Skip to main content

การบริภาษผู้ที่มาทำให้เราไม่พอใจนั้นมีอยู่ด้วยกันทุกชนชาติ หากแต่ถ้อยคำที่ก่นด่ากันนั้นมีนัยยะสำคัญอย่างไร เหตุใดคนที่เลือกสรรถ้อยคำนั้นขึ้นมาจึงคิดว่าจะเป็นคำที่เจ็บแสบ สามารถระบายอารมณ์พลุ่งพล่านนั้นลงได้ ว่าแต่ว่า คำที่คนชาติหนึ่งด่ากันแล้วนำเอาไปด่าใส่คนอีกชาติหนึ่งมันจะเจ็บแสบอย่างเดียวกันหรือไม่ หรือคนด่าจะเป็นฝ่ายเจ็บเสียเอง

คำด่าไม่ต้องสอน มิหนำซ้ำยังเรียนรู้ไว เพราะภาษามีไว้สื่อความคิด ถ่ายทอดอารมณ์ เเละเเน่นอนว่าภาษาที่ดีต้องสื่อได้ทุกอารมณ์เเม้เเต่อารมณ์โกรธ ฉะนั้นการสืบทอดคำด่าจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่ละชาติแต่ละภาษาคงไม่ต้องการให้ภาษาของตนมีคำหยาบ แต่ก็ไม่อาจเลี่ยงการเกิดขึ้นของคำด่าได้อย่างแน่นอน แม้แต่คำสุภาพในสมัยหนึ่ง คนอีกสมัยหนึ่งกลับมองว่าไม่สุภาพ เช่น กู มึง แต่ใช่ว่าจะคนในสมัยปัจจุบันจะไม่นิยมใช้


เท่าที่สังเกตดูสังคมไทย ในการด่าจะมีการแบ่งแยกเพศค่อนข้างชัดเจน หากเป็นชายอกสามศอก นิยมแบบตระกูลสัตว์ไม่ประเสริฐทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสัตว์สี่เท้าที่มีบุญคุณอย่าง
ควาย สัตว์ป่าที่ไม่เคยอุจจาระรดหัวใครอย่าง แรด รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลานที่นักธรรมชาติวิทยาบอกว่าเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมที่ เหี้ย อาศัยอยู่ หากเพศเดียวกันด่ากันเองก็มักมอบของส่วนตัวที่มีเหมือนๆ กันให้ไปดูต่างหน้า นั่นคือ กล้วย แต่ถ้าจะแฝงความหมายถึงความขลาดแล้วก็ต้อง ไอ้หน้าตัวเมีย ซึ่งคำนี้เองผู้ชายที่ถูกด่าจากผู้ชายด้วยกันก็จะเจ็บแสบประมาณหนึ่ง แต่ถ้าคนด่าเป็นหญิงแล้วจะถึงกับปวดแสบปวดร้อนเลยทีเดียว

ในเพศหญิง นิยมเปรียบเทียบคนที่ไม่ชอบหน้าว่า เป็นดอกไม้ชั้นสูงที่ทำด้วยทองคำ ถ้าเป็นสมัยก่อนยังมีอีกคำนั่นคือ
สำเพ็ง ถึงแม้จะเป็นย่านการค้าขายของคนจีนแต่ก็มีการทำธุรกิจส่วนตัวของผู้หญิงด้วย คนที่ถูกด่าจึงถูกเปรียบเปรยเป็น โสเภณี ส่วนคำที่ผู้หญิงนิยมด่าเพศเดียวกันรวมทั้งด่าผู้ชาย (ชายอกสามศอกคงไม่ใช้ด่าใคร นอกจากผู้ชายสีชมพู) นั่นคือ หน้าอี๋

แถวบ้านผมมีอีกคำที่นิยมด่ากัน นั่นคือ
อีเห็ด ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่เข้าใจว่า เห็ด มันมีลักษณะพิเศษอย่างไร คนถึงเอามาใช้เป็นคำด่ากัน

เท่าที่ได้ลองเสิร์ชหาข้อความที่มีผู้เขียนกระทู้เอาไว้ในเว็บไซท์ต่างๆ พบว่า มีนักท่องอินเตอร์เนตรวบรวมคำด่าของบรรดาชนชาติต่างๆ ไว้มากมาย ซึ่งได้ยกมาพอเป็นสังเขป ดังนี้

คำที่ฝรั่งด่ากัน คำที่ได้ยินกันบ่อยหน่อยจากฮอลลีวู้ดก็น่าจะเป็น
Fuck you คงจะทำนองเดียวกันกับ เจ้ดแม่ง ในภาษาไทย นอกนั้นก็เป็นต้นว่า Dumbbell (ยัยทึ่ม) Lunatic (บ้า) Bone head (งี่เง่า) Schmuck (โง่) Mad dog (หมาบ้า) Creep (แมลงโสโครก) prick (ตัวซวย) wicked (เลวทราม) Go Fuck yourself ! (อันนี้ขอไม่แปลดีกว่า) (จาก : http://www.siamzone.com/board/view. php?sid=749099)

คำด่าภาษาจีนน่าจะคล้ายๆ กับภาษาไทยตรงที่ นิยมด่าพ่อล่อเเม่เเละด่าถึงโครตเหง้าเหล่ากอ เช่น เก๋าเจ้ง (ชาติหมา) หวังปา (แปลว่า ตะพาบน้ำ คงทำนองเดียวกับที่คนไทยด่ากันด้วยคำว่า ไอ้เอี้ย เเต่คนจีนด่าว่า ไอ้ตะพาบ) วังปาดั้น (ไอ้พันธุ์ถ่อย) (จาก
: http://www.china2learn.com/board/ show.php? qID =3698)

คำด่าของคนทางเหนือที่คุ้นหูมักด่ากันว่า จ่าดวอก หรือ จ่าดง่าว นอกนั้นที่พบในเว็บไซท์เป็นกองพะเรอเกวียนที่ดูคล้ายจะฟังออกแต่ไม่ค่อยเข้าใจและเลยไม่รู้จะเจ็บแสบอย่างไรไหว เช่น

...ห่ากิ๋นตั๊บ ง่าวสุ๊ดหัวสุ๊ดตี๋นบ่อมีปั๋ญญาหาเงิน...มีก่ากู้ๆๆๆ...บ่าปันต๋าย...บ่าง่าว...  บ่ะฮ่ากิ๋นตั๊บ กิ๊นไต๋ บะลูกค่ำ ลูกงำ... ตำเฮาะ ตำวายตายพาย ตายกั๊ดบ่าจ๊าดหมา อีแห่น ซากต๋าย สิบหล๊วกคิงเขา แลกง่าวฮาอันเดว ยังบ่าเอาน่ะบะ จ๋าเหลือ... อิ่วอก อิ่พาย ตุ่มปิ๊ดติดคอ บ่าฮ่า บ่าวอก บ่าปันต๋ายบ่าหน้ามุ่ม... (จาก : http://www.cm108.com/bbb/lofiversion/index.php/t25269. html)

คำด่าของคนอีสาน เช่น หมากินความคึด ไม่สามารถสรรหาคำอธิบายได้ตรงๆ แปลโดยศัพท์ในภาษาไทยกลางก็คือ สุนัขกินความคิด ซึ่งดูจะเป็นคำธรรมดาๆ ซึ่งคนไม่รู้ภาษาอีสานคงไม่รู้สึกเจ็บ หากให้เทียบเคียงกับคำในภาษาไทยก็คงจะทำนองเดียวกันกับ โง่บัดซบ (จาก
: http://www. esaanvoice.net/esanvoice/know/showart.php?Category=bot&No=11919)

ส่วนคำด่าของคนทางใต้ เท่าที่เคยสัมผัสคนใต้มาบ้าง ขนาดคนใต้ที่สนิทสนมกันคุยกันธรรมดาก็ยังดูเหมือนกำลังจะมีเรื่อง แล้วหากเกิดด่ากันขึ้นมาคงยิ่งระทึกขวัญคนที่ไม่คุ้นเคยไม่น้อย เป็นต้นว่า เร่อ (ซื่อบื้อ เกือบๆ จะโง่ ทำอะไรไม่ดูตาม้าตาเรือ ไม่รู้เรื่อง) ฉอย (เสือก) ทำถ้าว (เสือก) ถ็อกหวัก (คำนี้ไม่กล้าแปล มีผู้รู้เทียบเคียงให้ฟังเพียง แผ่แม่เบี้ย) ขาดหุ้น (สติไม่สมประกอบ) เบล่อ (โง่) ขี้ฮก (โกหก) จองดอง (ทะลึ่ง) ห่าจก (ตะกละ) เอิด (เกเร) โบล่ะ (ขี้เหร่) (จาก
: http://www. muanglung.com/pasatai.htm)

แล้วคนมอญด่ากันแบบไหน ที่แน่นอนก็คือ คนมอญไม่นิยมด่ากันด้วยการลากโคตรเหง้าเอามากอง ไม่ด่ากันแบบยกให้เป็นสัตว์ที่ไม่ประเสริฐ รวมทั้งไม่เอาอวัยวะของผู้ที่ถูกด่าไปเปรียบเทียบกับอวัยวะที่ควรปกปิดหรืออวัยวะที่อยู่ระดับล่างๆ ของร่างกาย จะมีเพียงคำเดียวที่ด่ากันด้วยคำที่บ่งบอกบอกถึงนัยยะการสืบพันธุ์ คำด่าของคนมอญส่วนใหญ่เป็นลักษณะเฉพาะทางชาติพันธุ์ที่ดูแล้วไม่น่าจะเป็นคำที่ใช้ด่าทอกันได้ แน่นอนว่าคนชาติพันธุ์หนึ่งด่ากัน (ด่ากันเองหรือด่าคนต่างชาติพันธุ์) ก็ย่อมแปลกลิ้นแปร่งหูกว่าคำที่คนชาติพันธุ์อื่นด่ากัน


คำด่าของคนมอญที่ผมได้ยินได้ฟังมาตั้งแต่เกิด เป็นคำด่าที่มีมานานแล้วหลายร้อยปีไม่เคยเปลี่ยนแปลง ไม่หดหาย และไม่เพิ่มขึ้น มอญในเมืองไทยและมอญในเมืองมอญ (ประเทศพม่าในปัจจุบัน) ก็ยังคงด่าเหมือนกัน (ด่ากันรู้เรื่อง) คำที่แปลกออกไป
ที่บ่งบอกบอกนัยยะการสืบพันธุ์ นั่นคือ จะต๊อก ส่วนคำด่าอมตนิรันดร์กาลมีเพียง ๓ คำ นั่นคือ จองเดิง จองเฮียก และ จองต่ะฮ์

มีอยู่คำเดียวที่รับเอาวัฒนธรรม (หรือเปล่า) การด่าแบบคนไทยไปใช้นั่นคือ
ปะกาวทอ   ปะกาว แปลว่า ดอกไม้ ทอ เป็นภาษามอญโบราณและเป็นต้นกำเนิดของคำว่า ทอง ในภาษาไทย ดังนั้นคำนี้จึงด่าที่เกิดจากการแลกรับปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมกับสังคมไทย ซึ่งมักจะเอามาด่ากันแบบขำๆ เสียมากกว่า

ในจำนวนคำด่าทั้ง ๓ คำของมอญจะสังเกตได้ว่าขึ้นต้นด้วยคำว่า
จอง คำนี้แปลว่า เผา ส่วน เดิง แปลว่า เมือง เฮียก แปลว่า ใหม้ และ ต่ะฮ์ แปลว่า เตียน เหี้ยน โล่ง (ประมาณว่าเผาแล้วกวาดกองเถ้าถ่านให้กระจัดกระจายด้วยส้นเท้ากันเลยทีเดียว) ฟังดูแล้วก็ไม่น่าจะเจ็บแสบอะไร เพียงแต่คนมอญมีประวัติศาสตร์ที่เจ็บปวด ด้วยตนเองเคยมีบ้านเมือง ปราสาทราชวัง และกษัตริย์ราชบัลลังก์ วันหนึ่งก็ถูกพม่าบุกปล้นทำลายและยึดครอง มีตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมากันในหมู่คนมอญว่า พม่าเข่นฆ่าผู้คนไม่เว้นแม้แต่พระสงฆ์ ศพลอยเกลื่อนจนแม่น้ำอิรวดีเป็นสีเลือด ไฟที่เผาผลาญปราสาทราชวัง วัดวาอาราม รวมทั้งบ้านเรือนราษฎรเปลวเพลิงลุกไหม้ขึ้นสูงหลายเส้นและนานนับเดือนโดยไม่ยอมดับ ปัจจุบันผืนดินบริเวณนั้นสุกเป็นดินเผา (อิฐ) ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้กระทั่งทุกวันนี้

แม้ประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าทำนองนี้จะไม่ส่งเสริมความสมานฉันท์ในโลกปัจจุบัน แต่ในเมื่อจนถึงทุกวันนี้ ผู้ถูกกระทำยังไม่ได้รับการเยียวยา มีแต่จะตอกย้ำด้วยพฤติกรรมดั้งเดิม (พม่า)  บาดแผลเก่าใหม่และความทรงจำที่เลวร้ายจึงกระตุ้นเตือนให้ลูกหลานมอญรำลึกถึงชนชาติและบรรพชนของตนที่ต้องหอบลูกจูงหลานหนีไฟสงครามเข้ามาอาศัยอยู่บนแผ่นดินไทย คนนอกวัฒนธรรมคงรู้สึกขำหากถูกด่าว่า อีเผาเมือง ผีเผาไหม้ หรือ อีเผาเหี้ยน แต่สำหรับคนมอญโดยเฉพาะหญิงสาวด้วยแล้ว ถึงกับน้ำตาตกแทบจะหาสามีไม่ได้กันเลยทีเดียว เพราะการถูกด่าว่า
อีเผาเมือง นั้น เท่ากับถูกหาว่าเป็น พม่า ผู้เผาบ้านเผาเมืองของบรรพชนจนราบพนาสูญ

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…