Skip to main content

 

 ลุดวิก ฟาน เบโธเฟนมีซิมโฟนีทั้งหมด 9 บท ทั้งนี้ยังไม่นับหมายเลข 10 ที่ยังถกเถียงกันว่าเป็นของเขาจริงหรือไม่  แต่ละบทมีความโด่งดังและมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง จนมีคนยกย่องว่าเหนือชั้นกว่าซิมโฟนีของคีตกวีคนอื่นแม้แต่โมซาร์ตซึ่งถูกผลิตออกมาเป็นจำนวนถึง 41 บท  ที่สำคัญซิมโฟนีของเบโธเฟนดังเช่นหมายเลข 3 นั้นได้ชื่อว่าเป็นบันไดเปลี่ยนผ่านดนตรีของโลกจากยุคคลาสสิกไปสู่ยุคโรแมนติก  อย่างไรก็ดี ซิมโฟนีซึ่งมีความเด่นไม่เหมือนใครแม้ว่าจะได้รับการยกย่องไม่เท่ากับหมายเลข 5 หรือ 7 คือหมายเลข 6 ในฐานะ Program Music หรือดนตรีที่ต้องการสื่อถึงอะไรบ้างอย่างนอกเหนือจากความไพเราะของเพลง อันเป็นที่นิยมสำหรับคตีกวีในยุคแห่งโรแมนติกดังเช่น Symphonie fantastique ของเฮกเตอร์ แบริออส์ เพลง  Don Quixote ของริชาร์ด สเตราส์หรือซิมโฟนีหลายบทของกุสตาฟ มาห์เลอร์ กระนั้นในยุคก่อนหน้านี้ดังยุคบารอคก็มีอยู่เช่นเพลงของอันโตนีโอ วีวัลดี คีตกวียุคบาร็อคที่บรรยายถึงความงามของยุโรปผ่านสี่ฤดูกาล นั่นคือ Four Seasons

      ซิมฟีนีหมายเลข 6 Pastoral in F Major (Op. 68)  มีลักษณะสำคัญคือการบรรยายความงดงามของชนบทและธรรมชาติดังคำว่า Pastoral หมายถึงทุ่งหญ้าหรือชนบท  บทกวีแห่งท้องทุ่งนี้ยังตั้งอยู่บนการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์อันทำให้คนฟังแม้แต่ชาวบ้านธรรมดายังรู้สึกมีส่วนร่วมด้วยอย่างแนบแน่นเพราะสามารถประสบพบได้ในชีวิตประจำวันดังที่จะได้กล่าวต่อไป  ผู้ประพันธ์คือเบโธเฟนนั้นเป็นที่รู้กันว่ารักธรรมชาติ  เขาชอบเดินทางจากนครเวียนนาที่เขาพำนักอยู่เกือบตลอดชีวิตไปพักผ่อนที่ชนบท และเดินเล่นไปเรื่อยๆ จนเกิดความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับเพลงที่กำลังแต่ง ว่ากันว่าครั้งหนึ่งเบโธเฟนเดินลัดทุ่งนาและร้องเพลงเสียงแหลมเล็กจนอีกาตกใจบินหนีไป

       เบโธเฟนแต่งซิมโฟนีหมายเลข 6 ไปพร้อมๆ กับหมายเลข 5 อันลือชื่อซึ่งทุกคนจะค้นหูกันดีกับกระบวนแรก แต่เมื่อเขานำหมายเลข 6  มาแสดงในกรุงเวียนนาในปี 1808 กลับได้รับการต้อนรับอย่างเย็นชาจากผู้ชมเพราะไม่ชอบสไตล์เพลงที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนเช่นนี้ อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมา บทเพลงนี้กลายเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วโลก และถูกใช้ในโฆษณาโทรทัศน์ต่างๆ หรือภาพยนตร์เรื่องต่างๆ  ในหลายสิบปีที่ผ่านมา ตัวอย่างที่โดดเด่นได้แก่เรื่อง Fantasia (1940) ของค่ายภาพยนตร์วอลต์ ดิสนีย์

      ซิมโฟนีหมายเลย 6 มีทั้งสิ้น 5 กระบวน (Movement) ซึ่งแตกต่างจากซิมโฟนี ทั่วไปที่จะมีเพียง  4 กระบวน มีความยาวทั้งสิ้น 40 นาที แต่ละกระบวนมีประโยคบรรยายประกอบอันได้ใจความดังต่อไปนี้

       1.Allegro Ma Non troppo

       ความปิติฉับพลันต่อการได้มาเยือนท้องทุ่ง (Awakening of joyous feelings upon arrival in the country) เพลงๆ นี้จะเริ่มต้นด้วยจังหวะเร็วแสดงให้เห็นถึงความสุขของ คีตกวีที่ได้มาเยือนชนบท ได้แลเห็นทุ่งนาสีทองอันกว้างใหญ่พร้อมกับเนินเขาสีเขียวชะอุ่มอยู่ลับๆ พร้อมเมฆสีขาวปุยเป็นริ้วๆ อยู่บนท้องฟ้าที่แสงแดดสาดส่งลงมา

      2. Andante molto mosso

       ภาพริมธาร (Scene by Brook) เป็นจังหวะช้าๆ เนิบๆ ที่งดงาม ทำให้ผู้ฟังนึกถึงความงดงามของธรรมชาติข้างแม่น้ำสายเล็ก ๆ มีแสงแดดส่องทะลุกิ่งไม้ผ่านมากระทบกับพื้นน้ำเป็นประกาย ปลาน้อยใหญ่ว่ายวนไปมา

       3. Allegro attacca

      การเต้นรำที่แสนสนุกสนานของชาวนา (Happy gathering of country folk) เป็นจังหวะที่เร็วแสดงถึงชีวิตชาวนาเมื่อยามว่างจากการทำนาแล้วจึงมาร้องรำทำเพลงอย่างร่าเริงจนหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง

        4. Allegro

        ฟ้าผ่าและพายุ  (Thunder and Storm) ทันใดนั้นกลุ่มชาวนาก็แตกพลัดกระจัดกระจายเพราะพายุและฝนที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหันบนท้องฟ้าที่มืดดำ กระบวนนี้บรรยายถึงความหวาดกลัวของผู้แต่งในฐานะมนุษย์ตัวกระจ้อยร่อยที่มีต่อความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ เพลงมีจังหวะเร็วและ รุนแรง ประดุจดังพายุไปพร้อมๆ กับเสียงกลองที่กระหน่ำเหมือนเสียงฟ้าผ่า

       5.Allegretto

      บทเพลงอันแสนยินดีและความกตัญญต่อน้ำพระทัยของพระเจ้าของคนเลี้ยงแกะหลังพายุได้พ้นผ่าน (Shepherd's song; cheerful and thankful feelings after the storm) เพลงกลับมาเร็วในระดับกลาง มีทำนองที่แจ่มใส อันแสดงให้เห็นว่าพายุได้พัดผ่านไปแล้ว แสงแดด และท้องฟ้าสีครามกลับมาอีกครั้งหนึ่งพร้อมกับเสียงเจื้อยแจ้วของนกบนต้นไม้ ประชันกับเสียงฮอร์นอันร่าเริงของคนเลี้ยงแกะเคียงข้างฝูงแกะที่ติดอยู่ในซอกเขายามพบกับพายุ

