Skip to main content


ในที่สุดนางสาวไช่ อิงเหวิ่นประธานาธิบดีไต้หวันซึ่งเดินทางไปสหรัฐฯ ก็ได้พบกับนายเควิน แม็คคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎรที่มาแทนนางแนนซี่ โปโลซี่ ผู้ก่อเรื่องอื้อฉาวโดยการเดินทางไปพบนางสาวไช่ถึงไต้หวันเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับจีนจนต้องทำการซ้อมรบรอบเกาะไต้หวันเป็นเวลานาน และครั้งนี้ก็เช่นกัน ทางเป่ยจิงได้ประณามก่อนหน้านี้ว่าการเดินทางของประธานาธิบดีไต้หวันเป็นการละเมิดหลักการจีนเดียว เพราะจีนถือว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของตน ซึ่งก็ไม่ทราบว่าจีนจะทำอะไรให้ดูมีพลังกว่าปีที่แล้วเพื่อทำให้ทั้งสหรัฐฯ และไต้หวันได้รู้สำนึก

อย่างไรก็ตามการถือว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีนเป็นมุมมองที่ใช้ตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางเพราะไต้หวันยังได้เริ่มต้นเป็นรัฐชาติไปพร้อมกับการปกครองของคอมมิวนิสต์เหนือจีนเหนือแผ่นดินใหญ่นั่นคือ เจียงพ่ายแพ้สงครามกลางเมืองในแผ่นดินใหญ่ จึงต้องต้องพาพลพรรคเป็นล้านๆ คนมาตั้งรกรากที่ไต้หวันเป็นการชั่วคราวเพื่อจะบุกเอาจีนแผ่นดินใหญ่คืนถึงไม่ประสบความสำเร็จ แต่ไต้หวันก็เป็นอิสระ มีรัฐบาลและเอกราชเป็นของตัวเองตั้งแต่เวลานั้น ที่สำคัญในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาอำนาจทั้งหลายต่างสนับสนุนให้ไต้หวันเป็นของสาธารณรัฐจีน หรือรัฐบาลของเจียง อย่างในปี 1952 ญี่ปุ่นซึ่งยึดครองไต้หวันมาก่อนได้ยินยอมในสนธิสัญญาที่จะมอบเกาะไต้หวันและเกาะใกล้เคียงคืนให้รัฐบาลของเจียง (1)

นอกจากไต้หวันจะมีความเป็นรัฐชาติแล้วยังมีความเข้มแข็งของรัฐในด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี เช่นเดียวกับประชาธิปไตยและเสรีภาพที่ตรงกันข้ามกับจีนในยุคของนายสี จิ้นผิงซึ่งกลายเป็นเผด็จการขึ้นเรื่อยๆ และคนไต้หวันก็มีสำนึกความเป็นชาติไต้หวันอย่างสูงเช่นเดียวกันพวกเขาก็มองจีนในฐานะเป็นชาติอื่นเหมือนที่คนฮ่องกงจำนวนมากมอง แม้ว่าประเทศที่ให้การรับรองความเป็นประเทศของไต้หวันลดจำนวนลงเรื่อยๆ อย่าล่าสุดคือฮอนดูรัสที่เพิ่งตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวันและหันมาหาจีนแทน แต่เพราะแรงกดดันและการจูงใจจากจีนเรื่องการลงทุนกับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจมากกว่าเรื่องความถูกต้องชอบธรรมหรือกฎหมายระหว่างประเทศ

ดังนั้นในการพบปะกันของนางสาวไช่กับนายแม็คคาร์ธี แม้รัฐบาลจีนและพวกสนับสนุนจีนจะถือว่าสหรัฐฯ เข้ามาแทรกแซงการเมืองภายในของจีนเพราะต้องการเตะสกัดจีนที่ก้าวมาเป็นมหาอำนาจโลกเคียงคู่ไปกับสหรัฐฯ เหมือนทุกครั้ง แต่สำหรับพวกสนับสนุนสหรัฐฯ/ ไต้หวันก็มองว่าการที่นักการเมืองระดับสูงของทั้ง 2 รัฐพบกันเป็นการแสดงถึงจุดยืนว่าไต้หวันเป็นประเทศอิสระที่จีนไม่มีสิทธิจะมาก้าวก่ายอย่างเช่นนโยบายต่างประเทศ และสหรัฐฯ นั้นก็ได้ช่วยเหลือประเทศอิสระประเทศหนึ่งที่เป็นประชาธิปไตยให้ไม่ตกเป็นของอีกประเทศหนึ่งที่เป็นเผด็จการ (กระนั้นการเตะสกัดจีนเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้) ด้วยแนวคิดเช่นนี้นางสาวไช่ก็สามารถพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ หรือจะมาเป็นแบบทางการหรือ state visit ก็ได้ แต่สหรัฐฯ ต้องยอมรับแนวคิด One China คือยอมรับการเป็นหนึ่งเดียวของจีน ไปด้วย อันเป็นการแสดงความกำกวมอย่างมีกลยุทธ์ (ที่ไบเดนได้ฝ่าฝืนไปหลายครั้ง) และที่สำคัญ สหรัฐฯ ไม่ต้องการกดดันจีนไปมากกว่านี้ 

