บล็อกของ สุเจน กรรพฤทธิ์
สุเจน กรรพฤทธิ์
“ด้วยมรดกจากยุคสมัยอาณานิคม ทำให้เราไม่สนใจเพื่อนบ้าน อันเนื่องมาจากเดิมที เวลามีเรื่องเกี่ยวกับกัมพูชา เราติดต่อกับฝรั่งเศสโดยตรง ไม่ต้องติดต่อกับกัมพูชาในกรุงพนมเปญ เช่นเดียวกับเวลามีเรื่องว่าด้วยพม่า เราติดต่อกับอังกฤษแทนที่จะติดต่อกับพม่าที่ย่างกุ้ง ฉะนั้น นี่คือสิ่งตกค้างจากสมัยอาณานิคม ซึ่งชนชั้นนำไทยก็ยังตกอยู่ในบรรยากาศนี้ ยังคงติดต่อกับประเทศตะวันตก โดยไม่สนใจเพื่อนบ้าน ดังนั้น เป็นเรื่องจำเป็นที่เราจะต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้าน เพราะเขาอยู่ติดกับเรา”
ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ผู้ก่อตั้งโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สุเจน กรรพฤทธิ์
“ฉันตายโดยปราศจากคนที่รักฉันแต่ฉันก็อิ่มใจว่า ฉันมีคนที่ฉันรัก”ข้อความสุดท้ายที่ ม.ร.ว.กีรติ เขียนให้นพพรก่อนเสียชีวิต จากนวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” ของ “ศรีบูรพา”1วันปลายฤดูใบไม้ร่วงปี 2550 , อุทยานแห่งชาติชิชิ บู ทามาไก ประเทศญี่ปุ่น ท่ามกลางอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส แทบไร้สุ้มเสียงหรือสำเนียงใดรอบตัว สิ่งที่ปรากฎตรงหน้าคือความเงียบ ผมพบตัวเองอยู่ท่ามกลางทิวสนอายุนับพันปีที่ยืนต้นสูงเสียดฟ้า ข้างหน้า คือทางเดินเล็กๆ ทอดยาวลับหายเข้าไปในราวป่า ช่วงหนึ่งของเส้นทางเดินป่าบนภูเขามิตาเกะซัง
สุเจน กรรพฤทธิ์
“See Ankor and die”อาร์โนลด์ ทอยน์บีนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ- 1 -มิถุนายน 2550 , เมืองเสียมเรียบ"บรมวิษณุโลก" หรือ "นครวัด"ที่ชั้นบนสุดของปราสาทนครวัด ผมพบว่ารูปอัปสรายามต้องแสงอาทิตย์ที่สาดมาทางทิศอัสดงคตนั้นงดงามอย่างน่าตื่นตะลึง แต่พอตัดสินใจยกกล้องดิจิตอลขึ้นบันทึกภาพ ก็จะพบว่าเลข “0” สว่างวาบอยู่บนหน้าปัด - - บอกสถานะกล้องว่าไม่สามารถบันทึกภาพได้อีกต่อไปเว้นแต่จะลบภาพเก่าที่บันทึกในช่วงตลอด 3 วันที่ผมสัญจรอยู่ในแถบภาคเหนือของภาคเหนือของกัมพูชาออกสัก 7-10 ภาพ ยืนอึ้งอยู่พักใหญ่ ผมก็ยอมจำนน ด้วยครั้นจะหันไปพึ่งกล้องฟิล์มติดเลนส์เอนกประสงค์ 24-120 มม. ที่เอามาด้วยก็ทำไม่ได้เสียแล้ว…