Skip to main content

   

    เมื่อได้อ่านบทความนี้แล้วทำให้นึกถึงบทความหนึ่งในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสซึ่งผู้แปลได้หยิบมาเขียนวิพากษ์คือบทความของวรนัย วาณิชกะ ว่ามีมุมมองที่คล้ายคลึงกันหลายประการ ผิดแต่ว่าผู้เขียนบทความนี้คือดร.ฟารีด ซาคาเรียค่อนข้างเป็นกลางๆ และมีเหตุมีผลมากกว่า ที่สำคัญไม่ได้ตั้งใจจะเอาไปสนับสนุนกองทัพมากจนเกินไป  สาเหตุที่ผู้แปลได้หยิบบทความนี้มาแปลก็เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นการเมืองโลกที่แตกต่างกว่าเดิมเพราะมันได้กล่าวถึงอีกแง่มุมหนึ่งที่ดูตรงกันข้ามกับฟรานซิส ฟูกูยามาเจ้าของบทความที่ผู้แปลได้ยกมาก่อนหน้านี้

      บทความนี้แปลมาจากบทความ Rise of Putinism ของฟารีด ซาคาเรียใน The Washington Post  เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา

    เมื่อสงครามเย็นได้สิ้นสุดลง ฮังการีดูเหมือนจะเป็นพื้นที่พิเศษในประวัติศาสตร์ของการปฏิวัติเมื่อปี 1989 มันเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศแรกๆ ในวงจรอำนาจของรัสเซียที่ทอดทิ้งลัทธิคอมมิวนิสต์และรับเอาประชาธิปไตยเสรีนิยมเข้ามาแทน และปัจจุบันนี้เองที่ฮังการีได้กลายเป็นผู้นำกระแสโลกอีกครั้งคือเป็นประเทศแรกในทวีปยุโรปที่ประณามและพาตัวเองออกห่างจากประชาธิปไตยเสรีนิยม มันได้รับระบบและชุดคุณค่าใหม่ซึ่งมีตัวอย่างที่ดีที่สุดคือรัสเซียของปูตินมาแทน แต่เรายังพบเสียงสะท้อนลักษณะเดียวกันนี้ในประเทศอื่นๆ เช่นกัน

     ในการกล่าวสุนทรพจน์ครั้งสำคัญเมื่ออาทิตย์แล้ว นายกรัฐมนตรีของฮังการีคือนายวิกเตอร์ ออร์บานได้อธิบายว่าประเทศเขานั้นได้มุ่งมั่นที่จะสร้างต้นแบบทางการเมืองแบบใหม่นั้นคือประชาธิปแบบเทียมๆ (Illiberal democracy) สิ่งนี้ทำให้ผมเกิดความสนใจเพราะในปี 1997 ผมได้เขียนเรียงความลงในนิตยสาร         ฟอร์เรนจ์ แอฟแฟร์ส และได้ใช้วลีเดียวกันนี้ในการอธิบายแนวโน้มอันตรายของการเมืองโลก    รัฐบาลประชาธิปไตยถึงแม้จะได้รับความนิยมแต่ก็ได้ใช้อำนาจในการบั่นทอนสิทธิของปัจเจกชน การแบ่งแยกอำนาจและภาวะนิติรัฐ  แต่ผมไม่นึกไม่ฝันว่าผู้นำของชาติจากยุโรปจะใช้คำเช่นนี้ในการประกาศเกียรติคุณตัวเอง

    นายออร์บานได้อ้างว่า "หัวข้อซึ่งยอดนิยมที่สุดสำหรับการคิดคำนึงในทุกวันนี้คือความพยายามเข้าใจว่าระบบซึ่งไม่ใช่เป็นแบบตะวันตก ไม่ใช่เสรีนิยม ไม่ใช่ประชาธิปไตยเสรีนิยมและอาจไม่ใช่แม้แต่ประชาธิปไตยจะสามารถทำให้ชาติของพวกตนประสบความสำเร็จได้อย่างไร"  สำหรับออร์บาน โลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างถึงรากถึงโคนในปี 2008 ด้วยสิ่งที่ซึ่งเขาเรียกว่า "การล่มสลายทางการเงินของตะวันตกครั้งสำคัญ" และเขาก็ได้เสนอแนวคิดว่าอำนาจของสหรัฐอเมริกานั้นได้เสื่อมถอยลงและคุณค่าแบบเสรีนิยมได้กลายเป็นเรื่องของ"การฉ้อราษฎรบังหลวง เรื่องทางเพศและความรุนแรง" ยุโรปตะวันตกได้กลายเป็นดินแดนของ "เหลือบที่เกาะกินระบบสวัสดิการ" เขายังกล่าวอีกว่า ต้นแบบที่เป็นเสรีเทียม ๆ สำหรับโลกอนาคตนั้นคือรัสเซีย ตุรกี จีน สิงคโปร์และอินเดีย

