Skip to main content
 
 
(ผมยืนยันว่าบทความแปลคือ "จอห์น ราเบ้ นาซีผู้เป็นพระโพธิสัตว์แห่งเมืองนานกิง" นั้นต้นฉบับเป็นของผมเองซึ่งได้เขียนลงบล็อกมานานแล้ว หลังจากไปลองค้นหาดูกูเกิลก็พบว่ามีการลอกเอาบทความของผมไปลงในเว็บของตัวเองผสมกับบทความอื่นอย่างแนบเนียนโดยระบุแหล่งที่มาซึ่งสืบถึงตัวผมได้ยากเหลือเกินหรือก็ไม่ได้พูดถึงเลย จึงขอชี้แจงมา ณ ที่นี้) 
 
 
รู้จักกันไหมกับคำว่า perfect murder หรือ "ฆาตกรรมอันสมบูรณ์แบบ" ? สำหรับพวกเราที่คุ้นเคยกับฆาตกรรมที่ผลุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ดในหนังสือพิมพ์หัวสีก็พบว่าล้วนมีแรงจูงใจซ้ำกันๆ ไม่ว่าเรื่องการขัดผลประโยชน์กัน เรื่องชู้สาว หรือการประสงค์ต่อทรัพย์กับร่างกายของเหยื่อหรือแม้แต่เรื่องโง่ๆ เช่นเกิดบันดาลโทสะเพราะมองหน้ากันนานเกินควร การจับกุมฆาตกรจึงไม่ใช่เรื่องยากเท่าไรนัก แต่ก็คงมีไม่น้อยที่ในหน้าหนังสือพิมพ์ที่ตำรวจยังจับคนผิดไม่ได้เพราะถึงแม้จะทราบว่าเหยื่อเป็นใครแต่ไม่ทราบว่าใครฆ่าและฆ่าเพื่ออะไร
 
ฆาตกรรมอันสมบูรณ์แบบจึงหมายถึงการฆ่าแบบแนบเนียนแบบไร้ร่องรอย หลักฐานและผู้ฆ่าไม่ได้ฆ่าเหยื่อเพราะมีวัตถุประสงค์ใดแน่นอน การฆาตกรรมอันสมบูรณ์แบบที่ปรากฏในภาพยนตร์ของอัลเฟรด ฮิตช์ค็อกสุดยอดผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอังกฤษอยู่หลายเรื่องดังเช่น Rope (1948) อันเป็นเรื่องของชายหนุ่ม 2 คนฆ่าเพื่อนของเขาคนหนึ่งแล้วเอาศพมาซ่อนไว้ในลังที่กลายเป็นโต๊ะชั่วคราวสำหรับจัดงานเลี้ยงเพื่อพวกเพื่อนๆ รวมไปถึงพ่อและป้าของเหยื่อ โดยไม่ได้มีความโกรธแค้นต่อเหยื่อแม้แต่น้อยเพียงแต่เห็นว่าเป็น"งานศิลปะ"อย่างหนึ่งและเป็นการพิสูจน์ทฤษฎีของฟรีดริก นิตเช่ต์ (เอาตามจริงผมว่าเป็นการตีความของผู้สร้างภาพยนตร์ต่อนักปรัชญาชาวเยอรมันเช่นนี้คลาดเคลื่อนไปมากเหมือนกัน)  แต่ฆาตกรรมอันสมบูรณ์แบบของฮิตช์ค็อกใช่ว่าจะหมายความอย่างนี้เท่านั้นหากหมายถึงการที่ผู้ฆ่าลวงหรือข่มขู่ให้คนอื่นซึ่งไม่ได้เป็นนักฆ่าอาชีพและไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหยื่อมาฆ่าเหยื่อเพื่อไม่ให้ตำรวจสามารถสาวไปถึงได้อย่างเช่น Dial M for Murder (1954) ที่สามีข่มขู่เพื่อนเก่าให้มาลอบฆ่าภรรยาของตนซึ่งเป็นเศรษฐีนีหรือ Vertigo (1958) ที่สามีลวงให้ผู้อื่นมาเป็นพยานในการฆ่าภรรยาของตัวเองที่ใช้วิธีแนบเนียนที่สุดแต่ในที่นี้เราจะพูดถึง Strangers on a Train (1951) ซึ่งในทัศนะของผมเองเห็นว่าสนุกตื่นเต้นกว่าภาพยนตร์ 3 เรื่องที่ได้กล่าวมา
 
 
 
 
 
                            
 
 
                                ภาพจาก  www.Hitchcokzone.com
 
 
 
Strangers on a Train เป็นภาพยนตร์แนวตื่นเต้น เขย่าขวัญปนแนวคิดจิตวิทยาของฮิตช์ค็อกที่สร้างมา จากนวนิยายของแพทริเชีย ไฮสมิธ เจ้าของนวนิยายชื่อดังที่ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ที่เรารู้จักกันดีคือ The Talented Mr.Ripley และ Ripley's Game ซึ่งเรื่องแรกมีลักษณะของตัวละครและโครงเรื่องคล้ายกับ Strangers on a Train อยู่มาก ฮิตช์ค็อกใช้กลยุทธในการซื้อลิขสิทธิ์ของนวนิยายจากไฮสมิธด้วยราคาถูกแสนถูกเพราะเป็นนวนิยายเรื่องแรกของเธอ  ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ตัวเอกเป็นนักเทนนิสชื่อดังนามว่า กาย เฮนส์ (ฟาร์ลีย์ แกรงเจอร์)ซึ่งกำลังดำเนินเรื่องหย่ากับภรรยาเพื่อที่จะได้ไปแต่งงานกับแอน มอร์ทัน (รูธ โรมัน) ซึ่งเป็นลูกสาวของวุฒิสมาชิก ขณะที่เขานั่งอ่านหนังสืออยู่ในห้องนั่งเล่นของรถไฟอย่างสบายอารมณ์อยู่นั้น เท้าของเขาก็ไปปัดกับเท้าของผู้ชายที่นั่งอยู่ตรงกันข้ามโดยบังเอิญ หมอนั้นก็เข้ามาตีความสนิทกับกายพร้อมกับแนะนำตนว่าชื่อแอนโทนี บรูโน (โรเบิร์ต วอล์คเกอร์) และเป็นแฟนพันธุ์แท้ตัวจริงที่ติดตามดูการแข่งขันของเขาอยู่เสมอ และรู้ถึงเรื่องส่วนตัวของกายจนดูเกินงาม จนทำให้คิดว่าที่จริงเป็นความบังเอิญหรือไม่ที่เขามานั่งในรถไฟคันเดียวกับกาย
 
การสนทนาดำเนินไปพร้อมกับความอึดอัดใจของกายต่อลักษณะซึ่งดูประหลาดขึ้นเรื่อย ๆ ของชายแปลกหน้า บรูโนได้เล่าเรื่องเล่าส่วนตัวให้กับกายโดยเฉพาะความเป็นปรปักษ์อย่างรุนแรงกับพ่อแท้ๆ ของตน และในที่สุดก็ได้เสนอโครงการน่าสยองก็คือเขากับกายน่าจะสลับกันฆ่าบุคคลที่ไม่พึงปรารถนาของอีกฝ่ายคือภรรยาของกายและพ่อของบรูโนเสียเพื่อที่ตำรวจไม่สามารถสืบมาถึงคนทั้งคู่ได้เพราะทั้งพวกเขาเป็นเพียงคนแปลกหน้าที่บังเอิญมารู้จักกันบนรถไฟเท่านั้น กายแสร้งแสดงความเห็นดีเห็นงามด้วยเพราะนึกว่าบรูโนพูดเล่น โดยหารู้ไม่ว่าต่อมาบรูโนได้แสดงตนว่าเป็นโรคจิตขนานแท้โดยเดินทางไปฆ่าภรรยาของกายที่ชื่อมิเรียมจริง ๆ และได้มาหากายอีกครั้งพร้อมกับยื่นคำขาดให้เขาฆ่าพ่อของตนตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ กายตกอยู่ในที่นั่งลำบากเพราะทางตำรวจสงสัยเขาว่าเป็นคนฆ่าภรรยาของตนด้วยมีพยานเห็นว่าเขากับภรรยาทะเลากันอย่างรุนแรง ครั้นจะไปแจ้งความเกี่ยวกับเรื่องของบรูโน กายก็ไม่แน่ใจว่าตำรวจจะเชื่อเรื่องนี้หรือไม่ บรูโนยังบีบบังคับกายโดยบอกว่าเขาเก็บที่จุดบุหรี่ของกายได้และจะนำไปไว้ในที่จุดเกิดเหตุเพราะตำรวจซึ่งจะไปสืบหาร่องรอยอีกครั้งจะได้เข้าใจว่าเป็นฝีมือของกายจริง ๆ กายจะทำอย่างไรต่อไปเพื่อเอาตัวรอดจากทั้งตำรวจและบรูโนเป็นหน้าที่ของผู้อ่านจะหาชมเอง
 
