Skip to main content

รูป Ad จาก http://www.electthedead.co.uk/

วง System of a Down เป็นวงดนตรีอเมริกันที่สมาชิกทั้ง 4 คนล้วนเป็นชาวอาร์เมเนียน ดนตรีของพวกเขา บางคนก็เรียกว่าเป็นอัลเตอร์เนทีฟ บ้างก็ว่าเป็นนูเมทัล บ้างก็พยายามจำกัดความง่ายๆ ว่าเป็นฮาร์ดร็อค แต่ถ้าให้เรียกแบบกินความหมายครอบคลุมที่สุดล่ะก็ คงต้องบอกว่าพวกเขาเป็นวงร็อคที่แพรวพราว สอดผสานดนตรีในพรมแดนอื่นๆ เข้ากับซาวน์พื้นฐานแบบยุค 90's และขณะเดียวกันก็มีพลังขับเคลื่อนแบบพังค์

นอกจากจะเป็นที่รู้จักกันในฐานะของวงร็อคหลากกลิ่นแล้ว แฟนเพลงหลายคนยังชอบเนื้อหาวิจารณ์สังคมและการเมืองของพวกเขาที่เข้าใจทำให้ถูกจริตคนบางกลุ่มได้ บวกกับดนตรีหนักๆ จากหลายๆ เพลงแล้ว มันใช้เป็นยาแก้เครียดได้ดีทีเดียว

แต่หลังจากที่วง System of a Down หรือที่มักเรียกกันสั้นๆ ว่า SOAD ทำงานกันมาได้ราวสิบปี ก็ประกาศแยกย้ายกันไปชั่วคราว เปิดโอกาสให้แต่ละคนไปทำงานในพื้นที่อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นไซด์โปรเจกท์นาม Scars on Broadway ของมือกีต้าร์ Daron Malakian หรืองานเดียวของนักร้องนำ Serj Tankian ที่ผมกำลังจะพูดถึงนี้

แน่นอนว่าใน Elect the Dead งานเดี่ยวของ Serj Tankian ในชุดนี้ เรายังคงได้ยินเสียงร้องในสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์ของ Serj อยู่เช่นเคย ขณะเดียวกันก็ยังมีดนตรีหลากกลิ่นและรสเคยคุ้นในแบบ SOAD เพียงแต่มันก็ยังไม่เต็มพลัง ไม่ถึงใจเท่ากับ System of a Down ยกขบวนมาเองอยู่ดี อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าอัลบั้มนี้กลับเปิดพื้นที่ทางอารมณ์ให้เต็มมากกว่าตอนที่ Serj ร่วมงานกับวง

เพลงเปิดอัลบั้มอย่าง Empty Wall ก็เป็นร็อคที่ใส่มาเต็มสูบ บรรเลงความโกรธและผิดหวังได้ถึงใจ เนื้อเพลงพูดถึงการที่รัฐบาลปิดข่าวการเสียชีวิตของทหารอเมริกันที่ออกปฏิบัติหน้าที่ เปรียบเสมือนกักขังเราไว้ในกำแพงที่แสนว่างเปล่า ปิดกั้นไม่ให้เรามองเห็นความจริง

Tankian ในฐานะที่เป็นหนึ่งในคนที่ต่อต้านจักรวรรดิ์นิยมอเมริกามาแต่ไหนแต่ไร เขาได้เคยเขียนบทความที่ชื่อ Understanding Oil ออกมาเพียงสองวันหลังจากเหตุการณ์ 9/11 ซึ่งมันไม่ใช่บทความที่น่ามองข้ามเลยในช่วงนั้น เพราะบทความมีเพียงแค่การเรียกร้องสันติภาพแบบตื้นๆ แต่มีความเห็นทางการเมืองที่ตรงไปตรงมา ทั้งยังมีการออกมาชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ทางอำนาจของผู้นำสหรัฐฯ กับ ผู้นำในโลกตะวันออกกลาง ว่ามี Power installment (การสร้างความสัมพันธ์ลับด้วยการเกื้อหนุนทางอำนาจ) ที่สหรัฐฯ จะนำพวกเขามาใช้ประโยชน์ในภายหลัง

บทความนี้ ทำให้ Serj ถูกมองอย่างเข้าใจผิดว่าเป็นพวกหาความชอบธรรมให้กับการก่อการร้าย อย่างไรก็ตามขณะที่ Serj ตอบโต้วิธีการของอเมริกา แต่เขาก็ยังต่อต้านกลุ่มศาสนนิยมสุดโต่ง รวมถึงผู้นำที่เขาบอกว่ามาจาก Power Installment ของสหรัฐฯ เองด้วย ใครที่มีแนวคิดแบ่งขั้วแบบล้าหลังอาจจะบอกว่าไอ่หมอนี่แค่สองไม่เอา แต่ไม่ได้คิดเอาเสียเลยว่าเขาก็แค่มีจุดยืนทางการเมืองอีกแบบหนึ่งที่อาจจะไม่สามารถไปเหมารวมเข้ากับฝ่ายไหนได้เท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตาม Understanding Oil ก็มีจุดด้อยสุด ๆ อยู่ที่วิธีการแก้ปัญหาที่เขาเสนอยังดูห่างไกลจากความเป็นจริงอยู่ดี

โยงใยมาสู่อัลบั้ม Elect the Dead เพลงหนึ่งที่ Serj ตั้งคำถามกับการใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือคือ Praise the Lord and Pass the Ammunation ที่ออกเป็นนูเมทัลมีท่าทีประชดประชัน ขณะที่ Feed us พูดถึงการปฏิบัติการทางการทหารว่า แทนที่จะช่วยปลดปล่อยและทำให้ประชาชนกลับมาเลี้ยงชีพตัวเองได้ แต่กลายเป็นว่าพวกเขาถูกทำให้พ้นจากการครอบงำเก่า เพื่อไปสู่การครอบงำอย่างใหม่เท่านั้น ดนตรีในเพลงนี้แอบสอดผสมโฟล์กเศร้าๆ เข้ามาก่อนจะโยงไปสู่ท่อนร็อคหนักๆ

"You lead us,
When you need to feed us,
You comfortable delete us,
When you need your fetus..."

- Feed Us

เพลงที่ผมชอบมากในอัลบั้มนี้ คือเพลงธรรมดาๆ ที่ Serj ทำออกมาได้อย่างเต็มอารมณ์คือ Saving Us กับ Sky is Over

เพลง Sky is Over เป็นร็อคหมองๆ ที่แอบใส่ลูกเล่นแบบ SOAD ในท่อนแยก เนื้อเพลงเหมือนจะพูดถึงโลกร้าย แต่ก็แอบเล่นคำในประโยคสุดท้าย ส่วนเพลง Saving Us นั้นสวยทั้งทำนองและภาษาในเนื้อเพลง ขณะที่หากดูเนื้อผ่านๆ จะสามารถตีความเป็นเพลงรักธรรมดา แต่เสียงประสานที่เป็นแบกกราวน์ในเพลงนี้กลับชวนให้รู้สึกว่ามันพูดถึงอะไรที่ใหญ่กว่านั้น และเมื่อได้ดูมิวสิควิดีโอของเพลงนี้แล้วก็ชวนให้เจ็บจี๊ดขึ้นมาทันที

MV เพลง Saving Us ฉายภาพคนไร้บ้านคนหนึ่ง เดินเข็นรถไปตามที่ต่างๆ ในเมือง ทุกคนเมียงมองในใจก็คิดอะไรต่างกันไป และดูเหมือนแต่ละคนต่างก็สนใจแต่ในประเด็นของตัวเอง จนไม่มีใครมีที่ทางเผื่อเหลือให้กับเขาเลย ส่วนตัวผมชอบ MV นี้มาก แม้ว่าช่วงกลางเพลงมันจะมีฉากเว่อร์แดกและตอนจบอาจจะน้ำเน่าสำหรับบางคนก็ตาม

ความสนุกอีกอย่างหนึ่งของอัลบั้มนี้คือ การที่มันมีมิวสิควิดีโอสำหรับทุกเพลงและในแต่ละเพลงก็มีผู้กำกับต่างกันไป ทำให้เราได้เห็นการตีความเพลงต่างในมุมต่าง ๆ หลากหลาย โดยที่เราอาจจะยังไม่เคยนึกถึงก็ได้

อย่างเพลง Sky is Over ก็มีมิวสิควิดีโอถึงสองเวอร์ชั่น หรือเพลง Honking Antelope ที่เนื้อเพลงมันพูดถึงความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และวัฒนธรรมถิ่นที่หายไป (ของอินเดียแดง?) แต่มิวสิควิด๊โอมันกลับทำออกมาเป็น CG กับเรื่องราวล้ำยุค ดูแล้วขัดแย้งกันดี

อย่างไรก็ตามกับบางเพลงคงต้องดูบริบทด้วยว่ามันพูดจากมุมมองวิพากษ์อเมริกัน ที่เป็นเสรีนิยมใหม่มาจนพรุนแล้ว เพลงอย่าง The Unthinking Majority จึงอาจจะใช้วิจารณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศอเมริกาได้ แต่กับประเทศที่ยังไม่แม้แต่จะหลุดพ้นจาก "ยุคมืด" ยังไม่มีเสรีในเรื่องสำคัญ ๆ คงไม่ได้อยู่ในบริบทที่จะเอามาวิจารณ์กันได้ อย่างไรดีการใช้จังหวะขัด ลูกเล่น กับอารมณ์หนักหน่วงในเพลงนี้คงถูกใจขา SOAD ไม่น้อย (ขอโทษด้วยผมชอบแยก "เนื้อหา" กับ "รูปแบบ" ออกจากกันน่ะ)

ขณะที่เพลง Money ที่ดนตรีจากเปียโน สลับกับท่อนร้องและการเปลี่ยนจังหวะกระทันหันทำให้มีสีสันดี แต่เนื้อเพลงก็ไม่มีมุมมองอะไรใหม่ หรือลึกไปกว่าการโทษเงินอย่างเดียว (ทั้งที่ยังไงคนเราก็ยังต้องใช้เงิน)

Serj Tankian อาจจะเป็นศิลปินที่เข้าใจในสังคม เข้าใจในการเมืองระดับหนึ่ง แต่ยังมีอะไรบางอย่างทางความคิดที่เขายังก้าวไม่พ้น เลยอาจกลับกลายเป็นการพูดถึงเรื่องเดิม ๆ ที่ไม่ได้มีแง่มุมก้าวหน้าไปกว่าเดิมอย่าง Money หรือเพลง Honking Antelope ที่ออกแนวอนุรักษ์แบบโรแมนติกไปหน่อย (ทั้งที่ดนตรีมันไม่โรแมนติกเลย ดูเหมือนมันกำลังแอบวิพากษ์อะไรที่ตรงกันข้ามกับแนวคิดเชิงอนุรักษ์อยู่ด้วยซ้ำ) ผมเข้าใจว่าการเขียนเนื้อเพลงที่พูดเรื่องซับซ้อนมันยาก ยิ่งต้องให้ Sync กับดนตรีด้วยมันยิ่งยากไปใหญ่ แต่ผมเชื่อว่าถ้าคนเรากระตือรือร้นละเรียนรู้มากพอ และซึมซับอะไรไว้ได้ จะสามารถปลดปล่อยมันออกมาจากใจจริงได้เอง

ทั้งนี้ทั้งนั้น ใครบางคนอาจรู้จัก Axis of Justice ซึ่งเป็นกลุ่มที่ Serj ร่วมตั้งกับ Tom Morello (จากวง Rage against the Machine ที่มีทิศทางแนวคิดคล้ายๆ System of a Down) รวบรวมพลพรรคนักดนตรีหลากหลายวงในการรณรงค์ทางสังคมในประเด็นต่าง ๆ เริ่มจากประเด็นการเหยียดเชื้อชาติที่แกดูจริงจังดี คลับคล้ายคลับคลาว่าจะมีการรณรงค์เรื่องคุณภาพชีวิตของคนไร้บ้านในช่วงที่ผ่านมาด้วย ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ดีสำหรับการรวมกลุ่มกัน

ก็ได้แต่หวังว่าทั้ง Serj และ Tom ที่ต่างก็มีต้นทุนทางสังคม (และทางสินทรัพย์เพราะคงได้ส่วนแบ่งจากการออกทัวร์อยู่ไม่น้อย ;P) คงจะไม่ทำให้ Axis of Justice กลายเป็นเพียงกลุ่มรณรงค์ทางฉากหน้าที่ไร้พลัง แล้วกลายเป็นช่องทางใหม่ในการโปรโมทตัวเองเท่านั้น อย่าได้ทำให้คนที่ชื่นชมการเขียนเนื้อร้องและความสามารถทางดนตรีของคุณต้องผิดหวัง เพราะถึงตอนนั้น...

...ก็ไม่รู้ว่าจะมีใครมาทำเพลงวิจารณ์พวกคุณ แบบที่พวกคุณทำเพลงวิจารณ์รัฐบาลสหรัฐฯ ;)

ดูคลิป Saving Us ได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=9Wk38bW8whc

 

 

