Skip to main content
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์ 

ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า

1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด
3. ถ้ามีโรงไฟฟ้าที่ว่านี้จริง ผลดี ผลเสียอะไรบ้างที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเรา
4. เรามีทางเลือกอย่างอื่นบ้างหรือไม่

บทความสั้นๆ นี้จะพยายามตอบข้อสงสัยเหล่านี้ ดังต่อไปนี้

คำตอบสำหรับข้อที่ 1
ถ้าเดินเครื่องจักรโรงไฟฟ้าขนาด 1 เมกกะวัตต์ให้ทำงานเป็นเวลานาน 1 ชั่วโมง พลังงานที่ได้จะทำให้เราสามารถเปิดหลอดไฟฟ้าขนาดผอม-สั้น (18 วัตต์) ได้จำนวน 55, 555  หลอดเป็นเวลานาน 1 ชั่วโมง  (แค่หนึ่งเมกกะวัตต์นะ)

ดังนั้นโรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์จะสามารถทำให้เราใช้กับหลอดไฟดังกล่าวถึงกว่า 38 ล้าน 8 แสนหลอดพร้อมกัน โดยปกติโรงไฟฟ้าจะทำงานประมาณ 75% ของเวลาทั้งปี
 ดังนั้น โรงไฟฟ้าขนาดนี้สามารถป้อนพลังงานให้หลอดไฟฟ้าขนาดนี้ได้ถึง 29 ล้านหลอดตลอด 24 ชั่วโมงและตลอดทั้งปี

ถ้าเราเกิดความสงสัยต่อว่า คนทั้งจังหวัดนครศรีธรรมราชจะต้องมีโรงไฟฟ้าขนาดเท่าใดจึงจะพอใช้ เราก็ต้องค้นข้อมูลกันต่อไป

จากข้อมูลพบว่า ในปี 2551 คนนครศรีธรรมราชใช้ไฟฟ้ารวมกัน 1
,141 ล้านหน่วย (http://www.thaienergydata.in.th/)  (1 หน่วย = 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง) พลังงานไฟฟ้าจำนวนนี้โรงไฟฟ้าขนาด 174 เมกกะวัตต์สามารถผลิตให้ได้ตลอดไป ไม่ขาด

ถ้าอย่างนั้น ทำไมเขาจึงจะสร้างใหญ่ถึงขนาด 700 เมกกะวัตต์ หรือว่าเขาสร้างให้ชาวจังหวัดพัทลุงและตรังใช้ด้วย จากข้อมูลเดียวกันพบว่า คน 2 จังหวัดนี้ใช้ไฟฟ้ารวมกันเพียง 133 เมกกะวัตต์เท่านั้น

ความต้องการของคนใน 3 จังหวัด (นคร
, พัทลุง ตรัง) รวมกันยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของที่เขาจะสร้างใหม่ คือ 700 เมกกะวัตต์  แล้วทำไมเขาจึงสร้างมหึมาขนาดนี้

ยิ่งคิด ก็ยิ่งสงสัยจังหู  หรือว่าเขาจะสร้างไว้รองรับโรงถลุงเหล็ก หรือนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ฯลฯ
เป็นไปได้ครับ ท่านที่ติดตามข่าวจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดคงจะนึกภาพออก
 

ก่อนจะตอบข้อ 2 และ 3 ขอข้ามไปตอบข้อ 4 ก่อน


คำตอบสำหรับข้อที่ 4 
เรามีทางเลือกอื่นบ้างไหม? เราลองคิดเปรียบเทียบเป็น 2 กรณี ว่าอย่างไหนจะดีกว่ากัน คือ

กรณีแรก
สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินตามที่ กฟผ. เสนอ คำถามก็คือ เอาเชื้อเพลิงคือถ่านหินมาจากไหน
คำตอบคือนำเข้าจากต่างประเทศ ในปี 2552 ประเทศไทยนำเข้าถ่านหินคิดเป็นเงิน 3 หมื่น 7 พันล้านบาท เงินจำนวนนี้ไปตกที่ใครไม่รู้ ที่แน่ ๆ มลพิษที่จะกล่าวถึงในข้อ 2 จะตกลงที่ชาวหัวไทร ชาวปากพนัง เชียรใหญ่ และอำเภออื่น ๆรวมทั้งชาวไทยทั้งประเทศอย่างแน่นอน เพราะถ่านหินก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อนมากที่สุด

กรณีที่สอง
 สร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กเพียง 1 เมกกะวัตต์ โดยใช้ไม้ฟืน กะลามะพร้าว ทางปาล์ม หรืออื่นๆ ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นเป็นระยะทางไม่เกิน 10 ก.ม.
 
