Skip to main content
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์ 

ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า

1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด
3. ถ้ามีโรงไฟฟ้าที่ว่านี้จริง ผลดี ผลเสียอะไรบ้างที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเรา
4. เรามีทางเลือกอย่างอื่นบ้างหรือไม่

บทความสั้นๆ นี้จะพยายามตอบข้อสงสัยเหล่านี้ ดังต่อไปนี้

คำตอบสำหรับข้อที่ 1
ถ้าเดินเครื่องจักรโรงไฟฟ้าขนาด 1 เมกกะวัตต์ให้ทำงานเป็นเวลานาน 1 ชั่วโมง พลังงานที่ได้จะทำให้เราสามารถเปิดหลอดไฟฟ้าขนาดผอม-สั้น (18 วัตต์) ได้จำนวน 55, 555  หลอดเป็นเวลานาน 1 ชั่วโมง  (แค่หนึ่งเมกกะวัตต์นะ)

ดังนั้นโรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์จะสามารถทำให้เราใช้กับหลอดไฟดังกล่าวถึงกว่า 38 ล้าน 8 แสนหลอดพร้อมกัน โดยปกติโรงไฟฟ้าจะทำงานประมาณ 75% ของเวลาทั้งปี
 ดังนั้น โรงไฟฟ้าขนาดนี้สามารถป้อนพลังงานให้หลอดไฟฟ้าขนาดนี้ได้ถึง 29 ล้านหลอดตลอด 24 ชั่วโมงและตลอดทั้งปี

ถ้าเราเกิดความสงสัยต่อว่า คนทั้งจังหวัดนครศรีธรรมราชจะต้องมีโรงไฟฟ้าขนาดเท่าใดจึงจะพอใช้ เราก็ต้องค้นข้อมูลกันต่อไป

จากข้อมูลพบว่า ในปี 2551 คนนครศรีธรรมราชใช้ไฟฟ้ารวมกัน 1
,141 ล้านหน่วย (http://www.thaienergydata.in.th/)  (1 หน่วย = 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง) พลังงานไฟฟ้าจำนวนนี้โรงไฟฟ้าขนาด 174 เมกกะวัตต์สามารถผลิตให้ได้ตลอดไป ไม่ขาด

ถ้าอย่างนั้น ทำไมเขาจึงจะสร้างใหญ่ถึงขนาด 700 เมกกะวัตต์ หรือว่าเขาสร้างให้ชาวจังหวัดพัทลุงและตรังใช้ด้วย จากข้อมูลเดียวกันพบว่า คน 2 จังหวัดนี้ใช้ไฟฟ้ารวมกันเพียง 133 เมกกะวัตต์เท่านั้น

ความต้องการของคนใน 3 จังหวัด (นคร
, พัทลุง ตรัง) รวมกันยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของที่เขาจะสร้างใหม่ คือ 700 เมกกะวัตต์  แล้วทำไมเขาจึงสร้างมหึมาขนาดนี้

ยิ่งคิด ก็ยิ่งสงสัยจังหู  หรือว่าเขาจะสร้างไว้รองรับโรงถลุงเหล็ก หรือนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ฯลฯ
เป็นไปได้ครับ ท่านที่ติดตามข่าวจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดคงจะนึกภาพออก
 

ก่อนจะตอบข้อ 2 และ 3 ขอข้ามไปตอบข้อ 4 ก่อน


คำตอบสำหรับข้อที่ 4 
เรามีทางเลือกอื่นบ้างไหม? เราลองคิดเปรียบเทียบเป็น 2 กรณี ว่าอย่างไหนจะดีกว่ากัน คือ

กรณีแรก
สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินตามที่ กฟผ. เสนอ คำถามก็คือ เอาเชื้อเพลิงคือถ่านหินมาจากไหน
คำตอบคือนำเข้าจากต่างประเทศ ในปี 2552 ประเทศไทยนำเข้าถ่านหินคิดเป็นเงิน 3 หมื่น 7 พันล้านบาท เงินจำนวนนี้ไปตกที่ใครไม่รู้ ที่แน่ ๆ มลพิษที่จะกล่าวถึงในข้อ 2 จะตกลงที่ชาวหัวไทร ชาวปากพนัง เชียรใหญ่ และอำเภออื่น ๆรวมทั้งชาวไทยทั้งประเทศอย่างแน่นอน เพราะถ่านหินก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อนมากที่สุด

กรณีที่สอง
 สร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กเพียง 1 เมกกะวัตต์ โดยใช้ไม้ฟืน กะลามะพร้าว ทางปาล์ม หรืออื่นๆ ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นเป็นระยะทางไม่เกิน 10 ก.ม.
 
ชาวบ้านสามารถปลูกไม้โตเร็วเพื่อป้อนโรงไฟฟ้าได้ตลอดไป โดยที่ไม้ฟืนไม่บูด ไม่เน่าเหมือนผลไม้ และไม่ล้นตลาดในบางฤดูอีกด้วย

โรงไฟฟ้าขนาด 1 เมกกะวัตต์สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณปีละ 6.57 ล้านหน่วย หรือวันละ 18,000 หน่วย ซึ่งเพียงสำหรับครอบครัวในชนบทที่มีตู้เย็น ทีวี (แต่ไม่มีแอร์) ถึงประมาณ 4,500  ถึง 6,000 ครอบครัว ในอำเภอหัวไทรมี 17,417 บ้าน ดังนั้น ในอำเภอหัวไทร ถ้ามีโรงไฟฟ้าชีวมวล ขนาด 1 เมกกะวัตต์จำนวนสัก 6 โรงก็พอใช้แล้ว (คิดรวมการใช้ของภาคธุรกิจและอื่น ๆ ด้วย)

ถ้าเราคิดคร่าว ๆ ว่า โรงไฟฟ้าแต่ละโรงต้องใช้ไม้ฟืนวันละ 2 หมื่นกิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 2 บาท ชาวหัวไทรจะมีรายได้จากการขายไม้ฟืนวันละ 2 แสน 4 หมื่นบาท หรือปีละ 87 ล้านบาทตลอดไป ดีกว่าจ่ายเงินซื้อถ่านหินจากต่างชาติไหม?

ลองคิดซิครับว่า มันสามารถสร้างงานให้ชาวบ้านได้มากน้อยขนาดไหน คนเหล่านี้ไม่ต้องไปดิ้นรนทำงานในเมือง ไม่ต้องใช้ฝีมือแรงงาน แค่ตัดไม้ขายวันละ 200 กิโลกรัม ก็สามารถมีรายได้มากกว่าเด็กจบปริญญาตรีใหม่ ๆ แล้ว
นี่เป็นเพียงการคิดเคร่า ๆ เท่านั้นนะครับ ถ้ารัฐบาลสนับสนุนด้วยการจ่ายเงินชดเชยในฐานะที่ช่วยให้ไม่ต้องใช้ถ่านหินซึ่งเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต ต่อสิ่งแวดล้อม ทุกอย่างจะดีกว่านี้มาก

คำตอบข้อที่ 2
 ถ่านหินนั้นมันคืออะไร   มีสารพิษปนมาบ้างหรือไม่

องค์กรที่รณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการยอมรับระดับโลกอย่างกรีนพีชกล่าวว่า  
“ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่สกปรกที่สุดในโลก”

นายอัล กอร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 2550 กล่าวว่า
ถึงเวลาแล้วที่เราต้องใช้อารยะขัดขืน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ๆ ขึ้นอีก”
 
 
 
รูปข้างหน้าคือถ่านหินที่ยังเป็นก้อน ก่อนจะนำไปใช้ในโรงไฟฟ้าจะต้องมีการบดให้ละเอียด แล้วนำไปเทกองไว้ที่ลานกองถ่านหิน เพื่อรอป้อนเข้าไปเผาในโรงไฟฟ้า

โดยปกติโรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์จะใช้
  • ถ่านหินวันละประมาณ 5,370  ตัน ประมาณ 250 รถสิบล้อ
  • ใช้น้ำปีละ 12 ล้านลิตร (พอสำหรับคนเมือง 3.5 แสนคน)
  • น้ำที่สูบเข้าจะติดลูกปลา กุ้ง 29 ล้านชีวิต ชาวประมงจะเดือดร้อน
  • เกิดหมอกควัน ฝนกรด น้ำฝนใช้ไม่ได้  ผักที่ปลูกจะเสียหาย
  • หน้าดินในแหล่งน้ำใกล้ลานกองถ่านหินจะปนเปื้อน จนปลาอยู่ไม่ได้
  • ปล่อยน้ำร้อนไปทำลายปลาในแหล่งน้ำ
  • ปล่อยขี้เถ้าจำนวน 175,000 ตัน และ 270,000 ตันของขี้โคลน (sludge)
สารพิษจากของเสียเหล่านี้ประกอบด้วย สารหนู สารปรอท โครเมียมและแคดเมียม ซึ่งจะปนเปื้อนเข้าไปกับน้ำดื่ม แล้วจะไปทำลายอวัยวะที่สำคัญรวมทั้งระบบประสาทของคน จากการศึกษาพบว่า ทุก ๆ 100 คนที่ดื่มน้ำบ่อที่ปนเปื้อนสารหนูจากโรงไฟฟ้าถ่านจะเป็นมะเร็ง 1 คน

 
คำตอบข้อที่ 3

ตอบไปแล้วในข้อที่ 2 ภาพข้างบนเป็นภาพเด็กข้างโรงไฟฟ้าในอินโดนีเซีย เป็นโรคหอบ
 
สรุป

ที่ผ่านมาการพัฒนาของบ้านเราถูกกำหนดโดยคนใหญ่คนโตจากข้างบน ไม่เคยถามความเห็นของคนข้างล่างที่หาเลี้ยงชีพด้วยธรรมชาติ ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย หากินลำบาก ทั้งในทะเลและแหล่งน้ำจืด ต้องไปเป็นกรรมกรในเมือง

ต่อไปนี้เราจะขอคิด ขอวางแผนพัฒนาตนเองเองบ้าง และจะไม่ขอเต้นไปตามจังหวะกลองที่คนอื่นตีอีกต่อไป เราจะขอตีเอง เต้นเอง ตามจังหวะที่เราชอบ
 
 
 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เราเคยสงสัยและตั้งคำถามเสมอมาว่า ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูป (รวมทั้งราคายางพารา) ในภูมิภาคเอเซียจึงถูกกำหนดจากประเทศสิงคโปร์
ประสาท มีแต้ม
ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันที่ปั๊มในบ้านเราได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ราคาน้ำมันดิบจะสูงถึง 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยที่ราคาเมื่อต้นเดือนมิถุนายนได้ขยับจาก 62 ถึง 68 ภายในเวลาเจ็ดวันเท่านั้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ให้เห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของคนไทยโดยเฉลี่ยซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และหากแผนผลิตไฟฟ้าดังกล่าวมีปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างไร สอง เพื่อเล่าถึงการจัดทำแผนผลิตไฟฟ้าที่ผูกขาดโดย "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" จำนวนน้อยตลอดมาและจะชี้ให้เห็นถึงบางสิ่งที่ผมคิดว่า "น่าจะไม่ถูกต้อง" สาม หากท่านผู้อ่านได้เห็นปัญหาในข้อสองแล้ว จะได้เห็นความจำเป็นของ "การเมืองภาคประชาชน" ในการตรวจสอบโครงการของรัฐมากขึ้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ตัดสินใจว่าจะอ่านบทความนี้ต่อไปหรือไม่ ผมขอนำประเด็นสำคัญมาเสนอก่อน  ประเด็นคือการวางแผนผลิตก๊าซที่ผิดพลาดทำให้คนไทยทุกคนต้องควักเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น จากรายงานประจำปี 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่า ในปี 2551 บริษัท ปตท. ต้องจ่ายค่า "ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" ก๊าซจากโครงการไทย-มาเลเซีย (ซึ่งเป็นโครงการสร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย และทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน) เป็นจำนวน 13,716 ล้านบาท
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นจากถนนวอลล์สตรีทในสหรัฐอเมริกากำลังลุกลามไปอย่างรวดเร็วราวกับลาวาภูเขาไฟไปสู่ทุกถนนของโลก ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยหน่วยงานของรัฐและการนิคมอุตสาหกรรมก็กำลังดำเนินการให้มีแผนพัฒนาภาคใต้ด้วยโครงการต่าง ๆ มากมาย ทั้งโดยเปิดเผยและแอบแฝง ตัวอย่างของโครงการเหล่านี้ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โครงการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเซฟรอน ที่นครศรีธรรมราช ตลอดจนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 3 โรง นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดตรัง และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดสงขลาและอีกหลายจังหวัด…
ประสาท มีแต้ม
  เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงพลังงานในฐานะผู้รับผิดชอบหรือจะเรียกว่าผู้จัดทำแผนผลิตไฟฟ้าเองได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุง "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า" ในช่วงปี 2551 ถึง 2564 ซึ่งเป็นแผนที่ได้จัดทำไว้ก่อนปี 2551 ในการรับฟังครั้งนี้ก็เพื่อจะได้ปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงก็เพราะปัญหาเศรษฐกิจถดถอยทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศไทยด้วยนักวิชาการอิสระด้านพลังงานที่ไม่ใช่ข้าราชการของกระทรวงพลังงานก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ขณะเดียวกันกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าก็ได้ตั้งคำถามพร้อมแผ่นผ้าด้วยข้อความสั้น ๆ แต่เข้าใจง่ายว่า "…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ เมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบปัญหาขายไม่ได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของโลก นักการเมืองรวมทั้งว่าที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้เสนอมาตรการลดหย่อนภาษีค่าโอนบ้าน โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป ผมขออนุญาตไม่แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวข้างต้น แต่ขอใช้หลักคิดเดียวกันนี้เพื่อตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลจึงไม่ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการพืชน้ำมันซึ่งได้แก่ ไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์ ซึ่งโยงใยเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่เจ้าของโรงงานจนถึงเกษตรกรผู้ปลูกพืชน้ำมัน ( ปาล์มน้ำมัน อ้อย ฯลฯ ) เหล่านี้บ้างเล่า?
