Skip to main content

หลังจากที่ได้ขีดๆเขียนๆบทความ ในด้านที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย และอยู่ในความสนใจของตัวเอง เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เป็นเวลาอันสมควร ที่ควรจะทำความเข้าใจ กับผู้ให้ความกรุณาแวะเวียนเข้ามาอ่าน ทั้งขาประจำและขาจร ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่ง ถึงที่มาของคอลัมน์ “กรองกระแส ICT”

จุดเริ่มต้นของคอลัมน์นี้ เกิดจากการที่ข้าพเจ้ามีความสนใจ และมีโอกาสศึกษาหาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ
Information Technology (IT) และ ทางด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ หรือ Information System (IS) ประกอบกับประสบการณ์ในการทำงาน ในอุตสหกรรมโทรคมนาคม จนถือได้ว่า ข้าพเจ้าโชคดีที่มีความคุ้นเคยกับ ICT จากทั้งสองฝากของเทคโนโลยีซึ่งรวมกันเป็น ICT นั่นคือ ฝากของเทคโนโลยีสารสนเทศ จากโอกาสทางศึกษา และฝากของเทคโนโลยีทางการสื่อสาร จากโอกาสทางการทำงาน

จากประสบการณ์ทำงานและโอกาสทางการศึกษา ทำให้ข้าพเจ้าพูดได้ว่า ในปัจจุบัน เกือบทุกสังคมในโลกใบนี้ รวมถึงประเทศไทยของเรา ยังมองเห็น
ICT ซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่มีอิทธิพลต่อทุกชีวิตบนโลกใบนี้ เพิ่มขึ้นทุกที จากสองบริบทนั่นคือ จากบริบททางเทคโนโลยี และจากบริบททางการบริหารจัดการ เป็นหลัก ซึ่งเป็นผลมาจากการถูกปลูกฝังแนวความคิด จากโลกของการศึกษาและโลกของการทำงาน

โดย
...

การมอง
ICT จากบริบททางเทคโนโลยี เป็นผลมาจาก กลุ่มคนที่ถูกปลูกฝังแนวคิดทางเทคโนโลยี เช่น ผู้ที่มีพื้นฐานการศึกษา หรือจากประสบการณ์การทำงาน ทางด้านวิศวกรรม ทางด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งส่งผลให้คนในกลุ่มนี้ มีลักษณะวิธีคิด หรือตรรกะในการทำงาน อย่างที่เรียกว่า “วิธีคิดเชิงระบบ” ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับ แนวคิดเบื้องหลังโครงสร้างการทำงานภายใน ของเทคโนโลยีต่างๆ

สังคมที่มอง
ICT จากบริบททางเทคโนโลยี มักยึดเอาเทคโนโลยี ICT เป็นศูนย์กลางในการสร้างความเปลี่ยนแปลง เพราะเชื่อในความถูกต้องและประสิทธิภาพ ของระบบการทำงานของเทคโนโลยี ที่ถูกคิดและสร้างมา โดยจะบังคับให้ผู้คน ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ยอมรับและปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้เข้ากับระบบสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องมาจากการนำเทคโนโลยีมาใช้ โดยลืมให้ความสำคัญหรือความสนใจ กับตัวแปรและผลกระทบ อันนอกเหนือจากเป้าหมายหลักที่เทคโนโลยีถูกสร้างขึ้น

ส่วนการมอง
ICT จากบริบทของการบริหารจัดการ เป็นผลมาจากกลุ่มคน ที่ถูกปลูกฝังแนวคิดทางด้านการบริหารจัดการ เช่นผู้ที่มีพื้นฐานการศึกษา หรือประสบการณ์การทำงาน ทางด้านการจัดการองค์กร การบริหารธุรกิจ หรือการควบคุมการผลิต ซึ่งให้ความสำคัญกับการควบคุม ให้สิ่งต้องการบริหารจัดการ เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้

การที่สังคมมอง
ICT จากบริบทของการบริหารจัดการ ส่งผลให้สังคมนั้น ให้ความสำคัญกับการคิดหาวิธีการใช้งานเทคโนโลยี การควบคุมการใช้งานเทคโนโลยี รวมถึงความพยายามพัฒนาวิธีการบริหารจัดการโครงการ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ICT ต่างๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลสัมฤทธิ์สูงสุด โดยผลสัมฤทธิ์ในบริบทนี้ ส่วนใหญ่มักอิงกับประโยชน์ในรูปของตัวเงิน เช่นเพื่อการสร้างรายได้ เพื่อการลดต้นทุน หรือเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

การมอง
ICT จากทั้งสองบริบทข้างต้น มีความเหมือนกันอยู่สองประการ

ประการแรก มุมมองทั้งสองบริบท ยึดถือเอา “วิธีคิดเชิงระบบ” นั่นคือการพยายามรวบรวมปัจจัย และตัวแปรทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างเหตุ ปัจจัย และตัวแปร และใช้ความเข้าใจนี้ เพื่อควบคุมสิ่งต่างๆ ให้เป็นไปตามที่คิดและวางแผนไว้ เป็นหลัก โดยเชื่อในตรรกะที่ว่าการดำเนินไปของทุกสิ่งทุกอย่าง มีที่มาที่ไปหรือเหตุและผลแน่นอน

ประการที่สอง มุมมองทั้งสองบริบท ละเลยความจริงที่ว่า “มนุษย์และสังคม” เป็นผู้มีส่วนร่วม และในขณะเดียวกัน เป็นผู้ได้รับผลกระทบจาก การสร้าง ใช้งาน และการบริหารจัดการ
ICT โดยทั้งมนุษย์และสังคม เป็นตัวแปรหรือปัจจัยที่มีความแตกต่างและหลากหลาย รวมทั้งมีความคิดและความรู้สึก เป็นของตนเอง ซึ่งทำให้มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าแตกต่างกันไป

ความเหมือนกันทั้งสองประการ ของการมีมุมมอง
ICT ในบริบททั้งสองข้างต้น สะท้อนให้เห็นความจริงที่ค่อนข้างแปลก ที่ว่า

สังคมหลายสังคม กำลังนำวิธีคิดเชิงระบบ ซึ่งเป็นแนวความคิดทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการสร้าง การใช้ประโยชน์ และการควบคุมและบริหารจัดเทคโนโลยี เพื่อการสร้างผลลัพธ์ทางสังคม อย่างที่วางเป้าหมายไว้ โดยละเลยตัวแปรหรือปัจจัยทางสังคมศาสตร์...นั่นคือการมีส่วนร่วมและการเป็นผู้รับผลกระทบของ “มนุษย์และสังคม” ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางและความสำเร็จ ในการสร้าง การใช้ประโยชน์ และการควบคุมและบริหารจัดการเทคโนโลยี ซึ่งตัวแปรหรือปัจจัยทางสังคมศาสตร์นี้ ไม่สามารถถูกเข้าใจหรือถูกอธิบายได้ ด้วยวิธีคิดทางวิทยาศาสตร์”

ด้วยความบกพร่องของการมอง
ICT จากบริบททางเทคโนโลยี และบริบททางการบริหารจัดการ เป็นหลัก ทำให้สังคมต่างๆประสบปัญหา เกี่ยวกับ ICT อย่างต่อเนื่อง (จากบทความทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ และต่อๆไป) ข้าพเจ้าจึงคิดว่า สังคมต่างๆควรที่จะมอง ICT จากบริบททางสังคมเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นบริบทที่อนุญาตให้เรา นำองค์ประกอบทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ ICT เข้ามาร่วมในระหว่างการวิเคราะห์ เพื่อทำให้สังคมนั้นมอง ICT ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดตามมา เนื่องจากสังคมนั้นขาดความใส่ใจ ในบริบททางสังคมของ ICT

