Skip to main content

โดย ..  "'มาโฮะ" เว็บบล็อกนิตยสารสาระบันเทิงออนไลน์

 

 
 
 
แฟนๆ ของ Studio Ghibli คงจำเรื่อง Whisper of the Heart หรือ 'เสียงกระซิบจากหัวใจ' กันได้นะคะ
 
เรื่องราวน่ารักๆ ของเด็กหนุ่มกับเด็กสาวผู้มีความฝันในเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งที่ชื่อทามะ เมื่อเด็กหนุ่มอยากเป็นช่างทำไวโอลิน เด็กสาวอยากเป็นนักเขียนนิยาย และสิ่งที่ชักพาให้สองคนนี้มาพบกันคือแมวอ้วนตัวหนึ่งที่เด็กสาวพบเจอขณะที่ นั่งอยู่บนรถไฟ
 
สิ่งที่น่าจดจำอย่างหนึ่งในเรื่องนี้คือเพลงประกอบที่ไพเราะอย่างเพลง 'Take Me Home, Country Road' มีฉากหนึ่งที่เด็กหนุ่มสีไวโอลินเป็นเพลง 'Country Road' แล้วเด็กสาวก็ร้องตาม
 
 
 
ล่าสุดก็มีข่าวว่า บริษัทรถไฟของญี่ปุ่น Keio ประกาศว่าจะมีการนำเพลง 'Country Road' ฉบับที่ใช้ประกอบเรื่อง Whisper of The Heart ไปใช้เป็นเพลงเมโลดี้รถไฟเข้าชานชลาของสถานีรถไฟ Seiseki-sakuragaoka ในฐานะที่เป็นรถไฟที่เป็นต้นแบบให้กับฉากรถไฟในเรื่องนี้ค่ะ
 
เดิมทีแล้วเพลง 'Take Me Home, Country Roads' เป็นเพลงสไตล์คันทรี่ของจอห์น เดนเวอร์ ส่วนที่นำมาใช้ในเรื่อง Whisper of the Heart เป็นฉบับของ โอลิเวีย นิวตัน จอห์น นักร้องคันทรี่อีกคนหนึ่งค่ะ (ในฉากที่สีไวโอลินกัน นางเอกของเราจะแปลงเพลงนี้เป็นฉบับภาษาญี่ปุ่น)
 
สถานีรถไฟ Seiseki-sakuragaoka
 
 
การใช้เพลงนี้ในสถานีรถไฟเป็นแผนการส่งเสริมการท่องเที่ยวของเมืองทามะเขา ล่ะค่ะ ซึ่งเดิมทีแฟนๆ ของเรื่อง Whisper of the Heart หลายคนก็ได้รับแรงบันดาลใจจากการ์ตูนเรื่องนี้ จนพากันเดินทางไปเที่ยวชมเมืองทามะกันอยู่แล้ว
 
ซึ่งตัวจิงเกิ้ลรถไฟที่ว่านี้จะเปิดใช้ครั้งแรกในวันที่ 8 เมษายนปีนี้ล่ะ
 

 
John Denver กับ Olivia Newton-John
 
ไหนๆ ก็พูดถึงเพลง Take Me Home, Country Roads มาโฮะจังก็ขอพูดถึงเกร็ดของเพลงนี้เพิ่มเติมอีกสักเล็กน้อยค่ะ 
 
ถ้าหากเมืองทามะรู้สึกประทับใจกับการที่ได้เป็นฉากของการ์ตูน ชาวเวสท์ เวอจีเนีย เองก็รู้สึกประทับใจที่ได้ถูกพูดถึงในเนื้อเพลง Take Me Home, Country Roads เช่นกัน โดยเพลงนี้ถูกนำไปใช้เป็นเพลงประจำของมหาวิทยาลัย เวสท์ เวอจิเนีย และนำไปใช้ในอีกหลายๆ โอกาส
 
นอกจากจะกลายเป็นเพลงรถไฟเข้าชานชลาแล้ว มาโฮะจังเคยได้ยินว่าก่อนหน้านี้องค์การนาซ่าเคยนำเพลงนี้มาใช้ปลุกนักบินใน กระสวยอวกาศให้ตื่นมาปฏิบัติภารกิจในวันสุดท้ายก่อนที่จะกลับสู่ผืนโลกด้วย ค่ะ
 
 
 
วีดิโอเพลงฉบับที่ใช้เป็นฉากเปิดในเรื่อง Whisper of the heart
 
 

********

หมายเหตุเผยแพร่ครั้งแรกใน: http://mahoumag.exteen.com/20120225/whisper-of-the-heart

เกี่ยวกับ "'มาโฮะ"
เว็บบล็อกนิตยสารสาระบันเทิงออนไลน์



มาจากการรวมตัวของกลุ่มเพื่อนที่แม้จะมาจากต่างสาขาอาชีพ แต่ก็มีความสนใจด้าน วรรณกรรม, ดนตรี, ภาพยนตร์, การ์ตูน, ศิลปะ และวัฒนธรรมร่วมสมัย จึงได้ใช้ชื่อว่า "มาโฮะ" ซึ่งในภาษาเหนือหมายถึงการมาร่วมสังสรรค์กันด้วยวัตถุดิบหลากหลาย ขณะเดียวกันก็พ้องเสียงกับคำว่า ma-hou (มา-โฮ) ในภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่าเวทย์มนตร์ด้วย

ติดตามผลงานของ "'มาโฮะ" ได้ที่
http://mahoumag.exteen.com
http://www.facebook.com/mahoumag

บล็อกของ Anime Watch

Anime Watch
เผยแพร่ครั้งแรกใน: http://mahoumag.exteen.com
Anime Watch
โดย Rong Luciuz จาก http://mahoumag.exteen.com/ ปกติลูเซียสไม่ค่อยว่างตามอัพเดทการ์ตูนสักเท่าไหร่ ด้วยนิสัยชอบอ่านเฉพาะที่ตัวเองชอบ
Anime Watch
 โดย ... Konayuki จาก "มาโฮะ" เว็บบล็อกนิตยสารสาระบันเทิงออนไลน์
Anime Watch
โดย ..  "'มาโฮะ" เว็บบล็อกนิตยสารสาระบันเทิงออนไลน์  
Anime Watch
  โดย ..  "'มาโฮะ" เว็บบล็อกนิตยสารสาระบันเทิงออนไลน์   มาโฮะจังตอนนี้มาพร้อมกับความสงสัยใคร่รู้อีกแล้วล่ะค่ะ 
Anime Watch
เนตรชนก แดงชาติ อนิเมะที่พูดถึงสงครามไม่ว่าจะเป็นมุมมองของผู้ก่อสงครามหรือมุมมองของผู้ได้รับผลกระทบ ไปจนถึงการก่อสงครามระหว่างประเทศหรือก่อสงครามระดับอวกาศ เป็นวัตถุดิบที่ได้รับความนิยมมาเป็นเวลาช้านาน ไม่ว่าจะเป็น กันดั้ม (ภาคต่าง ๆ), สุสานหิ่งห้อย,  Axis Power Hetalia, หรือแม้กระทั่ง “ก้านกล้วย” การ์ตูนไทยที่มีเป้าหมายอยู่ที่เด็กและเยาวชน แต่ในภาค 2 ก็ยังมีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับสงคราม   สำหรับส่องโลกอนิเมะสัปดาห์นี้ผู้เขียนขอชวนคุยเกี่ยวกับมังงะและอนิเมชัน (ที่เสี่ยงต่อการแบนของกระทรวงวัฒนธรรมบ้านเรา) เรื่อง 'อาวุธสุดท้ายคือเธอ ไซคาโนะ' หรือ 'ไซชูเฮกิคาโนะโจ' (最終兵器彼女) โดย ชิน…
Anime Watch
  เนตรชนก แดงชาติ ใน ช่วง 40 กว่าปีที่ผ่านมานี้การไหล่บ่าของกระแส J-POP ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อวัฒนกรรมการเสพสื่อของบ้านเรา และแน่นอนว่าย่อมหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึง “การ์ตูนญี่ปุ่น” ที่ซึมลึกอยู่ในวงการสื่อบ้านเรารวมถึงเด็ก ๆ (ตลอดถึงคนที่เคยเป็นเด็ก) ไปไม่ได้ หลายท่านคงจำ ทั้งโดราเอมอน ดราก้อนบอล เซเลอร์มูน กันได้ และที่จะมาชวนท่านผู้อ่านคุยวันนี้เป็นหนึ่งในอมตะการ์ตูนแห่งช่อง 3 คือเรื่อง “อิคคิวซัง” หรือ “เณรน้อยเจ้าปัญญา” การ์ตูนที่มาจากบุคคลที่มีชีวิตอยู่จริงในช่วงประวัติศาสตร์ “อิค คิวซัง”  จากเรื่องเล่าที่นำมาเขียนเป็นนิยายภาพ จากนั้น ฮิซาชิ ซาคากุจิ (Hisashi Sakaguchi)…