Skip to main content


ในที่สุดนางสาวไช่ อิงเหวิ่นประธานาธิบดีไต้หวันซึ่งเดินทางไปสหรัฐฯ ก็ได้พบกับนายเควิน แม็คคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎรที่มาแทนนางแนนซี่ โปโลซี่ ผู้ก่อเรื่องอื้อฉาวโดยการเดินทางไปพบนางสาวไช่ถึงไต้หวันเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับจีนจนต้องทำการซ้อมรบรอบเกาะไต้หวันเป็นเวลานาน และครั้งนี้ก็เช่นกัน ทางเป่ยจิงได้ประณามก่อนหน้านี้ว่าการเดินทางของประธานาธิบดีไต้หวันเป็นการละเมิดหลักการจีนเดียว เพราะจีนถือว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของตน ซึ่งก็ไม่ทราบว่าจีนจะทำอะไรให้ดูมีพลังกว่าปีที่แล้วเพื่อทำให้ทั้งสหรัฐฯ และไต้หวันได้รู้สำนึก

อย่างไรก็ตามการถือว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีนเป็นมุมมองที่ใช้ตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางเพราะไต้หวันยังได้เริ่มต้นเป็นรัฐชาติไปพร้อมกับการปกครองของคอมมิวนิสต์เหนือจีนเหนือแผ่นดินใหญ่นั่นคือ เจียงพ่ายแพ้สงครามกลางเมืองในแผ่นดินใหญ่ จึงต้องต้องพาพลพรรคเป็นล้านๆ คนมาตั้งรกรากที่ไต้หวันเป็นการชั่วคราวเพื่อจะบุกเอาจีนแผ่นดินใหญ่คืนถึงไม่ประสบความสำเร็จ แต่ไต้หวันก็เป็นอิสระ มีรัฐบาลและเอกราชเป็นของตัวเองตั้งแต่เวลานั้น ที่สำคัญในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาอำนาจทั้งหลายต่างสนับสนุนให้ไต้หวันเป็นของสาธารณรัฐจีน หรือรัฐบาลของเจียง อย่างในปี 1952 ญี่ปุ่นซึ่งยึดครองไต้หวันมาก่อนได้ยินยอมในสนธิสัญญาที่จะมอบเกาะไต้หวันและเกาะใกล้เคียงคืนให้รัฐบาลของเจียง (1)

นอกจากไต้หวันจะมีความเป็นรัฐชาติแล้วยังมีความเข้มแข็งของรัฐในด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี เช่นเดียวกับประชาธิปไตยและเสรีภาพที่ตรงกันข้ามกับจีนในยุคของนายสี จิ้นผิงซึ่งกลายเป็นเผด็จการขึ้นเรื่อยๆ และคนไต้หวันก็มีสำนึกความเป็นชาติไต้หวันอย่างสูงเช่นเดียวกันพวกเขาก็มองจีนในฐานะเป็นชาติอื่นเหมือนที่คนฮ่องกงจำนวนมากมอง แม้ว่าประเทศที่ให้การรับรองความเป็นประเทศของไต้หวันลดจำนวนลงเรื่อยๆ อย่าล่าสุดคือฮอนดูรัสที่เพิ่งตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวันและหันมาหาจีนแทน แต่เพราะแรงกดดันและการจูงใจจากจีนเรื่องการลงทุนกับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจมากกว่าเรื่องความถูกต้องชอบธรรมหรือกฎหมายระหว่างประเทศ

ดังนั้นในการพบปะกันของนางสาวไช่กับนายแม็คคาร์ธี แม้รัฐบาลจีนและพวกสนับสนุนจีนจะถือว่าสหรัฐฯ เข้ามาแทรกแซงการเมืองภายในของจีนเพราะต้องการเตะสกัดจีนที่ก้าวมาเป็นมหาอำนาจโลกเคียงคู่ไปกับสหรัฐฯ เหมือนทุกครั้ง แต่สำหรับพวกสนับสนุนสหรัฐฯ/ ไต้หวันก็มองว่าการที่นักการเมืองระดับสูงของทั้ง 2 รัฐพบกันเป็นการแสดงถึงจุดยืนว่าไต้หวันเป็นประเทศอิสระที่จีนไม่มีสิทธิจะมาก้าวก่ายอย่างเช่นนโยบายต่างประเทศ และสหรัฐฯ นั้นก็ได้ช่วยเหลือประเทศอิสระประเทศหนึ่งที่เป็นประชาธิปไตยให้ไม่ตกเป็นของอีกประเทศหนึ่งที่เป็นเผด็จการ (กระนั้นการเตะสกัดจีนเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้) ด้วยแนวคิดเช่นนี้นางสาวไช่ก็สามารถพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ หรือจะมาเป็นแบบทางการหรือ state visit ก็ได้ แต่สหรัฐฯ ต้องยอมรับแนวคิด One China คือยอมรับการเป็นหนึ่งเดียวของจีน ไปด้วย อันเป็นการแสดงความกำกวมอย่างมีกลยุทธ์ (ที่ไบเดนได้ฝ่าฝืนไปหลายครั้ง) และที่สำคัญ สหรัฐฯ ไม่ต้องการกดดันจีนไปมากกว่านี้ 

นอกจากนี้พวกสนับสนุนจีนยังได้ใช้แนวคิดเชื้อชาติ ภาษาและวัฒนธรรมที่จีนมีร่วมกับไต้หวันเพื่อเป็นข้ออ้างให้จีนมีความชอบธรรมเหนือไต้หวัน ทั้งที่คนไต้หวันเองรู้สึกเป็นมิตรและไว้ใจญี่ปุ่นซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาณานิคมมากกว่าจีนเสียด้วยซ้ำ (2) และทำให้เกิดคำถามว่าปัจจัยเหล่านั้นควรจะเป็นสิ่งที่ทำให้อีกชาติหนึ่งมีอำนาจเหนือชาติหนึ่งหรือไม่ แม้จะเป็นคนละประเทศกันไปแล้ว เหตุการณ์นี้เหมือนกับรัสเซียที่พยายามด้อยค่ายูเครนซึ่งมีทั้ง 3 อย่างคล้ายคลึงกับรัสเซียเพื่อสร้างความชอบธรรมต่อการยึดครองยูเครน

อย่างไรก็ตามไต้หวันนั้นสามารถเปลี่ยนแแปลงทางการเมืองได้ นั่นคือพรรคก๊กมินตั๋งที่ก่อตั้งโดยเจียงในยุคหลังนั้นแสดงท่าทีผ่อนปรนและเป็นมิตรต่อจีนแผ่นดินใหญ่ (ในขณะพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าของนางไช่จะมีนโยบายต่อจีนในทางตรงกันข้าม) ดังเช่นสมาชิกของพรรคคือนายหม่า อิงจิ่ว อดีตประธานาธิบดีไต้หวันและเป็นผู้นำไต้หวันคนแรกที่พบกับนายสี ก็ได้เดินทางไปเยือนจีนในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมาท่ามกลางความตึงเครียดของทั้งจีนและไต้หวัน ปรากฎการณ์นี้แสดงว่าพรรคก๊กมินตั๋งต้องการอาศัยกระแสความหวาดกลัวภัยจากคุกคามจากจีนเพื่อสร้างความนิยมให้กับพรรคในการเลือกตั้งระดับต่างๆ โดยเฉพาะประธานาธิบดี ภายหลังจากนางสาวไช่ได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วและยังหาทายาททางการเมืองที่เหมาะสมไม่ได้ ซึ่งก็อาจเป็นเรื่องดีก็ได้ เพราะถ้าพรรคก๊กมินตั๋งขึ้นมีอำนาจก็หันมาประนีประนอมกับจีนมากขึ้น ทำให้โอกาสการเกิดสงครามระหว่างจีนกับไต้หวัน/สหรัฐฯ น้อยลง และจะไม่ส่งผลเสียถึงเศรษฐกิจการเมืองโลกหรือขยายตัวเป็นสงครามโลกในเอเชีย แต่ถ้าจะถึงขั้นจะเปิดช่องให้จีนเข้ายึดไต้หวันได้โดยละม่อมก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะคนไต้หวันส่วนใหญ่คงไม่ยินยอมจนกลายเป็นแรงกดดันทางการเมืองอย่างมหาศาล พรรคก๊กมินตั๋งคงต้องเปลี่ยนนโยบายกระทันหัน และสหรัฐฯ คงไม่อยู่นิ่งเฉยเพราะจะเป็นการสูญเสียอำนาจทางการเมืองโลกและเศรษฐกิจให้กับจีนโดยเฉพาะเทคโนโลยีไมโครชีพซึ่งไต้หวันเป็นประเทศชั้นนำของโลกในการผลิตและสหรัฐฯ ต้องพึ่งพิงไต้หวันด้านนี้อย่างสูง

 



(1)  https://thediplomat.com/2014/08/no-taiwans-status-is-not-uncertain/#:~:text=The%20ROC%2DJapan%20Peace%20Treaty,Treaty%2C%20in%20Taipei%20in%201952.

 

(2)  https://www.japantimes.co.jp/news/2022/03/18/national/taiwan-affinity-japan/

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  1.บวรศักดิ์ อุวรรณโณคิดว่าร่างรัฐธรรมนูญของตนนั้นเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความต่อไปนี้บางส่วนเอามาจากบทความของคุณเดวิด เบอร์นาร์ด จาก http://www.chambersymphony.com/   เข้าใจว่าโซโฟนีหมายเลข 7 นี้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความนี้ได้รับการแปลและตัดต่อบางส่วนจากเว็บ The History Place:World War in Euroe ผู้เขียนไม่ทราบชื่อ  บทความนี้ยังถูกนำเสนอเนื่องในโอกาสครบรอบการเสียชีวิตของฮิตเลอร์เมื่อ 70 ปีที่แล้ว (30 เมษายน ปี 1945) เช่นเดียวกับก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 คงมีภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่องที่สามารถสะท้อนความคิดทางปรัชญาอันลุ่มลึกและมักทำให้ผมระลึกถึงอยู่เสมอเวลาดูข่าวต่างๆ หรือไม่เวลาพบกับเหตุการณ์ทางการเมือง ภาพยนตร์เหล่านั้นนอกจากราโชมอนของ อาคิระ คุโรซาวาแล้วยังมี Being There ที่ภาพยนตร์สุดฮิตอย่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1. กลุ่มกปปส.ต่อหน้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์คิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1. เพลง  Give It Up ของวง  KC&Sunshine Band  (ปี 1983)  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.Don Giovanni คีตกวี วู๊ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  The Pianist ซึ่งกำกับโดยโรมัน โปลันสกีถูกนำออกฉายในปี 2002  และได้รับการยกย่องรวมไปถึงรางวัลออสการ์และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างมาจากหนังสืออัตชีวประวัต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะคิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  เมื่อพูดถึงเพลงคลาสสิก ภาพแรกที่ปรากฏอยู่ในหัวของทุกคนก็คือผู้ชายหรือไม่ก็เด็กชายฝรั่งสวมวิคแต่งชุดฝรั่งโบราณกำลังเล่นเปียโนอยู่ หากจะถามว่าคนๆ นั้นคือใคร ทุกคนก็จะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเขาคือ โมสาร์ต คีตกวีผู้มีชื่อเสียงมากที