Skip to main content

หลังจากที่ได้ขีดๆเขียนๆบทความ ในด้านที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย และอยู่ในความสนใจของตัวเอง เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เป็นเวลาอันสมควร ที่ควรจะทำความเข้าใจ กับผู้ให้ความกรุณาแวะเวียนเข้ามาอ่าน ทั้งขาประจำและขาจร ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่ง ถึงที่มาของคอลัมน์ “กรองกระแส ICT”

จุดเริ่มต้นของคอลัมน์นี้ เกิดจากการที่ข้าพเจ้ามีความสนใจ และมีโอกาสศึกษาหาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ
Information Technology (IT) และ ทางด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ หรือ Information System (IS) ประกอบกับประสบการณ์ในการทำงาน ในอุตสหกรรมโทรคมนาคม จนถือได้ว่า ข้าพเจ้าโชคดีที่มีความคุ้นเคยกับ ICT จากทั้งสองฝากของเทคโนโลยีซึ่งรวมกันเป็น ICT นั่นคือ ฝากของเทคโนโลยีสารสนเทศ จากโอกาสทางศึกษา และฝากของเทคโนโลยีทางการสื่อสาร จากโอกาสทางการทำงาน

จากประสบการณ์ทำงานและโอกาสทางการศึกษา ทำให้ข้าพเจ้าพูดได้ว่า ในปัจจุบัน เกือบทุกสังคมในโลกใบนี้ รวมถึงประเทศไทยของเรา ยังมองเห็น
ICT ซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่มีอิทธิพลต่อทุกชีวิตบนโลกใบนี้ เพิ่มขึ้นทุกที จากสองบริบทนั่นคือ จากบริบททางเทคโนโลยี และจากบริบททางการบริหารจัดการ เป็นหลัก ซึ่งเป็นผลมาจากการถูกปลูกฝังแนวความคิด จากโลกของการศึกษาและโลกของการทำงาน

โดย
...

การมอง
ICT จากบริบททางเทคโนโลยี เป็นผลมาจาก กลุ่มคนที่ถูกปลูกฝังแนวคิดทางเทคโนโลยี เช่น ผู้ที่มีพื้นฐานการศึกษา หรือจากประสบการณ์การทำงาน ทางด้านวิศวกรรม ทางด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งส่งผลให้คนในกลุ่มนี้ มีลักษณะวิธีคิด หรือตรรกะในการทำงาน อย่างที่เรียกว่า “วิธีคิดเชิงระบบ” ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับ แนวคิดเบื้องหลังโครงสร้างการทำงานภายใน ของเทคโนโลยีต่างๆ

สังคมที่มอง
ICT จากบริบททางเทคโนโลยี มักยึดเอาเทคโนโลยี ICT เป็นศูนย์กลางในการสร้างความเปลี่ยนแปลง เพราะเชื่อในความถูกต้องและประสิทธิภาพ ของระบบการทำงานของเทคโนโลยี ที่ถูกคิดและสร้างมา โดยจะบังคับให้ผู้คน ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ยอมรับและปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้เข้ากับระบบสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องมาจากการนำเทคโนโลยีมาใช้ โดยลืมให้ความสำคัญหรือความสนใจ กับตัวแปรและผลกระทบ อันนอกเหนือจากเป้าหมายหลักที่เทคโนโลยีถูกสร้างขึ้น

ส่วนการมอง
ICT จากบริบทของการบริหารจัดการ เป็นผลมาจากกลุ่มคน ที่ถูกปลูกฝังแนวคิดทางด้านการบริหารจัดการ เช่นผู้ที่มีพื้นฐานการศึกษา หรือประสบการณ์การทำงาน ทางด้านการจัดการองค์กร การบริหารธุรกิจ หรือการควบคุมการผลิต ซึ่งให้ความสำคัญกับการควบคุม ให้สิ่งต้องการบริหารจัดการ เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้

การที่สังคมมอง
ICT จากบริบทของการบริหารจัดการ ส่งผลให้สังคมนั้น ให้ความสำคัญกับการคิดหาวิธีการใช้งานเทคโนโลยี การควบคุมการใช้งานเทคโนโลยี รวมถึงความพยายามพัฒนาวิธีการบริหารจัดการโครงการ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ICT ต่างๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลสัมฤทธิ์สูงสุด โดยผลสัมฤทธิ์ในบริบทนี้ ส่วนใหญ่มักอิงกับประโยชน์ในรูปของตัวเงิน เช่นเพื่อการสร้างรายได้ เพื่อการลดต้นทุน หรือเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

