Skip to main content

ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ให้นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม คือเป็นส.ส.แบ่งเขต ๒๕๐ คน และส.ส.แบบสัดส่วน ๒๐๐ คนโดยให้มีเขตเลือกตั้งสำหรับ ส.ส. แบบสัดส่วนเป็น ๘ กลุ่มจังหวัดตามภูมิภาค, และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง นั้น

อุปมาอุปไมยได้ดั่ง “พายเรือในอ่างที่กำลังรั่ว” และสะท้อนวิกฤตจินตนาการทางการเมืองของตัวแทนชนชั้นนำอนุรักษ์นิยม/ปฏิกิริยาของไทย

สรุปก็คือไม่มีอะไรใหม่ ไม่ได้ไปเกินกว่าที่เคยพยายามทำมาแล้วตามรัฐธรรมนูญ คสช. พ.ศ. ๒๕๕๐ และระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบเมื่อสามสิบปีก่อน

เนื้อแท้ของข้อเสนอเหล่านี้คืออะไร? ผมคิดว่ามี ๓ ประการด้วยกัน กล่าวคือ

๑) ทำให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารอ่อนแอลง เพราะตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนี่แหละที่เป็นหัวหาดของการเข้ายึดและควบคุมอำนาจรัฐจากพลังที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเสียงข้างมาก

๒) ด้วยการทำให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตกเป็นตัวประกันทางอำนาจต่อรองกำกับควบคุมของบรรดาสถาบันและองค์การทางการเมืองที่ไม่ได้มาจากเสียงข้างมากทั้งหลาย (non-majoritarian institutions) หรือที่เรียกกันว่า “อำมาตย์”

๓) และบ่อนเบียนจำกัดโอกาสความเป็นไปได้ในการสร้างแกนนำทางการเมืองระดับชาติอันเป็นทางเลือกที่อาจมาจากพรรคการเมือง และต่างหากออกไปจากระบบราชการประจำ

หลัก ๆ แล้วเป้าหมายทั้งหมดมีแค่นี้ ซึ่งล้วนแต่พิสูจน์ตัวมันเองว่าล้มเหลวในการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองของสังคมไทยในระยะสิบปีที่ผ่านมาแล้วทั้งสิ้น และไม่ได้เป็นที่ยอมรับนับถือของกลุ่มพลังยุทธศาสตร์ใหม่ที่ปรากฎตัวขึ้น

ชะตากรรมเบื้องหน้าของร่างรัฐธรรมนูญฉบับ “พายเรือในอ่างที่กำลังรั่ว” จึงเป็นที่คาดเดาได้

อันที่จริง ผมไม่คิดว่าเป็นภาระของผมที่ควรจะมาถกเสนออะไรเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมีปัญหาความชอบธรรมแต่ต้น เพราะอำนาจปฐมสถาปนาในการร่างรัฐธรรมนูญ (pourvoir constituant originaire) ที่ชอบธรรมต้องมาจากประชาชนแหล่งเดียวเท่านั้น ไม่ใช่แหล่งอื่น อย่างไรก็ตาม ถ้าจะถามถึงเกณฑ์ประเมิน (benchmark) ของผมในการหาทางออกเรื่องกฎกติกาบ้านเมืองเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งในสังคมการเมืองไทยและปกป้องระบอบเสรีประชาธิปไตยไว้แล้ว ผมคิดว่ามีหลัก ๔ ประการคือ:

๑) ธำรงรักษาและขยายพื้นที่สิทธิเสรีภาพ

๒) ธำรงรักษาและขยายพื้นที่ประชาธิปไตย

๓) ไม่ดึงเอาสถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามาเกี่ยวพันกับความขัดแย้งทางการเมือง

๔) ไม่ดึงสถาบันกองทัพแห่งชาติเข้ามาแทรกแซงทางการเมือง

สรุปก็คือถือรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๕๔๐ เป็นหลักหมาย ไม่ถอยหลังไปกว่านั้นในแง่ต่าง ๆ ทั้ง ๔ ที่กล่าวมา แล้วหาทางปรับปรุงติดตั้งกลไกสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยทางตรงต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการฉวยใช้อำนาจเสียงข้างมากที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาไปในทางมิชอบ (เช่น ร่างพรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง) และปัญหาการเคลื่อนไหวอนาธิปไตยนอกระบบสถาบันการเมืองของเสียงข้างน้อย (เช่น กปปส.)

 

หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก ‘Kasian Tejapira’ 28 ธ.ค.2557

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