Skip to main content

เรื่องต่อไปนี้ขยายวงกว้างไปมากหลังจากบัตรเครดิต/เดบิต กลายเป็นเงินพลาสติกที่เราพกพาไปไหนได้ง่าย ไม่ต้องกลัวว่าแบบพกเงินสดว่าถ้าตกหายไปแล้วมันจะสูญเสียไปทันที  แถมยังมีข้อดีตรงที่เรามีวงเงินเพิ่มเติมได้หากต้องการใช้เงินฉุกเฉินหรือใช้เงินเกินกวาที่วางแผนล่วงหน้าไว้นิดหน่อย   แม้มีหลายท่านเตือนไว้ว่าการใช้บัตรเครดิตอาจทำให้ฟุ่มเฟือยใช้เงินเกินตัว แต่ลองดูบริษัทห้างร้านสมัยนี้สิครับวาเหมือนจะบังคับให้เราใช้บัตรเครดิตมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะคนที่ต้องเดินทางบ่อยๆ การจองตั๋วเครื่องบิน หรือเช่ารถยนต์ หลายครั้งก็ต้องมีบัตรเครดิตไว้รูดประกันวงเงินความเสียหาย ถ้าไม่มีบัตรก็อดเช่ารถหรือซื้อตั๋วเครื่องบิน ไหนจะมีญาติพี่น้องเพื่อนฝูงที่ทำงานธนาคารมาขอร้องให้ช่วยเปิดบัตรเครดิตไว้บอกว่าไม่ใช้ก็ได้แต่ก็มีจดหมายมาให้สิทธิพิเศษไขว้กับโปรโมชั่นของบริษัทห้างร้านมากมายแล้วจะไม่ลองใช้ได้อย่างไรล่ะครับ แต่ประเด็นนึงที่คนจำนวนมากไม่กล้าใช้บัตรเครดิตหรือธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ตหรืออีแบงกิ้ง อีมันนี่ หรืออีคอมเมิร์ซ ในประเทศไทยมากนักก็เพราะ มีเหตุการณ์ชวนให้กังวลเรื่องความปลอดภัยในทรัพย์สินและข้อมูลดังที่จะเล่าต่อไปนี้นี่ล่ะครับ   ซึ่งมันสะท้อนให้เห็นเลยว่า ถ้าประชาชนรู้สึกไม่ปลอดภัยก็ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอยผ่านบัตรเครดิตหรือธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์   ลองไปฟังเรื่องของครอบครัวนี้กันเลยครับ

“ขณะเวลาประมาณ 16.00 น. ข้าพเจ้าและแม่ช่วยกันหยิบของที่ซื้อออกจากรถเข็นของห้างสรรพสินค้าใส่ท้ายรถเพื่อเตรียมกลับบ้านหลังจากเหนื่อยกับการเดินจับจ่ายมาครึ่งวัน ด้วยความประมาทของแม่ที่มัวแต่รีบขนของเพื่อขับรถออกไปเพราะมีรถอีกคันรอจะจอดต่ออยู่ จนได้ลืมกระเป๋าเงินทิ้งไว้ในรถเข็น   พอมาถึงบ้านก็ยุ่งอยู่การทำกับข้าวเลี้ยงญาติพี่น้องที่มักจะมาพบปะสังสรรค์กันในทุกวันอาทิตย์กว่าจะเก็บล้างเสร็จก็ดึกดื่น กระทั่งต้องออกไปทำงานในเช้าวันจันทร์นึกขั้นได้ว่าในวันรุ่งขึ้นว่าได้ลืมกระเป๋าเงินทิ้งไว้ แม่จึงรีบโทรศัพท์ไปอายัดบัตรเครดิต เมื่อสอบถามยอดการชำระเงินพบว่าตั้งแต่ เวลา 16.00 ของวันอาทิตย์ -8.00 น. ของวันจันทร์ ได้มีการใช้วงเงินไป 29,000 บาท ซึ่งแน่นอนวาแม่ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นคนใช้บัตรนั้นเลย เนื่องจากอยู่บ้านตลอด

แม่จึงรีบไปแจ้งความเพื่อติดตามหาคนร้ายและเอาเงินที่เขารูดใช้ไปกลับมาให้ได้ จากนั้นเป็นเวลาหนึ่งเดือนหลังจากเกิดเหตุการณ์ขึ้น ตำรวจก็สามารถติดตามคนร้ายจากกล้องวงจรปิดจากทางห้างสรรพสินค้า ซึ่งก็ได้จับภาพคนร้ายและป้ายทะเบียนรถของคนร้ายไว้ได้ แต่หลังจากนั้น 3-4 วันผ่านไป ตำรวจกลับบอกว่าแม่ข้าพเจ้าว่ายังไม่สามารถระบุตัวคนร้ายได้ทั้งๆที่ตำรวจก็รู้ตัวคนที่เอาบัตรเครดิตไปแล้ว อีกทั้งยังเกลี้ยกล่อมให้แม่ข้าพเจ้ายอมความกับคดีนี้ โดยต้องเสียเงินจำนวนหนึ่งให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจในการไปพูดคุยกับทางธนาคาร  ซึ่งทางครอบครัวข้าพเจ้าก็ยอมตกลงตามนั้น เพราะทางบริษัทบัตรเครดิตนั้นยินดีที่จะชดใช้ค่าเสียหายแก่แม่ข้าพเจ้า

คดีนี้ก็จบลงในที่สุด แต่ที่น่าสงสัยคือ เมื่อรู้ตัวคนร้ายแน่ชัดแล้วทำไมถึงไม่สามารถจับตัวคนร้ายมาลงโทษได้ และหากไม่ทำตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ตำรวจอาจทำให้เกิดปัญหาต่อการดำเนินชีวิตครอบครัวของข้าพเจ้าหรือไม่ วิธีแก้ไขในขณะนั้นคือ ครอบครัวข้าพเจ้าปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกประการ โดยให้เรื่องจบอย่างสงบ เพราะไม่อาจทราบได้ว่าถ้าหากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งแล้วจะต้องพบกับปัญหาใดหรือไม่  แสดงให้เห็นถึงความไม่ยุติธรรมในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และกฎหมายไม่สามารถนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้เสมอไป”

ครับ เรื่องนี้ก็จบลงไปด้วยประการฉะนี้ แต่ที่น่าสนใจ คือ เหตุการณ์นี้ทำให้ครอบครัวดังกล่าวเลิกใช้บัตรเครดิตไปเลยนะครับ เพราะนอกจากจะกลับว่าจะมีใครมาขโมยวงเงินไปใช้แล้ว ยังรู้สึกแย่ที่พอมีปัญหาแล้วต้องตามมาแก้ไขแถมเสียเงินเสียทองเพื่อให้เรื่องจบลงไปทั้งที่คนเอาเงินไปใช้ก็ไม่ใช่เรา แถมการใช้บัตรเครดิตก็มีธนาคารมาชัดชวนให้ทำ แต่พอมีปัญหาทุกคนก็หายไปไม่มาช่วยแก้ไขปัญหาให้เลยสักนิด ชวนให้คิดว่า เขาเป็นคนสำคัญเฉพาะตอนที่จะนำเงินไปให้ใช่ไหม พอมีอะไรเลวร้ายก็ทิ้งกันไปทันที

วิเคราะห์ปัญหา

1.             หากมีคนนำบัตรเครดิตของเราไปใช้จ่ายโดยที่เราไม่อนุญาต จะเป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่

2.             ใครจะต้องชดใช้จำนวนเงินที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในวงเงินนั้น

3.             หากเกิดความเสียหายเกี่ยวกับบัตรเครดิต ใครเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการติดตามผู้ที่นำบัตรไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

4.             ประชาชนผู้เป็นเจ้าของบัตรร้องดำเนินการอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น

5.             ประชาชนผู้เสียหายต้องเสียเงินให้เจ้าพนักงานจัดการคดีให้หรือไม่ การเรียกรับเงินเป็นความผิดรึเปล่า

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.             หากมีคนนำบัตรเครดิตของเราไปใช้จ่ายโดยที่เราไม่อนุญาต จะเป็นความผิดตามกฎหมายเนื่องจากมิได้เกิดจากความยินยอม และต้องรับผิดทางอาญาจากการกระทำโดยทุจริตนั้นด้วย

2.             ผู้ที่นำบัตรไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจะต้องชดใช้จำนวนเงินที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในวงเงินนั้นบวกดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ใช้

3.             หากเกิดความเสียหายเกี่ยวกับบัตรเครดิต สถาบันการเงินผู้ออกบัตรเครดิตเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการติดตามผู้ที่นำบัตรไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต และเหตุการณ์เกิดในบริษัทห้างร้านไหนก็ต้องให้ความร่วมมือติดตามคนร้ายด้วยเช่นกัน

4.             ประชาชนผู้เป็นเจ้าของบัตรร้องดำเนินการอายัดบัตรทันที และแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หากไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอจากเจ้าของบัตรหรือห้างร้านก็อาจร้อง สคบ. ได้เพิ่มเติมอีกด้วย

5.             ประชาชนผู้เสียหายไม่ต้องเสียเงินให้เจ้าพนักงานจัดการคดีเนื่องจากเป็นหน้าที่ตามกฎหมายในการบริการประชาชนอยู่แล้ว การเรียกรับเงินเป็นความผิดทางวินัยและอาญาอย่างร้ายแรง

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.             เมื่อเกิดเหตุการณ์ให้ติดต่อสถาบันผู้ออกบัตรทันที

2.             แจ้งความดำเนินคดีกับผู้นำบัตรไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตที่สถานีตำรวจใกล้บ้านหรือเจ้าของพื้นที่เกิดเหตุ

3.             หากสถาบันการเงินหรือห้างร้านเจ้าของพื้นที่ เจ้าของกล้องไม่ให้การดูแลอาจร้องเรียน สคบ.ในพื้นที่ หรือสคบ.กลางมาดูควบคุมแลหรืออกกฎมาเพิ่มเติมได้

4.             การเรียกรับเงินของเจ้าพนักงานให้แจ้งต่อผู้บังคับบัญชา หรือร้องเรียนไปยัง ปปช.

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักเจ้าของกิจการและธุรกิจผู้เป็นเจ้าของข้อมูลและเทคโนโลยีมีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหา และเจ้าพนักงานต้องดำเนินการจับกุมคนร้ายมาดำเนินคดีและชดเชยความเสียหาย   ซึ่งกรณีนี้เมื่อแจ้งความแล้วตำรวจต้องดำเนินการโดยสถาบันการเงินเจ้าของบัตรจะต้องเป็นผู้ให้หลักฐานรวมถึงอาจขอความร่วมมือจากห้างเจ้าของพื้นที่ซึ่งมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยในทรัพย์สินของลูกค้าและมีกล้องบันทึกภาพช่วยติดตามให้อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อนำไปสู่การดำนินคดีทางอาญาและชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย   ส่วนการร้องเรียนตำรวจให้ร้องไปสู่ผู้บังคับบัญชา หรือ ปปช.


 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี