Skip to main content
10_9_02


พ่อหมื่นแก่ฝายคนสุดท้าย นัดพบที่หน้าฝายพญาคำ ในวันเสาร์ที่ 13 กันยายน เวลา 10.00 . ร่วมทำพิธีสืบชะตาอีกครั้ง


ชาวบ้านยอมให้มีการสร้างประตูระบายน้ำแล้ว แต่มีข้อแม้ว่า ห้ามทุบห้ามรื้อฝายโบราณทั้งสามฝาย หรือทดลองใช้ประตูระบายน้ำก่อนสองปี ว่าสามารถทดน้ำเข้าเหมืองเพื่อส่งเลี้ยงไร่นาได้หรือไม่ คือให้ลองดูว่าประตูน้ำทำหน้าที่แทนฝายหินทิ้งเก่าแก่ได้ดีแค่ไหน


การจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝายจะถูกเปลี่ยนมือ จากการจัดการโดยชาวบ้านในระบบแก่ฝายมาเป็นจัดการโดยรัฐชลประทาน


ชาวบ้านผู้ใช้น้ำคิดอย่างไรถึงยินยอมทั้งที่ยื้อกันมานาน ถ้านับตั้งแต่ช่วงแรกที่จะมีการรื้อก็เกือบสิบปีแล้ว

10_9_02

 
ในช่วงแรกนี้มีเหตุผลชัดเจนคือจะเปิดทางเพื่อการท่องเที่ยวล่องเรือสำราญ แต่ไม่สามารถทำได้เหตุผลไม่พอ ต่อมาเมื่อน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ในปี
48 การรื้อฝายกลับมาอีก หาเรื่องใหม่ว่ารื้อฝายเพื่อป้องกันน้ำท่วมเพราะฝายหินทิ้งในแม่น้ำปิง ขวางทางน้ำทำให้น้ำไหลไม่สะดวก


ผู้ใช้น้ำจากระบบเหมืองฝาย ก็ยกเหตุผลขึ้นมากล่าวว่า ฝายหินทิ้งน้ำผ่านได้ตามร่องหินและเมื่อน้ำท่วมฝายก็อยู่ใต้น้ำ


สาเหตุที่น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่มีมากมายไม่ใช่ฝายและฝายมีความจำเป็นสำหรับทดน้ำเข้าไปใช้เพื่อการเกษตรทั้งในลำพูน และเชียงใหม่ อีกทั้งมีมานานตั้งแต่เริ่มมีเมืองเชียงใหม่นั้นแหละ เขาใช้ระบบเหมืองฝาย ถือเป็นภูมิปัญญาเดิมและมีกฎหมายมังรายศาสตร์รองรับด้วย คราวนี้ผู้จะทุบฝายก็มีเรื่องใหม่มานำเสนอนั่นคือ ทำประตูระบายน้ำเพื่อการเกษตร


คำถามคือเราจะจ่ายเงินห้าร้อยล้านเพื่อทำประตูน้ำเพื่อการเกษตรทำไม ในเมื่อฝายเก่าใช้ได้อยู่ เอาเงินภาษีของประชาชนมาผลาญเพื่อใคร ใครได้ใครเสีย มันคุ้มกันไหม


คราวนี้สำนักงานชลประทานกับสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดออกทำการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชน 7 ครั้ง และในที่สุดสรุปว่า ชาวบ้านยินยอมแล้วออกแถลงข่าวเลย


ชาวบ้านส่วนหนึ่งบอกว่า ที่ยินยอมก็เพราะเหนื่อยและเบื่อมาก ๆ สู้กันมาตั้งสี่ห้าปี และที่แน่ ๆ พวกเขาอยากสร้างจริงๆ ที่เขามาพูด มาทำความเข้าใจก็เพื่อเขาจะสร้างนั่นแหละ หาความชอบธรรม เพราะอย่างไรเขาก็สร้างอยู่แล้ว พวกเราเห็นสัญญาที่เขาทำกับบริษัทรับเหมาแล้ว และในสัญญาก็ระบุว่า โครงการสร้างประตูระบายน้ำและรื้อฝาย

10_9_01 10_9_04

 

ผู้ช่วยแก่ฝาย พ่อหลวงสมบูรณ์ บอกว่า บริษัทแนะนำว่า ถ้าให้เขาสร้างอย่างเดียวไม่รื้อฝายก็ให้ทำจดหมายไปถึงสำนักชลประทานเขาจะไม่รื้อ


ว่าไปแล้วมันไม่มีความหมายอะไรหรอก เพราะเขาสร้างประตูน้ำเพื่อรื้อฝายอยู่แล้ว เป็นการหลอก ๆ ไปอย่างนั้น และในที่สุดการทำให้ฝายพังไม่ใช่เรื่องยาก


อีกอย่างหนึ่งความเดือดร้อนไม่ใช่แค่ผู้ใช้น้ำเท่านั้น คนอื่นๆ ก็เดือดร้อนด้วย เพราะระดับน้ำที่จะส่งไปเหนือสุดนั่นต้องใช้แรงดันสูง ดังนั้นพื้นที่ต่ำๆ ก็ถูกน้ำล้นออกมาำท่วมสองฝั่งที่อยู่ระดับต่ำ

หลังจากนั้นเขาก็จะแก้ปัญหาโดยการทำผนังคอนกรีต พวกที่เคยคัดค้านไม่เอาผนังกั้นแม่น้ำปิง ขอบอกว่า เมื่อประตูระบายน้ำมา พนังคอนกรีตก็จะกลับมา และเมืองเชียงใหม่ก็จะเกิดน้ำขังในช่วงฤดูฝนเพราะน้ำฝนไม่สามารถไหลผ่านพนังไปได้เกิดน้ำขังจนเน่า เมืองเชียงใหม่ก็จะเน่า ถึงตอนนั้นอาจจะมีโรคระบาดด้วย ดังนั้นถือว่าเราจะได้รับกันถ้วนหน้าที่เดียว และเชียงใหม่ก็จะไม่ใช่เมืองน่าอยู่อีกต่อไป ถึงตอนนั้นใครจะมาล่องเรือสำราญ อวสานกันถ้วนหน้า

ถ้าไม่ทำจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ก็จะมีปัญหาคือ จะต้องมีการโดนปรับเพราะว่า มีงบประมาณมาแล้ว และมีการทำสัญญาว่าจ้างกันแล้ว


ในขณะเดียวกันพวกเขาลืมไปว่า ฝายภูมิปัญญาชาวบ้านนั้นมีค่ามหาศาลถ้าตีเป็นเงินนับพันล้านเหมือนกัน ถ้าตีราคาการก่อสร้างในช่วงนี้ ค่าแรงงานเท่าไหร่ อาจนับ 100 ล้าน ค่าหินเท่าไหร่ 


ลองสอบถามแก่ฝายดูแกว่า ฝายหนึ่งใช้ก้อนหินประมาณหนึ่งหมื่นก้อน คิดเป็นค่าหินเท่าไหร่ สามฝายสามหมื่นก้อน คิดราคาก้อนละพัน และค่าภูมิปัญญา (ออกแบบ) อีกเท่าไหร่ ดังนั้นพันล้านจึงไม่ถือว่ามากไป ข้อนี้จะฟ้องร้องใครได้บ้าง เช่นฟ้องศาลเพ่ง จัรับฟ้องค่าเสียหายไหม


มีผู้ยินยอมเพราะเบื่อหน่าย เสียทั้งเงินทั้งเวลา บางคนไม่ได้เก็บลำไย เพราะมัวจะมาฟังบ้าง มายื่นหนังสือบ้าง ต่างจากหน่วยงานรัฐที่ได้เงินในการมาด้วย หรืออย่างน้อยก็ได้เงินเดือน แต่ชาวบ้านยิ่งค้านยิ่งไม่ได้ทำงาน

ผู้ที่ยังไม่ยินยอมอันได้แก่ แก่ฝาย และคนเฒ่าคนแก่จำนวนหนึ่ง

พวกท่าน ๆ แก่ฝาย ผู้ช่วยแก่ฝาย และผู้ใช้น้ำ รวมทั้งคนเชียงใหม่ทั่วไป จะมาทำบุญสืบชะตาฝายกันอีกครั้ง รวมทั้งพิธีสาปแช่งด้วย มีการออกแถลงการณ์ ในวันที่ 13 กันยายนนี้ เวลา 10.00 . แก่ฝายคนสุดท้าย พ่อหมื่นนัดพบค่ะ ฝากผ่านเชิญสื่อมวลชนด้วยค่ะ



 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
  แล้วฉันก็คิดว่าทุกอย่างยังเหมือนเดิน ฉันเดินทางไปหาเพื่อนที่กรุงเทพฯ  และบอกเธอว่า ฉันอยากจะไปเยี่ยมนักเขียนผู้ใหญ่รุ่นพี่คนหนึ่ง  เพื่อนบอกว่า ไม่ได้ไปนานแล้ว ช่วงหลังๆ ไม่ค่อยมีใครไปหาใครกัน  เมื่อถามว่าทำไม
แพร จารุ
ป่าสนวัดจันทร์   หลังจากที่เขียนเรื่องป่าสนวัดจันทร์ถูกโฆษณาว่าเป็นผืนป่าสนแห่งเดียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีชนเผ่าใช้วิถีชีวิตแบบเดิม ๆ
แพร จารุ
เมื่อเขียนเรื่อง “ป่าสนวัดจันทร์ถูกโฆษณาว่าเป็นที่สุด”  ฉันก็ได้รับจดหมายฉบับหนึ่ง เขียนถึงเรื่องอำเภอใหม่ส่งเข้ามา วันนี้จึงนำจดหมายฉบับนี้มาให้อ่านกันค่ะ  เธอเขียนมาว่า ลองเขียนเรื่องอำเภอใหม่มาให้อ่าน
แพร จารุ
ป่าสนผืนเดียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มองขึ้นบนต้นสนเหมือนหนึ่งว่ามีนกเกาะอยู่บนนั้นเต็มไปหมด จนใครบางคนเผลอถามว่า นั่นนกอะไรเกาะอยู่เต็มไปหมด หลายคนหัวเราะ ไม่ใช่นกหรอกมันคือลูกสน ที่นี่มีชื่อว่า ป่าสนวัดจันทร์ เป็นครั้งที่สองที่ฉันเดินทางมาที่นี้ห่างจากครั้งแรกเกือบยี่สิบปี ฉันไม่กล้าเดินทางไปที่นั่นเพราะรู้สึกว่ามันลำบากยากเย็นเหลือเกิน เป็นการเดินทางที่โหด ๆ ในช่วงวัยเยาว์ เพราะต้องนั่งรถไฟชั้นสามมาจากกรุงเทพฯ นานกว่าสิบสองชั่วโมง ก็รู้กันอยู่ว่ารถไฟไทยเสียเวลาเสมอ ๆ ลงจากรถไฟมีนักเขียนจากเมืองเหนือรอรับอยู่
แพร จารุ
มุสโต๊ะ (มุส-สะ-โต๊ะ) อาหารมื้อไหน ๆ ก็ต้องมีมุสโต๊ะ มุสโต๊ะก็คือน้ำพริกนั่นเอง ฉันรู้จักมุสโต๊ะครั้งแรกเมื่อเที่ยวบ้านปกาเกอญอ และนับจากวันนั้นก็ชอบมุสโต๊ะแบบปกาเกอญอทันที่
แพร จารุ
คุณทำอะไรเมื่อเช้านี้  ส่วนฉันตื่นขึ้นมาพร้อมกับหยิบหนังสือเล่มเล็ก ๆ จากโต๊ะกินข้าวติดมือไปนอนอ่านในเปลใต้ต้นมะขามเล็ก  หนังสือชื่อ ไม่รักไม่บอก 5 เป็นของกลุ่มภาคีคนฮักเจียงใหม่  ฉันเป็นอาสาสมัครในกลุ่มนี้กับเขาด้วย แต่ฉันไม่ได้ทำหนังสือเล่มนี้ ดังนั้นฉันจึงเพิ่งได้อ่านจริง ๆ ครูโรงเรียนอนุบาลเพิ่งให้มาสิบเอ็ดเล่ม วันนั้นมีน้อง ๆ หนุ่ม ๆ จากไหนก็ไม่รู้มาช่วยกันขนหนังสือหลายกล่องที่นำมาขายในงานอำลา ‘รงค์ วงษ์สวรรค์  ฉันไม่มีของอะไรตอบแทนน้องจึงแจกพวกเขาไปคนละเล่มเหลือเก็บไว้เล่มหนึ่ง ภาพปกเป็นแม่มดหน้าตาน่ารักถือไม้เท้าวิเศษ มีข้อเขียนว่า จงสุภาพกับโลกใบนี้ (คำจากสาร…
แพร จารุ
  เล่าเรื่องงาน อำลา ’รงค์ วงษ์สวรรค์ เปิดงานไปเมื่อวันที่ 9 มกราคม ยามแดดร่มลมตก หน้าที่ของฉันในงานนี้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลงานขายหนังสือ ฉันรับปากไปว่า “ได้ค่ะ” ทั้งที่ไม่มีความชำนาญเรื่องการขาย หรือเรียกว่าไม่มีทักษะสักนิดเดียว และมักจะคิดตัวเลขผิด วิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่บวกลบคูณหารไม่เก่งเลย ยิ่งวิชาเลขคณิตคิดในใจนี้ไม่ได้เลย แต่ เพราะว่าในช่วงที่เขาประชุมเรื่องการดำเนินการจัดงานฉันไมได้เข้าร่วมประชุม…
แพร จารุ
ฤดูร้อนในเมืองเชียงใหม่ค่อนข้างน่าสยองค่ะ เพราะนอกจากความแห้งแล้งที่เริ่มขึ้นในปลายฤดูหนาวนี้แล้ว เมื่อฤดูร้อนมาถึงเราก็จะพบกับกลุ่มหมอกควันที่มีทั่วเมือง สำหรับประชาชนในชนชั้นเรา ๆ นั้น เตรียมอะไรได้บ้างคะ
แพร จารุ
สวัสดีนักท่องเที่ยว ระหว่างทางนักท่องเที่ยวเจออะไรมาบ้าง ฉันมาอยู่เชียงใหม่สิบกว่าปี แต่บ่อยครั้งที่รู้สึกว่า ตัวเองเหมือนนักท่องเที่ยว
แพร จารุ
  หญิงสาวมักจะกลัวอ้วนเพราะอยากสวย เราถูกทำให้เชื่อกันว่าคนอ้วนจะไม่สวย เป็นสาวเป็นนางต้องผอมเข้าไว้ ใครไม่ผอมเหมือนนางแบบ หรือนักแสดงหน้าจอโทรทัศน์ก็จะไมได้มาตรฐาน ซึ่งความจริงแล้วบางคนผอมจนเกินไป เรียกว่าแห้งแรงน้อยไม่แข็งแรง ขาแขนมีแต่กระดูก คอโปน ไหปลาร้าลึกขนาดน้ำขังยามเมื่ออาบน้ำ
แพร จารุ
ชวนมากินกันต่อค่ะ เพื่อนนักเขียนรุ่นน้องที่เชียงดาว เล่าว่าเธอปลูกข้าวไร่ที่บ้านของเธอ แต่ดูเหมือนจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร แต่ฉันคิดว่าแค่เธอเริ่มต้นปลูกข้าวความมั่นคงทางอาหารก็เริ่มมีแล้ว ต่อมาน้องนักเขียนที่เพิ่งรู้จักยังไม่ได้เห็นหน้ากันเลย เขียนมาบอกว่า เธอปลูกข้าวได้เจ็ดกระสอบ ฉันชื่นชมยินดีกับเธออย่างจริงจังและจริงใจยิ่ง เพราะฉันมีความฝันที่จะปลูกข้าวปลูกผักไว้กินเอง แต่ไม่ได้ทำ และคิดว่าคงไม่ได้ทำ เพราะอายุปูนนี้แล้ว กล้ามเนื้อเป็นไขมัน เรี่ยวแรงหมดไปแล้ว ที่ทำได้ก็คือปลูกกล้วย ซึ่งก็เหมาะสมอยู่เพราะกล้วยเป็นอาหารนิ่ม ๆ กินง่าย…
แพร จารุ
ชวนมากินกันต่อดีกว่า   คราวนี้กินถั่วงอกผัดเห็ดสามอย่างค่ะ ดูเป็นอาหารธรรมดา ๆ นะคะ แต่พิเศษก็ตรงที่ เป็นอาหารที่ประกอบด้วยเห็ดสามอย่างนะคะ ความจริงแล้วอาหารเห็ดสามอย่างที่กินเป็นยานี้ เขาว่าหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันเป็นดีค่ะ แต่ไม่เป็นไรใช้น้อย ๆ เราเน้นความอร่อยด้วยค่ะ