นั่นคือ
...ในความคิดของข้าพเจ้านั้น

การเปิดพื้นที่เพื่อการศึกษา ICT จากบริบททางสังคม จึงมีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อทุกสังคม”

ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงเริ่มสำรวจโลกไซเบอร์ภาคภาษาไทย และทำให้รู้ว่า สังคมไทยของเรา ยังขาดพื้นที่ที่มีการแลกเปลี่ยนความคิด และแสดงทัศนะเกี่ยวกับ
ICT จากผู้ที่มีมุมมองในบริบททางสังคม

ข้าพเจ้าจึงมีความตั้งใจที่จะหาพื้นที่ออนไลน์ซักแห่ง ที่ได้รับความสนใจจากผู้สนใจศึกษาภาคสังคม เพื่อใช้นำเสนอบทความที่เกี่ยวข้องกับ
ICT จากมุมมองในบริบททางสังคม และหวังว่าพื้นที่แห่งนี้จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิด หรือการแสดงทัศนะต่อยอดทางความคิดในด้านดังกล่าวต่อไป และนี่ก็คือความเป็นมาเป็นไปของคอลัมน์ “กรองกระแส ICT” ณ หนังสือพิมพ์ออนไลน์ ประชาไท แห่งนี้

ปัจจุบันพื้นที่เล็กๆแห่งนี้ มีความก้าวหน้าก้าวเล็กๆเกิดขึ้น จากการที่มีผู้อ่านจำนวนหนึ่งได้เข้ามาอ่านอยู่เป็นประจำ ซึ่งข้าพเจ้าขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

ความสำเร็จก้าวต่อไป ที่ข้าพเจ้าต้องขอการสนับสนุนจากท่านผู้อ่าน ก็คือ การที่ทุกท่านที่เข้ามาอ่านคอลัมน์นี้ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความที่ได้อ่าน แนะนำหัวข้อที่ท่านอยากรู้ แลกเปลี่ยนทัศนะกในเรื่องซึ่งเกิดขึ้นรอบตัวท่าน และท่านตระหนักว่ามีความเกี่ยวข้องกับ บริบททางสังคมของ
ICT และรวมไปถึงการแนะนำคอลัมน์นี้ให้กับผู้สนใจคนอื่นๆต่อไป

อย่างไรก็ดี
...ข้าพเจ้าก็ตั้งใจ ที่จะไม่ปิดกั้นคอลัมน์แห่งนี้ ให้เป็นพื้นที่ที่นำเสนอบทความทางด้าน ICT จากบริบททางสังคมเพียงเท่านั้น หากแต่ตั้งใจทำให้พื้นที่นี้แห่งนี้ เปิดเสรีให้กับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ICT จากบริบทอื่นๆ อย่างรอบด้าน ด้วยการสอดแทรกบทความที่เกี่ยวข้องกับ ICT จากบริบทอื่นๆอีกด้วย

โปรดแนะนำ ติชม และเสนอเรื่องที่อยากรู้ เพื่อทำให้พื้นที่นี้มีสะท้อนความต้องการของผู้อ่านมากขึ้น และทำให้สังคมไทยได้รับประโยชน์สูงสุด จากการมีความเข้าใจ
ICT อย่างรอบด้านมากขึ้น

บทความวันนี้ เปรียบเหมือนบทบรรณาธิการ แล้วกลับมาเจอบทความปกติได้ ในอาทิตย์ต่อไป

ปล
. หากท่านผู้อ่านท่านใด มีโอกาสพบเจอ พื้นที่ออนไลน์อื่นๆ ซึ่งให้ความสนใจกับ ICT ในบริบททางสังคม กรุณาแนะนำข้าพเจ้าด้วย เพื่อขยายเครือข่ายของผู้มีความสนใจ ทางด้านนี้ต่อไป ขอขอบคุณ



บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
Digital Divide คือ คำในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกสภาวะ ที่ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ช่องว่างและความแตกต่างในสังคมเกิดขึ้นและขยายตัวในขณะที่ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ ICT ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเห็นได้จากแนวนโยบายของรัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลก ที่มุ่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทาง ICT เพื่อให้บริการต่างๆของภาครัฐ ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า“รัฐบาลอิเลคทรอนิค” หรือ e-government ทั่วโลกก็กำลังเผชิญหน้ากับการขยายตัวของปัญหา ช่องว่างและความแตกต่างในสังคม ไปพร้อมกัน
SenseMaker
ปัจจุบันความก้าวหน้าทาง ICT อนุญาตให้ประชาชนทุกคน สามารถแสดงออกทางความคิดเห็น ได้อย่างกว้างขวาง ผ่านความหลากหลายของช่องทางการติดต่อสื่อสาร และความอุดมสมบูรณ์ของสื่อ ไม่เพียงเท่านั้น ICT ยังอนุญาตให้เราสามารถ จัดการกับข้อมูลและเนื้อหาของการแสดงออกทางความคิด เพื่อใช้สำหรับการเข้าถึงในวงกว้างโดยผู้คนอื่นต่อไปได้อีกด้วยด้วยความสามารถของ ICT ข้างต้น ทำให้ประชาชนเริ่มมองเห็น และตระหนักในศักยภาพ ของการนำICT มาใช้เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาที่แต่ละบุคคลประสบ มองหาผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกัน และมองหาผู้อื่นที่เต็มใจให้ความช่วยเหลือ เพื่อร่วมคิด แสดงความเห็น ให้คำปรึกษา และช่วยกันหาทางบรรเทาหรือแก้ไขปัญหานั้นๆ…
SenseMaker
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของโครงการจัดทำ แผนแม่บททางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ของประเทศไทย เพื่อประกาศใช้ระหว่าง พ.ศ. 2552 – 2556 ยังอยู่ในระหว่างการเร่งจัดทำร่าง เพื่อประกาศใช้ให้ทันการเริ่มต้นใช้งานในปีหน้าข้าพเจ้ามีโอกาสได้อ่านแผนแม่บทฉบับร่างดังกล่าว ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เตรียมเพื่อใช้ประกอบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ระหว่างวันที่ 4-13 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะเป็นฉบับล่าสุด ที่กระทรวงฯเปิดเผยและประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะ (ท่านผู้อ่านสามารถอ่านข้อมูลของโครงการจัดทำแผ่นแม่บทนี้ เพิ่มเติม รวมทั้ง download เอกสารประกอบต่างๆได้ที่ http…
SenseMaker
หากท่านผู้อ่านได้อ่านบทความก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความเรื่อง “การเข้าถึงเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความแตกต่างทางสังคม และสังคมในแนวขนาน” หรือเรื่อง “เว็บยุค2.0 สื่อพลเมือง และการท้าทายกระแสหลัก” และเรื่อง “ICT ตัวการแห่งการเปลี่ยนแปลง และผลลัพท์ทางสังคมที่ย้อนแย้ง” ข้าพเจ้าเชื่อว่าบทความเหล่านี้ จะทำให้ทุกท่านที่อ่านเริ่มตระหนัก ข้อเท็จจริงที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ว่า สังคมของเราทุกวันนี้ มีความหลากหลายทางระบบความคิด ความเชื่อ และมีความแตกต่างทางด้านค่านิยมมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมข้างต้น แน่นอนว่าไม่ได้ถูกผลักดัน ด้วยความก้าวหน้าทางด้าน ICT…