ภาพยนตร์โดยทั่วไปของฮิตช์ค็อกมักไม่ใช่ภาพยนตร์ธรรมดาที่ผู้ชมจะออกจากโรงแล้วสมองกลวงเปล่า เพราะนอกจากปรัชญาและจิตวิทยาอันลึกซึ้ง นอกจากนี้ภาพยนตร์มักมีบางอย่างที่หวือหวาและท้าทายจารีตของสังคมร่วมสมัยสอดแทรกเข้าไปด้วย อย่างเช่น Strangers on a Train ที่นอกจากแนวคิดการฆาตกรรมสมบูรณ์แบบแล้วยังมีประเด็นของความรักร่วมเพศที่โชยมาด้วย บรูโนถูกนำเสนอในภาพยนตร์ในลักษณะของอัตลักษณ์ทางเพศที่กำกวม เขาเป็นชายหนุ่มหน้าดี บุคลิกดีแต่งชุดสูทหรูหราและมีลวดลายมากกว่าผู้ชายทั่วไป ที่สำคัญภาพยนตร์ได้แสดงให้เห็นว่าเขารักและมีความสนิทสนมกับแม่อย่างมาก    เหมือนนอร์แมน เบทส์กับแม่ใน Psycho (1960) แม่ของบรูโนดูเหมือนเป็นผู้หญิงที่สติไม่สมประกอบอย่างตอนที่แอนพยายามจะบอกเธอถึงพฤติกรรมชั่ว ๆของบรูโนแต่ดูเหมือนหญิงชราจะไม่ใส่ใจนัก ในขณะเดียวกันบรูโนก็จงเกลียดจงชัดพ่อของเขาซึ่งเป็นเผด็จการชอบวางกฎระเบียบ จนความต้องการปิตุฆาตบังเกิดขึ้นมาในจิตใจของบรูโน อย่างไรก็ตามการที่บรูโนเข้าไปแสดงความชื่นชอบกายจนเกินงามจนทำให้มีผู้วิเคราะห์ว่าเป็น "การจีบกัน" นั้นหากมองได้อีกแง่คือบรูโนมีความปรารถนาต่อต้นแบบของพ่อ (father figure)จากผู้อื่น ดังจะสังเกตได้ว่าบรูโนล่วงรู้เรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับกายจนดูราวกับว่าเขาอยากจะเป็นกายเสียเอง อันเป็นลักษณะคล้าย The Talented Mr.Ripley ที่เสนอสารกำกวมว่าทอม  ริปเรย์มีความลุ่มหลงหรือต้องการเป็นตัวของดิกกี กรีนลิฟกันแน่ ด้วยความเป็นอัจฉริยะของฮิชท์ค็อกจึงทำให้ภาพยนตร์รอดพ้นจากการเซ็นเซอร์ของคณะกรรมการที่เคร่งจารีตและหลักศาสนาของฮอลลีวู้ดไปได้
 
 
 
