Skip to main content

อารมณ์เหมือนคลื่นกระทบฝั่ง”

อาจารย์ชา สุภัทโท ฝากข้อความสั้น กินใจ ไว้ในหนังสือธรรมะ ซึ่งข้อความว่าด้วยอารมณ์นี้ เป็นหนึ่งในหลายหัวข้อในหนังสือ “พระโพธิญาณเถร” ท่านอธิบายข้อความดังกล่าวในทำนองว่า

ถ้าเราวิ่งกับอารมณ์เสีย... ปัญญาเกิดขึ้นไม่ได้

จิต – ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตต์แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่ สมาธิ ”

\\/--break--\>
หนึ่งปีกำลังจะผ่านพ้น ฉันขอส่งคำอวยพรปีใหม่มาถึงท่านผู้อ่านประชาไท พร้อมทั้งทีมงานประชาไททุกคนด้วยการน้อมนำเอาหลักธรรมจากพระอาจารย์ชา สุภัทโท ในข้อของ “อารมณ์เหมือนคลื่นกระทบฝั่ง” ฝากไว้แทนคำอวยพร เพราะเห็นว่า เรื่องของจิตใจนั้น สำคัญและซับซ้อน ขณะเดียวกัน จิตที่เป็นสมาธิ คือขุมพลังที่ก่อเป็นปัญญา ความสงบร่มเย็นอย่างแท้จริง จึงบังเกิด


ขอทุกคนได้ค้นพบขุมพลังทางปัญญาในตัวเอง เกิดเป็นความร่มเย็น เป็นร่มเงาให้แก่ตัวเอง และผู้อื่นตลอดไปเทอญ


ค้นเจอของเก่า...เอามาฝากในช่วงใกล้ใหม่

ฉันไปค้นเจอสำเนาบทกวีนอนสงบอยู่ในแฟ้ม เป็นแฟ้มเก็บบทกวีที่ชื่นชอบเป็นพิเศษจากนิตยสารต่าง ๆ ที่เมื่อก่อน ถ้าอ่านกวีบทใดแล้วเข้าถึงใจ ฉันก็จะทำสำเนาเก็บไว้ คล้ายเป็นพิพิธภัณฑ์ทางอารมณ์ เพราะบางทีฉันก็อยากเป็นกวีเหมียนกัลล์ หนึ่งในบทกวีของวันวาร ฉันสะดุดใจเป็นพิเศษกับบทกวีของ ดวงแก้ว กัลยาณ์ กวีสาวที่ฉันไม่เคยเห็นหน้าค่าตา แม้แต่ในรูปภาพทางหน้านิตยสาร เธอเป็นผู้หญิงแบบไหนหนอ ทำไมใช้ถ้อยคำง่าย ๆ ประโยคและวลีง่าย ๆ เรียงร้อยออกมาเป็นกวีบทนี้ได้ ขออนุญาตคุณดวงแก้ว กัลยาณ์ นำบทกวีของเธอมาให้ผู้อ่านประชาไท ได้อ่านกันตรงนี้


ฤดูฝนปีที่ 40


อีกไม่กี่เดือน

ฤดูฝนปีที่ 40 จะมาเยือน

ท่ามกลางความหวังอันรางเลือน

หนึ่งชีวิตดูเหมือนเคว้งคว้าง ว่างเปล่า


เกือบจะ 40 ปี แล้วหรือท้องฟ้า

ที่ฉันแหงนหน้ามองเธอทุกวัน

เกือบจะ 40 ปีแล้วหรือความฝัน

ที่ฉันเพียรพยายามถักทอ


กี่ค่ำคืนกันหนอ...

ที่ฉันเฝ้ารอถ้อยคำจากใจ

เพื่อกลั่นเป็นกวีบทใหม่

ท่ามกลางความเดียวดายในคืนอันเงียบงัน


ความยากจน

ยังคงโอบกอดฉันไว้ราวกับเป็นเพื่อนสนิท

และความป่วยไข้...ดั่งเป็นกัลยาณมิตร

ที่หมั่นคอยเตือนให้ระลึกถึงความตาย


อีกไม่กี่เดือน...

ฤดูฝนปีที่ 40 จะมาเยือน

แม้ชีวิตดูเหมือนว่างเปล่า

แต่ฉันจะทำสิ่งใดได้เล่า –

ในเมื่อหัวใจแสนเศร้า

ปรารถนาจะเป็น “กวี” .

(ตีพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์)


จากกวีบทนี้ จะเห็นได้ว่ามีการเอ่ยถึง “ช่วงเวลา” คือ 40 ปี ที่ผ่านมาถึง 4 ครั้ง

มีกิริยาที่แสดงออกถึง “กิจวัตรประจำวัน” คือ แหงนหน้ามองท้องฟ้า และถักทอความฝัน ซึ่งทั้งช่วงเวลากับกิจวัตรประจำวันนั้นต่างก็สมพันธ์กัน และให้ผลเป็นความหวังอันรางเลือน นอกจากนี้ ความเป็นกวีก็หาได้แตกต่างจากปุถุชนคนธรรมดา มียากจน มีป่วยไข้ และระลึกถึงความตาย


เมื่อกวีไม่ได้แปลกต่างไปจากคนธรรมดาแล้ว สิ่งใดเล่าที่ทำให้ถ้อยคำเรียบง่ายซึ่งกวีเรียงร้อยขึ้น กลับกลายมาเป็นความสะเทือนใจ ดวงแก้ว กัลยาณ์ ให้คำตอบแก่เราผ่านบทกวีของเธอในบทที่ 3 ที่ว่า

กี่ค่ำคืนกันหนอ...

ที่ฉันเฝ้ารอถ้อยคำจากใจ

เพื่อกลั่นเป็นกวีบทใหม่”

เป็นการแสดงออกให้ผู้อ่านเห็นถึง ความมุ่งมาดปรารถนาของกวีที่มีต่อถ้อยคำ และมีต่อจิตใจ

เมื่อถ้อยคำจากใจไหลรินออกมา เมื่อนั้นกวีบทใหม่จึงได้ถือกำเนิด


นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นวิธีการเกิดขึ้นของกวีนิพนธ์ แต่กวีบทนี้ไม่ได้ต้องการส่งสารถึงผู้อ่านในแง่ของการถือกำเนิดของบทกวี หากแต่ยังแสดงให้เห็นถึงวิถีทางของกวีนิพนธ์ ที่เกี่ยวร้อยเข้ากับวิถีแห่งตัวตนของกวีเองด้วย ซึ่งในบท ฤดูฝนปีที่ 40 นี้ ได้เน้นย้ำถึงภาวะที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้ระหว่าง “ตัวกวี” กับ “กวีนิพนธ์”


หรือทั้งตัวผู้สร้างและตัวผลงาน จะเป็นดั่งประติมากรรมแห่งวิถีชีวิต ไม่อาจจำแนกแยกแยะให้ตั้งอยู่อย่างเป็นเอกเทศได้ ทั้งตัวกวีและกวีนิพนธ์ต่างก็ร่วมสร้างสรรค์เป็นผลงานของชีวิต

หากเป็นเช่นนี้ ทฤษฎีวิจารณ์ที่มุ่งเน้นกล่าวถึงเฉพาะตัวบทวรรณกรรม ก็ไม่อาจสำแดงฤทธิ์เดชอะไรได้


อย่างไรก็ตาม ต้องขอบคุณดวงแก้ว กัลยาณ์ ไว้ ณ ที่นี้ ในฐานะที่ได้ส่งมอบความรู้สึกธรรมดาสามัญซึ่งเต็มไปด้วยพลังของความรู้สึก และของจิตใจอย่างที่กวีคนหนึ่งจะพูดออกมาได้


ทำนายดวงกวี..ขออย่าให้เป็นกวีมีแต่เศร้าเลย สาธู

.. 2553 ปีขาล เสือร้ายคำราม ขึ้นชื่อว่าปีขาล ก็นับเป็นปีที่ดุร้ายเอาการทีเดียว โหราจารย์หลายสำนักกระเซ้าเตือนมาอย่างปรารถนาดี ประดังมาด้วยขบวนสินค้าที่เตรียมขึ้นราคา รวมถึงราคาข้าวหอมมะลิไทยที่ขึ้นชื่อว่าหอมนักหนา ถึงเกวียนละแสนบาทเมื่ออยู่นอกประเทศ ภัตตาคารฮ่องกงวางแผนเปลี่ยนไปอุดหนุนข้าวหอมมะลิจากจีนและเวียดนามที่ราคาถูกกว่า นายกอภิสิทธิ์ชนที่ไม่เคยทำอะไรก็ตีสีหน้าไม่ปริวิตก คงเค้าของความหล่อแบบสุภาพบุรุษแมนอยู่เช่นเดิม


