Skip to main content

อารมณ์เหมือนคลื่นกระทบฝั่ง”

อาจารย์ชา สุภัทโท ฝากข้อความสั้น กินใจ ไว้ในหนังสือธรรมะ ซึ่งข้อความว่าด้วยอารมณ์นี้ เป็นหนึ่งในหลายหัวข้อในหนังสือ “พระโพธิญาณเถร” ท่านอธิบายข้อความดังกล่าวในทำนองว่า

ถ้าเราวิ่งกับอารมณ์เสีย... ปัญญาเกิดขึ้นไม่ได้

จิต – ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตต์แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่ สมาธิ ”

\\/--break--\>
หนึ่งปีกำลังจะผ่านพ้น ฉันขอส่งคำอวยพรปีใหม่มาถึงท่านผู้อ่านประชาไท พร้อมทั้งทีมงานประชาไททุกคนด้วยการน้อมนำเอาหลักธรรมจากพระอาจารย์ชา สุภัทโท ในข้อของ “อารมณ์เหมือนคลื่นกระทบฝั่ง” ฝากไว้แทนคำอวยพร เพราะเห็นว่า เรื่องของจิตใจนั้น สำคัญและซับซ้อน ขณะเดียวกัน จิตที่เป็นสมาธิ คือขุมพลังที่ก่อเป็นปัญญา ความสงบร่มเย็นอย่างแท้จริง จึงบังเกิด


ขอทุกคนได้ค้นพบขุมพลังทางปัญญาในตัวเอง เกิดเป็นความร่มเย็น เป็นร่มเงาให้แก่ตัวเอง และผู้อื่นตลอดไปเทอญ


ค้นเจอของเก่า...เอามาฝากในช่วงใกล้ใหม่

ฉันไปค้นเจอสำเนาบทกวีนอนสงบอยู่ในแฟ้ม เป็นแฟ้มเก็บบทกวีที่ชื่นชอบเป็นพิเศษจากนิตยสารต่าง ๆ ที่เมื่อก่อน ถ้าอ่านกวีบทใดแล้วเข้าถึงใจ ฉันก็จะทำสำเนาเก็บไว้ คล้ายเป็นพิพิธภัณฑ์ทางอารมณ์ เพราะบางทีฉันก็อยากเป็นกวีเหมียนกัลล์ หนึ่งในบทกวีของวันวาร ฉันสะดุดใจเป็นพิเศษกับบทกวีของ ดวงแก้ว กัลยาณ์ กวีสาวที่ฉันไม่เคยเห็นหน้าค่าตา แม้แต่ในรูปภาพทางหน้านิตยสาร เธอเป็นผู้หญิงแบบไหนหนอ ทำไมใช้ถ้อยคำง่าย ๆ ประโยคและวลีง่าย ๆ เรียงร้อยออกมาเป็นกวีบทนี้ได้ ขออนุญาตคุณดวงแก้ว กัลยาณ์ นำบทกวีของเธอมาให้ผู้อ่านประชาไท ได้อ่านกันตรงนี้


ฤดูฝนปีที่ 40


อีกไม่กี่เดือน

ฤดูฝนปีที่ 40 จะมาเยือน

ท่ามกลางความหวังอันรางเลือน

หนึ่งชีวิตดูเหมือนเคว้งคว้าง ว่างเปล่า


เกือบจะ 40 ปี แล้วหรือท้องฟ้า

ที่ฉันแหงนหน้ามองเธอทุกวัน

เกือบจะ 40 ปีแล้วหรือความฝัน

ที่ฉันเพียรพยายามถักทอ


กี่ค่ำคืนกันหนอ...

ที่ฉันเฝ้ารอถ้อยคำจากใจ

เพื่อกลั่นเป็นกวีบทใหม่

ท่ามกลางความเดียวดายในคืนอันเงียบงัน


ความยากจน

ยังคงโอบกอดฉันไว้ราวกับเป็นเพื่อนสนิท

และความป่วยไข้...ดั่งเป็นกัลยาณมิตร

ที่หมั่นคอยเตือนให้ระลึกถึงความตาย


อีกไม่กี่เดือน...