 
                      
 
                                            ภาพจาก  www.theasc.com/asc_blog
 
 
ภาพยนตร์ยังแสดงถึงความเป็นพวกโรคจิตที่ไม่ธรรมดาตามแบบของภาพยนตร์โดยทั่วไปของฮิตช์ค็อกคือคนเหล่านี้จะสามารถซ่อนเร้นความไม่ปกติทางจิตของตนไว้กับบุคคลดูทรงเสน่ห์ มากความรู้ วาทศิลป์ยังดีเลิศจนสามารถดึงดูดความสนใจจากคนรอบข้างโดยไม่ยากดังเช่นอย่างเช่นตอนที่บรูโนตามไปสังหารภรรยาของกายที่สวนสนุกนั้น ภรรยาของกายเองก็รู้ตัวว่ามีคนติดตามมาแต่ดูเหมือนเธอจะพึงพอใจเพราะเข้าใจว่ามีชายหนุ่มหน้าตาดีมาตามจีบเธอ หรือตอนที่บรูโนแอบเข้าไปมั่วร่วมงานในคฤหาสน์ของวุฒิสมาชิกมอร์ตันและคุยกับภริยาของผู้พิพากษาอย่างสนิทสนมอย่างรวดเร็วถึงขั้นที่สามารถแนะนำเป็นทีเล่นทีจริงว่าควรจะสังหารสามีของเธออย่างไร อันเป็นลูกเล่นของฮิตช์ค็อกที่ทำมาแล้วหลายเรื่องคือให้ฆาตกรกำลังเล่นเกมกับเหยื่อหรือคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไร
 
สำหรับตัวของกายนั้นใช่ว่าจะบริสุทธิ์แบบพระเอกในภาพยนตร์น้ำเน่านัก การที่เขาต้องการแต่งงานกับลูกสาวของวุฒิสมาชิกทำให้คนดูเกิดความสงสัยว่าที่จริงเขามีความทะเยอทะยานอยากได้ดิบได้ดีในวงการเมืองหรือไม่ แต่ภาพยนตร์ก็ทำให้คนดูลืมประเด็นนี้ไปเพราะการที่เขาต้องการหย่าจากภรรยาก็เพราะภรรยาของกายเป็นคนเจ้าชู้ ตั้งท้องเพราะไปมั่วกับผู้ชายคนอื่นแต่ยังอยากอยู่กับกายต่อไปเพราะพ่อเด็กไม่รับผิดชอบ นอกจากนี้กายยังเป็นคนที่ดูซื่อ ๆ ขาดไหวพริบในการเอาตัวรอดจากการคุกคามจากบรูโนจนกลายเป็นเกมแมวไล่จับหนูไป โชคยังดีเขาได้รับความช่วยเหลือจากแอนซึ่งเป็นคนสมบูรณ์แบบทั้งสวย ชาญฉลาดและรักกายอย่างแท้จริงรวมไปถึงน้องสาวของแอนชื่อบาร์บาราซึ่งเป็นเด็กใส่แว่นหนาเตอะดูแก่แดดมีความรู้มากจนเหมือนจะรู้ทันบรูโนในบางครั้ง
 
Strangers on a Train เป็นภาพยนตร์ที่มีลูกล่อลูกชนที่ทำให้คนดูในยุคนั้นตัวเกร็งบนเก้าอี้เพราะความตื่นเต้น ฉากเกือบทุกฉากทำให้ได้ลุ้น ภาพยนตร์ยังอาศัยแสงเงาของภาพขาวดำเพื่อสะท้อนความชั่วร้ายของตัวแสดงได้อย่างดีเยี่ยม ฉากหลายฉากมีความแปลกใหม่ที่ทำให้คนดูเกิดความสยดสยองกับความชั่ววิปริตจาก บรูโนซึ่งมีนักวิจารณ์ชี้ว่าเป็นด้านมืดของตัวกายเอง อย่างเช่นหลังจากมิเรียมถูกบรูโนบีบคอจนสิ้นใจ แว่นของเธอก็ตกลงพื้นและมีภาพของบรูโนสะท้อนออกมา หรือฉากที่กายนั่งรถยนต์ตำรวจออกไปจากอนุสาวรีย์เจฟเฟอร์สัน เมมเมอร์เรี่ยล และกายก็ได้แลเห็นร่างของบรูโนยืนมองเขาอยู่ลิบ ๆ อยู่บนอนุสาวรีย์พร้อมกับเพลงบรรเลงของดมิทรี ทีโอมคิน และฉากที่จะไม่กล่าวถึงเป็นไม่ได้คือฉากที่กายซึ่งหยุดพักจากการเล่นเทนนิสและมองไปที่อัฒจันทร์แลเห็นคนดูซึ่งทั้งหมดหันซ้ายหันขวาไปตามลูกเทนนิสมีเพียงบรูโนซึ่งนั่งจ้องมองเขาตาเขม็งเพียงคนเดียว ฉากเหล่านี้ดูเรียบง่ายทำให้คนดูขนลุกขนพองได้ เช่นเดียวกับการแสดงของโรเบิร์ต วอล์คเกอร์ซึ่งถือได้ว่ายอดเยี่ยมที่สุดของเรื่อง
 
 
 
 
           
 
 
                 ภาพจาก www.jasonbovberg.com

 

 
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เขียนงานเขียนในรูปแบบต่างๆ  คือนวนิยาย เรื่องสั้นหรือแม้แต่บทละครมานานก็เลยอยากจะชี้แจ้งให้ท่านผู้อ่านเข้าใจว่าเนื่องจากเป็นงานเขียนแบบงานดิเรกหรือแบบนักเขียนสมัครเล่นอย่างผม จึงต้องขออภัยที่มีจุดผิดพลาดอยู่ เพราะไม่มีคนมาตรวจให้ ถึงผมเองจะพยายามตรวจแล้วตรวจอีกก็ยังมีคำผิดและหลักไวยากรณ์อยู่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The Spook Radio (part 2)ภาค 2 ของดีเจอ้นซึ่งเป็นดีเจรายการที่เปิดให้ทางบ้านมาเล่าเรื่องสยองขวัญหรือเรื่องเหนือธรรมชาติ ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก The Shock และ The Ghost  (Facebook คนเขียนคือ Atthasit Muang-in)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(เรื่องสั้นสยองขวัญภาษาอังกฤษเรื่องนี้ลอกมาจากเรื่องสั้นของราชาเรื่องสยองขวัญของเมืองไทย ครูเหม เวชากร ตัวเอกคือนายทองคำ เด็กกำพร้าอายุ 12 ขวบที่อาศัยอยู่กับยายและญาติในชนบทของไทยในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2476)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The lingering sunlight from the dawn kissed my eyelids and I could hear faintly the flock of big birds, whose breed was unbeknownst to me, chirping merrily outside window ,as if to greet the exuberant face of a new day.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเกี่ยวกับนักเขียนวัยกลางคนที่มีความหลังอันดำมืดและความสัมพันธ์กับดาราสาวผู้มีพลังจิต 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของรปภ.หนุ่มผู้ค้นหาภูติผีปีศาจในตึกที่ลือกันว่าเฮี้ยนที่สุด  เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากรายการ The Ghost Radio(the altered version)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของผู้ชาย 3 คนที่ขับรถบรรทุกแล้วต้องเผชิญกับผีดูดเลือด 3 Friends and The Ghosts                                                (1)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This short novel is about a guy who works as a DJ for the radio program 'The Spook Radio', famous for its allowing audience to share their thrilling experiences or tales about the superstitious stuffs, especially the ghosts, via telephones.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไทยที่ใช้ชีวิตในเยอรมันช่วงพรรคนาซีเรืองอำนาจ  เขียนยังไม่จบและยังไม่มีการ proofreading แต่ประการใด                     Chapter 1  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้มาจาก facebook  Atthasit Muangin สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert)  พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 (มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in) 1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557  ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่น