Skip to main content

รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย!
 

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organisation - ILO) สังกัดสหประชาชาติเผยแพร่รายงาน Global Wage Report 2014/15 เมื่อเร็ว ๆ นี้ชี้ว่าการเติบโตของค่าจ้างที่แท้จริง (real wage growth) หลังหักอัตราเงินเฟ้อในประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้วเกือบจะไม่ขยับขึ้นเลย ขณะบรรดาประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาเป็นที่มาด้านหลักของการเติบโตของค่าจ้างในโลก การเติบโตของค่าจ้างในโลกยังต่ำกว่า 3% อันเป็นอัตราเติบโตของค่าจ้างในโลกก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยใหญ่ทั่วโลกในปี ค.ศ. 2008 ค่าจ้างเติบโตชะลอลงจนเกือบเป็น 0% ในบรรดาประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ค่าจ้างโตขึ้น 6% ในประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาเช่นจีนและประเทศอื่นในเอเชีย ค่าจ้างในยุโรปตะวันออกและเอเชียกลางก็เติบโตขึ้นเกือบจะเท่ากับ 6% เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ค่าจ้างในประเทศที่มั่งคั่งยังสูงกว่าค่าจ้างในประเทศยากจนประมาณ 3 เท่าตัว คนงานในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ค่าจ้างเฉลี่ย 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ/เดือน เทียบกับแค่ 1,000 ดอลล่าร์ฯ/เดือนสำหรับคนงานในประเทศกำลังพัฒนา

แซนดรา โพลาสกี้ รองผู้อำนวยการใหญ่ด้านนโยบายของ ILO  ระบุว่าค่าจ้างส่งผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำแตกต่างกันไปในประเทศที่มีเศรษฐกิจต่างกัน เธอกล่าวว่า:

รายงานแสดงให้เห็นว่าในหลายประเทศ ค่าจ้างเป็นแหล่งรายได้ใหญ่ที่สุดของครอบครัวที่มีสมาชิกอยู่ในวัยทำงานอย่างน้อยหนึ่งคน ในประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว ค่าจ้างคิดเป็นราว 60-80% ของรายได้ทั้งหมดของครอบครัวก่อนเสียภาษี ส่วนในประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และกำลังพัฒนา ค่าจ้างคิดเป็นราว 30-60% ของรายได้ทั้งหมดของครอบครัว”

ประเทศที่พัฒนาแล้วเหลื่อมล้ำกันยิ่งขึ้นเนื่องจากคนตกงานและความแตกต่างเหลื่อมล้ำอย่างยิ่งระหว่างผู้ได้ค่าจ้างอัตราสูงสุดกับต่ำสุด ความแตกต่างระหว่างผู้ได้ค่าจ้างอัตราสูงสุดกับต่ำสุดลดน้อยถอยลงในประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาบางประเทศ

ILO ชี้ว่าการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสามารถแสดงบทบาทอย่างเข้มแข็งในการจัดการปัญหาความยากจนและเหลื่อมล้ำได้ แซนดรา โพลาสกี้เห็นแย้งพวกนักวิจารณ์หัวอนุรักษนิยมที่คัดค้านนโยบายกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยอ้างว่าการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะทำให้การจ้างงานลดลง เธอกล่าวว่า:

หลักฐานแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำในระดับและขอบเขตที่เราได้พบเห็นกันมาในทางเป็นจริงนั้นไม่ว่าในสหรัฐฯหรือประเทศอื่น ๆ เอาเข้าจริงไม่ได้ส่งผลด้านลบต่อการจ้างงานดังว่าเลย ตรงกันข้าม นายจ้างต่างหาวิธีชดเชยได้ผ่านการเพิ่มผลิตภาพและปรับองค์การทำงานใหม่ ให้ดีขึ้น ฯลฯ”

ILO ยังชี้ว่าการบั่นทอนอำนาจการต่อรองรวมหมู่ของคนงานในหลายประเทศส่งผลกระทบเสียหายต่อค่าจ้าง ผลิตภาพของแรงงานยังคงเพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าการขึ้นค่าจ้างในบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่งผลให้คนงานและครอบครัวได้ดอกผลตอบแทนน้อยกว่าเจ้าของทุน

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม