Skip to main content
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
 
-วาทกรรม (ราชาชาตินิยม)
-ยุทธศาสตร์ (ปฏิรูประบอบการเมืองไปในทิศทางลดอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนลง เพิ่มอำนาจของบรรดาสถาบันที่ไม่ได้มาจากเสียงข้างมาก)
-ยุทธวิธี (ก่่อม็อบอนาธิปไตย ยึดสถานที่ราชการ ให้รัฐเป็นอัมพาตทำงานไม่ได้)
-เป้าหมายเฉพาะหน้า (ล้มรัฐบาล)
-และวิสัยทัศน์ทางการเมือง (ระบอบกึ่งประชาธิปไตยใต้การกำกับของทหารและคณะตุลาการคุณธรรม)
 
จะเรียกว่าคุณสุเทพ เทือกสุบรรณกับพรรคประชาธิปัตย์กำลังผลิตซ้ำ/ทำซ้ำแบบแผนการชุมนุมของคุณสนธิ ลิ้มทองกุลกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อปี 2549 + 2551 ก็ย่อมได้
 
ในแง่หนึ่งมันสะท้อนว่าแนวทางการนำพรรคประชาธิปัตย์ของคุณอภิสิทธิ์-สุเทพในรอบ ๒ ปีที่ผ่านมาได้บรรลุถึงบทสรุปตามตรรกะของมันแล้ว 
 
คือแปรพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นพรรคฝ่ายค้านอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยมในสภาจากการเลือกตั้ง ให้กลายเป็น --> ขบวนการมวลชนและกองโฆษณาชวนเชื่อราชาชาตินิยม-ปฏิกิริยา-อนาธิปไตยบนท้องถนนที่ถล่มโจมตีเข้ายึดสถานที่ราชการเพื่อโค่นอำนาจรัฐบาลจากการเลือกตั้งและต่อต้านระบอบประชาธิปไตย
 
พูดอีกอย่างก็ได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ถูก ASTV-Manager/PADization (เอเอสทีวี-ผู้จัดการ/พันธมิตรานุวัตร) ไปแล้วเรียบร้อย
 
ทว่าลึกกว่านั้น มันยังสะท้อนบางอย่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครองของไทยเราในเชิงโครงสร้าง
 
ลองจินตนาการดูว่าสมมุติคณะแกนนำการประท้วงม็อบเทพเทือก-กปท.-คปท.ขณะนี้ ไปจุติในภพภูมิเสรีประชาธิปไตยเต็มใบที่ไหนสักแห่ง และมีความขุ่นแค้นขัดเคืองไม่พอใจรัฐบาลดังกล่าวทางการเมือง ต้องการล้มรัฐบาล พวกเขาจะทำอะไรอย่างไร?
 
ชุมนุมยืดเยื้อกลางถนนหรือ? กดดันกองทัพให้แทรกแซงทางการเมืองหรือ? ขออำนาจพิเศษนอกเหนือรัฐธรรมนูญให้ช่วยเปลี่ยนตัวนายกฯ ตั้งสภาประชาชนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ปฏิรูปการเมืองให้ทีหรือ? ฎีกาประมุขรัฐหรือ? บุกยึดสถานที่ราชการไม่ยอมออกและระดมมวลชนให้ช่วยมาปกป้องตัวเองทีกระนั้นหรือ?
 
ถ้าทำแบบนี้ที่โน่น จะชนะหรือ? จะ make sense หรือ? 
 
ก็คงไม่ ใช่ไหมครับ เรียกว่า crazy & go berserk ชิบเป๋งเลย ชาวบ้านชาวเมืองที่นั่นคงพากันงงเป็นไก่ตาแตกและหัวเราะท้องคัดท้องแข็งว่ากำลังเล่นตลกอะไรกันหว่า...
 
ถ้าอยากชนะที่นั่นก็ต้องสู้ในสภาและสนามเลือกตั้ง สร้าง/ปรับพรรคใหม่ สร้าง/ปรับแนวทางนโยบายใหม่ สร้าง/ปรับองค์การจัดตั้ง หัวคะแนนผู้ปฏิบัติงาน เครือข่ายพันธมิตรใหม่ เพื่อสะสมกำลังรอกระโดดเข้าต่อสู้ในเวทีเลือกตั้งรอบหน้ากับพรรครัฐบาลให้ชนะ
 
แต่การที่เขาไม่ทำแบบนั้น แต่กลับเลือกทำแบบนี้ที่นี่ เป็นชุดเป็นแบบแผนอันเดิมอันเดียว ซ้ำรอยที่พันธมิตรฯทำเมื่อปี 2549 + 2551 และ "เชื่อมั่น" ว่ามีทางจะชนะ ล้มรัฐบาล/รัฐสภาและฉีกรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ จนยอมเอาตัวเองเข้าไปเสี่ยงติดคุกติดตะรางหรือกระทั่งเสี่ยงชีวิตนั้น สะท้อนว่าเขาเห็นและมันมีอะไรบางอย่างในโครงสร้างการเมืองการปกครอง "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ของเราที่เปิดช่องทางโอกาสให้พวกเขาคาดหวังอย่างนั้นได้
 
"โครงสร้างโอกาสทางการเมือง" (political opportunity structure) ภายในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขดังกล่าว ที่เปิดช่องให้ล้มรัฐบาล/รัฐสภาและฉีกรัฐธรรมนูญได้แบบที่พันธมิตรฯได้เคยทำและม็อบเทพเทือกกำลังพยายามทำ คืออะไร? อยู่ตรงไหน? จะปิดช่องทางดังกล่าวเพื่อผลักดันความขัดแย้งทางการเมืองให้กลับเข้าไปในกติการะบบระเบียบของระบอบประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งปกติได้อย่างไร?
 
น่าคิดนะครับ
 
อย่างไรก็ตาม มีคำเตือนของคาร์ล มาร์กซ เกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์ซ้ำรอยน่าฟัง สำหรับผู้กำลังคิดผลิตซ้ำ/ทำซ้ำประวัติศาสตร์ใหม่ได้ลองนำไปพินิจพิจารณาเป็นอนุสติดังภาพประกอบด้านล่างนี้

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม