Skip to main content

ปกิณกะเรื่อง ท่านประยุทธ์ ปยุตฺโต

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

คำชี้แจง : ข้อเขียนนี้ เป็นการบันทึกความคิดอ่านของผมที่มีต่อท่านประยุทธ์ ปยุตฺโต ผ่านเส้นทางของเวลา ๑๐ กว่าปี ในบางแง่มุม อาจถือเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ความคิดของผมในเรื่องนี้ เพื่อทบทวนทรรศนะของตนเองในบางเรื่อง ข้อเขียนนี้จึงมีลักษณะชวนให้อ่านสบาย ๆ ยามว่าง ไม่ใช่บทความเชิงวิชาการ หรือชวนขบคิดปัญหาในปัจจุบันแต่อย่างใด

ช่วงนี้ นับแต่ท่านประยุทธ์ ปยุตฺโต ได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" นั้น ชื่อของท่านก็ปรากฏอยู่บนหน้าสื่ออยู่เนือง ๆ ท่ามกลางสถานการณ์ทางกฎหมายในการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พรบ.คณะสงฆ์ ฉบับล่าสุด เรื่องการเข้าสู่ตำแหน่งพระสังฆราช

ผมขอย้อนความทรงจำของผมไปในสมัยเรียนมัธยมต้น ตอนที่พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยตฺโต) ได้สมณศักดิ์ "พระพรหมคุณาภรณ์" (ระดับรองสมเด็จฯ) ใหม่ๆ ผมก็อดปิติไม่ได้ ในฐานะแฟนคลับรุ่นเยาว์ (เห็นอย่างนี้ สมัยนั้นผมเคยโหนรถเมล์จากป้ายรถเมล์ย่านเดอะมอลล์ท่าพระ ไปตำบลบางกระทึก มาแล้วนะ ลงรถเมล์เดินเข้าซอยอันแสนไกลมุ่งหน้าไปวัดญาณเวศกวัน)

พอจะขึ้นมัธยมปลาย ได้เคยไล่สายสมณศักดิ์กับเพื่อนสนิทคนหนึ่ง ว่า ท่านประยุทธ์ ปยุตฺโต จะไต่ไปถึง "สมเด็จพระราชาคณะ" รึเปล่า และจะไต่เต้าถึง "สังฆราช" ต้องผ่านอีกกี่ด่าน (สายสมณศักดิ์คร่าวๆ จะไล่จาก ต่ำไปสูง : ราช-เทพ-ธรรม-พรหม-สมเด็จ-สังฆราช) ถือว่าไล่สายแล้ว ใกล้มาก

ตอนไล่สายอยู่นั้น ผมกับเพื่อนก็ลองชวนภิกษุที่สอนศาสนาในโรงเรียน (พระครู) คุยเรื่องนี้ดู จากความทรงจำ จำความได้ว่า แกบอกว่า "กรณีท่านประยุทธ์ ได้ขึ้นตำแหน่ง "พระพรหมคุณาภรณ์" นั้น ถือว่าเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากท่านเติบโตมาในสายวิชาการ ไม่ใช่สายปกครอง ดังนั้น ตำแหน่งที่ท่านได้นี้ นับเป็นตำแหน่งลอย และถึงแม้ สมเด็จพระราชาคณะ (๘ ตำแหน่ง) จะว่างลง ก็ต้องดูว่า ที่ว่างนั้นเป็นของธรรมยุติ หรือมหานิกาย เพราะแบ่งโควต้ากันครึ่งๆ ถ้าตกฟากมหานิกาย จึงมีลุ้น แต่มหาเถรจะต้องเลือกรองสมเด็จที่มาจากสายปกครองก่อน กว่าจะหมดสิ้นสายปกครอง ป่านนั้น ท่านประยุทธ์น่าจะเป็นปุ๋ยแล้ว" (ท่านประยุทธ์สุขภาพไม่ดีมาแต่ไหนแต่ไร สมัยนั้น ผมประเมินว่า อีกไม่กี่ปี - ๒-๓ ปี - ก็คงมรณภาพ)

อย่าลืมว่า สมัยนั้น สังฆราชเจริญ ยังไม่เป็นผักดีนัก แต่เดินเคลื่อนไหวไม่ได้แล้ว ทว่าพูดได้ แต่ฟังไม่รู้เรื่อง และสมเด็จเกี่ยวก็ยังแข็งแรง

ผมก็ประเมินกับเพื่อนซี้ว่า กว่าท่านประยุทธ์จะได้ขึ้นเป็นสังฆราช ถึงจะไม่ติดอุปสรรคอย่างที่พระครูพาดพิงถึง แต่จะว่าไปแล้ว ท่านประยุทธ์คงต้องฝ่าด่านถึง ๑๐ ศพ (สังฆราชเจริญ ต้องตาย และสมเด็จเกี่ยวขึ้นแทน เช่นนี้ ตำแหน่งสมเด็จจะว่างไป ๑ ถ้าจะเสียบท่านประยุทธ์ก็ต้องเสียบเร็วสุดในชั้นนี้ มิงั้นต้องรออีกหลายปีกว่าจะตายกันอีกศพ) หรือในทางเทคนิค อาจจะฝ่าด่านเพียง ๙ ศพ เพราะสมเด็จวัดสัมพันธวงศ์ แกเป็นผักมาตั้งแต่สมัยผมอยู่มัธยมต้นแล้ว ก็น่าแปลกที่ปัจจุบันแกก็ยังไม่ตายเสียที ดังนี้ ตัดวัดสัมพันธวงศ์ออกจากวงจรได้เลย เพราะถึงแม้อาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ แต่เป็นผัก ไม่รู้เรื่องแล้ว คงขึ้นสังฆราชไม่ไหว

ตาม พรบ.คณะสงฆ์ ฉบับที่เพิ่งถูกยกเลิกสมัย คสช. นี้ ท่านประยุทธ์ดูจะห่างไกลตำแหน่งสังฆราชยิ่งนัก เว้นแต่จะมีเหตุให้สมเด็จพระราชาคณะที่เหลือ มีอันต้องตายโหงแบบคราวสิ้นสังฆราชจวน

หวนนึกถึงห้วงเวลา ณ ตอนนั้นสมัยเด็กๆ จวบจนบัดนี้ นึกแล้วใจหาย ตอนนี้ ตำแหน่งพระสังฆราชจ่อที่ปลายจมูกของท่านประยุทธ์ ปยุตฺโต เสียแล้ว แต่ความปิติที่ผมเคยมีในวัยเยาว์นั้น มลายหายสิ้นไป ด้วยอิทธิพลของความรู้ที่มีมากขึ้น และถึงแม้จะพาผมในสมัยมัธยมมาในอนาคตมาเจอบรรยากาศแบบวันนี้ ผมเชื่อว่า ผมก็คงไม่รู้สึกปิติอย่างแน่แท้ ในการได้ตำแหน่งด้วยกระบวนการวิปริตแบบนี้.

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยเหตุยกเว้นความผิดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล๑. ข้อพิจารณาเบื้องต้น
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปัญหาบางประการเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของ(ร่าง)หลักเกณฑ์การประมูลดิจิตอลทีวี : กรณีให้เปิดเผยผู้ถือหุ้นตั้งแต่ลำดับที่ ๓ ขึ้นไปและทุกทอดตลอดสายนายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
วิพากษ์สุรพล นิติไกรพจน์ (ภาค ๒)๑ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำอภิปรายในงานรำลึกครูกฎหมาย (อาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม) โดย สุรพล นิติไกรพจน์ วันนี้๒  ถ้าอย่างในคัมภีร์ก็คงได้เพียงอุทาน "โมฆะบุรุษหนอ" หรือแปลเป็นภาษาลูกทุ่ง ก็คือ "อ้ายชิบหาย" ครับ
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อน่าพิจารณาบางประการ : กรณีศาลฎีกายกฟ้อง"คดีถาวร เสนเนียม ฟ้องอดีต กกต."(๒๕๔๙) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล มูลเหตุของคดีนี้เริ่มต้นเพื่อ "สนับสนุนให้รัฐประหาร ๑๙ ก.ย.๒๕๔๙" (เพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง โจมตีการเลือกตั้ง) และเป็นชนวนในการสร้างสุญญากาศทางการเมือง  คดีนี้เริ่มต้น จะเห็นภาพพจน์ "ชัดแจ้งยิ่งขึ้น" เมื่อพิจารณาลำดับเหตุการณ์ก่อนพิเคราะห์รายละเอียดที่สำคัญของคดี เราจะเห็นได้ว่า "เหตุการณ์ ๒๕๔๙" นั้นเกิดขึ้นเป็นลูกระนาดเลย คร่าว ๆ ดังนี้[๑]
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถึงสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : เรื่องบันทึกการขออภัยโทษคดีสวรรคต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
จอมพล ป. ในตำแหน่ง"ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และนายกรัฐมนตรี"โดยการทำรัฐประหาร พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้บวรศักดิ์ อุวรรณโณ : การนิรโทษกรรมของคณะราษฎร (๒๖ มิ.ย.๒๔๗๕) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อุปสรรคในการร่าง"ประมวลกฎหมายแบบตะวันตก"ฉบับแรกของสยาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทยเมื่อ ๒๔๗๖ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ชวนอ่าน "เรื่องเล่า" โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (๒๕๑๑) หมายเหตุ : บังเอิญผมได้อ่าน ข้อเขียนของ "ราชินี" (ดังที่จะคัดให้อ่านด้านล่าง) ในคราวเสด็จเยือนประเทศออสเตรเลียกับในหลวง พบว่าน่าสนใจ จึงคัดมาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน - ข้อความด้านล่างนี้เป็นข้อเขียนของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ -------------------------------------------------------
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บริบทของพระราชดำรัสสดวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘(อนุญาตให้วิจารณ์กษัตริย์?) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลายท่านที่คัดค้านการบังคับใช้ "ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๑๒" มักอ้างอิง (โดยขาดบริบท) พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ ซึ่งในโอกาสนั้น "ในหลวง" ตรัสเกี่ยวกับ (ทรง)อนุญาตให้ประชาชนวิจารณ์พระองค์ได้ ขอให้สังเกตพระราชดำรัสดังกล่าวในความว่า :
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ดีเบตกรณีสวรรคต ร.๘ ระหว่าง จิตติ ติงศภัทิย์ vs หยุด แสงอุทัย พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗ (คดีสวรรคต ร.๘) กรณีนายเฉลียว จำเลย นั้น ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า "ได้ช่วยปกปิดไม่เอาความนั้นไปร้องเรียนขึ้นจนมีเหตุบังเกิดการประทุษร้ายแด่พระองค์"