     ถ้าไม่กล่าวถึงรายชื่อประเทศแบบแปลกๆ ของเขาออกไป (เช่นรวมอินเดียด้วย ?) พฤติกรรมของออร์บานในรอบหลายปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าต้นแบบของเขานั้นคือรัสเซียภายใต้การปกครองของปูติน ออร์บานได้สร้างและปฏิบัติตามรูปแบบที่สามารถอธิบายได้อย่างดีที่สุดว่าเป็น "ลัทธิปูติน"ในฮังการี  เพื่อความเข้าใจ เราต้องกลับไปหาผู้ก่อตั้งลัทธินี้

     เมื่อได้ขึ้นมามีอำนาจในปี 2000 ปูตินดูเหมือนเป็นผู้จัดการที่แข็งแกร่ง ฉลาดและเต็มไปด้วยความสามารถ เป็นคนมุ่งมั่นที่จะนำเสถียรภาพมายังรัสเซียซึ่งจมปลักอยู่กับความวุ่นวายภายในประเทศ การชะงักงันของเศรษฐกิจ และการไม่สามารถชำระหนี้ระหว่างประเทศ ในปี 2008  เขาพยายามผนึกประเทศรัสเซียให้เป็นหนึ่งเดียวกับโลก และต้องการความสัมพันธ์อันดีกับตะวันตก  เขาได้ร้องขอกรุงวอชิงตันให้ช่วยเหลือรัสเซียให้กลายเป็นสมาชิกในองค์การการค้าโลกและแม้กระทั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ  รัฐบาลของเขามีนักวิชาการหลายคนซึ่งมีความคิดเสรีนิยมแบบตะวันตก และรู้เรื่องดีเกี่ยวกับระบบตลาดเสรีและการค้าแบบเปิด

   

 

                                   

 

                                       ภาพจาก  www.inrumor.com

 

 

กระนั้นในระยะเวลาหนึ่ง ปูตินได้เสริมสร้างระเบียบขึ้นมาในประเทศของเขาพร้อมๆ กับทำให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองเพราะราคาน้ำมันได้พุ่งขึ้นเป็นสี่เท่าภายใต้การควบคุมของเขา เขาเริ่มต้นสร้างระบบการกดขี่ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมเพื่อเป็นการรักษาอำนาจเอาไว้ เมื่อต้องพบกับการต่อต้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการเลือกตั้งระดับประเทศเมื่อปี 2011 ปูตินระลึกดีว่าเขาต้องการสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากอำนาจในการเอาชนะปรปักษ์ทั้งหลาย เขาต้องการอุดมการณ์แห่งอำนาจและเริ่มเผยแพร่มันผ่านการกล่าวสุนทรพจน์ การออกกฎหมายและการใช้ตำแหน่งของตัวเองในการสานต่อชุดของคุณค่าเหล่านั้น

     องค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งของลัทธิปูตินคือลัทธิชาตินิยม ศาสนา ลัทธิอนุรักษ์นิยมทางสังคม ระบบทุนนิยมที่รัฐเป็นเจ้าของทุน (State capitalism) และการครอบงำของรัฐบาลต่อสื่อมวลชน  สิ่งเหล่านั้นล้วนแตกต่างไม่ทางใดทางหนึ่งกับคุณค่าทางตะวันตกยุคใหม่เกี่ยวกับสิทธิปัจเจกชน ความอดทนต่อความแตกต่างในสังคม การถือว่ามนุษย์ทุกคนคือพี่น้องกันและการเน้นความสัมพันธ์กับนานาชาติ มันเป็นความเข้าใจผิดหากไปเชื่อว่าลัทธิของปูตินนั้นทำให้เขาได้รับความนิยม เขานั้นได้รับความนิยมมาก่อนแล้ว แต่มันได้ทำให้ความนิยมของเขาดำรงต่อไปต่างหาก

      ออร์บานได้เดินตามรอยเท้าของปูตินโดยการบั่นทอนความเป็นอิสระของศาล (เช่นเดียวกับคสช.-ผู้แปล) จำกัดสิทธิของปัจเจกชน พูดเน้นลัทธิชาตินิยมโดยอ้างถึงเชื้อชาติฮังการี และปิดปากสื่อ (เช่นเดียวกับคสช.อีกเหมือนกัน-ผู้แปล) วิธีการควบคุมสังคมมักจะซับซ้อนกว่ารูปแบบเก่าๆ มาก  เมื่อไม่นานมานี้ฮังการีได้ประกาศเก็บภาษีร้อยละ 40  ของรายได้ที่มาจากการโฆษณาของสื่อซึ่งดูเหมือนจะพุ่งเป้ามายังเครือข่ายโทรทัศน์เสรีเพียงแห่งเดียวของประเทศซึ่งอาจนำไปสู่การล้มละลายของบริษัท

    ถ้าคุณมองไปรอบๆ โลก มีผู้นำคนอื่นๆ ที่รับเอาแนวคิดของปูตินมาใช้  เรเจป ไตยิป  เออร์โดกันแห่งตุรกีก็ได้ปลีกตัวออกห่างจากแนวคิดการปฏิรูปของเขาไปยังแนวคิดอนุรักษ์นิยมทางสังคม แนวคิดเคร่งศาสนาและลัทธิชาตินิยมอย่างสูง  เช่นเดียวกันเออร์โดกันได้ใช้กลยุทธในการข่มขู่ให้สื่อสยบยอม ผู้นำพรรคการเมืองแบบขวาตกขอบในยุโรปหลายคนไม่ว่ามารีน เลอ ปองแห่งฝรั่งเศส เกิร์ต วิลเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ หรือแม้แต่กระทั่ง ไนเจล แฟราจของอังกฤษ ก็แสดงความชื่นชมอย่างเปิดเผยต่อปูตินและอุดมการณ์ของเขา (หากบุคคลดังกล่าวต้องการมีส่วนในการจัดตั้งรัฐบาลในอนาคตก็ต้องแสดงการชื่นชอบปูตินให้น้อยลงไป เพราะมีประชาชนในชาติเหล่านี้เป็นจำนวนมากที่ไม่ชอบหรือหวาดระแวงความเป็นทรราชของปูติน ที่สำคัญพรรคขวาตกขอบเหล่านั้นต้องลดแนวคิดที่ค่อนไปทางเผด็จการลงเพราะประเทศเหล่านั้นเป็นประชาธิปไตยที่เข้มแข็งไม่เหมือนฮังการีหรือรัสเซีย-ผู้แปล)

     ความสำเร็จของลัทธิปูตินนั้นจะขึ้นอยู่กับความสำเร็จอย่างมหาศาลของตัวปูตินและรัสเซียในการปกครองของเขา ถ้าเขาประสบความสำเร็จในเรื่องยูเครนโดยการเปลี่ยนยูเครนให้เป็นประเทศที่เศรษฐกิจย่ำแย่จนต้องคุกเข่าขอร้องกรุงมอสโคว์  เขาก็จะดูเหมือนเป็นผู้มีชัย แต่ในทางกลับกันถ้ายูเครนสามารถออกจากวงจรอำนาจของรัสเซียได้สำเร็จและเศรษฐกิจของรัสเซียยังคงอ่อนแอลงเรื่อยๆ  ปูตินอาจจะพบว่าตนนั้นกำลังปกครองรัฐรวยน้ำมันที่โดดเดี่ยวจากชาวโลกฉกเช่นเดียวกับเขตไซบีเรีย

 

 

            

                  

                                                                          ภาพจาก   i1.wp.com/hungarianspectrum.org                                                                   

                     

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(เรื่องสั้นสยองขวัญภาษาอังกฤษเรื่องนี้ลอกมาจากเรื่องสั้นของราชาเรื่องสยองขวัญของเมืองไทย ครูเหม เวชากร ตัวเอกคือนายทองคำ เด็กกำพร้าอายุ 12 ขวบที่อาศัยอยู่กับยายและญาติในชนบทของไทยในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2476)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The lingering sunlight from the dawn kissed my eyelids and I could hear faintly the flock of big birds, whose breed was unbeknownst to me, chirping merrily outside window ,as if to greet the exuberant face of a new day.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเกี่ยวกับนักเขียนวัยกลางคนที่มีความหลังอันดำมืดและความสัมพันธ์กับดาราสาวผู้มีพลังจิต 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของรปภ.หนุ่มผู้ค้นหาภูติผีปีศาจในตึกที่ลือกันว่าเฮี้ยนที่สุด  เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากรายการ The Ghost Radio(the altered version)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของผู้ชาย 3 คนที่ขับรถบรรทุกแล้วต้องเผชิญกับผีดูดเลือด 3 Friends and The Ghosts                                                (1)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This short novel is about a guy who works as a DJ for the radio program 'The Spook Radio', famous for its allowing audience to share their thrilling experiences or tales about the superstitious stuffs, especially the ghosts, via telephones.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไทยที่ใช้ชีวิตในเยอรมันช่วงพรรคนาซีเรืองอำนาจ  เขียนยังไม่จบและยังไม่มีการ proofreading แต่ประการใด                     Chapter 1  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้มาจาก facebook  Atthasit Muangin สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert)  พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 (มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in) 1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557  ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่น
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ตัวละครบางตัวได้แรงบันดาลใจมาจากอิ๊กคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา The Abbot and The Noble           (1) In our village , Abbot Akisada was enormously respected by most of our
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องความแค้นของผีตายทั้งกลม This (real) horror short story is partly inspired by the ghost tale told by the popular YouTuber like Ajarn Yod. Or it is in fact from the amateurish storytellers participating in Ghost Radio or The Shock more or less.