Skip to main content

แม้พุทธศาสนาจะมีต้นกำเนิดมาจากชมพูทวีป แต่ชนชาติต่างๆ ได้มีการแลกรับปรับใช้ในแบบของตนเอง เกิดลัทธินิกายผิดแผกแตกต่างกันไป สำหรับพุทธศาสนาในเมืองไทยนั้นเป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิเถรวาทของมอญ ซึ่งเลื่องชื่อเรื่องความเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติของสงฆ์และความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแน่นแฟ้นของพุทธศาสนิกชนมอญ ข้อหนึ่งที่จะกล่าวถึงต่อจากนี้คือ พุทธประวัติตอนที่พระนางพิมพาสยายผมลงเช็ดพระบาทองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธประวัติตอนนี้มีกล่าวถึงเฉพาะในส่วนของมอญเท่านั้น นอกจากนี้ชาวมอญยังได้นำมาใช้ในชีวิตจริงกับกษัตริย์และราชวงศ์อีกด้วย เป็นการยืนยันถึงความเลื่อมใสศรัทธาอันเป็นเอกลักษณ์ทางพุทธศาสนาของชนชาติมอญแต่โบราณ

หลายคนอาจได้ยินเรื่องการ
สยายผมลงเช็ดพระบาท จากเพลงของ จรัล มโนเพชร ในบทเพลงที่ชื่อ มะเมี๊ยะ สาวมอญเมืองมะละแหม่ง ในตอนที่มะเมี๊ยะจะต้องอำลาจากเจ้าน้อยศุขเกษม รัชทายาทเจ้าเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น เพื่อกลับบ้านเมืองของตนภายหลังผิดหวังในรักเพราะผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าน้อยปฏิเสธอย่างรุนแรง มะเมี๊ยะสยายผมลงเช็ดบาทเจ้าน้อยเพื่อแสดงความอาลัยรักและเคารพอย่างสูงสุด เนื้อร้องเพลงที่ว่านั้นคือ

...โอ๊ โอ้ ก็เมื่อวันนั้น วันที่ต้องส่งคืนบ้านนาง เจ้าชายก็จั๊ดขบวนจ๊าง ไปส่งนางคืนทั้งน้ำต๋า มะเมี๊ยะตรอมใจ๋ อาลัยขื่นขม ถวายบังคมทูลลา สยายผมลงเจ๊ดบาทบาทา ขอลาไปก่อนแล้วจ๊าดนี้


ประเพณี สยายผมลงเจ๊ดบาทบาทา ที่กล่าวถึงในเพลงของจรัล มโนเพชร เป็นประเพณีโบราณ ดังปรากฏหลักฐานเป็นภาพสลักนูนต่ำอยู่บนใบเสมาสมัยทวารวดี ซึ่งใบเสมานั้นมีความสำคัญต่อพุทธสถานอย่างยิ่ง การที่จะเรียกว่าเป็นวัดได้นั้น จะต้องมีหลักกำหนดเขตชัดเจนสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และหลักสำหรับปักเพื่อแบ่งเขตนี้มีชื่อเรียกว่าใบเสมา เป็นเขตกำหนดความพร้อมเพรียงของสงฆ์ หรือเขตชุมนุมของสงฆ์ หรือเขตที่สงฆ์ตกลงไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายที่อยู่ภายในเขตนั้นจะต้องทำสังฆกรรมร่วมกัน


ใบเสมาสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องพระนางพิมพาสยายผม รองพระบาทพระพุทธเจ้า


ใบเสมามีประวัติความเป็นมายาวนาน ในประเทศไทยสามารถสืบย้อนไปไกลถึงยุคสมัยแรกเริ่มของประวัติศาสตร์ นั่นคือ อารยธรรมทวารวดี อันเป็นที่ทราบกันแล้วว่าอารยธรรมทวารวดีเป็นอารยธรรมเก่าแก่ของมอญ มีศูนย์กลางความเจิญอยู่บริเวณภาคกลางของไทยในปัจจุบัน และเป็นอารยธรรมที่นับถือพระพุทธศาสนาไปพร้อมๆ กับศาสนาพราหมณ์ แต่ศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองมากกว่า ดังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น ศิลาจารึกและงานศิลปกรรมต่างๆ ส่วนในบริเวณภาคอีสานของไทย ก็พบร่องรอยอารยธรรมทวารวดีที่เผยแพร่มาจากภาคกลาง รวมทั้งใบเสมารูปพระนางพิมพาก็ค้นพบในเขตภาคอีสานเช่นกัน


ด้วยความที่ใบเสมาขนาดใหญ่ จึงนิยมสลักภาพเล่าเรื่องบนใบเสมาขึ้น เป็นความสวยงามที่บอกเล่าเรื่องราวในพุทธศาสนาแทนการอ่านที่จำกัดอยู่ในกลุ่มคนชั้นสูงเท่านั้น เรื่องราวที่นิยมสร้างขึ้นนั้น มักเป็นภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติ ชาดก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีภาพสถูปหรือหม้อปูรณฆฏะ อันเป็นอิทธิพลทางคติความเชื่อเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของอินเดีย


สำหรับภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ ส่วนมากเป็นตอนที่พระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรมโปรดเหล่าบุคคล ภาพสลักบนใบเสมาที่เชื่อว่ามีความงดงามและสำคัญอย่างที่สุดชิ้นหนึ่งนั้น คือ ภาพตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับมาจากกรุงกบิลพัสดุ์ พบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น เป็นภาพขณะพระนางพิมพาสยายผมรองรับพระบาทของพระพุทธเจ้า ซึ่งถือว่าเป็นท่าแสดงความเคารพอย่างสูงสุด การแสดงความเคารพในลักษณะเช่นนี้ โดยมากพบในศิลปะมอญและพม่า สะท้อนแนวความคิดทางพุทธศาสนาในแบบมอญที่แพร่ขยายความนิยมทางศิลปะสู่ดินแดนใกล้เคียง


บันทึกในหน้าประวัติศาตร์ไทยอย่างน้อย ๒ ครั้ง ที่สาวมอญได้ถวายสักการะอย่างสูงสุดต่อสมาชิกในราชวงศ์ของไทย ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เส็จพระราชดำเนินยกช่อฟ้าพระอุโบสถวัดคงคาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี สาวมอญได้หมอบรอรับเสด็จสองข้างทางตั้งแต่ประตูรถพระที่นั่งจอดเทียบไปจนถึงปะรำพิธี โดยปลดมวยผมสยายลงถวายสักการะให้แด่สมเด็จพระเทพฯได้เสด็จพระราชดำเนินผ่าน ครั้งที่สอง ชาวมอญตั้งใจปฏิบัติถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินมาในงาน ไทยรามัญเทิดพระเกียรติพระมิ่งมณีจักรีวงศ์ ณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี เมื่อ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗ แต่ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ทำให้ผู้จัดงานเสนอปรับเปลี่ยนให้สาวมอญเพียงแต่ปลดผ้าสไบจากไหล่ปูลาดรองพระบาทให้พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินแทน

 


สาวมอญสยายผม รองพระบาทสมเด็จพระเทพฯ วัดคงคาราม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี พ.ศ. ๒๕๒๐

ประเพณีสยายผมรองพระบาทหรือเช็ดพระบาทของมอญนั้นมีมาช้านานแล้ว ชาวมอญถือเป็นการถวายความเคารพอย่างยิ่ง ด้วยการนำสิ่งสูงสุดของร่างกายตนที่ถือเป็น ศรี แด่เจ้าของกายสยายลาดปูให้สมณสงฆ์ กษัตริย์ ตลอดจนราชวงศ์เหยียบย่าง แม้สถาบันกษัตริย์ราชวงศ์ของมอญจะไม่ปรากฏอยู่แล้วในวันนี้ แต่ชาวมอญในเมืองไทยยังคงปฏิบัติบูชากับราชวงศ์ไทยสืบมาไม่เสื่อมคลาย
 


สาวมอญปลดสไบ จากไหล่รองพระบาทสมเด็จพระเทพฯ ณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี
พ.ศ. ๒๕๔๗

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…