ชาวบ้านสามารถปลูกไม้โตเร็วเพื่อป้อนโรงไฟฟ้าได้ตลอดไป โดยที่ไม้ฟืนไม่บูด ไม่เน่าเหมือนผลไม้ และไม่ล้นตลาดในบางฤดูอีกด้วย

โรงไฟฟ้าขนาด 1 เมกกะวัตต์สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณปีละ 6.57 ล้านหน่วย หรือวันละ 18,000 หน่วย ซึ่งเพียงสำหรับครอบครัวในชนบทที่มีตู้เย็น ทีวี (แต่ไม่มีแอร์) ถึงประมาณ 4,500  ถึง 6,000 ครอบครัว ในอำเภอหัวไทรมี 17,417 บ้าน ดังนั้น ในอำเภอหัวไทร ถ้ามีโรงไฟฟ้าชีวมวล ขนาด 1 เมกกะวัตต์จำนวนสัก 6 โรงก็พอใช้แล้ว (คิดรวมการใช้ของภาคธุรกิจและอื่น ๆ ด้วย)

ถ้าเราคิดคร่าว ๆ ว่า โรงไฟฟ้าแต่ละโรงต้องใช้ไม้ฟืนวันละ 2 หมื่นกิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 2 บาท ชาวหัวไทรจะมีรายได้จากการขายไม้ฟืนวันละ 2 แสน 4 หมื่นบาท หรือปีละ 87 ล้านบาทตลอดไป ดีกว่าจ่ายเงินซื้อถ่านหินจากต่างชาติไหม?

ลองคิดซิครับว่า มันสามารถสร้างงานให้ชาวบ้านได้มากน้อยขนาดไหน คนเหล่านี้ไม่ต้องไปดิ้นรนทำงานในเมือง ไม่ต้องใช้ฝีมือแรงงาน แค่ตัดไม้ขายวันละ 200 กิโลกรัม ก็สามารถมีรายได้มากกว่าเด็กจบปริญญาตรีใหม่ ๆ แล้ว
นี่เป็นเพียงการคิดเคร่า ๆ เท่านั้นนะครับ ถ้ารัฐบาลสนับสนุนด้วยการจ่ายเงินชดเชยในฐานะที่ช่วยให้ไม่ต้องใช้ถ่านหินซึ่งเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต ต่อสิ่งแวดล้อม ทุกอย่างจะดีกว่านี้มาก

คำตอบข้อที่ 2
 ถ่านหินนั้นมันคืออะไร   มีสารพิษปนมาบ้างหรือไม่

องค์กรที่รณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการยอมรับระดับโลกอย่างกรีนพีชกล่าวว่า  
“ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่สกปรกที่สุดในโลก”

นายอัล กอร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 2550 กล่าวว่า
ถึงเวลาแล้วที่เราต้องใช้อารยะขัดขืน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ๆ ขึ้นอีก”
 
 
 
รูปข้างหน้าคือถ่านหินที่ยังเป็นก้อน ก่อนจะนำไปใช้ในโรงไฟฟ้าจะต้องมีการบดให้ละเอียด แล้วนำไปเทกองไว้ที่ลานกองถ่านหิน เพื่อรอป้อนเข้าไปเผาในโรงไฟฟ้า

โดยปกติโรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์จะใช้
  • ถ่านหินวันละประมาณ 5,370  ตัน ประมาณ 250 รถสิบล้อ
  • ใช้น้ำปีละ 12 ล้านลิตร (พอสำหรับคนเมือง 3.5 แสนคน)
  • น้ำที่สูบเข้าจะติดลูกปลา กุ้ง 29 ล้านชีวิต ชาวประมงจะเดือดร้อน
  • เกิดหมอกควัน ฝนกรด น้ำฝนใช้ไม่ได้  ผักที่ปลูกจะเสียหาย
  • หน้าดินในแหล่งน้ำใกล้ลานกองถ่านหินจะปนเปื้อน จนปลาอยู่ไม่ได้
  • ปล่อยน้ำร้อนไปทำลายปลาในแหล่งน้ำ
  • ปล่อยขี้เถ้าจำนวน 175,000 ตัน และ 270,000 ตันของขี้โคลน (sludge)
สารพิษจากของเสียเหล่านี้ประกอบด้วย สารหนู สารปรอท โครเมียมและแคดเมียม ซึ่งจะปนเปื้อนเข้าไปกับน้ำดื่ม แล้วจะไปทำลายอวัยวะที่สำคัญรวมทั้งระบบประสาทของคน จากการศึกษาพบว่า ทุก ๆ 100 คนที่ดื่มน้ำบ่อที่ปนเปื้อนสารหนูจากโรงไฟฟ้าถ่านจะเป็นมะเร็ง 1 คน