ปีขาลต่อสายไปถึงสถานการณ์กวีซีไรต์ปี 2553 เสือจะขย้ำคอกวีหรือไม่ กลอนเปล่าหรือกลอนฉันทลักษณ์จะพาเหรดเข้ารอบสุดท้ายซีไรต์ ผ่านมุมมองในกรอบแว่นตาของศาสตราจารย์เอกทางวรรณกรรมคนใด การเมืองกับมุ้งกวีจะยุ่งเหยิงแค่ไหน นักข่าวสายวรรณกรรมต้องกินยาแก้เส้นเคล็ดไปกี่ซอง

เรื่องบรรดานี้ ใครจะสน... เพราะแม้แต่กวีมือทำส่งประกวดรางวัลซีไรต์ ประเภทเมดอินมายด์แฟมิลี่ เขายังบอกไม่เคยสนซีไรต์...ทำไปด้วยใจรักล้านเปอร์เซ็นต์


ใครเซ็งบ้างเอ่ย ฉันคนหนึ่งล่ะที่ขอบอกว่าไม่เคยเซ็งกับกวีนิพนธ์ ก็ฉันอยากเป็นกวีกับเขาเหมียนกัลล์

สงสัยตัวเองอยู่ว่าชาติที่แล้วอาจเกิดในยุคอยุธยาตอนกลาง สมัยพระนารายณ์ที่เป็นยุคทองของกวีนิพนธ์ ดีเอ็นเอของชาติปางก่อนคงยังแฝงอยู่ ต่อให้ใครจะว่ากวีนิพนธ์ตายแล้วก็ตาม


ฉะนั้นแล้ว พี่กวีทั้งหลายอย่าด่วนถอดใจจากกวีนิพนธ์อันเป็นที่รักเลย และได้โปรดอย่าสุ่มทุ่มเถียงกันอยู่ในแวดวงแคบ ๆ เท่านั้นเลย เปิดประตูรับสุ้มเสียงของคำถาม คำบ่น จากโลกภายนอกบ้าง อย่ากักขังตัวเองไว้กับวิถีแห่งความเงียบงันอันเปล่าดายอีกเลย

หนึ่งชีวิตของกวี ดูเหมือนเคว้งคว้าง ว่างเปล่า” โอ้..กวี.. อะไรจะเดียวดายปานนั้น


มีของขวัญปีใหม่สำหรับผู้อ่านสวนหนังสือที่สนใจด้วยนะเออ

บ่ายวันนี้ พี่บุรุษไปรณีย์ส่งหนังสือมาให้ 2 เล่ม เป็นสารคดีท่องเที่ยวลาว ผลงานของนักเขียนหน้าใหม่ นามว่า รวงทอง จันดา เป็น 2 เล่มจบ

ชื่อหนังสือ จำปาขาว ลาวหอม เล่มแรก ลาวใต้ เล่มสอง ลาวเหนือ ใครสนใจอยากได้ไปอ่าน ฝากอีเมล์ไว้ในกล่องแสดงความคิดเห็นได้เลย จะส่งไปให้ ใครไม่อยากได้ ขอให้ติดตามอ่านสวนหนังสือตอนหน้า ว่าด้วยสารคดี มีจำปาขาว ลาวหอม สองเล่มดังกล่าว เป็นบทประเดิมปี 2553 ได้โปรดติดตาม


ขอบอกไว้นิดหนึ่งว่า จำปาขาว ลาวหอม ทั้ง 2 เล่ม เป็นสารคดีท่องเที่ยวที่ไม่เหมือนเล่มอื่นตรงที่ไม่ทิ้งรายละเอียดเล็กน้อย ไม่ละเลยแง่มุมที่เป็นข้อเท็จจริง และไม่เห่อลาวอย่างที่เขาเขียนสารคดีท่องเที่ยวขายกันนะ ส่วนใครได้โอกาสไปเที่ยวลาวช่วงปีใหม่ ก็ขอให้ม่วนซื่นกันถ้วนหน้า


ปีหน้าฟ้าใหม่ เจอกันนะ ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพทุกท่าน
.

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ถอดรหัสอ่านเร็ว HI-SPEED READING ผู้แต่ง : ลุงไอน์สไตน์ พิมพ์ครั้งที่ 1 : สำนักพิมพ์บิสคิต ตุลาคม 2551
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ           :           824ผู้เขียน               :           งามพรรณ เวชชาชีวะประเภท              :           นวนิยาย  พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม 2552จัดพิมพ์โดย        :      …
สวนหนังสือ
ป่านนี้แล้ว (พ.ศ. 2552) ใครไม่เคยได้ยินเสียงขู่ หรือคำร้องขอเชิงคุกคามให้ร่วมชุบชูจิตวิญญาณสีเขียว ให้ร่วมรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน ให้ตระหนักในปัญหาวิกฤตอาหารถาวร โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย ฉันว่าคุณคงมัวปลีกวิเวกนานเกินไปแล้ว
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : ลิงหลอกเจ้า ลอกคราบวัตถุนิยมทางศาสนา ผู้เขียน : เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ผู้แปล : วีระ สมบูรณ์ และ พจนา จันทรสันติ จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง พิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม พ.ศ.2528   เวลานี้เราต้องยอมรับเสียแล้วละว่า หนังสือธรรมะ เป็นหนังสือแนวสาระที่ติดอันดับขายดิบขายดี และมีทีท่าว่าจะคงกระแสความแรงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย   เดี๋ยวนี้ ฉันเจอใครเข้า เขามักสนทนาประสาสะแบบปนธรรมะนิด ๆ มีบางคนเข้าขั้นหน่อย ก็เทศน์ได้ทุกสถานการณ์ อย่างนี้ก็มี ไม่แน่ว่าถ้าคนนิยมอ่านหนังสือธรรมะกันหนาตาเข้า สังคมไทยอาจแปรสภาพเป็นสังคมแห่งนักบวชนอกเครื่องแบบก็เป็นได้…
สวนหนังสือ
  เรียน คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี บรรณาธิการ ช่อการะเกด ที่นับถือฉันผู้ใช้นามแฝงว่า นายยืนยง คนเขียนคอลัมน์ สวนหนังสือ ในเว็บไซต์ประชาไท ที่มีบทความชื่อ ช่อการะเกด 45 เวลาช่วยให้อะไร ๆ ดีขึ้นจริงหรือ? อยู่ในรายการของบทความทั้งหมด ได้อ่าน กถาบรรณาธิการ ใน ช่อการะเกด 47 ฉบับวางแผงปัจจุบันแล้ว ทราบว่าคุณสุชาติ บรรณาธิการนิตยสารเรื่องสั้นช่อการะเกดได้ให้ความสนใจต่อบทความนี้ ฉันในนามของนายยืนยงจึงเขียนจดหมายแล้วจัดพิมพ์ส่งตู้ ป.ณ. 1143 เพื่อเล่าถึงความเป็นมาคร่าว ๆ…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ :       เดอะซีเคร็ต ผู้เขียน :            รอนดา เบิร์นผู้แปล :             จิระนันท์ พิตรปรีชาพิมพ์ครั้งที่ 54 :  มีนาคม 2551จัดพิมพ์โดย :    สำนักพิมพ์อมรินทร์
สวนหนังสือ
ใกล้เปิดภาคเรียนใหม่ ปีการศึกษา 2552 แล้ว ภายใต้นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ของรัฐบาลนี้ ถ้าใครได้ดูทีวีคงได้เห็นข่าวประชาสัมพันธ์ หรือได้เห็นสำนักข่าวไปสัมภาษณ์ผู้ปกครองที่ได้รับเงินอุดหนุนค่าเครื่องแบบนักเรียนแล้วไปเลือกซื้อชุดนักเรียนให้ลูก ๆ เป็นที่น่าชื่นอกชื่นใจสำหรับคนเป็นพ่อแม่ที่มีโอกาสเป็นครั้งแรกในการได้รับ "ของฟรี" จากรัฐบาล แม้จะไม่สามารถซื้อได้ครบทั้งชุดก็ตาม เช่น นักเรียนประถม 5 ได้รับเงินเพื่อการนี้คนละ 360 บาทต่อปี คือ 2 ภาคเรียน ๆ ละ 180 บาท บางคนอาจจะได้กางเกงนักเรียน 1 ตัว และ ถุงเท้า 1 คู่ ก็ยังดีฟะ.. กำขี้ดีกว่ากำตดไม่ใช่เรอะ
