Skip to main content

มีกระทรวงอะไรในกลุ่มประเทศอาเซียนบ้าง???


 

เราพูดคุยกันเป็นอย่างมากถึงการเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนในฐานะองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาค แต่ในขั้นตอนการนำนโยบายมาปฏิบัติในแต่ละประเทศนั้น หน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับกระทรวง มีบทบาทสำคัญและเป็นตัวแสดงหลักในการประสานงานดังกล่าว นอกจากนี้การพิจารณาโครงสร้างของแต่ละรัฐผ่านการมีอยู่ของกระทรวงต่างๆนั้น ทำให้เห็นว่าบรรดาชาติสมาชิกอาเซียนให้ความสำคัญกับเรื่องใดบ้าง จนนำมาสู่การจัดแบ่งองค์กรบริหารราชการแผ่นดิน บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์รัฐบาลกลางของแต่ละรัฐ นำมาสู่การจัดทำสังเขปหน่วยงานระดับกระทรวงของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้ข้อสรุปที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

 

มี 9 กระทรวงที่ทุกประเทศต้องมีคือ สำนักนายกรัฐมนตรี/สำนักประธานาธิบดี  สาธารณสุข กลาโหม การต่างประเทศ มหาดไทย การคลัง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พาณิชย์ และอุตสาหกรรม  แต่ที่พิเศษคือ (ข้อมูลเพิ่มเติมในตาราง 1)

  1. บางประเทศมีกระทรวงที่ดูแลกิจการภายในถึง 3 หน่วย เช่น กัมพูชา ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย กรุงพนมเปญ (เทียบเท่ากระทรวง) และกิจการรัฐสภาและตรวจสอบ  ในอินโดนีเซีย มีทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการเมือง กฏหมาย และกิจการความมั่นคง  รวมถึงมีหน่วยงานระดับกระทรวงว่าด้วยการปฏิรูประบบราชการ ในส่วนของเวียดนามนอกจากจะมีกระทรวงมหาดไทยแล้ว ยังมีกระทรวงกิจการสาธารณะซี่งดูแลระบบราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกด้วย 
  2. ด้านการเงินการคลัง นอกจากมีกระทรวงการคลังแล้ว ในลาวและกัมพูชา ยังยกธนาคารแห่งชาติให้เป็นหน่วยงานเทียบเท่ากระทรวง และในฟิลิปปินส์ มีกระทรวงงบประมาณและการจัดการ เพิ่มขึ้นด้วย 
  3. ในส่วนของกระทรวงด้านสารสนเทศและการสื่อสารนั้นมีในทุกประเทศ แต่ที่น่าสนใจกัมพูชาแยกภาระกิจดังกล่าวออกเป็น 3 กระทรวง คือ กระทรวงสารสนเทศ กระทรวงไปรษณีย์และการสื่อสาร และกระทรวงพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 
  4. ด้านพาณิชย์และอุตสาหกรรม ในหลายประเทศมีทั้งกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม แต่ในประเทศเช่น เวียดนาม สิงคโปร์ และฟิลิปินส์ ได้ควบรวมกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน ที่พิเศษที่สุดน่าจะเป็นในมาเลเซีย ที่มีการแยกเป็น กระทรวงการค้าภายใน สหกรณ์และการบริโภค  และ กระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม  ในขณะที่บรูไนงานด้านพาณิชย์ อยู่ภายใต้กระทรวงการต่างประเทศและการค้า  และงานด้านอุตสาหกรรม อยู่ในกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรพื้นฐาน 

 

ในส่วนกระทรวงด้านทรัพยากร การเกษตร สิ่งแวดล้อมและวิทยาศาสตร์ มีความน่าสนใจ ดังในตารางที่ 2 คือ 