นอกจากนี้พวกสนับสนุนจีนยังได้ใช้แนวคิดเชื้อชาติ ภาษาและวัฒนธรรมที่จีนมีร่วมกับไต้หวันเพื่อเป็นข้ออ้างให้จีนมีความชอบธรรมเหนือไต้หวัน ทั้งที่คนไต้หวันเองรู้สึกเป็นมิตรและไว้ใจญี่ปุ่นซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาณานิคมมากกว่าจีนเสียด้วยซ้ำ (2) และทำให้เกิดคำถามว่าปัจจัยเหล่านั้นควรจะเป็นสิ่งที่ทำให้อีกชาติหนึ่งมีอำนาจเหนือชาติหนึ่งหรือไม่ แม้จะเป็นคนละประเทศกันไปแล้ว เหตุการณ์นี้เหมือนกับรัสเซียที่พยายามด้อยค่ายูเครนซึ่งมีทั้ง 3 อย่างคล้ายคลึงกับรัสเซียเพื่อสร้างความชอบธรรมต่อการยึดครองยูเครน

อย่างไรก็ตามไต้หวันนั้นสามารถเปลี่ยนแแปลงทางการเมืองได้ นั่นคือพรรคก๊กมินตั๋งที่ก่อตั้งโดยเจียงในยุคหลังนั้นแสดงท่าทีผ่อนปรนและเป็นมิตรต่อจีนแผ่นดินใหญ่ (ในขณะพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าของนางไช่จะมีนโยบายต่อจีนในทางตรงกันข้าม) ดังเช่นสมาชิกของพรรคคือนายหม่า อิงจิ่ว อดีตประธานาธิบดีไต้หวันและเป็นผู้นำไต้หวันคนแรกที่พบกับนายสี ก็ได้เดินทางไปเยือนจีนในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมาท่ามกลางความตึงเครียดของทั้งจีนและไต้หวัน ปรากฎการณ์นี้แสดงว่าพรรคก๊กมินตั๋งต้องการอาศัยกระแสความหวาดกลัวภัยจากคุกคามจากจีนเพื่อสร้างความนิยมให้กับพรรคในการเลือกตั้งระดับต่างๆ โดยเฉพาะประธานาธิบดี ภายหลังจากนางสาวไช่ได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วและยังหาทายาททางการเมืองที่เหมาะสมไม่ได้ ซึ่งก็อาจเป็นเรื่องดีก็ได้ เพราะถ้าพรรคก๊กมินตั๋งขึ้นมีอำนาจก็หันมาประนีประนอมกับจีนมากขึ้น ทำให้โอกาสการเกิดสงครามระหว่างจีนกับไต้หวัน/สหรัฐฯ น้อยลง และจะไม่ส่งผลเสียถึงเศรษฐกิจการเมืองโลกหรือขยายตัวเป็นสงครามโลกในเอเชีย แต่ถ้าจะถึงขั้นจะเปิดช่องให้จีนเข้ายึดไต้หวันได้โดยละม่อมก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะคนไต้หวันส่วนใหญ่คงไม่ยินยอมจนกลายเป็นแรงกดดันทางการเมืองอย่างมหาศาล พรรคก๊กมินตั๋งคงต้องเปลี่ยนนโยบายกระทันหัน และสหรัฐฯ คงไม่อยู่นิ่งเฉยเพราะจะเป็นการสูญเสียอำนาจทางการเมืองโลกและเศรษฐกิจให้กับจีนโดยเฉพาะเทคโนโลยีไมโครชีพซึ่งไต้หวันเป็นประเทศชั้นนำของโลกในการผลิตและสหรัฐฯ ต้องพึ่งพิงไต้หวันด้านนี้อย่างสูง

 



(1)  https://thediplomat.com/2014/08/no-taiwans-status-is-not-uncertain/#:~:text=The%20ROC%2DJapan%20Peace%20Treaty,Treaty%2C%20in%20Taipei%20in%201952.

 

(2)  https://www.japantimes.co.jp/news/2022/03/18/national/taiwan-affinity-japan/

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชามองว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  สำหรับโวห์ลสเตเตอร์และสานุศิษย์ แม็ดนั้นทั้งไร้ศิลธรรมและไร้ประสิทธิภาพ ที่ไร้ศีลธรรมคือมันจะสร้างความเสียหายให้กับพลเรือน และที่ไร้ประสิทธิภาพคือ มันจะทำให้เกิดการยุติการสะสมระเบิดนิวเคลียร์ของทั้งคู่ ในทางกลับกัน โวห์ลสเตเตอ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.พลเอกประยุทธ์และคสช.มองว่าตัวเองเป็น  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้แปลมาจาก   www.counterpunch.org The Strategist and the PhilosopherLeo Strauss and Albert Wohlstetter
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  Concerto มาจากภาษาอิตาลีคือคำว่า Concerti หมายถึงการเล่นประสานกันระหว่างวงดนตรีขนาดใหญ่กับเครื่องดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่ง (คำว่า Concerti จึงเป็นที่มาของคำว่า Concert ที่ใช้กันในปัจจุบัน) ถ้าเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 ตามความเข้าใจของเราที่ได้รับอิทธิพลจากยุควิคตอเรียนของอังกฤษ ผู้หญิงในสังคมของทุกชาติในอดีตมักเป็นช้างเท้าหลังที่สงบเสงี่ยม ทำตามคำสั่งของสามีอยู่ต้อยๆ แต่พวกเราเองก็ยอมรับว่ามีผู้หญิงไม่น้อยที่เข้ามามีอิทธิพลต่อสามีซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ของโลกหรื