Skip to main content

รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย!
 

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organisation - ILO) สังกัดสหประชาชาติเผยแพร่รายงาน Global Wage Report 2014/15 เมื่อเร็ว ๆ นี้ชี้ว่าการเติบโตของค่าจ้างที่แท้จริง (real wage growth) หลังหักอัตราเงินเฟ้อในประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้วเกือบจะไม่ขยับขึ้นเลย ขณะบรรดาประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาเป็นที่มาด้านหลักของการเติบโตของค่าจ้างในโลก การเติบโตของค่าจ้างในโลกยังต่ำกว่า 3% อันเป็นอัตราเติบโตของค่าจ้างในโลกก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยใหญ่ทั่วโลกในปี ค.ศ. 2008 ค่าจ้างเติบโตชะลอลงจนเกือบเป็น 0% ในบรรดาประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ค่าจ้างโตขึ้น 6% ในประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาเช่นจีนและประเทศอื่นในเอเชีย ค่าจ้างในยุโรปตะวันออกและเอเชียกลางก็เติบโตขึ้นเกือบจะเท่ากับ 6% เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ค่าจ้างในประเทศที่มั่งคั่งยังสูงกว่าค่าจ้างในประเทศยากจนประมาณ 3 เท่าตัว คนงานในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ค่าจ้างเฉลี่ย 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ/เดือน เทียบกับแค่ 1,000 ดอลล่าร์ฯ/เดือนสำหรับคนงานในประเทศกำลังพัฒนา

แซนดรา โพลาสกี้ รองผู้อำนวยการใหญ่ด้านนโยบายของ ILO  ระบุว่าค่าจ้างส่งผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำแตกต่างกันไปในประเทศที่มีเศรษฐกิจต่างกัน เธอกล่าวว่า:

รายงานแสดงให้เห็นว่าในหลายประเทศ ค่าจ้างเป็นแหล่งรายได้ใหญ่ที่สุดของครอบครัวที่มีสมาชิกอยู่ในวัยทำงานอย่างน้อยหนึ่งคน ในประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว ค่าจ้างคิดเป็นราว 60-80% ของรายได้ทั้งหมดของครอบครัวก่อนเสียภาษี ส่วนในประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และกำลังพัฒนา ค่าจ้างคิดเป็นราว 30-60% ของรายได้ทั้งหมดของครอบครัว”

ประเทศที่พัฒนาแล้วเหลื่อมล้ำกันยิ่งขึ้นเนื่องจากคนตกงานและความแตกต่างเหลื่อมล้ำอย่างยิ่งระหว่างผู้ได้ค่าจ้างอัตราสูงสุดกับต่ำสุด ความแตกต่างระหว่างผู้ได้ค่าจ้างอัตราสูงสุดกับต่ำสุดลดน้อยถอยลงในประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาบางประเทศ

ILO ชี้ว่าการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสามารถแสดงบทบาทอย่างเข้มแข็งในการจัดการปัญหาความยากจนและเหลื่อมล้ำได้ แซนดรา โพลาสกี้เห็นแย้งพวกนักวิจารณ์หัวอนุรักษนิยมที่คัดค้านนโยบายกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยอ้างว่าการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะทำให้การจ้างงานลดลง เธอกล่าวว่า:

หลักฐานแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำในระดับและขอบเขตที่เราได้พบเห็นกันมาในทางเป็นจริงนั้นไม่ว่าในสหรัฐฯหรือประเทศอื่น ๆ เอาเข้าจริงไม่ได้ส่งผลด้านลบต่อการจ้างงานดังว่าเลย ตรงกันข้าม นายจ้างต่างหาวิธีชดเชยได้ผ่านการเพิ่มผลิตภาพและปรับองค์การทำงานใหม่ ให้ดีขึ้น ฯลฯ”

ILO ยังชี้ว่าการบั่นทอนอำนาจการต่อรองรวมหมู่ของคนงานในหลายประเทศส่งผลกระทบเสียหายต่อค่าจ้าง ผลิตภาพของแรงงานยังคงเพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าการขึ้นค่าจ้างในบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่งผลให้คนงานและครอบครัวได้ดอกผลตอบแทนน้อยกว่าเจ้าของทุน

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
"ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่.."    
เกษียร เตชะพีระ
กระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ดังที่เป็นอยู่ จึงก่อผลสำคัญด้านความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดหนุนเกื้อกูล, พลังประชาธิปไตยบนฐานอำนาจเสียงข้างมากของคนที่ขาดด้อยโภคทรัพย์ต้องหาทางคะคานถ่วงดุลอำนาจทุนมหาศาลของคนมั่งมีโภคทรัพย์เสียงข้างน้อยไว้ มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็จะหมดความหมายในทางเป็นจริงไปในที่สุด
เกษียร เตชะพีระ
เฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้าในประเทศตลาดเกิดใหม่ จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา
เกษียร เตชะพีระ
ก้องกังวานสะท้านฟ้ามหาสมุทร ด้วยคลั่งแค้นแสนสุดประกาศกล้า เป็นแสนเสียงล้านเสียงมหาประชา สยบขวัญสั่นอุราเผด็จการ...
เกษียร เตชะพีระ
"ประชานิยม" "คนชั้นกลางนิยม" "คนรวยนิยม" "อำมาตย์นิยม" "ประชาธิปัตย์นิยม" "ม.๑๑๒ นิยม" "ราชบัณฑิตนิยม" "ยิ่งลักษณ์นิยม" "ทักษิณนิยม" "พันธมิตรนิยม" "นิติราษฎร์นิยม" "นิด้านิยม"