ฤดูฝนปีที่ 40 จะมาเยือน

แม้ชีวิตดูเหมือนว่างเปล่า

แต่ฉันจะทำสิ่งใดได้เล่า –

ในเมื่อหัวใจแสนเศร้า

ปรารถนาจะเป็น “กวี” .

(ตีพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์)


จากกวีบทนี้ จะเห็นได้ว่ามีการเอ่ยถึง “ช่วงเวลา” คือ 40 ปี ที่ผ่านมาถึง 4 ครั้ง

มีกิริยาที่แสดงออกถึง “กิจวัตรประจำวัน” คือ แหงนหน้ามองท้องฟ้า และถักทอความฝัน ซึ่งทั้งช่วงเวลากับกิจวัตรประจำวันนั้นต่างก็สมพันธ์กัน และให้ผลเป็นความหวังอันรางเลือน นอกจากนี้ ความเป็นกวีก็หาได้แตกต่างจากปุถุชนคนธรรมดา มียากจน มีป่วยไข้ และระลึกถึงความตาย


เมื่อกวีไม่ได้แปลกต่างไปจากคนธรรมดาแล้ว สิ่งใดเล่าที่ทำให้ถ้อยคำเรียบง่ายซึ่งกวีเรียงร้อยขึ้น กลับกลายมาเป็นความสะเทือนใจ ดวงแก้ว กัลยาณ์ ให้คำตอบแก่เราผ่านบทกวีของเธอในบทที่ 3 ที่ว่า

กี่ค่ำคืนกันหนอ...

ที่ฉันเฝ้ารอถ้อยคำจากใจ

เพื่อกลั่นเป็นกวีบทใหม่”

เป็นการแสดงออกให้ผู้อ่านเห็นถึง ความมุ่งมาดปรารถนาของกวีที่มีต่อถ้อยคำ และมีต่อจิตใจ

เมื่อถ้อยคำจากใจไหลรินออกมา เมื่อนั้นกวีบทใหม่จึงได้ถือกำเนิด


นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นวิธีการเกิดขึ้นของกวีนิพนธ์ แต่กวีบทนี้ไม่ได้ต้องการส่งสารถึงผู้อ่านในแง่ของการถือกำเนิดของบทกวี หากแต่ยังแสดงให้เห็นถึงวิถีทางของกวีนิพนธ์ ที่เกี่ยวร้อยเข้ากับวิถีแห่งตัวตนของกวีเองด้วย ซึ่งในบท ฤดูฝนปีที่ 40 นี้ ได้เน้นย้ำถึงภาวะที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้ระหว่าง “ตัวกวี” กับ “กวีนิพนธ์”


หรือทั้งตัวผู้สร้างและตัวผลงาน จะเป็นดั่งประติมากรรมแห่งวิถีชีวิต ไม่อาจจำแนกแยกแยะให้ตั้งอยู่อย่างเป็นเอกเทศได้ ทั้งตัวกวีและกวีนิพนธ์ต่างก็ร่วมสร้างสรรค์เป็นผลงานของชีวิต

หากเป็นเช่นนี้ ทฤษฎีวิจารณ์ที่มุ่งเน้นกล่าวถึงเฉพาะตัวบทวรรณกรรม ก็ไม่อาจสำแดงฤทธิ์เดชอะไรได้


อย่างไรก็ตาม ต้องขอบคุณดวงแก้ว กัลยาณ์ ไว้ ณ ที่นี้ ในฐานะที่ได้ส่งมอบความรู้สึกธรรมดาสามัญซึ่งเต็มไปด้วยพลังของความรู้สึก และของจิตใจอย่างที่กวีคนหนึ่งจะพูดออกมาได้


ทำนายดวงกวี..ขออย่าให้เป็นกวีมีแต่เศร้าเลย สาธู

.. 2553 ปีขาล เสือร้ายคำราม ขึ้นชื่อว่าปีขาล ก็นับเป็นปีที่ดุร้ายเอาการทีเดียว โหราจารย์หลายสำนักกระเซ้าเตือนมาอย่างปรารถนาดี ประดังมาด้วยขบวนสินค้าที่เตรียมขึ้นราคา รวมถึงราคาข้าวหอมมะลิไทยที่ขึ้นชื่อว่าหอมนักหนา ถึงเกวียนละแสนบาทเมื่ออยู่นอกประเทศ ภัตตาคารฮ่องกงวางแผนเปลี่ยนไปอุดหนุนข้าวหอมมะลิจากจีนและเวียดนามที่ราคาถูกกว่า นายกอภิสิทธิ์ชนที่ไม่เคยทำอะไรก็ตีสีหน้าไม่ปริวิตก คงเค้าของความหล่อแบบสุภาพบุรุษแมนอยู่เช่นเดิม


ปีขาลต่อสายไปถึงสถานการณ์กวีซีไรต์ปี 2553 เสือจะขย้ำคอกวีหรือไม่ กลอนเปล่าหรือกลอนฉันทลักษณ์จะพาเหรดเข้ารอบสุดท้ายซีไรต์ ผ่านมุมมองในกรอบแว่นตาของศาสตราจารย์เอกทางวรรณกรรมคนใด การเมืองกับมุ้งกวีจะยุ่งเหยิงแค่ไหน นักข่าวสายวรรณกรรมต้องกินยาแก้เส้นเคล็ดไปกี่ซอง

เรื่องบรรดานี้ ใครจะสน... เพราะแม้แต่กวีมือทำส่งประกวดรางวัลซีไรต์ ประเภทเมดอินมายด์แฟมิลี่ เขายังบอกไม่เคยสนซีไรต์...ทำไปด้วยใจรักล้านเปอร์เซ็นต์


ใครเซ็งบ้างเอ่ย ฉันคนหนึ่งล่ะที่ขอบอกว่าไม่เคยเซ็งกับกวีนิพนธ์ ก็ฉันอยากเป็นกวีกับเขาเหมียนกัลล์

สงสัยตัวเองอยู่ว่าชาติที่แล้วอาจเกิดในยุคอยุธยาตอนกลาง สมัยพระนารายณ์ที่เป็นยุคทองของกวีนิพนธ์ ดีเอ็นเอของชาติปางก่อนคงยังแฝงอยู่ ต่อให้ใครจะว่ากวีนิพนธ์ตายแล้วก็ตาม


ฉะนั้นแล้ว พี่กวีทั้งหลายอย่าด่วนถอดใจจากกวีนิพนธ์อันเป็นที่รักเลย และได้โปรดอย่าสุ่มทุ่มเถียงกันอยู่ในแวดวงแคบ ๆ เท่านั้นเลย เปิดประตูรับสุ้มเสียงของคำถาม คำบ่น จากโลกภายนอกบ้าง อย่ากักขังตัวเองไว้กับวิถีแห่งความเงียบงันอันเปล่าดายอีกเลย

หนึ่งชีวิตของกวี ดูเหมือนเคว้งคว้าง ว่างเปล่า” โอ้..กวี.. อะไรจะเดียวดายปานนั้น


มีของขวัญปีใหม่สำหรับผู้อ่านสวนหนังสือที่สนใจด้วยนะเออ

บ่ายวันนี้ พี่บุรุษไปรณีย์ส่งหนังสือมาให้ 2 เล่ม เป็นสารคดีท่องเที่ยวลาว ผลงานของนักเขียนหน้าใหม่ นามว่า รวงทอง จันดา เป็น 2 เล่มจบ