  1. มีเพียงบรูไนที่ไม่มีกระทรวงด้านทรัพยากรทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมโดยตรง ในกัมพูชามีกระทรวงทรัพยากรน้ำและอุตุนิยมวิทยาเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับอินโดนีเซียที่มีกระทรวงกิจการทางทะเลและการประมงขึ้นมาเพิ่มเติม 
  2. กระทรวงพลังงานมีแค่ในไทย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย  ทั้งนี้ในส่วนของมาเลเซียกระทรวงดังกล่าวมีชื่อว่า  กระทรวงพลังงาน เทคโนโลยีสีเขียวและน้ำ สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของพลังงานทดแทน 
  3. ด้านการเกษตร สหกรณ์ และป่าไม้ เกือบทุกประเทศยกเว้นสิงคโปร์และบรูไน มีกระทรวงในลักษณะดังกล่าว แต่ในพม่ามีกระทรวงด้านนี้ถึง 3 หน่วยงานคือ กระทรวงการเกษตรและชลประทาน กระทรวงการเพาะปลูกโภคภัณฑ์ และกระทรวงการปศุสัตว์ การประมงและการพัฒนาชนบท  ในขณะที่ฟิลิปปินส์นอกจากจะมีกระทรวงการเกษตรแล้ว ยังมีกระทรวงปฏิรูปกสิกรเพิ่มเติม ทั้งนี้ในพม่าและในอินโดนีเซีย มีกระทรวงสหกรณ์ และ กิจการ SMEs เพิ่มขึ้นมาด้วย 
  4. ในขณะที่การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีเพียง 5 ประเทศ ที่มีกระทรวงดูแลโดยเฉพาะคือ ไทย เวียดนาม ลาว มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ 

 

กระทรวงด้านการศึกษา วัฒนธรรม การกีฬา และเยาวชนในกลุ่มประเทศอาเซียน นั้นพบว่า (ข้อมูลเพิ่มเติมในตาราง 2)

  1. กระทรวงด้านการศึกษามีในทุกประเทศ แต่ในบางประเทศ เช่นลาวและกัมพูชา จะควบรวมงานด้านการกีฬาเข้ามาร่วมด้วย ที่น่าสนใจคือในอินโดนีเซียงานด้านการศึกษาและวัฒนธรรม อยู่ในกระทรวงเดียวกัน อนี่งมีเพียง 3 ประเทศคือ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่มีการตั้งกระทรวงการอุดมศึกษาแยกออกมาจากกระทรวงศึกษาธิการเพื่อจัดการศึกษาขั้นสูงโดยเฉพาะ 
  2. งานด้านการกีฬาและเยาวชน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน ควบรวมกิจการดังกล่าวไว้ในกระทรวงเดียวกัน 
  3. ในงานด้านวัฒนธรรม มีเพียงฟิลิปปินส์ที่ไม่มีหน่วยงานเทียบเท่ากระทรวงวัฒนธรรม ในขณะที่ประเทศอื่นๆในอาเซียน มีกระทรวงดังกล่าว แต่ที่น่าสนใจคือ ในประเทศกัมพูชา เมียนมาร์ อินโดนีเซีย และบรูไน นอกจากจะมีกระทรวงวัฒนธรรมแล้ว ยังมีการตั้งกระทรวงกิจการศาสนาขึ้นมาเพิ่มเติมด้วย
  4. งานด้านการท่องเที่ยวนั้น สิงคโปร์ ลาว และบรูไน ไม่มีกระทรวงโดยเฉพาะในงานดังกล่าว สำหรับประเทศอาเซียนที่เหลือคือ ประเทศไทยจัดตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  ในขณะที่มาเลเซียมีกระทรวงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม แต่เมียนมาร์กลับมีกระทรวงการท่องเที่ยวและโรงแรม ซี่งน่าจะเป็นเพียงประเทศเดียวในอาเซียนที่ผลักดันงานด้านโรงแรมขึ้นในระดับกระทรวง 

 

ในกลุ่มกระทรวงด้านทรัพยากรมนุษย์ สังคม และกฏหมาย นั้น มีความน่าสนใจคือ  (ข้อมูลเพิ่มเติมในตาราง 3)