 
คำตอบข้อที่ 3

ตอบไปแล้วในข้อที่ 2 ภาพข้างบนเป็นภาพเด็กข้างโรงไฟฟ้าในอินโดนีเซีย เป็นโรคหอบ
 
สรุป

ที่ผ่านมาการพัฒนาของบ้านเราถูกกำหนดโดยคนใหญ่คนโตจากข้างบน ไม่เคยถามความเห็นของคนข้างล่างที่หาเลี้ยงชีพด้วยธรรมชาติ ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย หากินลำบาก ทั้งในทะเลและแหล่งน้ำจืด ต้องไปเป็นกรรมกรในเมือง

ต่อไปนี้เราจะขอคิด ขอวางแผนพัฒนาตนเองเองบ้าง และจะไม่ขอเต้นไปตามจังหวะกลองที่คนอื่นตีอีกต่อไป เราจะขอตีเอง เต้นเอง ตามจังหวะที่เราชอบ
 
 
 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2551 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "9 คำถามคาใจ กรณี ปตท." ซึ่งเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจมาหลายปีนับตั้งแต่การแปรรูปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2544 เวทีเสวนาประกอบด้วย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม  บมจ. ปตท. (คุณสรัญ รังคสิริ)  เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (คุณสารี อ๋องสมหวัง) ดำเนินรายการโดยคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  บรรณาธิการนิตยสารสารคดี นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการและประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ภัทรด้วย นักข่าวของ “ประชาไท” รายงานว่า “…
ประสาท มีแต้ม
นายทหารยศพันตรีท่านหนึ่ง (พ.ต.รัฐเขต แจ้งจำรัส) ได้ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชนผ่านเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า “ปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติใต้แผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลทั้งหมดมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านบาท” เงินจำนวน 100 ล้านล้านบาท(ล้านสองครั้ง)นี้ ถ้าเอามาจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในปีปัจจุบันก็จะได้ประมาณ 62 ปี เพราะงบประมาณปีหน้า (2552) มีประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ข้อมูลที่นายทหารผู้นี้นำเสนอล้วนเป็นข้อมูลของทางราชการที่เข้าใจยาก กระจัดกระจาย แต่ท่านได้นำมารวบรวม วิเคราะห์ แล้วสรุปให้ประชาชนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ง่าย…
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม จากปัญหาที่ผู้บริหารทั้งระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “อ้าง” หลายครั้งหลายวาระด้วยกันว่า ก๊าซหุงต้มในประเทศไทยขาดแคลน ทาง บริษัท ปตท. จึงได้ออกมาบอกกับสาธารณะในสามประเด็นหลัก คือ (1) เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคาหรือลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มให้เท่ากับราคาตลาดโลก(2) ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง ปตท. ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีแล้วจำนวน2 หมื่นตัน ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงสุดอ้างว่าในปีนี้จะมีการนำก๊าซถึง 4 แสนตัน (3) ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกตันละเกือบพันเหรียญสหรัฐ แต่ราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ตันละประมาณ 300 เหรียญ…
ประสาท มีแต้ม
1. ประเด็นปัญหา ขณะนี้ บริษัท ปตท. ได้บอกกับประชาชนว่าก๊าซหุงต้มหรือที่เรียกกันในวงการว่าก๊าซแอลพีจี (Liquefied petroleum gas) ในประเทศไทยกำลังขาดแคลน และได้แนะนำให้รัฐบาลขึ้นราคาก๊าซชนิดนี้ โดยเฉพาะที่ใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์แท็กซี่ (นายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บมจ. ปตท. ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel , 7 กรกฎาคม 2551) นอกจากนี้นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กล่าวว่า “ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปีนี้ต้องนำเข้าแอลพีจี 4 แสนตัน” (ไทยรัฐ 11 กรกฎาคม 2551)
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำและปัญหา ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท…
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า “เออ! เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมามั่ง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก”   แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม  โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลกในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกรได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า “ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม”บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ (1)…
