Skip to main content


ในที่สุดนางสาวไช่ อิงเหวิ่นประธานาธิบดีไต้หวันซึ่งเดินทางไปสหรัฐฯ ก็ได้พบกับนายเควิน แม็คคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎรที่มาแทนนางแนนซี่ โปโลซี่ ผู้ก่อเรื่องอื้อฉาวโดยการเดินทางไปพบนางสาวไช่ถึงไต้หวันเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับจีนจนต้องทำการซ้อมรบรอบเกาะไต้หวันเป็นเวลานาน และครั้งนี้ก็เช่นกัน ทางเป่ยจิงได้ประณามก่อนหน้านี้ว่าการเดินทางของประธานาธิบดีไต้หวันเป็นการละเมิดหลักการจีนเดียว เพราะจีนถือว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของตน ซึ่งก็ไม่ทราบว่าจีนจะทำอะไรให้ดูมีพลังกว่าปีที่แล้วเพื่อทำให้ทั้งสหรัฐฯ และไต้หวันได้รู้สำนึก

อย่างไรก็ตามการถือว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีนเป็นมุมมองที่ใช้ตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางเพราะไต้หวันยังได้เริ่มต้นเป็นรัฐชาติไปพร้อมกับการปกครองของคอมมิวนิสต์เหนือจีนเหนือแผ่นดินใหญ่นั่นคือ เจียงพ่ายแพ้สงครามกลางเมืองในแผ่นดินใหญ่ จึงต้องต้องพาพลพรรคเป็นล้านๆ คนมาตั้งรกรากที่ไต้หวันเป็นการชั่วคราวเพื่อจะบุกเอาจีนแผ่นดินใหญ่คืนถึงไม่ประสบความสำเร็จ แต่ไต้หวันก็เป็นอิสระ มีรัฐบาลและเอกราชเป็นของตัวเองตั้งแต่เวลานั้น ที่สำคัญในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาอำนาจทั้งหลายต่างสนับสนุนให้ไต้หวันเป็นของสาธารณรัฐจีน หรือรัฐบาลของเจียง อย่างในปี 1952 ญี่ปุ่นซึ่งยึดครองไต้หวันมาก่อนได้ยินยอมในสนธิสัญญาที่จะมอบเกาะไต้หวันและเกาะใกล้เคียงคืนให้รัฐบาลของเจียง (1)

นอกจากไต้หวันจะมีความเป็นรัฐชาติแล้วยังมีความเข้มแข็งของรัฐในด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี เช่นเดียวกับประชาธิปไตยและเสรีภาพที่ตรงกันข้ามกับจีนในยุคของนายสี จิ้นผิงซึ่งกลายเป็นเผด็จการขึ้นเรื่อยๆ และคนไต้หวันก็มีสำนึกความเป็นชาติไต้หวันอย่างสูงเช่นเดียวกันพวกเขาก็มองจีนในฐานะเป็นชาติอื่นเหมือนที่คนฮ่องกงจำนวนมากมอง แม้ว่าประเทศที่ให้การรับรองความเป็นประเทศของไต้หวันลดจำนวนลงเรื่อยๆ อย่าล่าสุดคือฮอนดูรัสที่เพิ่งตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวันและหันมาหาจีนแทน แต่เพราะแรงกดดันและการจูงใจจากจีนเรื่องการลงทุนกับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจมากกว่าเรื่องความถูกต้องชอบธรรมหรือกฎหมายระหว่างประเทศ

ดังนั้นในการพบปะกันของนางสาวไช่กับนายแม็คคาร์ธี แม้รัฐบาลจีนและพวกสนับสนุนจีนจะถือว่าสหรัฐฯ เข้ามาแทรกแซงการเมืองภายในของจีนเพราะต้องการเตะสกัดจีนที่ก้าวมาเป็นมหาอำนาจโลกเคียงคู่ไปกับสหรัฐฯ เหมือนทุกครั้ง แต่สำหรับพวกสนับสนุนสหรัฐฯ/ ไต้หวันก็มองว่าการที่นักการเมืองระดับสูงของทั้ง 2 รัฐพบกันเป็นการแสดงถึงจุดยืนว่าไต้หวันเป็นประเทศอิสระที่จีนไม่มีสิทธิจะมาก้าวก่ายอย่างเช่นนโยบายต่างประเทศ และสหรัฐฯ นั้นก็ได้ช่วยเหลือประเทศอิสระประเทศหนึ่งที่เป็นประชาธิปไตยให้ไม่ตกเป็นของอีกประเทศหนึ่งที่เป็นเผด็จการ (กระนั้นการเตะสกัดจีนเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้) ด้วยแนวคิดเช่นนี้นางสาวไช่ก็สามารถพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ หรือจะมาเป็นแบบทางการหรือ state visit ก็ได้ แต่สหรัฐฯ ต้องยอมรับแนวคิด One China คือยอมรับการเป็นหนึ่งเดียวของจีน ไปด้วย อันเป็นการแสดงความกำกวมอย่างมีกลยุทธ์ (ที่ไบเดนได้ฝ่าฝืนไปหลายครั้ง) และที่สำคัญ สหรัฐฯ ไม่ต้องการกดดันจีนไปมากกว่านี้ 

นอกจากนี้พวกสนับสนุนจีนยังได้ใช้แนวคิดเชื้อชาติ ภาษาและวัฒนธรรมที่จีนมีร่วมกับไต้หวันเพื่อเป็นข้ออ้างให้จีนมีความชอบธรรมเหนือไต้หวัน ทั้งที่คนไต้หวันเองรู้สึกเป็นมิตรและไว้ใจญี่ปุ่นซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาณานิคมมากกว่าจีนเสียด้วยซ้ำ (2) และทำให้เกิดคำถามว่าปัจจัยเหล่านั้นควรจะเป็นสิ่งที่ทำให้อีกชาติหนึ่งมีอำนาจเหนือชาติหนึ่งหรือไม่ แม้จะเป็นคนละประเทศกันไปแล้ว เหตุการณ์นี้เหมือนกับรัสเซียที่พยายามด้อยค่ายูเครนซึ่งมีทั้ง 3 อย่างคล้ายคลึงกับรัสเซียเพื่อสร้างความชอบธรรมต่อการยึดครองยูเครน

อย่างไรก็ตามไต้หวันนั้นสามารถเปลี่ยนแแปลงทางการเมืองได้ นั่นคือพรรคก๊กมินตั๋งที่ก่อตั้งโดยเจียงในยุคหลังนั้นแสดงท่าทีผ่อนปรนและเป็นมิตรต่อจีนแผ่นดินใหญ่ (ในขณะพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าของนางไช่จะมีนโยบายต่อจีนในทางตรงกันข้าม) ดังเช่นสมาชิกของพรรคคือนายหม่า อิงจิ่ว อดีตประธานาธิบดีไต้หวันและเป็นผู้นำไต้หวันคนแรกที่พบกับนายสี ก็ได้เดินทางไปเยือนจีนในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมาท่ามกลางความตึงเครียดของทั้งจีนและไต้หวัน ปรากฎการณ์นี้แสดงว่าพรรคก๊กมินตั๋งต้องการอาศัยกระแสความหวาดกลัวภัยจากคุกคามจากจีนเพื่อสร้างความนิยมให้กับพรรคในการเลือกตั้งระดับต่างๆ โดยเฉพาะประธานาธิบดี ภายหลังจากนางสาวไช่ได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วและยังหาทายาททางการเมืองที่เหมาะสมไม่ได้ ซึ่งก็อาจเป็นเรื่องดีก็ได้ เพราะถ้าพรรคก๊กมินตั๋งขึ้นมีอำนาจก็หันมาประนีประนอมกับจีนมากขึ้น ทำให้โอกาสการเกิดสงครามระหว่างจีนกับไต้หวัน/สหรัฐฯ น้อยลง และจะไม่ส่งผลเสียถึงเศรษฐกิจการเมืองโลกหรือขยายตัวเป็นสงครามโลกในเอเชีย แต่ถ้าจะถึงขั้นจะเปิดช่องให้จีนเข้ายึดไต้หวันได้โดยละม่อมก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะคนไต้หวันส่วนใหญ่คงไม่ยินยอมจนกลายเป็นแรงกดดันทางการเมืองอย่างมหาศาล พรรคก๊กมินตั๋งคงต้องเปลี่ยนนโยบายกระทันหัน และสหรัฐฯ คงไม่อยู่นิ่งเฉยเพราะจะเป็นการสูญเสียอำนาจทางการเมืองโลกและเศรษฐกิจให้กับจีนโดยเฉพาะเทคโนโลยีไมโครชีพซึ่งไต้หวันเป็นประเทศชั้นนำของโลกในการผลิตและสหรัฐฯ ต้องพึ่งพิงไต้หวันด้านนี้อย่างสูง

 



(1)  https://thediplomat.com/2014/08/no-taiwans-status-is-not-uncertain/#:~:text=The%20ROC%2DJapan%20Peace%20Treaty,Treaty%2C%20in%20Taipei%20in%201952.

 

(2)  https://www.japantimes.co.jp/news/2022/03/18/national/taiwan-affinity-japan/

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เขียนงานเขียนในรูปแบบต่างๆ  คือนวนิยาย เรื่องสั้นหรือแม้แต่บทละครมานานก็เลยอยากจะชี้แจ้งให้ท่านผู้อ่านเข้าใจว่าเนื่องจากเป็นงานเขียนแบบงานดิเรกหรือแบบนักเขียนสมัครเล่นอย่างผม จึงต้องขออภัยที่มีจุดผิดพลาดอยู่ เพราะไม่มีคนมาตรวจให้ ถึงผมเองจะพยายามตรวจแล้วตรวจอีกก็ยังมีคำผิดและหลักไวยากรณ์อยู่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The Spook Radio (part 2)ภาค 2 ของดีเจอ้นซึ่งเป็นดีเจรายการที่เปิดให้ทางบ้านมาเล่าเรื่องสยองขวัญหรือเรื่องเหนือธรรมชาติ ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก The Shock และ The Ghost  (Facebook คนเขียนคือ Atthasit Muang-in)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(เรื่องสั้นสยองขวัญภาษาอังกฤษเรื่องนี้ลอกมาจากเรื่องสั้นของราชาเรื่องสยองขวัญของเมืองไทย ครูเหม เวชากร ตัวเอกคือนายทองคำ เด็กกำพร้าอายุ 12 ขวบที่อาศัยอยู่กับยายและญาติในชนบทของไทยในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2476)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The lingering sunlight from the dawn kissed my eyelids and I could hear faintly the flock of big birds, whose breed was unbeknownst to me, chirping merrily outside window ,as if to greet the exuberant face of a new day.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเกี่ยวกับนักเขียนวัยกลางคนที่มีความหลังอันดำมืดและความสัมพันธ์กับดาราสาวผู้มีพลังจิต 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของรปภ.หนุ่มผู้ค้นหาภูติผีปีศาจในตึกที่ลือกันว่าเฮี้ยนที่สุด  เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากรายการ The Ghost Radio(the altered version)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของผู้ชาย 3 คนที่ขับรถบรรทุกแล้วต้องเผชิญกับผีดูดเลือด 3 Friends and The Ghosts                                                (1)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This short novel is about a guy who works as a DJ for the radio program 'The Spook Radio', famous for its allowing audience to share their thrilling experiences or tales about the superstitious stuffs, especially the ghosts, via telephones.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไทยที่ใช้ชีวิตในเยอรมันช่วงพรรคนาซีเรืองอำนาจ  เขียนยังไม่จบและยังไม่มีการ proofreading แต่ประการใด                     Chapter 1  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้มาจาก facebook  Atthasit Muangin สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert)  พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 (มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in) 1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557  ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่น