       เบโธเฟนเคยคิดจะฆ่าตัวตาย เพราะความทุกข์ทรมานจากอาการหูหนวกที่กำเริบหนัก แต่ไม่สำเร็จ ใครหลายคนมองว่าเพราะความกลัวตาย แต่ก็มีคนอีกจำนวนมากเชื่อว่าเพราะความรักของเขาที่มีต่อเสียงเพลงตามคำสารภาพของเขาใน Heiligenstadt testament นอกจากนี้สุนทรียทัศน์ของโลกเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เบโธเฟนมีกำลังใจต่อสู้กับอุปสรรคทั้งปวง  การท่องเที่ยวไปในชนบทได้ฉลภาพของทุ่งนาซึ่งผมคิดว่าเป็นงานศิลปะที่งดงามที่สุดชนิดหนึ่งของโลกได้ทำให้เบเฟนได้รู้ว่าสารัตถะของชีวิตแท้ที่จริงไม่ใช่วัตถุของมีค่าหรือชื่อเสียงเลย หากแต่เป็นความงดงามของธรรมชาติที่สะท้อนภาพเข้ามาสถิตในหัวใจของเขา

การเขียนเพลงบทนี้ท่ามกลางความเงียบงันจากหูซึ่งก่อปัญหาหนักขึ้นช่างมีความยิ่งใหญ่ไม่ต่างอะไรจากการเข้าฌาณจนเกิดภาวะยั่งรู้ต่อธรรมชาติของนักบวชหรือศาสดาในอดีตทั้งหลาย เพียงแต่เบโธเฟนได้กลั่นกรองมาเป็นบทเพลงอันแสนไพเราะเท่านั้นเอง

 

 

                 

 

                                 ภาพจาก http://cps-static.rovicorp.com

 

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เขียนงานเขียนในรูปแบบต่างๆ  คือนวนิยาย เรื่องสั้นหรือแม้แต่บทละครมานานก็เลยอยากจะชี้แจ้งให้ท่านผู้อ่านเข้าใจว่าเนื่องจากเป็นงานเขียนแบบงานดิเรกหรือแบบนักเขียนสมัครเล่นอย่างผม จึงต้องขออภัยที่มีจุดผิดพลาดอยู่ เพราะไม่มีคนมาตรวจให้ ถึงผมเองจะพยายามตรวจแล้วตรวจอีกก็ยังมีคำผิดและหลักไวยากรณ์อยู่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The Spook Radio (part 2)ภาค 2 ของดีเจอ้นซึ่งเป็นดีเจรายการที่เปิดให้ทางบ้านมาเล่าเรื่องสยองขวัญหรือเรื่องเหนือธรรมชาติ ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก The Shock และ The Ghost  (Facebook คนเขียนคือ Atthasit Muang-in)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(เรื่องสั้นสยองขวัญภาษาอังกฤษเรื่องนี้ลอกมาจากเรื่องสั้นของราชาเรื่องสยองขวัญของเมืองไทย ครูเหม เวชากร ตัวเอกคือนายทองคำ เด็กกำพร้าอายุ 12 ขวบที่อาศัยอยู่กับยายและญาติในชนบทของไทยในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2476)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The lingering sunlight from the dawn kissed my eyelids and I could hear faintly the flock of big birds, whose breed was unbeknownst to me, chirping merrily outside window ,as if to greet the exuberant face of a new day.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเกี่ยวกับนักเขียนวัยกลางคนที่มีความหลังอันดำมืดและความสัมพันธ์กับดาราสาวผู้มีพลังจิต 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของรปภ.หนุ่มผู้ค้นหาภูติผีปีศาจในตึกที่ลือกันว่าเฮี้ยนที่สุด  เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากรายการ The Ghost Radio(the altered version)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของผู้ชาย 3 คนที่ขับรถบรรทุกแล้วต้องเผชิญกับผีดูดเลือด 3 Friends and The Ghosts                                                (1)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This short novel is about a guy who works as a DJ for the radio program 'The Spook Radio', famous for its allowing audience to share their thrilling experiences or tales about the superstitious stuffs, especially the ghosts, via telephones.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไทยที่ใช้ชีวิตในเยอรมันช่วงพรรคนาซีเรืองอำนาจ  เขียนยังไม่จบและยังไม่มีการ proofreading แต่ประการใด                     Chapter 1  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้มาจาก facebook  Atthasit Muangin สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert)  พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 (มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in) 1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557  ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่น