ประสาท มีแต้ม
๑.คำนำเมื่อ ๗ ปีก่อน  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้คิดวิชาใหม่ขึ้นมาหนึ่งรายวิชา หากคำนึงถึงแนวคิด เนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนแล้ว อาจถือว่าได้วิชานี้เป็นวิชาแรกในประเทศไทยก็น่าจะได้  ผมจึงอยากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านที่เป็นผู้จ่ายภาษีมาตลอดได้รับทราบครับ ด้วยขั้นตอนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย เราได้เริ่มลงมือเปิดสอนจริงเมื่อ ๓ ปีมาแล้ว รายวิชานี้ชื่อว่า “วิทยาเขตสีเขียว (Greening the Campus)”  เป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่สามทุกคน เรื่องที่จะนำมาเล่าอย่างสั้นๆ นี้ ได้แก่ แนวคิด เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน  สิ่งที่นักศึกษาค้นพบและร่วมผลักดันขยายผล…
ประสาท มีแต้ม
ผมว่างเว้นจากการเขียนบทความมานานกว่าสองเดือนแล้ว จนอันดับบทความของผมที่เรียงตามเวลาที่เขียนในเว็บไซต์ “ประชาไท” ตกไปอยู่เกือบสุดท้ายของตารางแล้ว สาเหตุที่ไม่ได้เขียนเพราะผมป่วยเป็นโรคที่ทันสมัยคือ “โรคคอมพิวเตอร์กัด” ครับ มันมีอาการปวดแสบปวดร้อนไปทั่วทั้งหลัง พอฝืนทนเข้าไปทำงานอีกไม่เกินห้านาทีก็ถูก “กัด” ซ้ำอีก ราวกับมันมีชีวิตแน่ะที่นำเรื่องนี้มาเล่าก่อนในที่นี้ไม่ใช่อยากจะเล่าเรื่องส่วนตัว แต่อยากนำประสบการณ์ที่ผิดๆ ของผมมาเตือนท่านผู้อ่านโดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ท่านผู้อ่านที่สนใจจะเก็บเรื่องของผมไปเป็นบทเรียน…
ประสาท มีแต้ม
ผมเองไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังในประเด็นพลังงานทั้งเรื่อง ปตท. และการไฟฟ้า ทั้งการเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานหมุนเวียนมานานกว่า 10 ปีหลังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด (14 ธันวาคม) ในอีก 2 วันทำการต่อมารัฐบาลก็ได้ผ่านมติวิธีการจัดการรวมทั้งการคิดค่าเช่าท่อก๊าซฯให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยใช้เวลาพิจารณาเพียง 10 นาที สร้างความกังขาให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมากประเด็นที่ผมสนใจในที่นี้มี 3 เรื่องดังต่อไปนี้หนึ่ง คำพิพากษาของศาลฯที่ว่า “การใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” ในกรณีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้นควรจะครอบคลุมไปถึงไหน  ในฐานะที่ไม่ใช่นักกฎหมาย…
ประสาท มีแต้ม
เรื่องราวที่ผมจะนำมาเล่าในที่นี้  ไม่ใช่เรื่องเทคนิคทางไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว  แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงานเชิงสังคมที่น่าสนใจของตัวผมเอง  ผมคิดว่าเรื่องนี้มีคุณค่าพอที่ผู้อ่านทั่วไปตลอดจนกลุ่มเพื่อนพ้องที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อนสันติภาพของโลก  จริงๆนะครับ ผมไม่ได้โม้ผมขอเริ่มเลยนะครับเราเคยสังเกตไหมครับว่า สวิทซ์ไฟฟ้าในที่ทำงานของเรา โดยเฉพาะที่เป็นสถานที่ราชการ เวลาเราเปิดสวิทซ์ ไฟฟ้าจะสว่างไปหลายดวง หลายจุดเป็นแถบๆ  ยิ่งเป็นที่สาธารณะ เช่น สำนักงาน…
ประสาท มีแต้ม
1. ความในใจผมขอพักเรื่องนโยบายสาธารณะด้านพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมากๆ สำหรับประเทศไทยและชาวโลกไว้ชั่วคราวครับ  ในบทความนี้ผมขอนำเรื่องภายในมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่มาเล่าสู่กันฟังมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับผู้อ่าน  แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในระบบราชการไทยที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแม้ว่าสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว  นอกจากนี้ผมมีเรื่องวิชาใหม่ที่คาดว่าเป็นวิชาแรกในประเทศไทยคือวิชา “ชุมชนมหาวิทยาลัยสีเขียว (Greening the campus)”…
ประสาท มีแต้ม
การแปรรูป ปตท. คือการปล้นประชาชน! ในช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว แต่บริษัทน้ำมันต่างๆในประเทศไทยกลับมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นมากกว่านั้นในบทนี้ จะกล่าวถึงกิจการของบริษัท ปตท. จำกัดมหาชน และบริษัทอื่นๆบ้าง โดยย่อๆ เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้๑. บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ได้แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔  ตอนเริ่มต้นการแปรรูป กระทรวงการคลังถือหุ้น ๖๙% ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๒.๔๘%ดังนั้น กำไรของ ปตท. ซึ่งเดิมเคยตกเป็นของรัฐทั้งหมด ๑๐๐% ก็จะเหลือเพียงตามสัดส่วนที่รัฐถือหุ้น  คงจำกันได้นะครับว่า หุ้น ปตท…