Skip to main content
ปีเตอร์ ไชคอฟสกี (Pyotr Ilyich Tchaikovsky) คีตกวีชื่อดังที่สุดคนหนึ่งของรัสเซีย ไม่ได้เก่งแค่แต่งเพลงประกอบบัลเลต์อย่างเช่น Nutcracker หรือ Swan Lake รวมไปถึงไวโอลินและเปียโนคอนแชร์โตอันลือชื่อ หากแต่ยังฉกาจในการแต่งซิมโฟนี ซึ่งแต่ละบทก็มีชื่อเสียงทั้งสิ้นเช่น 

หมายเลข 1 ชื่อว่า Winter daydream 

หมายเลข 2 ชื่อว่า Little Russian 

หมายเลข 3 ชื่อว่า Polish

หมายเลข 4 และ 5 ที่ไม่มีชื่อ รวมไปถึงซิมโฟนีไร้หมายเลข ที่ชื่อ Manfred opus.58 ซึ่งถูกแต่งระหว่าง 2 หมายเลขดังกล่าว

แต่ซิมโฟนีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือซิมโฟนีหมายเลข 6 ที่มีชื่อว่า Pathetique อันเป็นงานดนตรีชิ้นสุดท้ายก่อนที่คีตกวีเอกผู้นี้จะเสียชีวิต 

ไชคอฟสกีแต่งเพลงนี้ในปี 1893 สำหรับคำว่า Pathetique ไม่ใช่ชื่อที่ไชคอฟสกีตั้งเอง หากแต่เป็นน้องชายของเขาคือโมเดสต์เป็นผู้ตั้งให้พร้อมกับความเห็นชอบของตัวผู้แต่ง คำว่า Pathetique ยังมีปัญหาในการตีความเพราะบางแห่งบอกว่าหมายถึง อารมณ์เศร้าสร้อยสุดจะพรรณนา  แต่บางแหล่งบอกว่าเป็นภาษารัสเซียหมายถึงความกระตือรือร้นหรือเต็มไปด้วยอารมณ์อันเร่าร้อน อาจเพราะไชคอฟสกีคุยว่าเขาได้ทุ่มกายเทใจลงไปในซิมโฟนีบทนี้เสียจนหมดสิ้น 

 
                               
 
                                               ภาพจาก Wikimedia.org


ซิมโฟนีหมายเลข 6 นี้มีความยาวทั้งสิ้น 47 นาที มีทั้งหมด 4 กระบวนดังนี้

1. Adagio - Allegro non troppo 
2. Allegro con grazia 
3. Allegro molto vivace 
4. Finale: Adagio lamentoso 

กระบวนที่ 2 และ 3  ถือได้ว่าไพเราะและมีความร่าเริงอยู่บ้าง ในขณะที่กระบวนที่ 1 และ 4 เศร้าสร้อยและดำมืด ฟังแล้วชวนให้น้ำตาไหลเป็นยิ่งนัก ในบางจังหวะของเพลงจะเงียบและแผ่วเบา จนทำให้คนที่ชอบฟังซิมโฟนีแบบเบโธเฟนหรือโมซาร์ทอาจจะไม่ชอบเท่าไรนัก

แต่ 9 วันหลังจากการนำซิมโฟนีบทนี้ออกแสดง ไชคอฟสกีได้เสียชีวิตจากอหิวาตกโรค โดยการดื่มน้ำที่ไม่ได้ต้ม มีเรื่องเล่าให้คนฟังนึกภาพออกเป็นฉาก ๆ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ไชคอฟสกีไปนั่งทานอาหารที่ภัตตาคารแห่งหนึ่ง และยืนกรานจะดื่มน้ำสักแก้วถึงแม้น้ำนั้นไม่ได้ต้มและเพื่อน ๆ ต่างก็ต่อว่า (อีกเรื่องคือ ไชคอฟสกีวิ่งไปที่ห้องครัวของห้องเช่าของโมเดสต์ผู้เป็นน้องเพื่อดื่มน้ำที่ไม่ได้ต้มพร้อมกับตะโกนว่า "ใครจะไปสนใจกัน") วันต่อมาเขาล้มป่วย และวันที่ 6 เขาก็เสียชีวิตเพราะไตล้มเหลว และขาดน้ำจากการอาเจียนและถ่ายของเสียออกมามากเกินไป

เหตุการณ์นี้สร้างความกังขาให้กับบรรดาชนชั้นสูงทั้งหลายในสังคมนครเซ็นเตอร์สเบิร์ก ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัสเซียในสมัยนั้น เพราะไชคอฟสกีถือได้ว่าเป็นผู้ใหญ่ สุขุม รอบคอบ (ถึงแม้จะอารมณ์อ่อนไหวง่ายเกินไปก็ตาม) และเป็นชนชั้นมีอันจะกิน ในขณะที่อหิวาตกโรคมักจะเป็นกับพวกชนชั้นล่าง ที่สุขอนามัยต่ำเท่านั้น แถมคนเป็นโรคนี้จะไม่ตายเร็วขนาดนี้

ริมสกี คอร์ซาคอฟ คีตกวีชื่อดังอีกคนตั้งข้อสังเกตว่าทำไมตอนก่อนจะฝังศพจึงอนุญาติให้แขกจูบมือคนตายได้ ทั้งที่ตามระเบียบของทางการ โลงศพของผู้ที่ตายจากอหิวาตกโรคต้องปิดแน่นหนาเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ออกมาได้ จนมีการตั้งข้อสันนิฐานว่า ไชคอฟสกีอาจถูกบังคับให้ฆ่าตัวตาย เพราะเขามีรสนิยมเป็นพวกรักร่วมเพศ ซึ่งถือกันว่าเป็นความน่าละอายใจของคนรัสเซียในสมัยนั้น ไชคอฟสกีพยายามกลบเกลื่อนโดยการไปแต่งงานกับผู้หญิงคนหนึ่งเพื่อไม่ให้นักวิจารณ์เล่นงานเขาในประเด็นนี้ ผลลัพธ์คืองานแต่งงานล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ไชคอฟสกีถึงกลับพยายามฆ่าตัวตาย 

แต่เหตุผลสำคัญที่นักประวัติศาสตร์ยังอุตสาห์สืบเสาะมาอีกนั่นคือไชคอฟสกีไปมีความสัมพันธ์กับหลานชายของดุ๊กสเตนบ็อค เฟอร์มอร์ ทำให้ท่านดุ๊กไม่พอใจยิ่งนักเลยทำเรื่องกราบทูลพระเจ้าอาเล็กซานเดอร์ที่ 3  ของรัสเซีย ความผิดเช่นนี้คือการเนรเทศไปอยู่ที่ไซบีเรียซึ่งเป็นป่าอันแสนหฤโหดเพียงสถานเดียว อนึ่งไซบีเรียยังเป็นที่เนรเทศสำหรับนักโทษทางการเมืองด้วย 

แต่ที่สำคัญ เหตุการณ์นี้ได้ทำสร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่โรงเรียนกฎหมายที่ไชคอฟสกีเคยศึกษาอย่างมากมาย จาโคบี เพื่อนเก่าของไชคอฟสกีจึงได้มอบหมายจากเบื้องบนให้มากล่อมให้เขาฆ่าตัวตาย จนสำเร็จในที่สุด ว่ากันว่า ภรรยาของจาโคบีเห็นสามีและไชคอฟสกีเข้าไปคุยในห้องกันนานมากถึง 5 ชั่วโมง ด้วยเสียงโวยวาย ตะคอกใส่กันก่อนที่ไชคอฟสกีจะวิ่งโซซัดโซเซออกจากห้อง ท่าทางโมโหแต่ใบหน้าขาวจนซีด

ถ้าเป็นเช่นนั้นแสดงว่าตอนแต่งเพลงนี้ ไชคอฟสกีคงจะพอรู้ถึงจุดจบของตัวเอง ดังนั้นฝรั่งจึงเรียกว่าซิมโฟนีบทนี้ว่าเป็น Suicide Note หรือบทเพลงแห่งอัตนิบาตกรรม ดังที่ไชคอฟสกีเองก็ตั้งชื่อว่าเป็น Programming Symphony หรือซิมโฟนีที่บ่งบอกอะไรบางอย่างในห้วงลึกของจิตใจเขา ในท่อนที่ 4 คือ Finale เขาได้อุทิศให้กับหลานชายของเขา คือบ็อบหรือชื่อเต็มคือวลาดิมีร์ ดาวิดอฟ  นายบ็อบนี่ต่อมาก็ฆ่าตัวตายเมื่ออายุได้เพียง 35 ปี 
 
 
 
                                        
                                              
                                                   ภาพจาก www.allmusic.com

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เขียนงานเขียนในรูปแบบต่างๆ  คือนวนิยาย เรื่องสั้นหรือแม้แต่บทละครมานานก็เลยอยากจะชี้แจ้งให้ท่านผู้อ่านเข้าใจว่าเนื่องจากเป็นงานเขียนแบบงานดิเรกหรือแบบนักเขียนสมัครเล่นอย่างผม จึงต้องขออภัยที่มีจุดผิดพลาดอยู่ เพราะไม่มีคนมาตรวจให้ ถึงผมเองจะพยายามตรวจแล้วตรวจอีกก็ยังมีคำผิดและหลักไวยากรณ์อยู่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The Spook Radio (part 2)ภาค 2 ของดีเจอ้นซึ่งเป็นดีเจรายการที่เปิดให้ทางบ้านมาเล่าเรื่องสยองขวัญหรือเรื่องเหนือธรรมชาติ ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก The Shock และ The Ghost  (Facebook คนเขียนคือ Atthasit Muang-in)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(เรื่องสั้นสยองขวัญภาษาอังกฤษเรื่องนี้ลอกมาจากเรื่องสั้นของราชาเรื่องสยองขวัญของเมืองไทย ครูเหม เวชากร ตัวเอกคือนายทองคำ เด็กกำพร้าอายุ 12 ขวบที่อาศัยอยู่กับยายและญาติในชนบทของไทยในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2476)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The lingering sunlight from the dawn kissed my eyelids and I could hear faintly the flock of big birds, whose breed was unbeknownst to me, chirping merrily outside window ,as if to greet the exuberant face of a new day.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเกี่ยวกับนักเขียนวัยกลางคนที่มีความหลังอันดำมืดและความสัมพันธ์กับดาราสาวผู้มีพลังจิต 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของรปภ.หนุ่มผู้ค้นหาภูติผีปีศาจในตึกที่ลือกันว่าเฮี้ยนที่สุด  เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากรายการ The Ghost Radio(the altered version)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของผู้ชาย 3 คนที่ขับรถบรรทุกแล้วต้องเผชิญกับผีดูดเลือด 3 Friends and The Ghosts                                                (1)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This short novel is about a guy who works as a DJ for the radio program 'The Spook Radio', famous for its allowing audience to share their thrilling experiences or tales about the superstitious stuffs, especially the ghosts, via telephones.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไทยที่ใช้ชีวิตในเยอรมันช่วงพรรคนาซีเรืองอำนาจ  เขียนยังไม่จบและยังไม่มีการ proofreading แต่ประการใด                     Chapter 1  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้มาจาก facebook  Atthasit Muangin สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert)  พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 (มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in) 1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557  ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่น