สวนหนังสือ
นายยืนยง   นิตยสารรายเดือน             :           ควน ป่า นา เล  4 เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ตั้งแต่ปลายมีนาคมจนถึงวันนี้ 9 เมษายน ฉันอาศัยทีวีและหนังสือพิมพ์ อันเป็นสื่อกระแสหลักที่นำเสนอข่าวสารที่เป็นกระแสหลัก คือ ข่าวการเมือง เหมือนกับทุกครั้งที่อุณหภูมิการเมืองเดือดขึ้น ฉันดูข่าวเกินพิกัด อ่านหนังสือพิมพ์จนแว่นมัวหมอง ตื่นระทึกไปกับทุกจังหวะก้าวย่างของมวลชนเสื้อแดง มีอารมณ์ร่วมกับภาคการเมืองส่วนกลางในฐานะผู้เสพข่าวสารเท่านั้นเองจริง ๆ เท่านั้นเองไม่มากกว่านั้น …
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เราติดอยู่ในแนวรบเสียแล้ว แม่มัน! วรรณกรรมการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า ครั้งที่ 6 จัดพิมพ์โดย : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน 2551 ก่อนอื่นขอแจ้งข่าว เรื่องวรรณกรรมการเมือง รางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2552 นี้ สักเล็กน้อย งานนี้เป็นการจัดประกวดครั้งที่ 8 เปิดรับผลงานวรรณกรรมการเมือง 2 ประเภท คือ เรื่องสั้น และ บทกวี ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2552
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : เด็กเก็บว่าว The Kite Runner ผู้เขียน : ฮาเหล็ด โฮเซนี่ ผู้แปล : วิษณุฉัตร วิเศษสุวรรณภูมิ ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม พ.ศ.2548 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ The One Publishing เด็กเก็บว่าว นวนิยายสัญชาติอเมริกัน-อัฟกัน ขนาดสี่ร้อยกว่าหน้า ที่โปรยปก มหัศจรรย์แห่งนวนิยายที่สร้างปรากฏการณ์ปากต่อปากจนติดอันดับเบสต์เซลเลอร์ เล่มนี้ กล่าวถึงเรื่องราวของอะไรหรือ ทำไมผู้คนจึงให้ความสนใจกับมันมากมายนัก ฉันถามตัวเองก่อนจะหยิบมันมาอ่าน
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง ผู้เขียน : ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ประเภท : วรรณกรรมวิจารณ์ พิมพ์ครั้งแรก พฤษภาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ การตีความนัยยะศัพท์แสงทางวรรณกรรมจะว่าเป็นศิลปะแห่งการเข้าข้างตัวเอง ก็ถูกส่วนหนึ่ง ความนี้น่าจะเชื่อมโยงกับเรื่อง “รสนิยมส่วนตัว” หรือ อัตวิสัย หากมองในแง่ดี เราจะถือเป็นบ่อเกิดของกระบวนการสร้างสรรค์ได้ด้วย มิใช่หรือ
สวนหนังสือ
นายยืนยงเมื่อการอ่านประวัติศาสตร์ อันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตนั้น ฉันว่าควรมีการเขียนหนังสือแนะนำ (How to) เป็นขั้นเป็นตอนเลยจะดีกว่าไหม เพราะมันนอกจากจะปวดเศียรเวียนเกล้ากับผู้แต่งแต่ละท่านแล้ว (ผู้แต่งบางท่านก็ชี้ชัดลงไปเลย เจตนาจะเข้าข้างฝ่ายไหน แต่บางท่านเน้นวิเคราะห์วิจารณ์ โดยที่หากผู้อ่านมีความรู้เชิงประวัติศาสตร์น้อยกว่าหางอึ่งอย่างฉัน ต้องกลับไปลงทะเบียนเรียนวิชานี้อีกหลายเล่ม) ยังทำให้ใช้เวลาอย่างมหาศาลไปกับหนังสือที่เกี่ยวเนื่องกันอีกหลายเล่ม ไม่เป็นไร ๆ เราไม่ได้อ่านเพื่อพิพากษาใครเป็นถูกเป็นผิดมิใช่หรือ อ่านเพื่อได้อ่าน แบบกำปั้นทุบดินก็ไม่เสียหายอะไรนี่นา…