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อราคาน้ำมันลดลงมาจากลิตรละราว 40 บาทจากเมื่อ 4-5 เดือนก่อนมาอยู่ที่ราว ๆ 20 บาท ทำให้คนไทยเราก็รู้สึกสบายใจ บางคนถึงกับกล่าวว่า “ตอนนี้จะไปไหนมาไหนก็ไม่ค่อยได้คิดมากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว” ในยุคที่การเมืองที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้บริโภคจะพอใจอยู่กับตัวเลขที่อิงอยู่กับความรู้สึกเช่นนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เราจะต้องลุกขึ้นมาช่วยกันตรวจสอบ ถามหาความความเป็นธรรม ความพอดีอยู่ตลอดเวลา เมื่อพูดถึงความรู้สึกที่สบายใจขึ้นของคนไทยในขณะนี้ ทำให้ผมนึกเรื่อง “นัสรูดิน” ชายชาวอาหรับโบราณที่คนรุ่นหลังยังตัดสินไม่ได้ว่า เขาเป็นคนเฉลียวฉลาดหรือคนโง่กันแน่…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ก่อนจะเริ่มต้นเนื้อหา เรามาดูรูปการ์ตูนสนุก ๆ แต่บาดใจและอาจจะบาดตากันก่อนครับ ความหมายในภาพนี้ ไม่มีอะไรมาก นอกจากบอกว่านี่ไงหลักฐานที่พิสูจน์ว่าโลกเราร้อนขึ้นจริง สำหรับภาพนี้บอกว่า ผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น นักวิชาการ (และนักการเมือง) กำลังระดมกันแก้ปัญหาอย่างขยันขันแข็ง ขอขอบคุณเจ้าของภาพทั้งสองด้วย คราวนี้มาเข้าเรื่องกันครับ ขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญ 4 ด้านพร้อม ๆ กัน คือ (1) วิกฤติภาวะโลกร้อน (2) วิกฤติพลังงานที่ทั้งขาดแคลน ราคาแพง ผูกขาดและก่อวิกฤติด้านอื่น ๆ (3) วิกฤติการเงินที่เพิ่งจะเกิดขึ้นหยก ๆ…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ “...เวลานี้สังคมไทยมีอาการป่วยอย่างร้ายที่สุด คือ ป่วยทางปัญญา ขอให้พิจารณาดูเถิด เวลานี้ปัญหาสุขภาวะที่น่ากลัวที่สุดคือ ความป่วยทางปัญญา...” พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) มีนาคม 2551 ท่ามกลางกระแสการคิดค้นเรื่อง “การเมืองใหม่” ซึ่งขณะนี้สังคมบางส่วนเริ่มเห็นภาพราง ๆ บ้างแล้วว่ามันเป็นอย่างไร แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่า สังคมไทยจะก้าวไปสู่สภาพนั้นได้อย่างไร และสมมุติว่าเราสามารถเข้าไปสู่สภาพนั้นได้จริง ๆ แล้ว เราจะรักษาและพัฒนาการเมืองใหม่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกได้อย่างไร ในที่นี้ ผมจะขออนุญาตนำเสนอหลักการพื้นฐานมาใช้ตอบคำถามดังกล่าว ผมเรียกหลักการนี้ว่า “กฎ 3…
ประสาท มีแต้ม
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2551 หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้ลงข่าวว่า "พลังงานเผยไทยผลิตน้ำมันดิบสูงกว่าบรูไน คุยทดแทนนำเข้าปีนี้มหาศาล" (ไทยรัฐ 2 เมษายน 2551)    สาเหตุที่ผู้ให้ข่าวซึ่งก็คือข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานได้นำประเทศไทยไปเทียบกับประเทศบรูไน ก็น่าจะเป็นเพราะว่าคนไทยเราทราบกันดีว่าประเทศบรูไนเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายหนึ่งของภูมิภาคนี้ ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเราผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าก็น่าจะทำให้คนไทยเราหลงดีใจได้บ้าง  นาน ๆ คนไทยเราจะได้มีข่าวที่ทำให้ดีใจสักครั้ง   หลังจากอ่านข่าวนี้แล้ว ผมก็ได้ค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตก็พบว่า…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ขณะนี้มีผู้คนจำนวนหนึ่งกำลังครุ่นคิดถึง "การเมืองใหม่" ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่ามันคืออะไรกันแน่ ทราบแต่ว่า "การเมืองเดิม" ซึ่งก็คือการเมืองแบบตัวแทน (representative democracy) กำลังมีปัญหาหลายอย่างและรุนแรงขึ้นทุกขณะบทความนี้จะนำเสนอความล้มเหลวของ "การเมืองแบบตัวแทน" อย่างสั้นๆ พร้อมกับนำเสนอ "การเมืองแบบไฮเพอร์ (hyperpolitics)" ให้พอเป็นประกายเบื้องต้น หากสังคมนี้สนใจก็มีช่องทางให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อไป2. สาเหตุความล้มเหลวของการเมืองแบบตัวแทนเราท่องกันจนขึ้นใจมาตั้งแต่วัยเด็กแล้วว่า สาเหตุสำคัญของการมี "การเมืองแบบตัวแทน" คือเป็นเพราะคนมันเยอะ…