SenseMaker
“คนไทยลืมง่าย” คือคำนิยามหนึ่งที่อธิบายลักษณะความคิดและนิสัยของคนไทย ได้เป็นอย่างดี คนไทยเรามักเลือกที่จะลืมและให้อภัย กับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทุกๆเรื่อง ไม่ว่าเรื่องนั้นจะสร้างความเดือดร้อนใหญ่หรือเล็กเพียงใดหลายคนแสดงความเห็นว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเรามีอุปนิสัยเช่นนี้ เนื่องจากคนไทยเราส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดจากพุทธศาสนา ซึ่งปลูกฝังให้คนเรารู้จักให้อภัยกันและกัน ทำให้คนในสังคมของเรา อยู่กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและเกื้อกูลกัน ซึ่งนี้คือสิ่งที่หลายคนเห็นว่า “การลืมง่าย” ก่อให้เกิดผลดีกับบ้านเมืองของเราอย่างไรก็ดีธรรมชาติของเหรียญย่อมต้องมีสองด้าน...…
SenseMaker
เป็นความตั้งใจของข้าพเจ้า ที่ปล่อยให้บทความที่แล้ว ยึดพื้นที่คอลัมน์ยาวกว่าปกติสักหน่อย เพื่อดึงความสนใจจากผู้อ่าน และอยากให้ทุกท่านตระหนักว่า แนวโน้มการ Outsourcing ขององค์กรต่างๆ กำลังส่งผลกระทบสำคัญ กับแนวทางการดำเนินชีวิตของทุกคน บทความวันนี้ ให้ความสนใจกับปัญหาความล้มเหลวของโครงการด้าน ICT ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่องค์กรต่างๆกำลังเผชิญหน้าอยู่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งค้นหาส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งสามารถช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ ในการดำเนินโครงการด้าน ICT
SenseMaker
ต้องขอโทษท่านผู้อ่าน ที่ติดตามคอลัมน์กรองกระแส ICT ที่บทความสำหรับอาทิตย์นี้ต้องล่าช้าสักหน่อย เนื่องจากข้าพเจ้าไม่ใคร่สบายเล็กน้อย ในช่วงวันเวลาที่จัดไว้สำหรับเขียนบทความในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าพยายามชี้ให้ทุกท่านเห็น ปรากฏการณ์ที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นที่สำคัญ ซึ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงมากมาย ให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งในบริบทของผลกระทบจากภายนอกองค์กร ในรูปแบบของ การทำให้สภาพแวดล้อมในการแข่งขันเปลี่ยนแปลง และในบริบทของผลกระทบที่เกิดภายในองค์กร ในลักษณะของการทำให้ รูปแบบการทำงานและแนวการบริหารทรัพยากรองค์กร ต้องเปลี่ยนไปบทความในวันนี้…
SenseMaker
ICT ตัวแปรต้นแห่งการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ที่ไม่ควรถูกมองข้าม ก่อนเข้าสู่บทความอาทิตย์นี้ ข้าพเจ้าขอประณามการกระทำ ของผู้ที่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย อยู่ในขณะนี้ เนื่องจากข้าพเจ้าถือว่า ใครก็ตามที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมือง ไม่มีความรักชาติอย่างจริงจัง และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มากกว่าประโยชน์ส่วนรวม หากทุกคน เล็งเห็นความสงบสุขและประโยชน์ ของประเทศเป็นสำคัญ จะต้องใช้วิธีประนีประนอม เพื่อหาหนทางแก้ปัญหา ความขัดแย้งทางความคิด ร่วมกัน มากกว่าการยึดเอาความคิดของตนเป็นใหญ่ มองความคิดของอีกฝ่ายว่าไม่ถูกต้อง และมุ่งล้มล้างฝ่ายตรงข้าม…
SenseMaker
หลังจากที่ได้ขีดๆเขียนๆบทความ ในด้านที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย และอยู่ในความสนใจของตัวเอง เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เป็นเวลาอันสมควร ที่ควรจะทำความเข้าใจ กับผู้ให้ความกรุณาแวะเวียนเข้ามาอ่าน ทั้งขาประจำและขาจร ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่ง ถึงที่มาของคอลัมน์ “กรองกระแส ICT”จุดเริ่มต้นของคอลัมน์นี้ เกิดจากการที่ข้าพเจ้ามีความสนใจ และมีโอกาสศึกษาหาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology (IT) และ ทางด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ หรือ Information System (IS) ประกอบกับประสบการณ์ในการทำงาน ในอุตสหกรรมโทรคมนาคม จนถือได้ว่า ข้าพเจ้าโชคดีที่มีความคุ้นเคยกับ ICT…
SenseMaker
บทความในวันนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจาก การได้รับทราบสองข่าว ซึ่งในความเห็นของข้าพเจ้า เป็นข่าวที่ไม่ได้อยู่ในกระแสความสนใจ ของคนไทยทั่วไปแต่อย่างไร แต่เป็นข่าวที่ข้าพเจ้า อยากเรียกร้องให้ทุกคน หันมาตระหนักถึงความน่ากลัว ของการถูกคุกคามโดย "Identity thief"Identity thief คือ กลุ่มคนที่มุ่งขโมยข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ใช้แสดงตัวตน ของบุคคลต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อ ใช้ข้อมูลดังกล่าวปลอมแปลงตนเป็นบุคคลผู้นั้น เพื่อหาประโยชน์อื่นๆต่อไปข่าวแรกที่เกิดขึ้น เป็นเหตุการณ์ที่ผู้หญิงคนหนึ่ง ถูกวิ่งราวกระเป๋าสตางค์ ภายหลังจากเกิดเรื่อง ซึ่งข้าพเจ้าเจ้าจำได้ไม่แน่นอนว่านานเท่าไหร่…
SenseMaker
“คู่แข่งกำลังลงทุนในเทคโนโลยี... เราจะรอช้าอยู่ไม่ได้ ต้องรีบดำเนินการผลักดันโครงการแบบเดียวกัน ให้เกิดขึ้นในทันที เพื่อตามให้ทัน และไม่ให้เราสูญเสียโอกาสทางการแข่งขัน"“เทคโนโลยี... กำลังได้รับความนิยมในตลาดโลก สร้างประโยชน์มากมายให้กับ ประเทศนั้นประเทศนี้ หรือองค์กรนั้นองค์กรนี้ ดังนั้นเราจึงควรลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าว อย่างเร่งด่วน”เหตุผลในทำนองข้างต้น เป็นเหตุผลที่ข้าพเจ้าได้ยินอยู่เป็นประจำ จากผู้มีอำนาจตัดสินใจในระดับนโยบาย ขององค์กรระดับต่างๆในประเทศไทย เพื่อนำเทคโนโลยีอันทันสมัย เข้ามาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้าน ICT
SenseMaker
เช้ามา...เปิดคอม เปิดเนต เช็คตารางนัด เช็คเมล ตอบเมล ล็อคอินเข้า MSN เอาไว้คุยกับเพื่อน หาข้อมูลจาก Google และ Wikipedia เข้าไปดูว่าเพื่อนๆทำอะไรกันบ้าง พร้อมกับอัพเดตของมูลตัวเองบน MySpace, Hi5 หรือ Facebook เข้าไปอ่านข่าว บทความ หรือกระทู้ จากแหล่งข้อมูลเฉพาะด้าน จาก Blog หรือสังคมออนไลน์ต่างๆ ที่สนใจ เข้าไปดูวิดีโอแปลกๆ หรืออัพโหลดวิดีโอฝีมือตนเองบน Youtube เข้าไปอัพเดตรูปตัวเองหรือหารูปสวยๆบน Flickr และโทรหาใครหลายคน ไม่ว่าอยู่มุมไหนของโลกผ่าน Skypeชีวิตที่ดำเนินไปข้างต้น คงมีส่วนคล้ายกับชีวิตใครหลายคนในปัจจุบัน ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 30…