเดือนเป็นลูกน้อง หรือทำธรกิจต้องเกาะกับชนชั้นนำ เช่น ดารา บริษัทสื่อทั้งหลาย) พวกนี้แหละต้องยึด สถาบันเป็นที่พึ่งสุดท้าย ก่อนสังคมจะกลายเป็น ประชาธิปไตยของไพร่ ไร้เส้นสายให้เกาะ ให้โหนอีกต่อไป

ซึ่งจะเห็นว่า ขบวนการของฝั่งนี้คนน้อยแต่ได้ผล เพราะมีแรงของสื่อและคนวงการสร้างสรรค์ช่วยเยอะ

สวนทางกับแดง ที่ดูเป็นมวลชนเถื่อนๆ บ้านๆ ส่วนปัญญาชนแดง ก็ทำได้แค่เสพข้อมูลแต่ไม่ลุกมาทำอะไร เพราะชีวิตผูกติดกับ เงินเดือน เอาง่ายๆ นักวิชาการ และคนทำงานประจำทั้งนั้น เงียบกริบ แอบมาคุย งุงิๆ กันในกลุ่มลับ

ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับตอน เรื่องเล่า Hi's ที่ทำให้ปัญญาชนตาสว่าง แต่ไม่ลุกมาเปลี่ยนอะไร

สรุป ถ้าเอาอย่าง สศจ. ว่า ก็ต้องรอออออ......... ให้.... ไม่อยู่ให้โหนอีกต่อไป ทีนี้ก็ลุกขึ้นมาเปิดหน้าอัดกันตรงไปตรงมา แกเลยขยักไว้ว่า ทำไมทหารต้องกวาดล้าง "กองกำลัง" ด้วย เราเดาว่ากองกำลังนี่แหละที่ทหารคิดว่าจะมาอัดกับทหารในลักษณะไพร่ราบติดอาวุธ ส่วนพวกพูดนี่จัดการได้ด้วย 112

ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับที่พูดๆ กันอยู่แล้วนั่นเอง

 

พบว่า ชิเชค ก็พูดประเด็นนี้ หลักๆ คือ ชนชั้นกลางในเมือง ที่เริ่มโดนบี้ด้วยระบบการบริหารจัดการสมัยใหม่ รู้สึกตัวเองชีวิตเหี้ยมากลงทุกที เหมือนเป็น เศษธุลีหนึ่ง ที่ไร้ตัวตนในสังคมทุนนิยม กลวง โบ๋ว จึงหาอะไรเกาะ เพื่อ ชะลอการเปลี่ยนแปลงของสังคม (Nostaglia) เพื่อหวังจะให้วันคืนดีๆในอดีตกลับคืนมา เพราะว่า ไอ้พวกไพร่มันไล่ขึ้นมา จนกรูจะกลายเป็นส่วนหนึ่งกับมันไปแล้ว

ดีไม่ดี ด้วยกว่าไปแล้ว เช่น คนหาบเร่แผงลอย รับจ้าง ดันมีรายได้ดี กว่าพนักงานออฟฟิศ การศึกษาสูงอย่างพวกตน

ทางออกแบบไม่นองเลือดจริงๆ คือ ต้องมีพรรคที่ขายนโยบายเจาะกลุ่ม คนทำงานประจำรับเงินเดือน (Salaried Class) กับ พวก SMEs(ลูกจีนทั้งหลาย) คนทำงานฟรีแลนซ์ (Creative Class) แทนที่จะเทไปอยู่ในถนนเป็นมวลชนให้ทหารกับวัง
 

โจทย์ คือ จะทำให้ มวลชนคนชั้นกลางในเมือง ตาสว่าง หรือ เลิกกลัว เลิก จิตวิญญาณทาส และสำนึกที่ล้มเหลว ไม่เห็นตัวเอง เป็น แรงงาน ได้อย่างไร
 

พรรคคอมฯ เคยแพ้ เพราะ สหาย น.ศ. เข้ากับ สหายชาวนา และแกนนำพรรค ไม่ได้นี่ล่ะนะ

 

คงกะเอามาใช้บ้าง ไม่ง่ายเลยครับ ถ้าจะทำให้สำเร็จ ต้องให้หลักประกันความมั่นใจบางอย่างกับชนชั้นกลางในเมือง คือ ศักดิ์ศรี มีโอกาสขยับเลื่อนตำแหน่ง และความมั่นคง

 

ควรสีให้แสบด้วยตัวอย่าง คนเปิดร้านขายส้มตำไก่ย่าง เปิดร้านห้องแถวจากแผงลอยด้วยเงินนักศึกษา และพนักงานออฟฟิส

หรือ แรงงานต่างด้าว เริ่มเข้ามาซื้อสินค้าหรูหราฟุ่มเฟือย โดยมีคนขายเป็นคนจบมหาลัยแต่เงินไม่พอที่จะซื้อสินค้าที่ตัวเองขาย

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องแรกที่ต้องนำมาพูดกันก่อนเลยเห็นจะไม่พ้นว่า กฎหมายคืออะไร เพราะไม่งั้นคงไปต่อไม่ได้ และที่จริงเรื่องนี้ก็เป็นปัญหามากในความเป็นจริง  เนื่องจากหลายครั้งเรามีปัญหากับคนอื่น หรือสังคมมีความขัดแย้งเถียงกันไม่จบไม่สิ้นก็ไม่รู้ว่า เรื่องนี้ควรจะจบลงอย่างไร ชีวิตจะเดินต่อไปแบบไหน   ซ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องแรกนี่เกิดขึ้นกับผู้คนมากมายครับ เนื่องจากมันเป็นชีวิตของเพื่อนผมเองที่บ้านเกิดอยู่ต่างจังหวัดแต่เค้าเข้ามาทำงานกรุงเทพฯ แล้วเช่าหอพักอยู่รอบนอกกรุงเทพฯเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายเนื่องจากที่ทำงานอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ถ้าไปเช่าหออยู่ใกล้ๆ สงสัยจะไม่เหลืออะไรให้เก็บให้ใช้เลย จนเธอต้องมาบ่นให้ฟังเรื่
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อกฎหมายเข้ามาใกล้ชีวิตคนธรรมดาอย่างเรามากขึ้น จึงเป็นการยากที่จะไม่สนใจอีกต่อไป   พอเกิดปัญหาขึ้นมากับตัวเอง ทางหนึ่งที่คนส่วนใหญ่พอจะทำได้ คือ ปรึกษากับคนใกล้ตัวที่ร่ำเรียนมาทางกฎหมาย เพราะจะให้ไปปรึกษากับทนาย หรือนักกฎหมายที่ไหนก็ยังไม่กล้า เพราะกลัวว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาย ไหนควา