ชื่อหนังสือ จำปาขาว ลาวหอม เล่มแรก ลาวใต้ เล่มสอง ลาวเหนือ ใครสนใจอยากได้ไปอ่าน ฝากอีเมล์ไว้ในกล่องแสดงความคิดเห็นได้เลย จะส่งไปให้ ใครไม่อยากได้ ขอให้ติดตามอ่านสวนหนังสือตอนหน้า ว่าด้วยสารคดี มีจำปาขาว ลาวหอม สองเล่มดังกล่าว เป็นบทประเดิมปี 2553 ได้โปรดติดตาม


ขอบอกไว้นิดหนึ่งว่า จำปาขาว ลาวหอม ทั้ง 2 เล่ม เป็นสารคดีท่องเที่ยวที่ไม่เหมือนเล่มอื่นตรงที่ไม่ทิ้งรายละเอียดเล็กน้อย ไม่ละเลยแง่มุมที่เป็นข้อเท็จจริง และไม่เห่อลาวอย่างที่เขาเขียนสารคดีท่องเที่ยวขายกันนะ ส่วนใครได้โอกาสไปเที่ยวลาวช่วงปีใหม่ ก็ขอให้ม่วนซื่นกันถ้วนหน้า


ปีหน้าฟ้าใหม่ เจอกันนะ ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพทุกท่าน
.

