Skip to main content

รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย!
 

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organisation - ILO) สังกัดสหประชาชาติเผยแพร่รายงาน Global Wage Report 2014/15 เมื่อเร็ว ๆ นี้ชี้ว่าการเติบโตของค่าจ้างที่แท้จริง (real wage growth) หลังหักอัตราเงินเฟ้อในประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้วเกือบจะไม่ขยับขึ้นเลย ขณะบรรดาประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาเป็นที่มาด้านหลักของการเติบโตของค่าจ้างในโลก การเติบโตของค่าจ้างในโลกยังต่ำกว่า 3% อันเป็นอัตราเติบโตของค่าจ้างในโลกก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยใหญ่ทั่วโลกในปี ค.ศ. 2008 ค่าจ้างเติบโตชะลอลงจนเกือบเป็น 0% ในบรรดาประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ค่าจ้างโตขึ้น 6% ในประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาเช่นจีนและประเทศอื่นในเอเชีย ค่าจ้างในยุโรปตะวันออกและเอเชียกลางก็เติบโตขึ้นเกือบจะเท่ากับ 6% เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ค่าจ้างในประเทศที่มั่งคั่งยังสูงกว่าค่าจ้างในประเทศยากจนประมาณ 3 เท่าตัว คนงานในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ค่าจ้างเฉลี่ย 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ/เดือน เทียบกับแค่ 1,000 ดอลล่าร์ฯ/เดือนสำหรับคนงานในประเทศกำลังพัฒนา

แซนดรา โพลาสกี้ รองผู้อำนวยการใหญ่ด้านนโยบายของ ILO  ระบุว่าค่าจ้างส่งผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำแตกต่างกันไปในประเทศที่มีเศรษฐกิจต่างกัน เธอกล่าวว่า:

รายงานแสดงให้เห็นว่าในหลายประเทศ ค่าจ้างเป็นแหล่งรายได้ใหญ่ที่สุดของครอบครัวที่มีสมาชิกอยู่ในวัยทำงานอย่างน้อยหนึ่งคน ในประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว ค่าจ้างคิดเป็นราว 60-80% ของรายได้ทั้งหมดของครอบครัวก่อนเสียภาษี ส่วนในประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และกำลังพัฒนา ค่าจ้างคิดเป็นราว 30-60% ของรายได้ทั้งหมดของครอบครัว”

ประเทศที่พัฒนาแล้วเหลื่อมล้ำกันยิ่งขึ้นเนื่องจากคนตกงานและความแตกต่างเหลื่อมล้ำอย่างยิ่งระหว่างผู้ได้ค่าจ้างอัตราสูงสุดกับต่ำสุด ความแตกต่างระหว่างผู้ได้ค่าจ้างอัตราสูงสุดกับต่ำสุดลดน้อยถอยลงในประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาบางประเทศ

ILO ชี้ว่าการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสามารถแสดงบทบาทอย่างเข้มแข็งในการจัดการปัญหาความยากจนและเหลื่อมล้ำได้ แซนดรา โพลาสกี้เห็นแย้งพวกนักวิจารณ์หัวอนุรักษนิยมที่คัดค้านนโยบายกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยอ้างว่าการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะทำให้การจ้างงานลดลง เธอกล่าวว่า:

หลักฐานแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำในระดับและขอบเขตที่เราได้พบเห็นกันมาในทางเป็นจริงนั้นไม่ว่าในสหรัฐฯหรือประเทศอื่น ๆ เอาเข้าจริงไม่ได้ส่งผลด้านลบต่อการจ้างงานดังว่าเลย ตรงกันข้าม นายจ้างต่างหาวิธีชดเชยได้ผ่านการเพิ่มผลิตภาพและปรับองค์การทำงานใหม่ ให้ดีขึ้น ฯลฯ”

ILO ยังชี้ว่าการบั่นทอนอำนาจการต่อรองรวมหมู่ของคนงานในหลายประเทศส่งผลกระทบเสียหายต่อค่าจ้าง ผลิตภาพของแรงงานยังคงเพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าการขึ้นค่าจ้างในบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่งผลให้คนงานและครอบครัวได้ดอกผลตอบแทนน้อยกว่าเจ้าของทุน

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