Skip to main content

บางท่านอาจเคยรู้มาบ้างแล้วว่า นายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซียมีเลือดเนื้อเชื้อไขไทยสยาม แต่บรรดาคนเกือบทั้งหมดในจำนวนนี้อาจจะยังไม่รู้ว่า เชื้อสายไทยสยามของท่านนั้นแท้จริงแล้วคือ มอญ ด้วยสายเลือดข้างมารดานั้นคือ คุณหญิงเนื่อง (คุณหญิงฤทธิสงครามรามภักดี) หลานลุงของหลวงรามัญนนทเขตคดี อดีตนายอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีคนแรก ต้นสกุล นนทนาคร

มาเลเซียแบ่งการปกครองออกเป็น ๙ รัฐ แต่ละรัฐมีเมืองหลวงเป็นศูนย์กลางการปกครอง เช่น รัฐยะโฮร์ (เมืองหลวง คือ ยะโฮร์บาห์รู) รัฐกลันตัน (เมืองหลวง คือ โกตาบารู) นอกจากนี้ มาเลเซียยังมีดินแดนสหพันธ์อีก  แห่ง คือ กัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง คือกัวลาลัมเปอร์) และลาบวน (เมืองหลวง คือ วิกตอเรีย) รัฐหนึ่งซึ่งอยู่ติดกับไทยและเคยเป็นดินแดนในปกครองของไทยมาก่อนก็คือ รัฐไทรบุรี หรือเคดาห์ (เมืองหลวง คือ อลอร์สตาร์) ไทรบุรีเคยอยู่ภายใต้การปกครองของไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค และแบ่งการปกครองเป็น ๑๘ มณฑล สมัยนั้นไทรบุรีมีฐานะเป็นมณฑลไทรบุรี แต่ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๑ ไทยต้องเสียอำนาจการปกครองหัวเมืองมลายู ได้แก่ ไทรบุรี ปะลิส กลันตัน และตรังกานู ให้กับอังกฤษ เพื่อรักษาอธิปไตยของชาติ


ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมืองไทรบุรีปกครองโดยเจ้าเมืองตำแหน่ง เจ้าพระยาไทรบุรี
 ตนกูอะหมัด เมื่อตนกูอะหมัดถึงแก่อสัญกรรม จึงโปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งบุตรคนโตคือ ตนกูไซนาระชิด ขึ้นเป็นพระยาไทรบุรี ตนกูไซนาระชิด มีน้องชายคนหนึ่งชื่อ ตนกูฮามิด ท่านผู้นี้ก็ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็น พระเสนีณรงค์ฤทธิ์รายามุดา หลังจากพระยาไทรบุรีไซนาระชิดดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองได้  ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม จึงโปรดเกล้าฯตั้งพระเสนีณรงค์ฤทธิ์เป็นพระยาไทรบุรีต่อมา โดยมียศเป็น เจ้าพระยาฤทธิสงครามรามภักดี แต่ชาวมลายูนิยมเรียกว่า สุลต่านอับดุล ฮามิด


สุลต่านอับดุล ฮามิด เป็นสุลต่านองค์ที่ ๒๔ ของเมืองไทรบุรี (รัฐเคดาห์) ท่านมีชายาเป็นคนไทยเชื้อสายมอญเมืองนนทบุรี ชื่อ หม่อมเนื่อง หรือมะเจ๊ะเนื่อง (แปลว่า คุณแม่เนื่อง) หรือ ชิค เมนยาราลา ในสำเนียงของชาวมลายู แต่บางครั้งก็เรียกทับศัพท์ว่า หม่อม ด้วยเช่นกัน หม่อมเนื่องนับเป็นชายาองค์ที่ ๖ ของสุลต่าน ฮามิด แม้สุลต่านจะมีชายาหลายคนตามธรรมเนียมศาสนาอิสลาม แต่ได้ยกให้หม่อมเนื่องเป็นภรรยาเอก เพราะเป็นภรรยาพระราชทานจากราชสำนักสยามในขณะนั้น

ตนกูอับดุล เราะฮ์มาน (Tunku Abdul Rahman)


ตนกูอับดุล รอฮ์มาน
(Tunku Abdul Rahman) เกิดวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๖ ที่เมืองไทรบุรี ประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน ตนกูอับดุล รอฮ์มาน เป็นบุตรชายคนที่ ๔ ในบรรดาบุตรธิดาบิดามารดาเดียวกัน ๘ คน ของสุลต่านอับดุล ฮามิด กับหม่อมเนื่อง ในวัยเด็กท่านเดินทางมาอยู่ในไทยเช่นเดียวกับเจ้านายไทรบุรีคนอื่นๆ โดยเดินทางเข้ามาตั้งแต่อายุได้ ๑๐ ขวบ เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ตามคำชักชวนของพี่ชาย ตนกู ยูซุฟ ซึ่งทำงานอยู่ในกรมตำรวจของไทย ยศร้อยเอก จนเมื่อไทรบุรีตกเป็นของอังกฤษ กอรปกับพี่ชายที่อุปถัมภ์ดูแลเสียชีวิตลง ขณะนั้น ตนกูอับดุล รอฮ์มาน อายุได้ ๑๒ ขวบ (พ.ศ. ๒๔๕๖-๒๔๕๘) ท่านได้เดินทางกลับบ้านเกิดไปเรียนต่อที่ปีนัง และที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ กระทั่งจบปริญญาตรี


เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่
  ญี่ปุ่นยึดมลายูได้ รัฐไทรบุรีหลุดจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ มาอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นแทน เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามอังกฤษก็กลับมาเป็นเจ้าอาณานิคมปกครองมลายูเช่นเดิม ช่วงนี้มีพรรคแนวร่วมชาตินิยมมลายูหรือพรรคอัมโนเกิดขึ้น หัวหน้าพรรคคือ ดะโต๊ะออนน์ บิน จาฟาร์ โดยมี ตนกูอับดุล รอฮ์มาน สมัครเข้าเป็นสมาชิกด้วย เมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไป ตนกูอับดุล รอฮ์มาน มีความโดดเด่นมาก จึงได้รับเลือกตั้งให้เป็นหัวหน้าพรรคแทนดะโต๊ะออนน์ และก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ สหพันธ์มลายา” ที่ขณะนั้นมีเพียง  รัฐ


ต่อมาตนกูอับดุล
 รอฮ์มาน นำเอาสิงคโปร์ บอร์เนียวเหนือ และซาราวัก ซึ่งยังไม่ได้เอกราชมาเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์มลายู และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสหพันธ์มาเลเซีย เมื่อ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๖ ตนกูอับดุล รอฮ์มาน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้  ปี ก็ลาออกเพราะขัดแย้งกับนักการเมืองรุ่นใหม่ที่ชื่อ ดร.มหฎีร์ มุฮัมหมัด และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ  ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓


คุณหญิงเนื่อง หรือ คุณหญิงฤทธิสงครามรามภักดี หลานสาวหลวงรามัญนนทเขตคดี อดีตนายอำเภอปากเกร็ดคนแรก และมารดาของอดีตนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียคนแรก ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดหลักแหลมและทำธุรกิจร่ำรวยที่สุดในบรรดาชายาของสุลต่านทั้งหมด ยังคงรักษาสายเลือดมอญที่มีศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธศาสนา แม้จะอยู่ในแวดล้อมของเครือญาติข้างสามีและประชาชนชาวมุสลิม แต่ก็ยังมีจิตศรัทธาสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นสิ่งเตือนใจให้นึกถึงแผ่นดินเกิดและวัฒนธรรมของบรรพชน วัดที่คุณหญิงเนื่องสร้างขึ้นนี้คือ วัดบาร์กาบาตา (วัดสโมสรราชานุประดิษฐ์ หรือ วัดราชานุประดิษฐ์) ที่ยังคงปรากฏอยู่ ณ เมืองไทรบุรีจวบจนปัจจุบัน


ลูกหลานในสกุล นนทนาคร ยังคงจดจำได้ว่า ตนกูอับดุล รอฮ์มาน เคยเดินทางมาเยี่ยมคารวะหลวงรามัญนนทเขตคดีที่บ้านพักริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้กับวัดเตย อำเภอปากเกร็ด


การดำเนินนโยบายของ ตนกูอับดุล รอฮ์มาน ที่เจรจาจนให้ให้ชนชาติต่างๆ รวมกันเป็นชาติ ร่วมสร้างประเทศสหพันธ์มลายูด้วยกัน รวมทั้งยังเจรจาให้สุลต่านทั้ง ๙ รัฐ สลับกันขึ้นเป็นประมุขของชาติ อันแสดงให้เห็นถึงอุปนิสัยที่นิยมความรอมชอมและมีบุคลิคการประนีประนอมสูง


สอดคล้องกับข้อเขียนของท่าน ในฐานะศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ (รัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างวัดและโรงเรียนแห่งนี้ขึ้นเพื่อรำลึกถึงสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระมเหสีในรัชกาลที่ ๔ พระราชชนนีผู้มีเชื้อสายมอญของพระองค์) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย ที่ส่งบทความมาร่วมตีพิมพ์ตามคำขอเพื่อลงในหนังสือ
ชื่นชุมนุม ที่คณะกรรมการจัดงานได้จัดทำขึ้นเป็นอนุสรณ์ในวาระที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดสโมสรสถานของสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ที่ถนนราชดำริ เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๙ ตนกูอับดุล รอฮ์มาน ได้ส่งข้อเขียนมาเป็นภาษาอังกฤษ และมีผู้แปลเป็นภาษาไทย ข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงความประทับใจในช่วงเวลาสั้นๆ ที่ได้รับการศึกษาในเมืองไทย และมีนัยยะของเนื้อความที่สื่อถึงทิศทางความสัมพันธ์ของสองประเทศนับจากนี้ไป


...ข้าพเจ้าระลึกถึงชีวิตเด็กที่เทพศิรินทร์ด้วยความปีติเป็นอันมาก การศึกษาที่ข้าพเจ้าได้รับจากที่นั่นและชีวิตที่เคยอยู่ในประเทศไทย นับเป็นทุนทรัพย์อันมีค่าอย่างแท้จริง ในการปฏิบัติงานปัจจุบันของข้าพเจ้าในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เพราะความรักในชีวิตไทยของข้าพเจ้า ช่วยอำนวยให้เกิดความร่วมมืออันใกล้ชิดระหว่างประเทศทั้งสองของเรา…”


หาก ตนกูอับดุล รอฮ์มาน ยังมีชีวิตอยู่จนถึงวันนี้ ความหลากหลายในสายเลือดและการใช้ชีวิตในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน น่าจะเป็นจุดหลอมรวมสำคัญที่ทำให้ผู้คนในภูมิภาคนี้อยู่ร่วมกันอย่างคนที่เข้าใจและเห็นใจซึ่งกันและกันมากกว่านี้

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
การบริภาษผู้ที่มาทำให้เราไม่พอใจนั้นมีอยู่ด้วยกันทุกชนชาติ หากแต่ถ้อยคำที่ก่นด่ากันนั้นมีนัยยะสำคัญอย่างไร เหตุใดคนที่เลือกสรรถ้อยคำนั้นขึ้นมาจึงคิดว่าจะเป็นคำที่เจ็บแสบ สามารถระบายอารมณ์พลุ่งพล่านนั้นลงได้ ว่าแต่ว่า คำที่คนชาติหนึ่งด่ากันแล้วนำเอาไปด่าใส่คนอีกชาติหนึ่งมันจะเจ็บแสบอย่างเดียวกันหรือไม่ หรือคนด่าจะเป็นฝ่ายเจ็บเสียเอง
องค์ บรรจุน
บางท่านอาจเคยรู้มาบ้างแล้วว่า นายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซียมีเลือดเนื้อเชื้อไขไทยสยาม แต่บรรดาคนเกือบทั้งหมดในจำนวนนี้อาจจะยังไม่รู้ว่า เชื้อสายไทยสยามของท่านนั้นแท้จริงแล้วคือ มอญ ด้วยสายเลือดข้างมารดานั้นคือ คุณหญิงเนื่อง (คุณหญิงฤทธิสงครามรามภักดี) หลานลุงของหลวงรามัญนนทเขตคดี อดีตนายอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีคนแรก ต้นสกุล นนทนาคร
องค์ บรรจุน
แม้พุทธศาสนาจะมีต้นกำเนิดมาจากชมพูทวีป แต่ชนชาติต่างๆ ได้มีการแลกรับปรับใช้ในแบบของตนเอง เกิดลัทธินิกายผิดแผกแตกต่างกันไป สำหรับพุทธศาสนาในเมืองไทยนั้นเป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิเถรวาทของมอญ ซึ่งเลื่องชื่อเรื่องความเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติของสงฆ์และความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแน่นแฟ้นของพุทธศาสนิกชนมอญ ข้อหนึ่งที่จะกล่าวถึงต่อจากนี้คือ พุทธประวัติตอนที่พระนางพิมพาสยายผมลงเช็ดพระบาทองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธประวัติตอนนี้มีกล่าวถึงเฉพาะในส่วนของมอญเท่านั้น นอกจากนี้ชาวมอญยังได้นำมาใช้ในชีวิตจริงกับกษัตริย์และราชวงศ์อีกด้วย…
องค์ บรรจุน
ตลาดน้ำเกิดใหม่ใกล้กรุงเทพฯ ใช้เวลาเดินทางเพียงชั่วอึดใจ ท่ามกลางธรรมชาติที่ยังบริสุทธิ์ ผู้คนให้การต้อนรับแบบน้ำใสใจจริง และเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์รายรอบที่น่าสนใจ แม้จะเป็นตลาดน้ำเกิดใหม่เมื่อไม่นานแต่ก็ไม่มีการเสริมแต่งอย่างฝืนธรรมชาติ ซ้ำยังโดดเด่นด้วยของกินของใช้และของฝากหลากหลายโดยพ่อค้าแม่ขายคนในท้องถิ่น เปิดขายทุกวันเสาร์อาทิตย์ ตั้งแต่เช้าตรู่เรื่อยไปจนแดดร่มลมตก จากนั้นตลาดก็จะวายไปเองตามวิถีทางของมัน  
องค์ บรรจุน
ป้าขจี (สงวนนามสกุล) เป็นคนที่เคยใช้ชีวิตอยู่ในหลายวัฒนธรรม คลุกคลีกับผู้คนตั้งแต่เหนือสุดจนเกือบใต้สุดแดนสยาม อีกทั้งยังมีการผสมผสานหลายชาติพันธุ์ในตัวของป้า กับวัยที่ผ่านสุขทุกข์มาแล้วกว่า ๗๖ ปี จิตใจที่โน้มเอียงเลือกจะอยู่ข้างวัฒนธรรมแบบใดหรือยอมรับการผสมผสานของสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตมากน้อยเพียงใดนั้น คงเกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่หล่อหลอมป้าขจีมาตั้งแต่วัยเด็ก
องค์ บรรจุน
ไม่รู้ว่าทำไมนักวิชาการที่ชอบใช้ทฤษฎีเมืองนอกเมืองนา ประเภทท่องจำขี้ปากฝรั่งมาพูด (สังเกตดูจากบทความวิชาการที่มักมีวงเล็บภาษาอังกฤษ มีเชิงอรรถในแต่ละหน้าเกือบครึ่งหน้ากระดาษ ฉันไม่ได้รังเกียจหลักการวิชาการของต่างชาติที่มีมาก่อนเรา เพียงแต่สงสัยว่า ตรงไหนกันหนอคือความคิดสร้างสรรค์ที่มาจากสมองของคนเขียน...?) ชอบเอาทฤษฎีมาทดสอบพฤติกรรมเอากับคนเล็กคนน้อย คนที่ไม่ค่อยมีปากมีเสียงในสังคม โดยมักมีคำถามและ “คำพิพากษา” ต่อคนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เมื่อพบเจอคนชาติพันธุ์นุ่งห่มชุดประจำชาติของเขาในกิจกรรมสำคัญ ก็ล้วนมีคำพูดถากถางเสียดสี และพูดคุยกันในกลุ่มของตัวเองแบบเห็นเป็นเรื่องขำ
องค์ บรรจุน
ถึงทุกวันนี้คนส่วนใหญ่คงรู้กันแล้วว่า พม่าย้ายเมืองหลวงจาก ร่างกุ้ง (Rangoon) ไปยังเมืองเนปิดอว์ (Naypyitaw หรือ Naypyidaw) หลายคนอาจไม่รู้ว่าทำไม เหตุผลที่คาดเดากันไปก็มีหลายอย่าง ทั้งความเชื่อถือของนายพลตานฉ่วยตามคำทำนายของโหรส่วนตัว ภัยคุกคามจากอเมริกา หรือข่าวล่าสุดเรื่องการสะสมอาวุธ สร้างอุโมงค์ใต้ดินซึ่งได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเกาหลีเหนือเมื่อไม่นาน เพื่อลำเลียงพลและสรรพาวุธป้องกันตนเองและควบคุมชนกลุ่มน้อยต่างๆ
องค์ บรรจุน
เม้ยเผื่อน เล่าว่า ตนเองเกิดที่ย่านวัดน่วมกานนท์ ตำบลชัยมงคล อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับบ้านปากบ่อและอยู่ภายในตำบลเดียวกันและเป็นหมู่บ้านของสามีและเครือญาติทางสามี
องค์ บรรจุน
  ผมไม่ได้คิดฝันว่าจะเป็นนักวิชาการมาแต่ต้น สู้เรียนเพิ่มจากระดับปริญญาตรีในศาสตร์คนละแขนงต่างขั้ว แค่หวังเพียงจะได้รับฟังและพูดคุยอธิบายความกับนักวิชาการทั้งหลายให้รู้เรื่องบ้างเท่านั้น
องค์ บรรจุน
ผมเป็นคนมหาชัย แม้ว่ามหาชัยเป็นเพียงแค่ชื่อตำบลหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร แต่คนทั่วไปกลับรู้จักคุ้นเคยมากกว่าชื่อจังหวัด เช่นเดียวกับ แม่กลอง ซึ่งเปรียบเหมือนชื่อเล่นที่คนเคยปากมากกว่าชื่อสมุทรสงคราม ทั้งที่เป็นเพียงชื่อตำบลเล็กๆ เท่านั้น ทั้งสองจังหวัดนี้อยู่ชายทะเลอ่าวไทย สมุทรสาครมีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน ไปออกอ่าวไทยที่บ้านท่าจีน ไม่ต่างจากสมุทรสงครามที่มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน ไปออกอ่าวไทยที่บ้านแม่กลอง
องค์ บรรจุน
มอญ เป็นชนชาติเก่าแก่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยมีรัฐเอกราชปกครองตนเองอยู่ตอนใต้ของประเทศพม่า ปัจจุบันอยู่ในฐานะชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า ขณะที่มอญส่วนหนึ่งได้อพยพเข้ามายังดินแดนไทย และมีฐานะเป็นชนกลุ่มน้อยเช่นเดียวกัน ชนชาติมอญ มีประวัติศาสตร์และอารยธรรมสืบเนื่องมายาวนาน แม้ปัจจุบันจะไม่มีรัฐปกครองตนเอง แต่วัฒนธรรมมอญทางด้านศาสนา ภาษา วรรณคดี สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ความเชื่อและประเพณีพิธีกรรมของชนชาติในภูมิภาคนี้ ล้วนได้รับอิทธิพลจากมอญ
องค์ บรรจุน
ราชาธิราช คือ วรรณคดีไทยที่แปลมาจากพงศาวดารมอญ โดยมีการแต่งเติมรายละเอียดบางอย่าง จึงไม่ใช่ประวัติศาสตร์หรือพงศาวดารมอญ แม้คนมอญจำนวนมากเชื่อว่า “ราชาธิราช” เป็นพงศาวดารชาติมอญก็ตาม เพราะได้รับอิทธิพลจากการที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) และคณะ แปลขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ นำมาสู่การจัดพิมพ์จำหน่ายโดยหมอบรัดเลย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ และอีกหลายสำนักพิมพ์มากกว่า ๒๒ ครั้ง ไม่นับแบบเรียน การแสดงลิเก ละครพันทาง ละครเวที และละครโทรทัศน์