Skip to main content

ผ่านมาได้ 3 สัปดาห์ วิชาที่ผมสอนที่วิสคอนซินเริ่มสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในห้องมีนักเรียน 10 คน ขนาดพอๆ กับที่เคยสอนที่ธรรมศาสตร์ แต่ที่ต่างคือในห้องเดียวกันนี้มีทั้งนักเรียนปริญญาตรี โท และเอกเรียนร่วมกัน เพียงแต่ข้อกำหนดของงานและความคาดหวังจากนักเรียนระดับ ป.ตรีกับ ป.โท-เอก ย่อมแตกต่างกัน

ที่น่าสนใจคือมีนักเรียนจากหลากหลายสาขามาร่วมเรียน ที่พิเศษที่สุดคือมีนักเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์คนหนึ่งมานั่งเรียน นอกนั้นก็จากภาควิชาต่างๆ เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ภาษาและวรรณคดีเอเชีย  ภาษาศาสตร์ และจากมานุษยวิทยา  

ประสบการณ์ทางภาษาและที่มาที่ไปทางชาติพันธ์ุก็ทำให้ชั้นเรียนยิ่งนี้น่าสนุกเข้าไปอีก มีคนอเมริกันฝรั่งเศส อเมริกันฟินนิช คนแรกพูดฝรั่งเศสและอีกคนพูดฟินนิชได้ มีอเมริกันที่ไม่แสดงชาติพันธ์ุอื่นอยู่สองคน คนหนึ่งรู้ภาษาสเปนอีกคนเรียนภาษาลาวและเคยเป็นครูภาษาอังกฤษ มีคนม้งอเมริกันที่พูดภาษาอังกฤษ ไทย ม้ง จีนกลาง แต้จิ๋ว และภาษาอื่นๆ ที่เขากำลังเรียนอยู่

อีกห้าคนมาจากเอเชีย มีคนจีนแผ่นดินใหญ่สองคนที่พูดภาษาจีนกลางและกวางตุ้ง คนหนึ่งเป็นชาวเกาหลีที่เคยไปอยู่อินโดนีเชีย อีกคนเป็นชาวซาอุดิอาระเบีย น่าจะพูดภาษาอาหรับได้ อีกคนเป็นคนไทยที่กำลังเรียนภาษาพม่า สรุปแล้ววิชานี้ทุกคนเป็น bilingual, trilingual, multilingual กันทั้งสิ้น

วันแรกผมฉายหนังเรื่อง "The Class" (Entre les murs) แล้วสัปดาห์ต่อมามาถกเถียงกัน หนังพูดเรื่องครูสอนภาษาฝรั่งเศสคนหนึ่ง ในโรงเรียนมัธยมปลายที่นักเรียนเป็นคนจากชาติพันธ์ุต่างๆ ที่อพยพมาอยู่ฝรั่งเศส ห้องเรียนนี้จึงเต็มไปด้วยประเด็นทางภาษาทั้งในระดับที่ชัดเจนคือการเรียนภาษาฝรั่งเศส กับในระดับที่ซับซ้อนคือในประสบการณ์และวิธีคิดทางภาษาของนักเรียนกันเองและของนักเรียนกับครูที่แตกต่างกัน

ในห้องเรียนที่ผมสอน ได้ข้อถกเถียงจากหนังเรื่องนี้มากมาย โดยเฉพาะที่มาจากมุมมองของแต่ละคนที่มีประสบการณ์แตกต่างกัน ประเด็นหนึ่งที่หลายคนในห้องรู้สึกร่วมกันคือการมีประสบการณ์เป็นคนต่างถิ่น เป็นชนกลุ่มน้อย ที่ต้องเรียนภาษาของประเทศที่ใช้ภาษาอื่น นักเรียนเกินครึ่งหนึ่งของห้องนี้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง แม้แต่คนอเมริกันเอง สองคนก็เล่าประสบการณ์ในครอบครัว ที่พยายามไม่สอนลูกหลานให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสและฟินนิช เนื่องจากไม่อยากให้เด็กๆ ติดสำเนียง พูดอังกฤษแบบอเมริกันไม่ชัด ซึ่งจะทำให้มีปัญหาการใช้ชีวิตภายหลังได้

มีนักเรียนคนหนึ่งเป็นชาวอเมริกัน เคยเป็นครูสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนในรัฐมิสซูรี สะท้อนให้ฟังนอกห้องเรียนว่าเขามีประสบการณ์ทำนองเดียวกับครูสอนฝรั่งเศสในหนังที่ดู นักเรียนคนอเมริกันภาคใต้ที่ส่วนใหญ่เป็นคนดำ รับไม่ได้กับภาษาอังกฤษที่เขาสอนให้ มีทั้งวิธีการใช้ภาษา ไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่เข้ากันไม่ได้กับชีวิตพวกเขา

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเป็นการเรียนสัปดาห์ที่สาม ผมให้นักเรียนอ่านเกี่ยวกับวิธีการศึกษาภาษาแบบนักภาษาศาสตร์ นักเรียนภาษาศาสตร์สองคนในห้องบอกว่านี่มันง่ายมากสำหรับพวกเขา แต่สำหรับนักเรียนที่ยังไม่ได้เรียนภาษาศาสตร์ บ่นกันอุบว่ายากมาก แต่ในที่สุดห้องเรียนก็กลายเป็นห้องถกเถียงแลกเปลี่ยนกันเรื่องภาษาอย่างสนุกสนาน แต่ละคนนำเอาประสบการณ์การใช้ภาษาของตนมาแลกเปลี่ยนกัน เป็นการเรียนจากประสบการณ์ส่วนตนของแต่ละคนจริงๆ

ผมเปิดคลิปจากยูทูปชื่อ "Chewbacca Sound Tutorial" เพื่ออธิบายความแตกต่างระหว่าง phonetics กับ phonemics คลิปนี้เป็นตัวอย่างของ phonetics คือการศึกษาการออกเสียงของชิวเบกกา ตัวละครหน้าขนในสตาร์วอร์ (ยังดีที่คนรุ่นหลานในห้องดูสตาร์วอร์กันบ้าง) ส่วน phonemics เปิดประสบการณ์การคิดเกี่ยวกับภาษาของพวกเขาหลายคนมาก  

เช่นการที่เสียงสูงต่ำไม่มีความหมายในภาษาทางยุโรปแต่มันมีความหมายมากในภาษาจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักเรียนอเมริกันคนหนึ่งงงมากที่ทำไมเสียงที่แตกต่างกันในภาษาอังกฤษของเขา มันกลับไม่ได้หมายถึงเสียงที่แตกต่างกันในสำนึกของคนอเมริกัน แต่เธอก็เล่าว่า เธอต้องเคยเข้าคอร์สฝึกออกเสียงอักษร "r" ตามแบบอเมริกัน เพราะตอนเด็กๆ เธอออกเสียงเป็น "w" นักเรียนอเมริกันคนหนึ่งตั้งคำถามน่าสนใจว่า เสียงสูง-ต่ำในภาษาอังกฤษก็มีความหมายไม่ใช่หรือ นักเรียนภาษาศาสตร์อเมริกันตอบว่า เขาเรียกว่าเป็นความหมายทาง semantics อยู่ในกระบวนการการใช้ภาษา ไม่ใช่ความหมายที่ฝังอยู่ในตัวคำศัพท์เองเลยแบบภาษาในเอเชีย

อีกคลิปที่เปิดแล้วนักเรียนชอบมากคือ "History of English in Ten Munites" ที่เล่าพัฒนาการของภาษาอังกฤษ เมื่อเปิดคลิปนี้ดูแล้วถกเถียงเรื่องการแบ่งแยกว่าภาษาอะไรเป็นภาษาอะไร หรือความเป็น "ตัวตน" ที่ตายตัวของภาษา การระบุขอบเขตที่ชัดเจนของภาษาราวกับว่าภาษาจะไม่เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกต่างๆ โดยเชื่อมโยงกับบทความเรื่อง "Areal Linguistics and Maninland Southeast Asia" ที่เสนอให้ศึกษาความเชื่อมโยงและการหยิบยืมติดต่อกันระหว่างภาษาต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ทำให้เราไม่สามารถจะแยกภาษาต่างๆ ในภูมิภาคนี้ออกจากกันได้ง่ายๆ  

การแลกเปลี่ยนประเด็นนี้ในห้องเชื่อมโยงกับที่นักเรียนคนหนึ่งถามว่า ในซีกโลกอื่นมีการสอนภาษาศาสตร์ที่แตกต่างกันไปจากแบบตะวันตกไหม ตัวอย่างเรื่อง "ภาษาจีน" เป็นตัวอย่างที่ดีข้อหนึ่งที่รัฐพยายามกลืนกลายอัตลักษณ์ของภาษาให้ภาษาที่แตกต่างกันจำนวนมาก กลายเป็น "ภาษาจีน" ไปหมด ประเด็นนี้ทำให้นักศึกษาจีนที่เติบโตในปักกิ่งออกมาบอกหลังห้องเรียนเลิกว่า เธอเพิ่งรู้ว่าภาษาจีนอื่นๆ นั้นไม่ใช่แค่ "สำเนียง" แต่มันเป็นคนละภาษาเลยทีเดียว  

ข้อสรุปที่สำคัญข้อหนึ่งที่ได้คือ ตกลงเราจะสามารถใช้อะไรเป็นเกณฑ์แบ่งว่าภาษาอะไรแตกต่างจากภาษาอะไร หรือที่สุดแล้วเราแยกภาษาที่อยู่ใกล้ๆ กันออกจากกันไม่ได้ แต่ก็ไม่ควรทึกทักรวมเอาภาษาต่างๆ เข้ามาไว้ด้วยกันแบบ "ภาษาจีน" ได้ง่ายๆ

ชั้นเรียนนี้น่าจะสนุกยิ่งขึ้นเรื่อยๆ หากมีอะไรน่าสนใจในสัปดาห์ต่อไปจะมาเล่าอีกครับ

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ... 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้