บล็อกของ Music

Music
ภฤศ ปฐมทัศน์ ผมได้ยินข่าวเรื่อง "จังหวะแผ่นดิน World Musiq & World Bar B Q" วันเดียวก่อนวันงานนั่นเอง ได้ยินคุณทอดด์ ทองดี พูดผ่านวิทยุว่าจะมีศิลปินจากหลายประเทศทั่วโลกมาเข้าร่วม และมีการแสดงร่วมกันของเพื่อแสดงให้เห็นว่าดนตรีมันไร้พรมแดน ผมเองเข้าใจความรู้สึกของคนที่พูดอะไรที่เป็นอุดมคติครับ และรู้สึกที่สิ่งที่คุณทอดด์แกพูดแกไม่ได้ตอแหล (แบบพวกอ้างศีลธรรม) ผมรู้สึกได้จากน้ำเสียงและการไหว้วอนขอให้ภาครัฐและกระทรวงวัฒนธรรมหันมาสนใจ ทำให้รู้สึกว่าแกมีความตั้งใจตรงนี้จริง ๆ แต่ว่าอุดมคติที่สวยงามบางทีมันเป็นแค่สิ่งที่ฉาบเคลือบอะไรที่ยังแหว่งโหว่อยู่ภายใน…
Music
    ขึ้นหัวไว้ไม่ได้หมายความว่าตัวผมเองกำลังหลบหน้าหลบตาไปอยู่ที่อยุธยาแต่อย่างใด ช่วงที่หายไปเพราะจำต้องไปปฏิบัติภารกิจทั้งส่วนตัวและไม่ส่วนตัว พอได้จังหวะแล้วจึงเข้ามาเขียนงานที่ห่างหายไปนานอีกครั้ง หลายคนคงนึกได้แล้วว่าหมายถึงผลงานใหม่ของมาโนช พุฒตาล ซึ่งผมได้ซีดีผลงานล่าสุดของเขา ทั้งสองชิ้นมาพร้อมกันมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว แต่เพิ่งมีโอกาสได้ฟังเมื่อไม่นานมานี้เอง สิ่งที่ผมหวังจากชื่อมาโนช พุฒตาลคือตัวงานดนตรีหลังจากที่เขาห่างหายจากการออกอัลบั้มเพลงไปพักนึง ("ชีวิตที่เจ็บปวดของคนป่วย" เหมือนออกมาให้หวังอะไรบางอย่างเล่น ๆ แล้วก็หายไป)…
Music
ช่วงที่ผ่านมาผมขอลาพักจากการเขียนคอลัมน์ไปชั่วคราว ไม่ได้ลากิจ และยังไม่ได้ลาออกจากการเขียนคอลัมน์แน่นอน เพียงแต่หลบจากความเหนื่อยล้าจากหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อไปเติมพลังให้ตัวเองเท่านั้นในช่วงที่พักจากการเขียนคอลัมน์ไป ก็คิดว่าจะลองหลบมุมสงบ ๆ อยู่ ปิดหูปิดตาตัวเองจากสิ่งรอบข้างดูสักพัก … แต่แล้วก็ไม่สำเร็จ ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมามีข่าวบางอย่างที่ทำให้ผมต้องรู้สึกถึงความย่ำแย่ น่าเบื่อหน่ายไม่รู้จบของประเทศที่ผมอยู่อีกครั้งจริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องของผู้ชายคนหนึ่ง (ซึ่งสื่อบางแห่งดูจะพยายามแปลงให้เขากลายเป็นเพศอื่นอยู่เสมอ…ซึ่งผมว่าเขาคงไม่เดือดร้อนอะไร) เขาไม่ได้เป็นคนดีอะไรนักหนา…
Music
  นิยายวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเล่าอิงจินตนาการพร้อมกับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ นักทฤษฎีแบ่งนิยายวิทยาศาสตร์ออกไว้เป็นสามยุคใหญ่ ๆ คือ ‘ยุคคลาสสิก' ที่มักพูดถึงอนาคตภายใต้อวกาศกว้างใหญ่ไพศาล มองอนาคตอย่างก้าวหน้าและอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งความเจ็บปวดหลังยุคอุตสาหกรรมที่ยังมีการกดขี่กันของมนุษย์ทำให้ ‘ยุคที่สอง' ของนิยายวิทยาศาสตร์เริ่มมีท่าทีวิพากษ์สังคมเข้ามาปะปน บางเรื่องก็มีประเด็นทางสังคม อย่างการเหยียดเพศ เหยียดเชื้อชาติ บ้างก็มีจินตนาการของรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จที่อาศัยเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ มาจนถึง ‘คลื่นลูกที่สาม' ก็มองโลกในแง่ร้ายอย่างสุดกู่ จินตนาการก้าวหน้า ล้ำสมัย…
Music
 "The disgraced values of the company manAre why you fight and sacrificeDon't bend or break for their one-way rulesOr run from battles you know you'll lose""คุณค่าของคนทำงานที่ถูกลดทอนคือเหตุผลที่คุณเสียสละ ต่อสู้ และวิงวอนคุณไม่อาจฝ่าฝืนกฏเหล็กของพวกเขาได้หรือแม้จะทั่งจะหนีจากการดิ้นรนที่คุณรู้ว่าจะแพ้โดยไม่อาจทำอะไร"- Tomorrow's IndustryDropkick Murphys เป็นวงพังค์ร็อคที่มาจากการรวมตัวของชาวไอริชที่อพยพมาอาศัยในเมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐฯ มีผลงานที่พอให้คนต่างแดนได้รู้จักบ้างคือเพลงประกอบภาพยนตร์ The Departed ที่ชื่อ "I'm Shipping Up to Boston"…
Music
การยึดติดในสถาบันหรือรางวัลว่าเป็นตัววัดความเก่งกาจของศิลปินดูเป็นเรื่องหน้าขำอย่างหนึ่งในโลกที่กำลังเผชิญหน้ากับความหลากหลาย คิด ๆ ดูว่าแนวดนตรีในโลกนี้ถ้านับรวม Sub-Genre ทั้งหลายเข้าไปด้วยแล้วก็มีมากจนนับแทบไม่ไหว แต่รางวัลจากสถาบันทั้งหลายมันแบ่งง่าย ๆ แค่ ป็อบ ร็อค อาร์แอนด์บี ซึ่งไม่อาจตอบรับกับความหลากหลายได้ และพาลจะทำให้เป็นการขีดเส้นขั้น ผูกขาดรูปแบบบางอย่างไว้ก็ได้ว่า "เสียงดี" ต้องเป็นเสียงแบบนี้ การเรียบเรียงที่ดีต้องเป็นแบบนี้ ๆ ฯลฯ ผมถึงคิดว่า เราควรจะไม่ไปยึดติดอะไรมากกับรางวัลที่มาจากการตัดสินของคนไม่กี่คนบนหิ้งเรื่องศิลปะที่มาจากการผูกขาดรสนิยมมันชวนให้รู้สึกย่ำแย่ฉันใด…
Music
อะไรๆ ในโลกนี้มันน่าสนใจไปหมดแหละครับ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีแต่ผู้คนหันไปมอง หันไปพูดถึง เก็บมาเล่ากันทั่วบ้านทั่วเมือง ช่วยผลิตซ้ำ และแม้กระทั่งสร้างคู่ตรงข้ามให้กับคนที่ไม่รู้ และ/หรือ ไม่อยากรู้ ขณะเดียวกันสิ่งที่ผมคิดว่ามันน่าสนใจมาก ๆ โคตร ๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือสิ่งที่อยู่ในซอกหลืบไม่ค่อยมีคนสนใจ มันดูเหมือนการได้ค้นพบอะไรบางอย่างที่อาจจะทำให้เราอัศจรรย์ใจหรือทำให้ผิดหวังก็ได้ เพียงแต่ในทุกวันนี้ไอ้สิ่งที่อยู่ในซอกหลืบจริงๆ มันหายากขึ้นทุกที ในวงการเพลงอินดี้อะไรทั้งหลายก็มีชื่อวงทั้งต่างประเทศและในประเทศผุดผาดขึ้นมาให้จำกันไม่ทัน และพอลองเจียดเวลา (อันน้อยนิด) จากการทำมาหากินมาลองฟัง…
Music
รูป Ad จาก http://www.electthedead.co.uk/วง System of a Down เป็นวงดนตรีอเมริกันที่สมาชิกทั้ง 4 คนล้วนเป็นชาวอาร์เมเนียน ดนตรีของพวกเขา บางคนก็เรียกว่าเป็นอัลเตอร์เนทีฟ บ้างก็ว่าเป็นนูเมทัล บ้างก็พยายามจำกัดความง่ายๆ ว่าเป็นฮาร์ดร็อค แต่ถ้าให้เรียกแบบกินความหมายครอบคลุมที่สุดล่ะก็ คงต้องบอกว่าพวกเขาเป็นวงร็อคที่แพรวพราว สอดผสานดนตรีในพรมแดนอื่นๆ เข้ากับซาวน์พื้นฐานแบบยุค 90's และขณะเดียวกันก็มีพลังขับเคลื่อนแบบพังค์นอกจากจะเป็นที่รู้จักกันในฐานะของวงร็อคหลากกลิ่นแล้ว แฟนเพลงหลายคนยังชอบเนื้อหาวิจารณ์สังคมและการเมืองของพวกเขาที่เข้าใจทำให้ถูกจริตคนบางกลุ่มได้ บวกกับดนตรีหนักๆ จากหลายๆ เพลงแล้ว…
