Skip to main content

องค์ บรรจุน

 

การสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และเกิดการตอบสนอง นับแต่โบราณกาลมีตั้งแต่การสุมไฟให้เกิดควัน นกพิราบสื่อสาร ปัจจุบันการสื่อสารมีหลายวิธีรวดเร็วทันใจมากขึ้น อาจเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม ระบบโทรคมนาคม หรือการสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว ที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต ก็ได้ ส่วนภาษาที่มาพร้อมกับวิธีการสื่อสารเหล่านั้น เป็นเครื่องมือที่สำคัญซึ่งมีพัฒนาการไม่หยุดนิ่ง มีการหยิบยืมคำในภาษาอื่น เปลี่ยนรูปแบบและความหมายตลอดเวลา เกิดจากการที่มนุษย์ต้องการใช้ภาษาสนองตอบรูปแบบชีวิตปัจจุบันของตน ภาษาจึงเป็นภาพสะท้อนการใช้ชีวิตของมนุษย์ในขณะนั้น


สื่อการเขียนในรูปตัวหนังสือ เป็นการสื่อเพื่อแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการของผู้ส่งสารออกไปเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านเข้าใจ ได้รับทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการเหล่านั้น การถ่ายทอดโดยวิธีบอกเล่าปากต่อปาก หรือที่เรียกว่า "มุขปาฐะ" อาจทำให้สารตกหล่นคลาดเคลื่อนได้ง่าย ลายลักษณ์อักษร ตัวหนังสือ หรือสื่อแสดงข้อความหรือสารที่แท้จริง คือเครื่องหมายที่ใช้แทนคำพูดนั่นเอง ในการสื่อสารด้วยสื่ออย่างที่เป็นทางการมีแบบแผนที่ต้องคำนึงถึงคือ ต้องใช้ถ้อยคำสำนวนสุภาพ ชัดเจน รัดกุม และเหมาะสม โดยพิจารณาว่าผู้รับสารสามารถรับสารที่ส่งมาได้มากน้อยเพียงใด ส่วนการสื่อสารด้วยสื่ออย่างไม่เป็นทางการ ในที่นี้จะเรียกว่า “สื่อชาวบ้าน” ที่ไม่ต้องคำนึงถึงถ้อยคำสำนวนที่สุภาพตามหลักการภาษาแบบราชบัณฑิตมากนัก มุ่งเน้นให้ผู้รับสารเข้าใจเจตนาที่แท้จริงอย่างตรงไปตรงมา อันเป็นที่มาของถ้อยคำระคายหูที่ไม่อาจพบได้ใน “สื่อสาธารณะ”


กู-มึง ภาษาในราชสำนักสุโขทัย ปัจจุบันจัดเป็นคำหยาบ ถูกปฏิเสธการมีอยู่และการใช้งานในชีวิตจริง


ด้วยวิธีคิดคล้ายๆ กันนี้ ชาววังจึงคิดชื่อเรียกปลาช่อนเสียใหม่ว่า ปลาหาง เรียกผักบุ้งว่า ผักทอดยอด เรียกปลาสลิดว่า ปลาใบไม้ จนมีคำค่อนขึ้นว่า “ชาววังมันช่างคิด เรียกดอกสลิดว่าดอกขจร ชาวนอกมันยอกย้อน เรียกดอกขจรว่าดอกสลิด” เมื่อคนใหญ่คนโตของบ้านของเมืองเห็นว่าชื่อศัพท์สำเนียงสิ่งใดแปร่งหูตนก็จัดแจงเปลี่ยนเสียโดยไม่คำนึงถึงความหมายและที่มา เช่น เปลี่ยนชื่อประเทศสยาม เป็นประเทศไทย เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ยายมอญเป็น วัดอมรทายิการาม เปลี่ยนชื่อบางเหี้ยเป็น คลองด่าน เปลี่ยนชื่อบ้านซำหัวคน เป็นบ้านทรัพย์มงคล ล่าสุดมีนักการเมืองบ้องตื้นเสนอให้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้าน “ภูมิซรอล” ที่กำลังมีปัญหาลุกลามเรื่องเขาพระวิหาร เหตุเพราะบ่งบอกความเป็นเขมร และถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว ต่อไปพสกนิกรชาวไทยจะกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วยภาษาอะไร หากรังเกียจที่จะใช้ภาษาเขมร...?


นักภาษาไทยเรียกร้องให้คนไทยรักษ์ภาษาไทย “อย่าพูดไทยคำอังกฤษคำ” แต่สามารถพูดไทยคำสันสกฤษคำ ไทยคำบาลีคำ ไทยคำจีนคำ ไทยคำอินโดนีเซียคำ ไทยคำมอญคำ ไทยคำเขมรคำ เพราะคำเหล่านี้ไทยเรา “ยึด” เขามานานจนเป็นภาษาไทยแล้ว (เวลาไปเจอคนลาวพูดคำที่คนไทยเรียกว่าภาษาสุภาพในตลาดสดคนไทยจึงขบขัน ไม่รู้ว่าขันชาวลาว หรือขันคนที่เอาภาษาลาวบ้านๆ มาเป็นคำสุภาพกันแน่)


ภาษาหนังสือราชการที่สละสลวย กระชับ กินความ ทว่าวกไปวนมาตีความไม่ออก ชาวบ้านเซ็นชื่อไปทั้งไม่เข้าใจ มารู้ตัวอีกทีก็ถูกยึดบ้านยึดนาหนี้สินท่วมหัว หากเป็นเช่นนั้นเราลองพิจารณา “ภาษาชาวบ้าน” สื่อที่เหมาะกับชาวบ้าน มีความตรงไปตรงมา ชัดเจนได้ใจความ เพียงแต่อาจบาดใจคนที่อ่อนไหวบอบบางด้วยถ้อยคำทิ่มแทง ขอย้ำว่า เป็นสื่อชาวบ้านถึงชาวบ้านเท่านั้น มิใช่คนเมืองที่ใช้สื่อชาวบ้านอย่างขาดความเข้าใจ

 


ร้านอาหารแนวสุขภาพย่านบางลำพู อยู่ตรงป้ายรถเมล์พอดี ช่องประตูมีกรุ่นแอร์เย็นๆ โชยออกมาตลอดเวลา จึงต้องเขียนสื่ออย่างสุภาพว่า “ขอความกรุณาอย่ายืนขวางทางเข้า”

 


ร้านบะหมี่หมูแดงย่านเทเวศน์ คงชอบใจ
เฉพาะลูกค้าที่มานั่งกินในร้าน คนซื้อกลับบ้านที่มานั่งรอในร้านทำลายโอกาสทางการค้า “ซื้อกลับบ้านกรุณารอหน้าร้าน” ต่อด้วย “ขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ”



ร้านเครื่องปั้นดินเผาย่านเตาปูนบอกว่า “ของทุกอย่างห้ามต่อ ขายถูกแล้ว”

 


แผงผลไม้ตรงข้ามตลาดสดเทเวศน์ คงเหลือทนกับพวกชิมแล้วไม่ซื้อ หรือซื้อครึ่งโลแต่ชิมเกือบโล
“เงาะ มังคุด ลำใย ห้ามชิม งดชิม” ตบท้ายด้วยข้อความ “โปรดอ่าน”

 


วัดธรรมาภิรตารามย่านบางซื่อ คงจะทำนอง “โดนมาเย๊อะ เจ็บมาเย๊อะ” เลยต้องมีสื่อเพื่อเตือนสติญาติโยม “เศรษฐกิจก็ไม่ดี ระวังคนร้าย คนชั่ว คนมิจฉาชีพต้ม
-ตุ๋น หลอกลวงมาหลายรูปแบบ
ระวัง อย่าเผลอฯ”

 


ที่โรงพยาบาลศิริราช คาดว่าลูกค้าและปวงชนชาวไทยที่ไปร่วมลงนามถวายพระพรคงมีจำนวนมาก สื่อที่แขวนไว้ในห้องน้ำจึงต้องบอกว่า “คนขี้อย่าใจลอย คนคอยใจจะขาด”

