Skip to main content

Kasian Tejapira(17/10/2012)

 

ที่มา Quote ไมเคิล ฮาร์ท(Michael Hardt) จากเพจ วิวาทะ 

ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่ เมื่อใดการปฏิวัติตัดสินชี้ขาดกันด้วยอาวุธ เมื่อนั้นคุณจะพบว่าชนชั้นปกครองได้เปรียบเสมอและราษฎรก็สูญเสียมากเสมอ ไม่เชื่อก็ลองดูประสบการณ์ปี ๒๕๕๓ ในเมืองไทย เทียบกับชัยชนะโดยไม่มีอาวุธจากการเลือกตั้งในปีถัดมาเถิด

คุณทราบหรือไม่ว่ารายจ่ายงบประมาณเพื่อรักษาความสงบภายในของจีนนั้นบัดนี้พอ ๆ กับรายจ่ายงบประมาณเพื่อป้องกันประเทศภายนอกของจีนแล้ว นั่นแปลว่าในสายตารัฐทุนนิยมอำนาจนิยมของจีนนั้น ภัยคุกคามจากประชาชนภายในประเทศร้ายแรงพอ ๆ กับภัยคุกคามจากต่างประเทศ

หากคุณคิดว่าการปฏิวัติต้องทำด้วยความรุนแรงหรือนัยหนึ่ง "อำนาจรัฐเกิดจากปากกระบอกปืน" แบบประธานเหมาเจ๋อตงแล้วละก็ คิดดูสิว่าประเทศจีนจะมีอนาคตอย่างไร?

ถ้ายึดตาม Max Weber ปรมาจารย์สังคมวิทยาเยอรมันว่าอำนาจรัฐคือการผูกขาดอำนาจการใช้ความรุนแรงโดยชอบธรรมเหนืออาณาดินแดนหนึ่ง ๆ แล้ว ก็มีองค์ประกอบ ๓ อย่างในแก่นของอำนาจรัฐ

๑) อำนาจผูกขาดความรุนแรง

๒) ความชอบธรรมที่จะใช้อำนาจรุนแรงนั้น

๓) เหนืออาณาดินแดนหนึ่ง ๆ

หากวิเคราะห์ให้ดี แนวทางปฏิวัติแบบต่าง ๆ ก็คือการเข้าโจมตีกร่อนทำลายองค์ประกอบเหล่านี้นี้เอง

-ทำลาย ๑) ด้วยแนวทางปฏิวัติแบบรัสเซีย คือสร้างกองกำลังติดอาวุธของกรรมกรขึ้นมาใต้การนำของพรรคบอลเชวิค

-ทำลาย ๒) ด้วยแนวทางปฏิวัติแบบอิหร่าน คือบ่อนทำลายความชอบธรรมของรัฐพระเจ้าชาห์ลงในด้านต่าง ๆ จนในที่สุดแม้มีกองกำลังอาวุธ แต่ก็ไม่สามารถสั่งการให้ใช้ปราบปรามประชาชนที่ต่อสู้ประท้วงอย่างมีประสิทธิผลได้ คือมีปืนก็ยิงไม่ออก เพราะทหารตำรวจไม่ยอมทำให้

-ทำลาย ๓) ด้วยแนวทางปฏิวัติแบบเหมา สร้างเขตปลดปล่อยภายใต้อำนาจรัฐสีแดงขึ้นในอาณาดินแดนของประเทศ

คิดตรองดูเถิดว่าวิธีการไหนต้องใช้ความรุนแรงและวิธีการไหนสามารถใช้ความไม่รุนแรงได้?

 

ฮูโก ชาเวซ

 

บทเรียนจากการปฏิวัติโบลิวาเรียนของเวเนซุเอลา: Bullets or Ballots? Coup-makers or Voters?

ฮูโก ชาเวซเริ่มชีวิตการเมืองจากฐานะนายทหารชั้นผู้น้อย รวมแก๊งเพื่อนนายทหารชั้นผู้น้อยที่สนใจตื่นตัวทางการเมืองพยายามก่อรัฐประหารยึดอำนาจโค่นระบอบเลือกตั้งฉ้อฉลผูกขาดของพรรคการเมืองชนชั้นปกครอง แต่ล้มเหลว ตัวเขาเองถูกจับติดคุก

ก่อนมอบตัวยอมจำนน เขาขอเงื่อนไขออกทีวีอ่านแถลงการณ์ ทำให้เขาเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ประชาชนนิยมนับถือ

ออกจากคุก เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ๓ รอบถึงปัจจุบัน และเพิ่งชนะเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีวาระ ๔ ทำให้เขาอยู่ในตำแหน่งตั้งแต่ ๑๙๙๙ ไปจนถึง ๒๐๑๙ รวม ๒๐ ปีถ้าไม่มีอันเป็นไปเพราะโรคมะเร็งเสียก่อน

ในยุคสมัยของเขา มีความพยายามก่อรัฐประหารโค่นเข้าด้วยกำลังรุนแรง แต่ล้มเหลว เพราะแรงนิยมของประชามหาชนกดดันจนกองกำลังอาวุธกลับใจ

ตกลงการปฏิวัติโบลิวาเรียนและการรักษาอำนาจรัฐปฏิวัติของชาเวซ อาศัย bullets หรือ ballots กัน?

คิดดูให้ดี

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