Music
  ช่วงที่ผ่านมามีข่าวคราวเกี่ยวกับคอนเสิร์ตแนวอนุรักษ์ธรรมชาติอะไรพวกนี้ออกมาหลากหลายมากมายอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะคอนเสิร์ตต้านโลกร้อนที่เข้าใจเกาะกระแสเรื่องที่คนทั่วโลกสนใจ (แต่ไม่รู้ว่าเข้าใจลึกไปในระดับไหน) มาสร้างเวทีคอนเสิร์ตให้สนุกสุดเหวี่ยง เวลามีคนมาถามความเห็นผมเรื่องนี้ ผมมักจะหัวเราะ หะ ๆ แล้วตอบว่ารู้สึกเฉย ๆ ถ้ามันจะดีมันก็ดีในแง่ที่มีคอนเสิร์ตมาให้สนุกกัน ส่วนศิลปินก็ได้หน้าได้ตากันไป เพราะโดยส่วนตัวผมไม่คิดว่าศิลปินจะรู้ลึกรู้จริงรู้จังอะไรกันเรื่องนี้มากมาย ไม่ต้องกระไรมาก ผมจะยกตัวอย่างจากประสบการณ์ตรงเรื่องหนึ่ง คือเมื่อหลายปีก่อน…
Music
  "ผมคงจัดเป็นพวกปีกซ้ายนั่นแหละ และพอเวลาผ่านไปผมก็รู้สึกแข็งแกร่งขึ้น ผมให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์มากกว่าอิฐบล็อกหรือกำแพงศักดิ์สิทธิ์ ผมเชื่อในการมีชีวิตอยู่ ผมคิดว่าแทนที่คำถามจะเป็น ‘พวกคุณเชื่อในพระเจ้าหรือเปล่า' มันควรจะเป็นว่า ‘พระเจ้าเชื่อในพวกเราหรือเปล่า' ต่างหาก ใครจะรู้ได้"- Aviv Geffen - Memento Mori"Officer, it's better to be a coward that is alivethan to be a dead heroYou fight with tanks and gunsI fight with pen and paperYou call me a draft dodgerMemento Mori..."- Memento Mori (2)จริงๆ แล้ว ไม่เพียง Aviv Geffen เท่านั้นที่เป็นที่รู้จักของชาวอิสราเอลโดยทั่วไป…
Music
  "1,000 people yellShouting my nameBut I wanna die in this momentI wanna die"- 1,000 People -Aviv Geffen เกิดและเติบโตในช่วงสงครามเลบานอนครั้งแรก ที่กองทัพอิสราเอลคิดจะเข้ายึดครองเลบานอนเพื่อยุติสงครามกลางเมือง แต่ความขัดแย้งนี้ดูจะห่างไกลจากตัวเขารวมถึงหนุ่มสาวคนอื่น ๆ ซึ่งต่างก็ดำเนินชีวิตคู่ขนานกับความขัดแย้งนี้จนแม้ปัจจุบันก็ยังไม่จบไม่สิ้น ข้อตกลงหยุดยิงไม่อาจทำให้ความตึงเครียดลดลงได้ ระเบิดนิรนามยังคงถูกยิงมาจากที่ไหนสักแห่งภาพที่ดูขัดแย้งกันอย่างชัดเจนในตัว Geffen คือ ขณะที่เขาแต่งเพลงและเผยความคิดเห็นในแบบอิสราเอลฝ่ายซ้าย แต่ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพทางดนตรี…
Music
  "Love films are broadcast lateBut violence is allowed at any hourWhile on a kibbutz a girl was rapedIn the disco they set their spirits free"- Violence -เป็นเรื่องธรรมดาที่น้อยคนในบ้านเราจะรู้จักศิลปินหนุ่มจากอิสราเอลที่ชื่อ Aviv Geffen เพราะผมเองกว่าจะรู้จักเขาก็ต้องโยงอะไรหลายทอดอยู่เหมือนกันมันเริ่มจากการที่ผมชื่นชอบวงโปรเกรสซีฟร็อค ที่ชื่อ Porcupine Tree แล้วนักร้องนำและผู้กุมบังเหียนของวงนี้คือ Steve Wilson ในขณะที่ยังคงอยู่กับวงเดิม ก็ได้ออกไปมีโปรเจกท์ย่อยคือวง Blackfield ด้วย ซึ่งวงโปรเจกท์ของเขานี้ ก็ตั้งใจว่าจะเป็นวงป็อบร็อค ที่ทำร่วมกับนักดนตรีรุ่นน้องชาวอิสราเอลคนหนึ่ง…