การมอง
ICT จากทั้งสองบริบทข้างต้น มีความเหมือนกันอยู่สองประการ

ประการแรก มุมมองทั้งสองบริบท ยึดถือเอา “วิธีคิดเชิงระบบ” นั่นคือการพยายามรวบรวมปัจจัย และตัวแปรทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างเหตุ ปัจจัย และตัวแปร และใช้ความเข้าใจนี้ เพื่อควบคุมสิ่งต่างๆ ให้เป็นไปตามที่คิดและวางแผนไว้ เป็นหลัก โดยเชื่อในตรรกะที่ว่าการดำเนินไปของทุกสิ่งทุกอย่าง มีที่มาที่ไปหรือเหตุและผลแน่นอน

ประการที่สอง มุมมองทั้งสองบริบท ละเลยความจริงที่ว่า “มนุษย์และสังคม” เป็นผู้มีส่วนร่วม และในขณะเดียวกัน เป็นผู้ได้รับผลกระทบจาก การสร้าง ใช้งาน และการบริหารจัดการ
ICT โดยทั้งมนุษย์และสังคม เป็นตัวแปรหรือปัจจัยที่มีความแตกต่างและหลากหลาย รวมทั้งมีความคิดและความรู้สึก เป็นของตนเอง ซึ่งทำให้มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าแตกต่างกันไป

ความเหมือนกันทั้งสองประการ ของการมีมุมมอง
ICT ในบริบททั้งสองข้างต้น สะท้อนให้เห็นความจริงที่ค่อนข้างแปลก ที่ว่า

สังคมหลายสังคม กำลังนำวิธีคิดเชิงระบบ ซึ่งเป็นแนวความคิดทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการสร้าง การใช้ประโยชน์ และการควบคุมและบริหารจัดเทคโนโลยี เพื่อการสร้างผลลัพธ์ทางสังคม อย่างที่วางเป้าหมายไว้ โดยละเลยตัวแปรหรือปัจจัยทางสังคมศาสตร์...นั่นคือการมีส่วนร่วมและการเป็นผู้รับผลกระทบของ “มนุษย์และสังคม” ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางและความสำเร็จ ในการสร้าง การใช้ประโยชน์ และการควบคุมและบริหารจัดการเทคโนโลยี ซึ่งตัวแปรหรือปัจจัยทางสังคมศาสตร์นี้ ไม่สามารถถูกเข้าใจหรือถูกอธิบายได้ ด้วยวิธีคิดทางวิทยาศาสตร์”

ด้วยความบกพร่องของการมอง
ICT จากบริบททางเทคโนโลยี และบริบททางการบริหารจัดการ เป็นหลัก ทำให้สังคมต่างๆประสบปัญหา เกี่ยวกับ ICT อย่างต่อเนื่อง (จากบทความทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ และต่อๆไป) ข้าพเจ้าจึงคิดว่า สังคมต่างๆควรที่จะมอง ICT จากบริบททางสังคมเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นบริบทที่อนุญาตให้เรา นำองค์ประกอบทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ ICT เข้ามาร่วมในระหว่างการวิเคราะห์ เพื่อทำให้สังคมนั้นมอง ICT ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดตามมา เนื่องจากสังคมนั้นขาดความใส่ใจ ในบริบททางสังคมของ ICT

นั่นคือ
...ในความคิดของข้าพเจ้านั้น

การเปิดพื้นที่เพื่อการศึกษา ICT จากบริบททางสังคม จึงมีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อทุกสังคม”

ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงเริ่มสำรวจโลกไซเบอร์ภาคภาษาไทย และทำให้รู้ว่า สังคมไทยของเรา ยังขาดพื้นที่ที่มีการแลกเปลี่ยนความคิด และแสดงทัศนะเกี่ยวกับ
ICT จากผู้ที่มีมุมมองในบริบททางสังคม

ข้าพเจ้าจึงมีความตั้งใจที่จะหาพื้นที่ออนไลน์ซักแห่ง ที่ได้รับความสนใจจากผู้สนใจศึกษาภาคสังคม เพื่อใช้นำเสนอบทความที่เกี่ยวข้องกับ
ICT จากมุมมองในบริบททางสังคม และหวังว่าพื้นที่แห่งนี้จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิด หรือการแสดงทัศนะต่อยอดทางความคิดในด้านดังกล่าวต่อไป และนี่ก็คือความเป็นมาเป็นไปของคอลัมน์ “กรองกระแส ICT” ณ หนังสือพิมพ์ออนไลน์ ประชาไท แห่งนี้

ปัจจุบันพื้นที่เล็กๆแห่งนี้ มีความก้าวหน้าก้าวเล็กๆเกิดขึ้น จากการที่มีผู้อ่านจำนวนหนึ่งได้เข้ามาอ่านอยู่เป็นประจำ ซึ่งข้าพเจ้าขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