  1. มีเพียงกัมพูชา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่มีกระทรวงด้านกิจการสตรี ที่เน้นบทบาทด้านการปกป้องสตรี เยาวชนและสถาบันครอบครัว ส่วนในสิงคโปร์มีกระทรวงที่ว่าด้วยการส่งเสริมสถาบันครอบครัว 
  2. ด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นั้น กิจการด้านดังกล่าวไม่ปรากฏชัดในฐานะกระทรวงในประเทศเวียดนาม ลาวและบรูไน ในกัมพูชาเรียกเป็นกระทรวงกิจการสังคม แรงงาน อาชีวศึกษาและฟื้นฟูเยาวชน ในเมียนมาร์มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2 หน่วยงานเป็นอย่างต่ำ คือ กระทรวงสวัสดิการสังคม เยียวยา และการตั้งถิ่นฐานใหม่  และ กระทรวงการย้ายถิ่นและประชากร ที่น่าสนใจคือในเวียดนามและในเมียนมาร์เป็นสองประเทศที่มีกระทรวงกิจการชาติพันธุ์เพื่อจัดการกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธ์ในสังคมโดยเฉพาะ
  3. ด้านแรงงานนั้น มีเพียงในเมียนมาร์และบรูไนที่ไม่ปรากฏหน่วยงานในฐานะกระทรวง ในสิงคโปร์และอินโดนีเซียเรียกว่ากระทรวงกำลังคน (Manpower) ในมาเลเซียแบ่งออกเป็นถึงสองกระทรวง คือกระทรวงการงาน และ กระทรวงทรัพยากรมนุษย์ ที่น่าสนใจคือในเวียดนามมีการควบรวมภาระกิจมากขึ้น โดยจัดตั้งเป็นกระทรวงแรงงาน ทหารผ่านศึก และสวัสดิการสังคม 
  4. ด้านกิจการยุติธรรมและกฏหมายนั้น มีเพียงในไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา สิงคโปร์ และอินโดนีเซียเท่านั้น โดยที่ในอินโดนีเซียมีการจัดตั้งเป็นกระทรวงกฏหมายและสิทธิมนุษยชนด้วย  อนี่งบรูไนพี่งยกเลิกกระทรวงดังกล่าวไปเมื่อปี 2015 และควบรวมกับศาลทางศาสนาอิสลามแทน

 

สำหรับกระทรวงด้านโครงสร้างขั้นพื้นฐาน นโยบายและแผนการพัฒนา นั้นมีรายละเอียดที่สำคัญดังต่อไปนี้ (ข้อมูลเพิ่มเติมในตาราง 3)

  1. กระทรวงการคมนาคมมีในทุกประเทศ ยกเว้นในบรูไนที่อยู่ภายใต้กระทรวงการสื่อสาร  สำหรับในลาวและกัมพูขา นอกจากกระทรวงคมนาคมแล้ว ยังยกระดับกิจการบินแห่งชาติขึ้นเป็นหน่วยงานเทียบเท่ากระทรวง ในฟิลิปปินส์อยู่ในกระทรวงที่ชื่อว่า กระทรวงกิจการสาธารณะและทางหลวง 
  2. ด้านกิจการสาธารณะ มีหน่วยงานในระดับกระทรวงในประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย แต่เป็นที่น่าสนใจว่าในมาเลเซียจัดตั้งเป็นกระทรวงเมือง คุณภาพชีวิต เคหะชุมชน และการปกครองส่วนท้องถิ่น สำหรับในอินโดนีเซีย นอกจากจะมีกระทรวงกิจการสาธารณะและเคหะชุมชนแล้ว ยังมีกระทรวงรัฐวิสาหกิจโดยตรงรับผิดชอบหน่วยงานของรัฐที่ทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะอีกด้วย 
  3. ด้านการก่อสร้างและการจัดการผังเมืองนั้น ในประเทศเวียดนาม และเมียนมาร์ มีกระทรวงการก่อสร้างโดยเฉพาะ ส่วนกัมพูชามีกระทรวงว่าด้วยการจัดการที่ดิน เมือง และการก่อสร้าง ด้านอินโดนีเซียมีกระทรวงการวางแผนที่ดินและใช้ประโยชน์จากพื้นที่
  4. ด้านนโยบายและแผนการพัฒนานั้น มีเพียงไทยและฟิลิปปินส์ ไม่มีหน่วยงานระดับกระทรวงในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ในกัมพูชามีทั้งกระทรวงแผนและกระทรวงพัฒนาชนบท ในลาวมีคณะกรรมการจัดการการลงทุนจากต่างชาติ ในขณะที่เมียนมาร์และอินโดนีเซีย นอกจากจะมีกระทรวงแผนและการพัฒนาแล้ว ยังมีคณะกรรมาธิการพัฒนาพื้นที่ชายแดนและพื้นที่ชนเผ่า (เมียนมาร์) และ กระทรวงหมู่บ้าน ภูมิภาคล้าหลัง และการโยกย้ายถิ่นฐาน (อินโดนีเซีย) อีกด้วย 

 

จากข้อมูลข้างต้น นอกจากจะได้เห็นรูปแบบการบริหารราชการแผ่นดินของแต่ละประเทศแล้ว ยังช่วยให้เกิดความเข้าใจในโครงสร้างรัฐบาลของแต่ละรัฐ เพื่อให้เกิดการประสานงานระหว่างกันอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ยังได้เห็นสิ่งที่แต่ละประเทศอาเซียนให้ความสำคัญในระดับกระทรวงและสิ่งที่ขาดไปในแต่ละรัฐ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ซี่งความเข้าใจดังกล่าว จำเป็นอย่างยิ่งเมื่อเราจะกลายเป็นประชาคมเดียวกันในอนาคตอันใกล้

 

 

ปิยณัฐ สร้อยคำ นักศึกษาปริญญาเอก
สำนักวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ University of St Andrews

บล็อกของ ปิยณัฐ สร้อยคำ

ปิยณัฐ สร้อยคำ
กระแสการแยกตัวเป็นเอกราชของสกอตแลนด์ออกจากสหราชอาณาจักร (United Kingdom) ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด การเรียกร้องดังกล่าวมีมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง จนนำไปสู่การลงประชามติในปี 2014 แม้ผลจะออกมาว่า ประชาชนร้อยละ 55 ยังคงเลือกที่จะอยู่รวมกับสหราชอาณาจักรต่อไป  แต่ที่เหลือกว่าร้อยละ 45 นั้นต้องก
ปิยณัฐ สร้อยคำ
ผมไม่ใช่คอการเมืองอเมริกา แต่ก็พอรู้ว่าประธานาธิบดีของประเทศนี้ชื่อบารัก โอบามา และแม้ผมไม่ได้ติดตามการเลือกตั้งอเมริกาอย่างใกล้ชิด แต่ก็พอรู้ว่าวาระ 2 สมัย ใน 8 ปีข
ปิยณัฐ สร้อยคำ
ดาลิต หรือ จัณฑาลนั้น มิได้ถูกทำให้หยุดนิ่งในฐานะกลุ่มชนที่ถูกกดขี่ทางสังคมและไร้ซี่งพัฒนาการแต่เพียงภาพเดียวเท่านั้น แต่ภายใต้การคุ้มครองโดยรัฐ การยกระดับคุณภาพชีวิต และการเคลื่อนไหวเพื่อให้ได้สิทธิ์ของตนเอง ทำให้ดาลิตค่อยๆก้าวข้ามโชคชะตาที่ถูกเขียนไว้โดยบรรทัดฐานของสังคมผ่านการสร้างอัตลักษณ์และการตระหนักรู้ร่วม ฉะนั้นอนาคตของดาลิตย่อมเปลี่ยนแปลงและมีพลวัตที่น่าติดตามศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพื่ออย่างน้อยที่สุด กลุ่มคนที่ได้รับการกดขี่และละเมิดในสังคมต่างๆ รวมถึงประเทศไทย จะได้มีแรงเคลื่อนไหวเพื่อรักษาสิทธิ์ในความเป็นมนุษย์ของตนเอง
ปิยณัฐ สร้อยคำ
เราพูดคุยกันเป็นอย่างมากถึงการเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนในฐานะองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาค แต่ในขั้นตอนการนำนโยบายมาปฏิบัติในแต่ละประเทศนั้น หน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับกระทรวง มีบทบาทสำคัญและเป็นตัวแสดงหลักในการประสานงานดังกล่าว นอกจากนี้การพิจารณาโครงสร้างของแต่ละรัฐผ่านการมีอยู่ของกระทรวงต่างๆนั้น ทำให้เห็นว่าบรรดาชาติสมาชิกอาเซียนให้ความสำคัญกับเรื่องใดบ้าง จนนำมาสู่การจัดแบ่งองค์กรบริหารราชการแผ่นดิน บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์รัฐบาลกลางของแต่ละรัฐ นำมาสู่การจัดทำสังเขปหน่วยงานระดับกระทรวงของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้ข้อสรุปที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
ปิยณัฐ สร้อยคำ
ผมไม่ค่อยแน่ใจเท่าใดนัก แต่ที่ผมทราบคือเมื่อผมเข้าไปเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของอินเดีย ผมแทบจะไม่เห็นพิธีกรรมการรั
ปิยณัฐ สร้อยคำ
เรื่องราวของการอพยพ การพลัดถิ่น มิใช่เรื่องใหม่และไม่ได้เกิดขึ้นในระดับโลก หรือภูมิภาคเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นประเด็