Skip to main content

 

แผนอยู่เย็นเป็นสุข : ภาพรวมการจัดเวทีจังหวัด
 
วัตถุประสงค์        
เพื่อรับฟังข้อเสนอและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้เป็นรายจังหวัด เพื่อที่จะเปรียบเทียบกับแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ของ สศช. การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรของการนิคมแห่งประเทศประเทศไทย และโครงการขนาดใหญ่ที่จะเกิดในพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นต่อเอกสารร่างมติข้อเสนอในแผนพัฒนาภาคใต้ที่ยั่งยืน
 
พื้นที่ดำเนินการ   13    จังหวัดภาคใต้ (ยกเว้นสุราษฎร์ธานี)
 
กระบวนการจัดเวทีจังหวัด  
                ด้านเนื้อหา             กระบวนการจัดเวทีจังหวัดประกอบด้วย เนื้อหาสามส่วนหลัก คือ เนื้อหาข้อมูลแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ข้อมูลศักยภาพจังหวัด และข้อมูลผลกระทบที่เกิดจากโครงการพัฒนาที่ผ่านมา เช่นโครงการปิโตรเคมี ที่มาบตาพุด เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการระดมความเห็นของคนในจังหวัดนั้นๆ
ด้านกระบวนการ ช่วงแรก เป็นการให้ข้อมูลโดยนักวิชาการ และคณะทำงานเชิงประเด็นในด้านต่างๆ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ช่วงที่สอง เป็นการระดมความเห็นแบบกลุ่มย่อย ซึ่งจะมี 2 โจทย์หลักๆ ให้แสดงความเห็นต่อทิศทางการพัฒนาจังหวัดของตัวเองที่ควรจะเป็น และความเห็นต่อข้อเสนอกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาที่ยั่งยืนบนฐานการพึ่งตนเอง ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม กรณีภาคใต้
ผลลัพธ์ ด้านเนื้อหาข้อมูลเมื่อมีการนำเสนออกไป สามารถให้คนในที่ประชุมรับรู้ และตระหนัก เพราะว่าข้อมูลที่นำเสนอออกไปนั้น ผู้เข้าร่วมเวทีเสวนาไม่เคยรับรู้ข้อมูลนี้มาก่อน ซึ่งช่วยทำให้บรรยากาศการในการพูดคุยสนทนาในช่วงถัดไปเป็นการพูดคุยที่มีข้อมูลข้อเท็จจริงประกอบ และกระบวนการแบ่งกลุ่มย่อยช่วยให้ทุกคนได้พูดคุยกันอย่างทั่วถึง สามารถแสดงความเห็นของตัวเอง จนนำไปสู่ความตระหนักมากขึ้นในทิศทางการพัฒนาของประเทศชาติ ตลอดจนมีข้อเสนอในการพัฒนาหรือดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาต่อไป
 
ข้อเสนอต่อกระบวนการพัฒนาจังหวัด
                หลังจากรับทราบข้อมูลทำให้ทราบว่าโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมในจังหวัดของตนนั้นมีอะไรบ้าง เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับข้อมูลศักยภาพจังหวัด และมาเปรียบเทียบช่างน้ำหนักระหว่ง ผลดี กับ ผลเสีย ที่จะเกิดจากการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ หรือพวกอุตสาหกรรมหนักทั้งหลายแล้วทิศทางการพัฒนาจังหวัดควรดำเนินการในแนวทางรักษาฐานทรัพยากรสิ่งแวดล้อม วีถีชีวิต ให้สอดคล้องกับสังคม วัฒนธรรม ผลประโยชน์ควรเกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก และนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุข ของคนในจังหวัดนั้นๆ
บางจังหวัดมีข้อเสนอเพิ่มเติมหลังจากนี้จะต้องมีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ในลักษณะของเครือข่ายการเรียนรู้ กลุ่ม องค์กร เพื่อก่อให้เกิดพลังในการกำหนดทิศทางการพัฒนาตนเองต่อไปในอนาคต
บางพื้นที่มีแนวทางในการศึกษาผลกระทบจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ หรือผลกระทบจากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นแล้วในพื้นที่เพื่อเตือนภัย และหาทางเยียวยาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญที่สุดคือคุณภาพชีวิตที่กำลังจะถูกทำลายไป
บางจังหวัดมีข้อเสนอในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามศักยภาพที่เป็นจริง และสอดคล้องกับฐานทรัพยากรของจังหวัด เพื่อที่เกิดประโยชน์ต่อคนจำนวนมากอย่างสูงสุด
 
ข้อเสนอต่อประเด็นแผนพัฒนาที่ยั่งยืนบนฐานการพึ่งตนเอง ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม กรณีภาคใต้
                ความเห็นส่วนใหญ่ของผู้ที่เข้าร่วมสัมมนาคือไม่เห็นด้วยกับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ จำพวกอุตสาหกรรมหนัก เช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ท่าเรือน้ำลึก โรงกลั่น และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ แต่เห็นด้วยว่าทิศทางการพัฒนาควรต่อยอดจากศักยภาพเดิมของพื้นที่บนฐานการรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญต้องเอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ นั้นคือ การพัฒนาด้านการเกษตร ประมง การท่องเที่ยว และการศึกษา รวมทั้งอุตสาหกรรมที่นำมาสู่การยกระดับสินค้าเกษตรและต้องเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
                ความเห็นในการจัดเวทีระดับจังหวัด ใช้เนื้อหาเดียวกันกับข้อเสนอในร่างมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติประเด็นแผนพัฒนาที่ยั่งยืนภาคใต้
                ผู้เข้าร่วมประชุมในแต่ละจังหวัดสนับสนุนร่างมติที่คณะทำงานร่างขึ้นโดยมีความเห็นเพิ่มเติมบ้างแต่ในด้านเนื้อหาสอดคล้องกับของเดิม
 
ข้อสรุปสุดท้ายของเวทีจังหวัด
                ฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเลิศ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่เป็นสายสัมพันธ์มาหลายอายุคน สิ่งเหล่านี้คงมากพอที่จะทำให้คนใต้รู้สึกรักบ้านตัวเอง และพร้อมที่จะปกป้องทรัพยากรตามรัฐธรรมนูญ และกำหนดทิศทางทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับคนใต้ และมีต้องมีประโยชน์สูงสุดกับคนส่วนรวม
                จากการประเมินของเวทีจังหวัดอีกประการสำคัญ พบว่า คนภาคใต้ต้องวิถีชีวิติที่ดีขึ้น มีการรักษาวัฒนาธรรมท้องถิ่น ปรับระบบการศึกษาให้ดีขึ้น การสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นที่ให้ดีกว่าเดิม ลดปัญหาคดีอาชญากรรม ยาเสพติด ดังนั้นประการแรกที่รัฐบาลต้องทำคือ การทำให้ชุมชนเข้มแข็งที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น
ภาคใต้ของประเทศไทยควรเป็นเมืองเกษตร ประมงและการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นฐานการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนฐานของการประกอบอาชีพของคนใต้ อย่างแท้จริง
 

บล็อกของ คนไม่มีอะไร

คนไม่มีอะไร
  ประมวลภาพวันที่ 30 มีนาคม 2552 ณ สีแยกจองม่องไปจนถึงหน้าสถานีตำรวจภูธรสิชลวันที่ 30 มีนาคม 2552 เวลาประมาณ 08 : 30 น.  ณ สีแยกจองม่อง (อำเภอสิชล) ชาวบ้านประมาณ 300 คน ได้จัดขบวนรถยนต์ยาวประมาณ 30-40 คัน เพื่อไปมอบตัวพี่ด้วงตามหมายเรียก ที่ถูกนายอำเภอสิชลแจ้งความว่า "ดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการหน้าที่ หรือเพราะได้กระทำการหน้าที่" ชาวบ้าน เพือนพ้อง และมิตรสหายต่างพร้อมใจไปให้กำลังใจพี่ด้วงที่สถานีตำรวจภูธรสิชล ตามที่หมายเรียกผู้ต้องหา และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับตำรวจขั้นต่อไป และค่อยไปว่ากันบนชั้นศาลกันต่อไป หมายเรียกผู้ต้องหา ของพี่ด้วงชาวบ้านเตรียมขบวนรถ…
คนไม่มีอะไร
  หยุดสร้างภาพด้วยวาทะ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา           ในยุคสมัยนี้ไม่ว่าภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนใช้ วาทะ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ทุกวงการ โดยกำหนดตัวชี้วัดของการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ  นับเป็นนิมิตรหมายอันดีสำหรับสังคมไทย ที่ทุกภาคส่วนตระหนักชัดในหลักการนี้    แต่ในความเป็นจริงการใช้วาทะกรรมดังกล่าว   ได้ถูกบิดเบือนเพื่อสร้างภาพพจน์ของการแสวงหาผลประโยชน์ของระบบ และตนเอง       …
คนไม่มีอะไร
  เอนก  นาคะบุตร ขอยุติการประชุมเวทีรับฝังความคิดเห็นชาวบ้าน                 วันที่ 19 มกราคม 2552 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมศาลาประชาคมอำเภอสิชล การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชาวบ้าน ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนครศรีธรรมราช  (ชาวบ้านกว่า 90%  ที่มาประชุมวันนี้ไม่ได้ถูกเชิญจากบริษัททีม และกนอ. )                …
คนไม่มีอะไร
 ถ้ามันเกิดขึ้นจริงๆ คนใด้เดือดร้อนแน่นอนทางเข้าท่าเรือน้ำลึกปากบาราจังหวัดสตูล เป็นโครงการเชื่อมสงขลา - สตูล (สะพานเศรษฐกิจ)แบบก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราระยะแรกผังโครงอาหารฮาลาลจังหวัดปัตตานีสิ่งที่จะเกิดในสตูล มองภาพสวยมาก แต่แปลกรูปทั้งหมดที่ผ่านเจ้าของโครงการไม่พูดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น พูดแต่ตัวเลข    
คนไม่มีอะไร
  พืชน้ำมันในผืนป่า พื้นที่ชุ่มน้ำ และนาข้าว ศยามล   ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา            กระแสการส่งเสริมปลูกพืชน้ำมันทดแทนการนำเข้าเริ่มจางหายไป เมื่อราคาน้ำมันตกต่ำลงเรื่อยๆ   ในขณะที่การส่งเสริมการปลูกพืชน้ำมันโดยภาครัฐยังดำเนินการต่อไป มันสำปะหลัง อ้อย และปาล์มน้ำมัน   เป็นพืชเศรษฐกิจที่ถูกส่งเสริมให้เพิ่มผลผลิตเพื่อเป็นพืชน้ำมันตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพลังงาน  ในแผน ๕ ปี ของกระทรวงเกษตรฯ (พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๔) กำหนดให้ขยายพื้นที่ปลูกปาล์ม ๖ ล้านไร่…
คนไม่มีอะไร
   แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ต้องถูกกำหนดโดยคนใต้   ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา               การโฆษณาประชาสัมพันธ์กระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการลงทุนดำเนินการโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้มีอย่างต่อเนื่อง จากรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการการลงทุน (BOI) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  ยิ่งไปกว่านั้นยังได้รับการขานรับจากนักเศรษฐศาสตร์กันถ้วนหน้า เช่น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล  …
คนไม่มีอะไร
  ทางออกของชาวสวนยางเมื่อราคายางพาราตกต่ำ ศยามล  ไกยูรวงศ์โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา               ยางพาราถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนใต้ที่ผูกพันทั้งทางวัฒนธรรมและทางเศรษฐกิจมานานถึง ๑๐๘ ปี  ระบบการผลิตแบบพืชเชิงเดี่ยวได้เข้ามาแทนที่ป่ายางที่เติบโตพร้อมกับสวนผลไม้และป่าธรรมชาติซึ่งเป็นระบบการผลิตแบบสวนสมรม  หรือสวนพ่อเฒ่า   เงื่อนไขส่งเสริมการปลูกสวนยางโดยใช้กลยุทธ์ของเงินกองทุนสงเคราะห์สวนยางจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยาง (สกย.) การส่งเสริมการขยายพื้นที่ปลูก …
คนไม่มีอะไร
    แผนที่โครงการที่ตั้งโรงงานงานของเดิม และพื้นที่ถูกเพิกถอนแล้ว แผนที่ทางอากาศ ที่ตั้งของโครงการ และที่เห็นเส้นสีแดงเป็นสายพานลำเลียงจากโครงการถึงท่าเรือ มี 3 เส้น พื้นที่ป่าชายเลนที่หลืออยู่ป่ายชายเลนทางทิศโรงงานป่ายเลนอีกฟากถนนเส้นทางสาธารณของชาวบ้านใช้สัญจรเมื่อก่อนเป็น สวนมะพร้าว แต่ตอนนี้มันหายไปไหนก็ไม่รู้รองรอยบ้านชาวบ้านเดิม ที่เคยอาศัยแล้วใครมากั้นรั้วในพื้นที่สาธารณนี้ คิดอะไรหรือเปล่า? เนี้ยอย่าคิดว่าเรามาเที่ยวทะเลหมอก เพราะว่าฟ้าครึมๆ ที่เห็นอยู่นี้มันมีที่มา แต่ไม่มีที่ไปต้นมะพร้าวที่ถูกตัดไปแล้ว  
คนไม่มีอะไร
  แลนด์บริดจ์ ทางลัดสู่เศรษฐกิจ หรือทางตันสำหรับชาวปากบารา                  ตามที่เราทราบโดยทั่วกัน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) จะเน้นพื้นที่การพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ฯน ได้จัดทำแผนพัฒนาภาคใต้ต่างๆ                 1. การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้              …
คนไม่มีอะไร
    ชาวปัตตานีไม่คิดต่อต้าน  "ฮาลาล"  แต่...เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 ได้ลงไปสัมผัสพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสภาวะความขัดแย้งของพื้นที่สามจังหวัด ณ วันนี้ เชื่อว่าหลายๆ คนอาจไม่รู้ว่า "ปัตตานีกำลังจะกลายเป็นครัวอาหารฮาลาลสู่ระดับโลก" ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) และภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล จังหวัดชายแดนภาตใต้ ปี 2552-2555 ครัวฮาลาลแห่งนี้จะกินพื้นที่บริเวณอำเภอสายบุหรี่ และพื้นที่อำเภอปะนะเระ พื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้างโดยประมาณทั้งหมด 933 ไร่ และจะกลายเป็นนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล  รูปที่1…
คนไม่มีอะไร
เคยส่งสัยไหมว่าทำไมหิ่งห้อยชอบอยู่แถวบริเวณต้นลำพู แล้วข้างๆ ต้นลำพูต้องมีต้นโกงกาง มีเรื่องเล่ามายาวนานว่า ต้นลำพูเคยเป็นผู้ชายมาก่อน แล้วไปลงรักนางหิ่งห้อยชวนหนีไปด้วยกัน แต่นางโกงกางก็มีใจให้นายลำพู จึงไม่ยอมให้หนีเลยเอารากตัวเองยึดนายลำพูไว้ นางหิ่งห้อยเลยจำเป็นบินเฝ้าต้นลำพูในยามค่ำคืน       เมื่อวันที่ 22-25 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมาทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ได้จัดประชุมเชิงปฎิบัติการครั้งที่2 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพระดับชุมชน (CHIA) ณ บ้านทิพย์ สวนทอง จังหวัดสมุทรสงคราม ในการประชุมครั้งนี้ทางสช.…