Skip to main content

Digital Divide คือ คำในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกสภาวะ ที่ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ช่องว่างและความแตกต่างในสังคมเกิดขึ้นและขยายตัว

ในขณะที่ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ
ICT ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเห็นได้จากแนวนโยบายของรัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลก ที่มุ่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทาง ICT เพื่อให้บริการต่างๆของภาครัฐ ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า“รัฐบาลอิเลคทรอนิค” หรือ e-government ทั่วโลกก็กำลังเผชิญหน้ากับการขยายตัวของปัญหา ช่องว่างและความแตกต่างในสังคม ไปพร้อมกัน

นั่นหมายถึง ในขณะที่รัฐบาลต่างๆทั่วโลกกระโจนเข้าสู่กระแส
e-government ด้วยการเร่งลงทุนและเร่งผลักดัน ให้หน่วยงานต่างๆของภาครัฐ สร้างระบบบริการ ทั้งที่มีต่อภาคประชาชน ภาคเอกชน หรือต่อหน่วยงานภาครัฐด้วยกัน บนโครงข่ายอินเตอร์เนต หมายความว่า ภาคประชาชนมีความจำเป็น ที่จักต้องรับบริการผ่านโครงข่ายอินเตอร์เนตมากขึ้นและมากขึ้นโดยปริยาย หากภาคประชาชนต้องการรับบริการจากภาครัฐ

ปัญหาช่องว่างและความแตกต่างในสังคม อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ICT หรือ digital divide เกิดขึ้นเนื่องจากความจริงที่ว่า ประชาชนทุกคนไม่มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี ICT หรือ ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างเท่าเทียมกัน เพื่อรับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของภาครัฐในครั้งนี้

ภาพที่เกิดขึ้นคือ กลุ่มประชาชนผู้ไม่มีความรู้ความสามารถ หรือไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี ได้อย่างเท่าเทียม มีแนวโน้มที่จะถูกละเลย และไม่ได้รับบริการจากภาครัฐอย่างเหมาะสมหรืออย่างที่ควร

ลักษณะและความรุนแรง ของปัญหานี้ในแต่ละประเทศ เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสะท้อนความวิสัยทัศน์และความตั้งใจจริงของภาคภาครัฐบาล รวมถึงเหตุผลเบื้องหลัง การลงทุนในโครงการทางเทคโนโลยี ที่มีมูลค่ามหาศาลในครั้งนี้ ของประเทศนั้น ว่ามีการวางเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่สิ่งใด ซึ่งโดยทั่วไปอาจถูกแบ่งออกได้เป็นสองประเภท

ประเภทแรก เมื่อเป้าหมายสูงสุดของการลงทุนในครั้งนี้คือ เพื่อยกระดับการทำงานของระบบงานภาครัฐทั้งระบบ โดยการปรับให้มีระบบการทำงานพื้นฐานอยู่บนระบบคอมพิวเตอร์
(computer-based system) และเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานผ่านระบบอินเตอร์เนต ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของภาครัฐ มีการพัฒนาขึ้น แต่ปัญหา digital divide ไม่ได้รับการใส่ใจจากโครงการ e-government เนื่องจาก ไม่ได้ถูกตีความรวมอยู่ในเป้าหมายสูงสุด

ประเภทที่สอง เมื่อเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่ การทำให้ทั้งประเทศได้รับประโยชน์ จากการลงทุนในครั้งนี้ ซึ่งแน่นอนว่าหนึ่งในตัวแปรชี้วัดความสำร็จของโครงการนี้ จักต้องรวม การวัดความสำเร็จของการทำให้ภาคประชาชน สามารถเข้าถึงหรือเข้ารับบริการภาครัฐบนเครือข่ายอินเตอร์เนต รวมทั้งการให้ความรู้และสร้างความสามารถ ให้กับภาคประชาชนในการใช้งานเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ได้อย่างทั่วถึงและอย่างเท่าเทียม และนั่นหมายความว่า โครงการ
e-government ในหลายๆประเทศ กำลังประสบความล้มเหลว เนื่องจากไม่สามารถตอบสนองเป้าหมายสูงสุดของโครงการได้

หากรัฐบาลประเทศใด สามารถจัดเป้าหมายการลงทุนในโครงการ
e-government ของตน อยู่ในประเภทแรก ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า รัฐบาลนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จักต้องพิจารณาว่า อะไรคือเป้าหมายอันแท้จริงของการดำรงอยู่ของหน่วยงานรัฐ หากเปรียบหน่วยงานรัฐเหมือนหน่วยงานภาคเอกชน ในขณะที่การให้บริการและการทำให้ลูกค้าพึงพอใจ เป็นภาระกิจหลักที่สำคัญต่อการดำรงอยู่ของหน่วยงานภาคเอกชน การให้บริหารและทำให้ประชาชนทุกคน พึงพอใจอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ย่อมเป็นภาระกิจหลักที่สำคัญต่อการดำรงอยู่ของหน่วยงานภาครัฐเช่นกัน

อีกทั้งการลงทุนครั้งนี้ย่อมไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด หากรัฐบาลจะมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีอันเลิศล้ำทันสมัย แต่ประชาชนกลับไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยในทัศนะของข้าพเจ้านั้น รัฐบาลในประเภทที่หนึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จักต้องปรับเปลี่ยนเป้าหมายโครงการ ให้เป็นโครงการในประเภทที่สอง

หากรัฐบาลประเทศใด สามารถจัดตนเองอยู่ในประเภทที่สอง แต่ไม่ตระหนักถึงวิธีการแก้ไขปัญหาอันเกิดจาก
digital divide หรือ ในปัจจุบันให้ความตระหนักอยู่แล้ว แต่ปัญหายังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า รัฐบาลนั้นมีความจำเป็นต้องให้ ความสำคัญกับปัญหา digital divide ควบคู่ไปกับความใส่ใจในความก้าวหน้าของโครงการ e-government ไม่เช่นนั้นปัญหาความเหลื่มล้ำทางสังคม อันเนื่องมาจากความได้เปรียบเสียเปรียบของการเข้าถึงบริการภาครัฐ ก็จะกลายเป็นปัญหาใหม่ ที่ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไม่สามารถช่วยเหลือได้แต่อย่างใด

ในทัศนะของข้าพเจ้า ปัญหา
digital divide เป็นปัญหาที่ทุกประเทศ ต้องให้ความใส่ใจและดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนและเท่าทัน เนื่องจากเป็นปัญหาที่มีต้องพิจารณาแก้ไขจากด้านอื่นๆ นอกเหนือจากเทคโนโลยี และต้องใช้ระยะเวลานานในการดำเนินแก้ไข

ความจริงที่ว่าปัญหา
digital divide เป็นปัญหาที่ต้องพิจารณาแก้ไขจากหลายๆด้าน สามารถรับรู้ได้เมื่อคำนึงถึงคำถามที่ว่า ทำอย่างไรให้ประชาชนโดยทั่วไป มีความรู้และความสามารถ อย่างเพียงพอและเท่าเทียม ในการใช้งานเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโครงการ e-government กับคำถามที่ว่า ทำอย่างไรให้ประชาชนทุกคน สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการเข้าใช้งานบริการต่างๆ ในระบบ e-government จากภาครัฐ ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่งการตอบสองคำถามใหญ่ข้างต้นนี้ ต้องการการวางแผนและการทำงานร่วมกันทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของ ภาคการศึกษา และ ภาคการเงิน เพื่อสร้างระบบซึ่งสามารถทำให้ประเทศหนึ่งๆ มั่นใจได้ว่าปัญหา digital divide ถูกแก้ไขและดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ

และแน่นอนว่าการดำเนินการข้างต้น ต้องใช้ระยะเวลานาน ในการดำเนินการให้สำเร็จ สืบเนื่องจากในสังคมปัจจุบัน ความแตกต่างในเรื่องของความรู้และความสามารถเกี่ยวกับเทคโนโลยี มีอยู่สูง อีกทั้งความสามารถในการเรียน รู้หรือความสามารถในการรับการพัฒนา ของประชาชนแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไป นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวเนื่องกับ ความสามารถทางการเงิน ที่แต่ละบุคลจะสามารถใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีที่จำเป็นอีกด้วย