 


ทางเท้าย่านปิ่นเกล้า ออกแนวประชดประชัน “ต้นไม้นะ ไม่ใช่ถังขยะ” แต่จะได้ผลหรือเปล่าดูได้จากภาพ

 


ภาพสุดท้ายหน้าตลาดบางลำพู อาศัยกระแสโลกร้อน ประกอบกับตัวเองก็ร้อน บรรดาแม่ค้าเลยช่วยกันเขียนป้ายตั้งไว้ “ดับเครื่องด้วยช่วยโลกร้อน”

 

ในอีกแง่มุมหนึ่ง ความหมายของสื่อที่ปรากฏอย่างตรงไปตรงมาในรูปของ “สื่อชาวบ้าน” นั้นอาจเกิดจากความเหลืออดเหลือทน เข้าทำนองว่า “พูดภาษาคนไม่รู้เรื่อง” นัยว่าก่อนหน้านี้ก็ได้ใช้ความพยายามอย่างอื่น จนเมื่อต้องขึ้นป้ายอาจเริ่มจากภาษาสละสลวยแล้ว แต่คนทั่วไปมักไม่สนใจอ่าน หรืออ่านแต่ไม่ให้ความสำคัญ เช่น ป้ายข้างทางก่อนหน้านั้นอาจเขียนว่า “กรุณาอย่าทิ้งขยะลงในกระถางต้นไม้ ขอบคุณค่ะ” แต่ก็ยังมีคนทิ้งอยู่เรื่อยๆ เจ้าของก็เลยจำเป็นต้องเปลี่ยนข้อความบนป้ายใหม่เป็น “ต้นไม้นะ ไม่ใช่ถังขยะ” ในบางแห่งที่เคยเห็นยังมีการวงเล็บต่อไว้ด้วยว่า “ภาษาคน” เพราะต้องการประชดประชันคนที่ไม่มีระเบียบวินัย ไม่มีความรับผิดชอบ แต่ที่สุดแล้วในหลายครั้งหลายหน การประชดประชัดนั้นก็ไม่ได้ผล รังแต่จะถูกประชดกลับซึ่งหนักกว่าเดิม นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าทุกวันนี้อุณหภูมิในความคิดของคนไทยสูงขึ้นทุกที ทุกวันนี้คนเราสื่อสารผ่านดวงตาและดวงใจน้อยลงกันแล้วหรืออย่างไร