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยง ถ้าเปรียบสวนหนังสือเหมือนผืนดินแห่งหนึ่งแล้วล่ะก็ ผู้เขียนเองก็ได้แสดงความคิดเห็นต่อหนังสือ จากการอ่านผลงานทางวรรณกรรมของบรรดานักประพันธ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะรูปแบบเรื่องสั้น นวนิยาย หรือกระทั่งกวีนิพนธ์บางเล่ม ข้อเขียนที่มีต่อหนังสือบางเล่มหรือเรื่องบางเรื่อง อาจแบ่งเป็นผลรับตามสูตรคณิตศาสตร์ได้ไม่ชัดเจน ใช้หลักต้องใจต้องอารมณ์และความนึกหวังเป็นหลักก็ว่าได้
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : จักรวาลผลัดใบ การเกิดใหม่ของจิตสำนึก ผู้เขียน : กลุ่มจิตวิวัฒน์ ประเภท : ความเรียง พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน  
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ           :           ชะบน ผู้เขียน               :           ธีระยุทธ  ดาวจันทึก ประเภท              :           นวนิยาย   พิมพ์ครั้งที่ 1 เมษายน 2537 จัดพิมพ์โดย        :    …
สวนหนังสือ
นายยืนยง  ชื่อหนังสือ : มนุษย์หมาป่า ผู้แต่ง : เจน ไรซ์ ผู้แปล : แดนอรัญ แสงทอง จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์หนึ่ง พิมพ์ครั้งแรก : สิงหาคม 2552
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : บันทึกนกไขลาน (The Wind-up Bird Chronicle) ผู้เขียน : ฮารูกิ มูราคามิ (Haruki Murakami) ผู้แปล : นพดล เวชสวัสดิ์ พิมพ์ครั้งที่ 1 : กันยายน 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แม่ไก่ขยัน   “หนูอยาก...อยากจะได้มีดผ่าตัดสักเล่ม หนูจะกรีดผ่า ชะโงกหน้าเข้าไปมองข้างใน ไม่ใช่ผ่าศพคนนะ... แค่ก้อนเนื้อแห่งความตาย หนูแน่ใจว่าจะต้องมีอะไรสักอย่างซ่อนอยู่ในนั้น ก้อนกลมเหนียวหยุ่นเหมือนลูกซอฟต์บอล แก่นกลางแข็งเป็นเส้นประสาทพันขดแน่น หนูอยากหยิบออกมาจากร่างคนตาย เอาก้อนนั้นมาผ่าดู อยากรู้ว่าเป็นอะไรกันแน่... (ภาคหนึ่ง, หน้า 36)
สวนหนังสือ
นายยืนยง  เมื่อวานนี้เอง ฉันเพิ่งถามตัวเองอย่างจริงจัง แบบไม่อิงค่านิยมใด ๆ ถามออกมาจากตัวของความรู้สึกอันแท้จริง ณ เวลานี้ว่า ทำไมฉันชอบอ่านวรรณกรรมมากที่สุดในบรรดาหนังสือทั้งหลาย คุณเคยถามตัวเองด้วยคำถามเดียวกันนี้หรือเปล่า
สวนหนังสือ
นายยืนยง ฉันวาดหวังสวยหรูไว้กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงบนผืนดินห้าไร่เศษ ที่ดินผืนสวยซึ่งพรั่งพร้อมไปด้วยปัจจัยแห่งกสิกรรม มีไม้ใหญ่ให้ร่มเงา มีบ่อน้ำขนาดใหญ่สองบ่อ และกระท่อมน้อยบนเนินเตี้ย ๆ รายล้อมไปด้วยทุ่งข้าวเขียวขจี แต่ระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน มายาแห่งหวังก็พังทลายลงต่อหน้าต่อตา ฉันจำเก็บข่มความขมขื่นไว้กับชีวิตใหม่ ในที่พำนักใหม่ ซึ่งไม่ใช่ผืนดินแห่งนี้
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ  : ความมั่งคั่งปฏิวัติ Revolutionary Wealth ผู้เขียน  : Alvin Toffler, Heidi Toffler ผู้แปล  : สฤณี  อาชวานันทกุล จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน   พิมพ์ครั้งที่ 2  มกราคม  2552
สวนหนังสือ
  และแล้วรางวัลซีไรต์ปี 2552 รอบของนวนิยายก็ประกาศผลแล้ว ปรากฏเป็นผลงานนวนิยายเรื่อง ลับแลแก่งคอย ของอุทิศ เหมะมูล โดยแพรวสำนักพิมพ์เป็นผู้จัดพิมพ์ (ประกาศผลเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา)ใครเชียร์เล่มนี้ก็ได้ไชโยกัน ฉันเองก็มีเล่มนี้เป็นหนึ่งในหลายเล่มด้วย รู้สึกสะใจลึก ๆ ที่อุทิศได้ซีไรต์ เนื่องจากเคยเชื่อว่า งานดี ๆ อย่างที่ใจเราคิดมักพลาดซีไรต์เป็นเนืองนิตย์ ผิดกับคราวนี้ที่งานดี ๆ ของนักเขียน "อย่างอุทิศ" ได้รางวัล
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ           :           นัยน์ตาของโคเสี่ยงทาย ผู้แต่ง                 :           วิสุทธิ์ ขาวเนียม ประเภท              :           กวีนิพนธ์รางวัลนายอินทร์อะวอร์ดครั้งที่ 10 จัดพิมพ์โดย        : …
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : ลับแล, แก่งคอยผู้แต่ง : อุทิศ เหมะมูลประเภท : นวนิยายจัดพิมพ์โดย : แพรวสำนักพิมพ์ พิมพ์ครั้งแรก 2552
สวนหนังสือ
  นายยืนยงชื่อหนังสือ : ประเทศใต้ผู้เขียน : ชาคริต โภชะเรืองประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2552จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ก๊วนปาร์ตี้ ข้อเด่นอย่างแรกที่เห็นได้ชัดจากนวนิยายเรื่องประเทศใต้ หนึ่งในผลงานที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ปีนี้ คือ วิธีการดำเนินเรื่องที่กระโดดข้าม สลับกลับไปมา อย่างไม่อาจระบุว่าใช้รูปแบบความสัมพันธ์ใด ๆ ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง หรืออย่างที่สกุล บุณยทัต เรียกในบทวิจารณ์ว่า "ไร้ระเบียบ" แต่อย่าลืมว่านวนิยายเรื่องนี้ได้เริ่มต้นที่ "ชื่อ" ของนวนิยาย ซึ่งในบทนำได้บอกไว้ว่า "ผม" ได้รับต้นฉบับนวนิยายเรื่องหนึ่งจาก "เขา" ในฐานะที่เป็นคนรู้จักกัน มันมีชื่อเรื่องว่า…