นี่เป็นอีกครั้งนึงที่ชี้ให้เห็นว่าการให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถช่วยให้มนุษย์สร้างความเปลี่ยนแปลง อย่างที่ตนต้องการได้ หากแต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า เรามีความเข้าใจอย่างลึกซึ่งหรือไม่ว่า สิ่งที่กำลังทำหรือกำลังลงทุนไปนั้น ทำเพื่อประโยชน์สูงสุดอะไร และอะไรคือส่วนผสมอื่นๆอันนอกเหนือจากเทคโนโลยี ซึ่งขาดไม่ได้

 

 

บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
Digital Divide คือ คำในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกสภาวะ ที่ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ช่องว่างและความแตกต่างในสังคมเกิดขึ้นและขยายตัวในขณะที่ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ ICT ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเห็นได้จากแนวนโยบายของรัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลก ที่มุ่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทาง ICT เพื่อให้บริการต่างๆของภาครัฐ ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า“รัฐบาลอิเลคทรอนิค” หรือ e-government ทั่วโลกก็กำลังเผชิญหน้ากับการขยายตัวของปัญหา ช่องว่างและความแตกต่างในสังคม ไปพร้อมกัน
SenseMaker
ปัจจุบันความก้าวหน้าทาง ICT อนุญาตให้ประชาชนทุกคน สามารถแสดงออกทางความคิดเห็น ได้อย่างกว้างขวาง ผ่านความหลากหลายของช่องทางการติดต่อสื่อสาร และความอุดมสมบูรณ์ของสื่อ ไม่เพียงเท่านั้น ICT ยังอนุญาตให้เราสามารถ จัดการกับข้อมูลและเนื้อหาของการแสดงออกทางความคิด เพื่อใช้สำหรับการเข้าถึงในวงกว้างโดยผู้คนอื่นต่อไปได้อีกด้วยด้วยความสามารถของ ICT ข้างต้น ทำให้ประชาชนเริ่มมองเห็น และตระหนักในศักยภาพ ของการนำICT มาใช้เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาที่แต่ละบุคคลประสบ มองหาผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกัน และมองหาผู้อื่นที่เต็มใจให้ความช่วยเหลือ เพื่อร่วมคิด แสดงความเห็น ให้คำปรึกษา และช่วยกันหาทางบรรเทาหรือแก้ไขปัญหานั้นๆ…
SenseMaker
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของโครงการจัดทำ แผนแม่บททางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ของประเทศไทย เพื่อประกาศใช้ระหว่าง พ.ศ. 2552 – 2556 ยังอยู่ในระหว่างการเร่งจัดทำร่าง เพื่อประกาศใช้ให้ทันการเริ่มต้นใช้งานในปีหน้าข้าพเจ้ามีโอกาสได้อ่านแผนแม่บทฉบับร่างดังกล่าว ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เตรียมเพื่อใช้ประกอบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ระหว่างวันที่ 4-13 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะเป็นฉบับล่าสุด ที่กระทรวงฯเปิดเผยและประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะ (ท่านผู้อ่านสามารถอ่านข้อมูลของโครงการจัดทำแผ่นแม่บทนี้ เพิ่มเติม รวมทั้ง download เอกสารประกอบต่างๆได้ที่ http…
SenseMaker
หากท่านผู้อ่านได้อ่านบทความก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความเรื่อง “การเข้าถึงเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความแตกต่างทางสังคม และสังคมในแนวขนาน” หรือเรื่อง “เว็บยุค2.0 สื่อพลเมือง และการท้าทายกระแสหลัก” และเรื่อง “ICT ตัวการแห่งการเปลี่ยนแปลง และผลลัพท์ทางสังคมที่ย้อนแย้ง” ข้าพเจ้าเชื่อว่าบทความเหล่านี้ จะทำให้ทุกท่านที่อ่านเริ่มตระหนัก ข้อเท็จจริงที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ว่า สังคมของเราทุกวันนี้ มีความหลากหลายทางระบบความคิด ความเชื่อ และมีความแตกต่างทางด้านค่านิยมมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมข้างต้น แน่นอนว่าไม่ได้ถูกผลักดัน ด้วยความก้าวหน้าทางด้าน ICT…
SenseMaker
“คนไทยลืมง่าย” คือคำนิยามหนึ่งที่อธิบายลักษณะความคิดและนิสัยของคนไทย ได้เป็นอย่างดี คนไทยเรามักเลือกที่จะลืมและให้อภัย กับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทุกๆเรื่อง ไม่ว่าเรื่องนั้นจะสร้างความเดือดร้อนใหญ่หรือเล็กเพียงใดหลายคนแสดงความเห็นว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเรามีอุปนิสัยเช่นนี้ เนื่องจากคนไทยเราส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดจากพุทธศาสนา ซึ่งปลูกฝังให้คนเรารู้จักให้อภัยกันและกัน ทำให้คนในสังคมของเรา อยู่กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและเกื้อกูลกัน ซึ่งนี้คือสิ่งที่หลายคนเห็นว่า “การลืมง่าย” ก่อให้เกิดผลดีกับบ้านเมืองของเราอย่างไรก็ดีธรรมชาติของเหรียญย่อมต้องมีสองด้าน...…
SenseMaker
เป็นความตั้งใจของข้าพเจ้า ที่ปล่อยให้บทความที่แล้ว ยึดพื้นที่คอลัมน์ยาวกว่าปกติสักหน่อย เพื่อดึงความสนใจจากผู้อ่าน และอยากให้ทุกท่านตระหนักว่า แนวโน้มการ Outsourcing ขององค์กรต่างๆ กำลังส่งผลกระทบสำคัญ กับแนวทางการดำเนินชีวิตของทุกคน บทความวันนี้ ให้ความสนใจกับปัญหาความล้มเหลวของโครงการด้าน ICT ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่องค์กรต่างๆกำลังเผชิญหน้าอยู่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งค้นหาส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งสามารถช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ ในการดำเนินโครงการด้าน ICT
SenseMaker
ต้องขอโทษท่านผู้อ่าน ที่ติดตามคอลัมน์กรองกระแส ICT ที่บทความสำหรับอาทิตย์นี้ต้องล่าช้าสักหน่อย เนื่องจากข้าพเจ้าไม่ใคร่สบายเล็กน้อย ในช่วงวันเวลาที่จัดไว้สำหรับเขียนบทความในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าพยายามชี้ให้ทุกท่านเห็น ปรากฏการณ์ที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นที่สำคัญ ซึ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงมากมาย ให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งในบริบทของผลกระทบจากภายนอกองค์กร ในรูปแบบของ การทำให้สภาพแวดล้อมในการแข่งขันเปลี่ยนแปลง และในบริบทของผลกระทบที่เกิดภายในองค์กร ในลักษณะของการทำให้ รูปแบบการทำงานและแนวการบริหารทรัพยากรองค์กร ต้องเปลี่ยนไปบทความในวันนี้…
SenseMaker
ICT ตัวแปรต้นแห่งการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ที่ไม่ควรถูกมองข้าม ก่อนเข้าสู่บทความอาทิตย์นี้ ข้าพเจ้าขอประณามการกระทำ ของผู้ที่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย อยู่ในขณะนี้ เนื่องจากข้าพเจ้าถือว่า ใครก็ตามที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมือง ไม่มีความรักชาติอย่างจริงจัง และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มากกว่าประโยชน์ส่วนรวม หากทุกคน เล็งเห็นความสงบสุขและประโยชน์ ของประเทศเป็นสำคัญ จะต้องใช้วิธีประนีประนอม เพื่อหาหนทางแก้ปัญหา ความขัดแย้งทางความคิด ร่วมกัน มากกว่าการยึดเอาความคิดของตนเป็นใหญ่ มองความคิดของอีกฝ่ายว่าไม่ถูกต้อง และมุ่งล้มล้างฝ่ายตรงข้าม…
SenseMaker
หลังจากที่ได้ขีดๆเขียนๆบทความ ในด้านที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย และอยู่ในความสนใจของตัวเอง เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เป็นเวลาอันสมควร ที่ควรจะทำความเข้าใจ กับผู้ให้ความกรุณาแวะเวียนเข้ามาอ่าน ทั้งขาประจำและขาจร ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่ง ถึงที่มาของคอลัมน์ “กรองกระแส ICT”จุดเริ่มต้นของคอลัมน์นี้ เกิดจากการที่ข้าพเจ้ามีความสนใจ และมีโอกาสศึกษาหาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology (IT) และ ทางด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ หรือ Information System (IS) ประกอบกับประสบการณ์ในการทำงาน ในอุตสหกรรมโทรคมนาคม จนถือได้ว่า ข้าพเจ้าโชคดีที่มีความคุ้นเคยกับ ICT…
SenseMaker
บทความในวันนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจาก การได้รับทราบสองข่าว ซึ่งในความเห็นของข้าพเจ้า เป็นข่าวที่ไม่ได้อยู่ในกระแสความสนใจ ของคนไทยทั่วไปแต่อย่างไร แต่เป็นข่าวที่ข้าพเจ้า อยากเรียกร้องให้ทุกคน หันมาตระหนักถึงความน่ากลัว ของการถูกคุกคามโดย "Identity thief"Identity thief คือ กลุ่มคนที่มุ่งขโมยข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ใช้แสดงตัวตน ของบุคคลต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อ ใช้ข้อมูลดังกล่าวปลอมแปลงตนเป็นบุคคลผู้นั้น เพื่อหาประโยชน์อื่นๆต่อไปข่าวแรกที่เกิดขึ้น เป็นเหตุการณ์ที่ผู้หญิงคนหนึ่ง ถูกวิ่งราวกระเป๋าสตางค์ ภายหลังจากเกิดเรื่อง ซึ่งข้าพเจ้าเจ้าจำได้ไม่แน่นอนว่านานเท่าไหร่…
SenseMaker
“คู่แข่งกำลังลงทุนในเทคโนโลยี... เราจะรอช้าอยู่ไม่ได้ ต้องรีบดำเนินการผลักดันโครงการแบบเดียวกัน ให้เกิดขึ้นในทันที เพื่อตามให้ทัน และไม่ให้เราสูญเสียโอกาสทางการแข่งขัน"“เทคโนโลยี... กำลังได้รับความนิยมในตลาดโลก สร้างประโยชน์มากมายให้กับ ประเทศนั้นประเทศนี้ หรือองค์กรนั้นองค์กรนี้ ดังนั้นเราจึงควรลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าว อย่างเร่งด่วน”เหตุผลในทำนองข้างต้น เป็นเหตุผลที่ข้าพเจ้าได้ยินอยู่เป็นประจำ จากผู้มีอำนาจตัดสินใจในระดับนโยบาย ขององค์กรระดับต่างๆในประเทศไทย เพื่อนำเทคโนโลยีอันทันสมัย เข้ามาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้าน ICT
SenseMaker
เช้ามา...เปิดคอม เปิดเนต เช็คตารางนัด เช็คเมล ตอบเมล ล็อคอินเข้า MSN เอาไว้คุยกับเพื่อน หาข้อมูลจาก Google และ Wikipedia เข้าไปดูว่าเพื่อนๆทำอะไรกันบ้าง พร้อมกับอัพเดตของมูลตัวเองบน MySpace, Hi5 หรือ Facebook เข้าไปอ่านข่าว บทความ หรือกระทู้ จากแหล่งข้อมูลเฉพาะด้าน จาก Blog หรือสังคมออนไลน์ต่างๆ ที่สนใจ เข้าไปดูวิดีโอแปลกๆ หรืออัพโหลดวิดีโอฝีมือตนเองบน Youtube เข้าไปอัพเดตรูปตัวเองหรือหารูปสวยๆบน Flickr และโทรหาใครหลายคน ไม่ว่าอยู่มุมไหนของโลกผ่าน Skypeชีวิตที่ดำเนินไปข้างต้น คงมีส่วนคล้ายกับชีวิตใครหลายคนในปัจจุบัน ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 30…