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
การบริภาษผู้ที่มาทำให้เราไม่พอใจนั้นมีอยู่ด้วยกันทุกชนชาติ หากแต่ถ้อยคำที่ก่นด่ากันนั้นมีนัยยะสำคัญอย่างไร เหตุใดคนที่เลือกสรรถ้อยคำนั้นขึ้นมาจึงคิดว่าจะเป็นคำที่เจ็บแสบ สามารถระบายอารมณ์พลุ่งพล่านนั้นลงได้ ว่าแต่ว่า คำที่คนชาติหนึ่งด่ากันแล้วนำเอาไปด่าใส่คนอีกชาติหนึ่งมันจะเจ็บแสบอย่างเดียวกันหรือไม่ หรือคนด่าจะเป็นฝ่ายเจ็บเสียเอง
องค์ บรรจุน
บางท่านอาจเคยรู้มาบ้างแล้วว่า นายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซียมีเลือดเนื้อเชื้อไขไทยสยาม แต่บรรดาคนเกือบทั้งหมดในจำนวนนี้อาจจะยังไม่รู้ว่า เชื้อสายไทยสยามของท่านนั้นแท้จริงแล้วคือ มอญ ด้วยสายเลือดข้างมารดานั้นคือ คุณหญิงเนื่อง (คุณหญิงฤทธิสงครามรามภักดี) หลานลุงของหลวงรามัญนนทเขตคดี อดีตนายอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีคนแรก ต้นสกุล นนทนาคร
องค์ บรรจุน
แม้พุทธศาสนาจะมีต้นกำเนิดมาจากชมพูทวีป แต่ชนชาติต่างๆ ได้มีการแลกรับปรับใช้ในแบบของตนเอง เกิดลัทธินิกายผิดแผกแตกต่างกันไป สำหรับพุทธศาสนาในเมืองไทยนั้นเป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิเถรวาทของมอญ ซึ่งเลื่องชื่อเรื่องความเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติของสงฆ์และความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแน่นแฟ้นของพุทธศาสนิกชนมอญ ข้อหนึ่งที่จะกล่าวถึงต่อจากนี้คือ พุทธประวัติตอนที่พระนางพิมพาสยายผมลงเช็ดพระบาทองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธประวัติตอนนี้มีกล่าวถึงเฉพาะในส่วนของมอญเท่านั้น นอกจากนี้ชาวมอญยังได้นำมาใช้ในชีวิตจริงกับกษัตริย์และราชวงศ์อีกด้วย…
องค์ บรรจุน
ตลาดน้ำเกิดใหม่ใกล้กรุงเทพฯ ใช้เวลาเดินทางเพียงชั่วอึดใจ ท่ามกลางธรรมชาติที่ยังบริสุทธิ์ ผู้คนให้การต้อนรับแบบน้ำใสใจจริง และเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์รายรอบที่น่าสนใจ แม้จะเป็นตลาดน้ำเกิดใหม่เมื่อไม่นานแต่ก็ไม่มีการเสริมแต่งอย่างฝืนธรรมชาติ ซ้ำยังโดดเด่นด้วยของกินของใช้และของฝากหลากหลายโดยพ่อค้าแม่ขายคนในท้องถิ่น เปิดขายทุกวันเสาร์อาทิตย์ ตั้งแต่เช้าตรู่เรื่อยไปจนแดดร่มลมตก จากนั้นตลาดก็จะวายไปเองตามวิถีทางของมัน  
องค์ บรรจุน
ป้าขจี (สงวนนามสกุล) เป็นคนที่เคยใช้ชีวิตอยู่ในหลายวัฒนธรรม คลุกคลีกับผู้คนตั้งแต่เหนือสุดจนเกือบใต้สุดแดนสยาม อีกทั้งยังมีการผสมผสานหลายชาติพันธุ์ในตัวของป้า กับวัยที่ผ่านสุขทุกข์มาแล้วกว่า ๗๖ ปี จิตใจที่โน้มเอียงเลือกจะอยู่ข้างวัฒนธรรมแบบใดหรือยอมรับการผสมผสานของสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตมากน้อยเพียงใดนั้น คงเกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่หล่อหลอมป้าขจีมาตั้งแต่วัยเด็ก
องค์ บรรจุน
ไม่รู้ว่าทำไมนักวิชาการที่ชอบใช้ทฤษฎีเมืองนอกเมืองนา ประเภทท่องจำขี้ปากฝรั่งมาพูด (สังเกตดูจากบทความวิชาการที่มักมีวงเล็บภาษาอังกฤษ มีเชิงอรรถในแต่ละหน้าเกือบครึ่งหน้ากระดาษ ฉันไม่ได้รังเกียจหลักการวิชาการของต่างชาติที่มีมาก่อนเรา เพียงแต่สงสัยว่า ตรงไหนกันหนอคือความคิดสร้างสรรค์ที่มาจากสมองของคนเขียน...?) ชอบเอาทฤษฎีมาทดสอบพฤติกรรมเอากับคนเล็กคนน้อย คนที่ไม่ค่อยมีปากมีเสียงในสังคม โดยมักมีคำถามและ “คำพิพากษา” ต่อคนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เมื่อพบเจอคนชาติพันธุ์นุ่งห่มชุดประจำชาติของเขาในกิจกรรมสำคัญ ก็ล้วนมีคำพูดถากถางเสียดสี และพูดคุยกันในกลุ่มของตัวเองแบบเห็นเป็นเรื่องขำ
องค์ บรรจุน
ถึงทุกวันนี้คนส่วนใหญ่คงรู้กันแล้วว่า พม่าย้ายเมืองหลวงจาก ร่างกุ้ง (Rangoon) ไปยังเมืองเนปิดอว์ (Naypyitaw หรือ Naypyidaw) หลายคนอาจไม่รู้ว่าทำไม เหตุผลที่คาดเดากันไปก็มีหลายอย่าง ทั้งความเชื่อถือของนายพลตานฉ่วยตามคำทำนายของโหรส่วนตัว ภัยคุกคามจากอเมริกา หรือข่าวล่าสุดเรื่องการสะสมอาวุธ สร้างอุโมงค์ใต้ดินซึ่งได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเกาหลีเหนือเมื่อไม่นาน เพื่อลำเลียงพลและสรรพาวุธป้องกันตนเองและควบคุมชนกลุ่มน้อยต่างๆ
องค์ บรรจุน
เม้ยเผื่อน เล่าว่า ตนเองเกิดที่ย่านวัดน่วมกานนท์ ตำบลชัยมงคล อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับบ้านปากบ่อและอยู่ภายในตำบลเดียวกันและเป็นหมู่บ้านของสามีและเครือญาติทางสามี
องค์ บรรจุน
  ผมไม่ได้คิดฝันว่าจะเป็นนักวิชาการมาแต่ต้น สู้เรียนเพิ่มจากระดับปริญญาตรีในศาสตร์คนละแขนงต่างขั้ว แค่หวังเพียงจะได้รับฟังและพูดคุยอธิบายความกับนักวิชาการทั้งหลายให้รู้เรื่องบ้างเท่านั้น
องค์ บรรจุน
ผมเป็นคนมหาชัย แม้ว่ามหาชัยเป็นเพียงแค่ชื่อตำบลหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร แต่คนทั่วไปกลับรู้จักคุ้นเคยมากกว่าชื่อจังหวัด เช่นเดียวกับ แม่กลอง ซึ่งเปรียบเหมือนชื่อเล่นที่คนเคยปากมากกว่าชื่อสมุทรสงคราม ทั้งที่เป็นเพียงชื่อตำบลเล็กๆ เท่านั้น ทั้งสองจังหวัดนี้อยู่ชายทะเลอ่าวไทย สมุทรสาครมีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน ไปออกอ่าวไทยที่บ้านท่าจีน ไม่ต่างจากสมุทรสงครามที่มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน ไปออกอ่าวไทยที่บ้านแม่กลอง
องค์ บรรจุน
มอญ เป็นชนชาติเก่าแก่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยมีรัฐเอกราชปกครองตนเองอยู่ตอนใต้ของประเทศพม่า ปัจจุบันอยู่ในฐานะชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า ขณะที่มอญส่วนหนึ่งได้อพยพเข้ามายังดินแดนไทย และมีฐานะเป็นชนกลุ่มน้อยเช่นเดียวกัน ชนชาติมอญ มีประวัติศาสตร์และอารยธรรมสืบเนื่องมายาวนาน แม้ปัจจุบันจะไม่มีรัฐปกครองตนเอง แต่วัฒนธรรมมอญทางด้านศาสนา ภาษา วรรณคดี สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ความเชื่อและประเพณีพิธีกรรมของชนชาติในภูมิภาคนี้ ล้วนได้รับอิทธิพลจากมอญ
องค์ บรรจุน
ราชาธิราช คือ วรรณคดีไทยที่แปลมาจากพงศาวดารมอญ โดยมีการแต่งเติมรายละเอียดบางอย่าง จึงไม่ใช่ประวัติศาสตร์หรือพงศาวดารมอญ แม้คนมอญจำนวนมากเชื่อว่า “ราชาธิราช” เป็นพงศาวดารชาติมอญก็ตาม เพราะได้รับอิทธิพลจากการที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) และคณะ แปลขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ นำมาสู่การจัดพิมพ์จำหน่ายโดยหมอบรัดเลย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ และอีกหลายสำนักพิมพ์มากกว่า ๒๒ ครั้ง ไม่นับแบบเรียน การแสดงลิเก ละครพันทาง ละครเวที และละครโทรทัศน์