ความสำเร็จก้าวต่อไป ที่ข้าพเจ้าต้องขอการสนับสนุนจากท่านผู้อ่าน ก็คือ การที่ทุกท่านที่เข้ามาอ่านคอลัมน์นี้ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความที่ได้อ่าน แนะนำหัวข้อที่ท่านอยากรู้ แลกเปลี่ยนทัศนะกในเรื่องซึ่งเกิดขึ้นรอบตัวท่าน และท่านตระหนักว่ามีความเกี่ยวข้องกับ บริบททางสังคมของ
ICT และรวมไปถึงการแนะนำคอลัมน์นี้ให้กับผู้สนใจคนอื่นๆต่อไป

อย่างไรก็ดี
...ข้าพเจ้าก็ตั้งใจ ที่จะไม่ปิดกั้นคอลัมน์แห่งนี้ ให้เป็นพื้นที่ที่นำเสนอบทความทางด้าน ICT จากบริบททางสังคมเพียงเท่านั้น หากแต่ตั้งใจทำให้พื้นที่นี้แห่งนี้ เปิดเสรีให้กับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ICT จากบริบทอื่นๆ อย่างรอบด้าน ด้วยการสอดแทรกบทความที่เกี่ยวข้องกับ ICT จากบริบทอื่นๆอีกด้วย

โปรดแนะนำ ติชม และเสนอเรื่องที่อยากรู้ เพื่อทำให้พื้นที่นี้มีสะท้อนความต้องการของผู้อ่านมากขึ้น และทำให้สังคมไทยได้รับประโยชน์สูงสุด จากการมีความเข้าใจ
ICT อย่างรอบด้านมากขึ้น

บทความวันนี้ เปรียบเหมือนบทบรรณาธิการ แล้วกลับมาเจอบทความปกติได้ ในอาทิตย์ต่อไป

ปล
. หากท่านผู้อ่านท่านใด มีโอกาสพบเจอ พื้นที่ออนไลน์อื่นๆ ซึ่งให้ความสนใจกับ ICT ในบริบททางสังคม กรุณาแนะนำข้าพเจ้าด้วย เพื่อขยายเครือข่ายของผู้มีความสนใจ ทางด้านนี้ต่อไป ขอขอบคุณ



บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
ในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะสำคัญของอุปกรณ์ ICT ที่ถูกนำมาใช้เป็นกระดานโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร รวมถึงแนวความคิดในการเลือกกระดานโต้คลื่นฯ ที่เหมาะสมกับแต่ละปัจเจกบุคคล ในบทความนี้เรามาพิจารณาว่า...เมื่อเราได้กระดานโต้คลื่นฯที่เหมาะสมมาแล้ว เราจะใช้กระดานโต้คลื่นฯของเราอย่างไรให้คุ้มค่าต่อการลงทุน แล้วความรู้และความสามารถประเภทไหนและอะไรบ้างที่ถือได้ว่า เป็นทักษะที่จำเป็นในการโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร ในการวิเคราะห์นี้ “เวลา” และ “รายได้” สองสิ่งที่ทวีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์มากขึ้นทุกที ยังคงเป็นสองตัวแปรหลัก ที่ข้าพเจ้าใช้ประกอบการพิจารณา…
SenseMaker
  หลังจากเขียนบทความ ในหัวข้อโลกยุคหลังอุตสาหกรรม กับสภาวะข้อมูลท่วมโลก เสร็จเมื่อสองอาทิตย์ก่อน ได้เกิดหนึ่งคำถามขึ้นกับข้าพเจ้า นั่นคือ หากมนุษย์ต้องดิ้นรน เพื่ออยู่รอดบนโลกใบนี้ ในยุคที่คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร โถมกระหน่ำใส่ประชาคมโลกอย่างรุนแรง และได้ทำให้กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และในทิศทางที่ยากจะคาดเดา มากขึ้นทุกที เราต้องทำอย่างไรบ้างในทัศนะของข้าพเจ้า ผู้ที่สามารถโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร พาตนเองขึ้นไปอยู่บนยอดคลื่น และเป็นผู้กำหนดทิศทางชีวิตของตนเอง คือ ผู้ที่สามารถอยู่รอด และนี่จึงเป็นที่มาของชื่อบทความในตอนนี้และตอนถัดไปข้าพเจ้าขอเริ่มต้นด้วย…
SenseMaker
หัวข้อวิพากษ์วันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ในการประยุกต์ใช้ ICT ขององค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน และไม่ว่าจะเป็นองค์กรแสวงหากำไรหรือไม่ โดยข้าพเจ้าเจาะจงไปที่ ทัศนะของผู้บริหารองค์กร ที่ต้องการนำ ICT เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในลักษณะของการลดต้นทุนแรงงานคน กระชับขบวนการทำงาน และเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ ให้กับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะกับทัศนะองค์กรที่ว่า “ประสิทธิภาพในการทำงานของ ICT สูงกว่ามนุษย์”หรือที่ว่า ”ICT สามารถทำงานทดแทนมนุษย์ได้” สาเหตุสำคัญที่ทำให้ ความคิดในลักษณะดังกล่าวแพร่หลาย สืบเนื่องมาจาก…
SenseMaker
“โลกยุคหลังอุตสาหกรรม (Post industrial Age)” คือชื่อเรียกขานโลกในยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจ มีความแตกต่างไปจากยุคก่อนหน้าหรือ ยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) ซึ่งเป็นยุคที่โลกของเราถูกผลักดัน ด้วยการแข่งขันของแต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ผ่านการพัฒนาความสามารถและเทคโนโลยีทางการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในที่สุดอย่างไรก็ดี โลกยุคหลังอุตสาหกรรม แต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ยังคงดิ้นรนต่อสู่ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในบั้นปลายเช่นเดิม หากแต่ความสำเร็จดังกล่าว กลับถูกขับเคลื่อน…
SenseMaker
เมื่อพูดถึงเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ บนโลกนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเทคโนโลยีคือตัวการอันดับต้นๆ โดยในช่วงหนึ่งศตวรรษหลังสุด ICT ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์ในทุกสังคม และในวงกว้างไล่มาตั้งแต่การเกิดขึ้นของ ICT ยุคแรกๆ ซึ่งได้แก่โทรเลข ตามมาด้วยโทรศัพท์ มาจนถึง ICT ในยุคปัจจุบัน นั่นคือโทรศัพท์มือถือ และ อุปกรณ์ต่อเชื่อมอินเตอร์เนตต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือคอมพิวเตอร์พกพาขนาดต่างๆความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏการณ์ชัดเจน คือ การที่ ICT ทำให้สังคมมนุษย์ มีรูปแบบการติดต่อสื่อสาร และรูปแบบการเข้าถึง ประมวลผล…
SenseMaker
หน้าเว็บไซท์ที่ได้รับความนิยมสูง ในช่วงระยะห้าปีที่ผ่านมา หากไม่นับรวมเว็บไซท์ขายของออนไลน์ ส่วนมากยังคงมีลักษณะคล้ายคลึงกับยุคก่อนหน้านี้ นั่นคือ เป็นเว็บไซท์ที่พยายามสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านการเปิดพื้นที่ให้ผู้ใช้ เข้ามาสร้างหัวข้อและบทสนทนาร่วมกัน สร้างกิจกรรมระหว่างกลุ่มผู้ใช้ และเป็นช่องทางให้ผู้ใช้ทำความรู้จักกันวัตถุประสงค์ของเว็บไซท์ดังกล่าว คือเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้ ที่มีความสนใจหรือความต้องการคล้ายๆกัน ซึ่งทำให้ในขณะที่ ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ ในรูปแบบของการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ และการมีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น ผู้จัดทำเว็บไซท์ก็ได้ประโยชน์ ผ่านการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางอ้อม…
SenseMaker
ข่าวต่างๆทางด้าน ICT ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นผลกระทบของ “การโลกาภิวัฒน์ (Globalisation)” ที่มีต่อมนุษย์ทุกคน เนื่องจากอิทธิพลของการมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีแบบเดียวทั่วโลก จะลดทอนความหลากหลายของวิถีชีวิตมนุษยชาติ ก่อให้เกิดตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนข้ามชาติ แต่ในขนะเดียวกัน ปัญหาลักษณะเดียวกัน จะเกิดขึ้นในหลายประเทศ เป็นวงกว้าง หากแต่จะเกิดผลกระทบแตกต่างกันไป ตามบริบทของสังคมนั้นข่าวแรกที่อยากนำเสนอ คือการเกิดขึ้นของ “ปฏิญญากรุงเทพ” ซึ่งถูกจัดทำขึ้นระหว่างการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค หรือ APEC (Asia-…
SenseMaker
แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงสิบปีหลัง เป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า “convergence” หมายถึงแต่ละเทคโนโลยี พยายามรวบรวมความสามารถของเทคโนโลยีอื่นๆ เข้าไว้ในตัวเอง ดังจะเห็นได้ชัดจากการเกิดขึ้นของกระแสของศัพท์คำว่า ICT ซึ่งสะท้อนถึง การที่เทคโนโลยีเพียงหนึ่งเดียว แต่สามารถให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และ เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology) ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งในระดับ โครงข่ายสื่อสารและระดับสินค้าอุปโภคทางเทคโนโลยี
SenseMaker
วันนี้อยากชวนสนทนาถึงศัพท์คำว่า “การเข้าถึงเทคโนโลยี” ซึ่งในทัศนะส่วนตัวคือสภาวะที่บุคคล องค์กร หรือประเทศหนึ่งสามารถได้มาซึ่งความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่และจำเป็นต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่เกี่ยวข้องปัจจุบันแนวทางการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก เป็นไปในลักษณะที่เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการการผลิต และเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมายเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจโลก…